Auto

เมื่อ “Benz” จะไม่มีพริตตี้อีกต่อไป สะท้อนอะไรบ้างถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม

‘Mercedes-Benz’ Without Its “Pretties”: Reflecting Social Change?

อีกหนึ่งแรงขยับจากค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ที่สร้างความสะเทือนไปในหลายแบรนด์และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของนิยามใหม่ในการจัดแสดงรถยนต์ในอนาคต เมื่อ Mercedes-Benz ได้ประกาศจุดยืนใหม่ในการนำเสนอรถยนต์ ว่านับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะ “ไม่มีพริตตี้” อีกต่อไป ไม่มีอีกแล้วกับสาวสวยที่มายืนโปรโมทรถของทางค่ายทุกอีเวนท์ เพื่อแสดงจุดยืนในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศสภาพ การให้ความสำคัญกับความหลากหลาย (Diversity)

เรื่องนี้เป็นเรื่องของการตลาดทางเลือกที่จะแตกต่าง หรือการคว้าโอกาสตามกระแสนิยม EQ อยากชวนไปถอดรหัสเรื่องนี้กับสิ่งที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงไปของสังคมกัน

จุดยืนใหม่ในการนำเสนอ

เมื่อคุณค่าของปัจเจกบุคคลหาได้ขึ้นอยู่กับเพศสภาพไม่ และโลกที่หมุนไปเพื่อก้าวสู่อีกขั้นของเทคโนโลยี หมุนไปพร้อมกับยนตกรรมที่กำลังจะก้าวสู่รถแห่งอนาคต ซึ่ง Mercedes-Benz คือหนึ่งแบรนด์ระดับโลกที่เป็นที่ยอมรับ และ ”กล้า” ที่จะฉีกจากกฎเกณฑ์ของนิยาม “ผู้หญิงสวยย่อมคู่กับรถสวยๆ”

การตลาดแบบคร่ำครึที่ใช้เพศสภาพมาเป็นจุดขาย ถูกบั่นทิ้งอย่างสิ้นไร้เยื้อใยแล้วฝังกลบทับจากปัจจัยในเรื่องการเปลี่ยนของช่วงเวลา สู่ยุคใหม่ที่ไร้ซึ่งข้อจำกัดในเรื่องรูปร่างหน้าตา เพศ ไลฟ์สไตล์ กลายเป็นโอกาสที่แบรนด์อย่างเบนซ์คว้ามาชูจุดยืนใหม่ในการนำเสนอข้อมูลของสินค้า เพื่อให้แบรนด์ยิ่งดูแพงขึ้นไปอีก (ที่เดิมที่ดูแพงอยู่แล้วด้วย)

บริบทของเรื่อง “พริตตี้” ที่เปลี่ยนไป 

ทางค่ายนำเสนอ “Digital Guide” ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องรถทุกรุ่นของค่ายโดยไร้เงื่อนไขข้อจำกัดที่ว่าต้องเป็นผู้หญิงสาวสวยแต่งตัววาบหวิวยืนอยู่หน้ารถในทุกงานโชว์ ซึ่งจริงๆ แล้วในแง่ของแบรนด์อาจไม่ได้เป็นประโยชน์สักเท่าไร แต่ถูกนำมาใช้อย่างยาวนานเป็นเพราะเงื่อนไขที่ว่า “เป็นสิ่งที่ต้องมี” 

จากข้อมูลงานแสดงรถครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือ มอเตอร์โชว์ครั้งที่ 1 ราวเกือบครึ่งศตวรรษพบว่า พริตตี้นั้นอยู่คู่กับงานแสดงรถมาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีงาน จุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดโดยเฉพาะการดึงดูดความน่าสนใจให้ผู้มาชมงามเข้าไปดูที่บูธ จนวันนี้กลายเป็นเหมือนธรรมเนียมทำต่อเนื่องมาตลอด หากคนรู้จักมอเตอร์โชว์ พูดถึงมอเตอร์โชว์ คำว่าพริตตี้มักจะเป็นคำที่ถูกใส่ไปในหลายๆ บทสนทนาต่อเนื่อง 

“ไปมอเตอร์โชว์ ไปดูพริตตี้เหรอ ?”

“ไม่ไปซื้อรถแล้วไปถ่ายรูปพริตตี้หรอ ?” 

“ไปมอเตอร์โชว์ ไปซื้อรถหรือไปดูพริตตี้กันแน่ ?”

ใช่แล้ว ! บริบทของพริตตี้นั้นเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนอย่างสิ้นเชิง จากจุดเริ่มต้นที่เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาด กลายเป็นทำให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็น “เหยื่อ” (victimize) ซึ่งถูกทำร้ายทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยผู้ไม่หวังดี อีกทั้งภาพจำในวงกว้างที่มีต่อพริตตี้ ณ ตอนนี้ ด้วยสภาพสังคมตระหนักรู้ถึงสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน ก็ต้องยอมรับว่าภาพที่ออกนั้นไม่ได้สวยงามเหมือนครั้งแต่ก่อนอีกต่อไป 

ในอีกมุมที่ถูกลดบทบาท   

อย่างไรก็ตามการยกเลิกตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวกับสตรีไม่ใช่ครั้งแรกเพื่อแสดงจุดยืนตามกระแสนิยมในเรื่องความเท่าเทียมทางสังคม เพราะก่อนหน้าในแวดวงด้านยานยนต์ การแข่งรถระดับโลกอย่าง “รถ formula 1” ก็ได้มีการยกเลิก Grid Girl ไปก่อนแล้วด้วยเช่นกันเมื่อปี 2018 ซึ่งเหตุผลที่ใช้ก็ไปในโทนเดียวกับที่ค่ายเบนซ์บ้านเราใช้ ว่าด้วยเรื่องสิทธิสตรีหรือความเท่าเทียมกันของเรื่องเพศสภาพ และที่สำคัญกว่านั้นคือ การมี Grid Girl ไม่ได้แสดงถึงคุณค่าของแบรนด์อีกต่อไปแล้ว และกลับดูขัดแย้งกับบรรทัดฐานสังคมสมัยใหม่เสียด้วยซ้ำ  

Melissa James วัย 25 ปี อดีตสาว Grid Girl ซึ่งเป็นนางแบบมากว่า 8 ปี เผยความรู้สึกต่อสำนักข่าว CNN เอาไว้ว่า 

เราไม่ได้อยู่ที่กริดสตาร์ทเพียงเพื่อยืนสวยๆ แต่ทำหน้าที่พบปะกับแฟนๆ แทนนักแข่งที่กำลังโฟกัสอยู่กับการแข่งขันเพื่อชัยชนะ

James ยังกล่าวต่อว่า 

“ฉันชอบมันมากกับงานนี้ มันคืองานในฝันเลยแหละ ถึงแม้ว่าใครอยากเห็นฉันใส่ชุดสวยๆ แบบไหน และยอมจ่ายเงินเข้าสนามโซนวีไอพีเพื่อมาดูอะไร มันโอเคนะ ไม่เป็นไรสำหรับฉัน”

จริงๆ เบนซ์ไม่จำเป็นต้องมีพริตตี้ก็ได้หรือเปล่า 

ด้วยชื่อรถเบนซ์หรือ Mercedes-Benz ในบ้านเราที่ทำตลาดมาอย่างยาวนาน จนปลูกฝังเป็นเหมือนค่านิยมของคนไทยไปแล้วกับความเป็นแบรนด์รถยุโรป รถหรู มูลค่าสูง และใครๆ ต่างอยากเป็นเจ้าของ ฯลฯ ไม่ว่าจะบริบทอะไรคือขายได้ด้วยชื่อคนสนใจด้วยตัวแบรนด์ และในเมื่อการมีพริตตี้ จุดประสงค์หลักเพื่อการดึงผู้ชมเข้ามาในบูธ เรียกความสนใจให้ผู้ชมงานเดินเข้ามา ดังนั้นพริตตี้กับรถที่ขายได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้วจริงๆ ค่อนข้างจะขัดแย้งกันด้วยซ้ำไป ยิ่งถ้าใช้ไม่ดี นำเสนอได้ไม่เหมาะสมทั้งทางรูปลักษณ์ กริยา คำพูดคำจา ฯลฯ ผลที่ได้จากการใช้พริตตี้ของค่ายเบนซ์อาจเสี่ยงเป็นลบมากกว่าบวก 

ผนวกกับกระแสเรื่องสิทธิเสรีภาพความเทียมในสังคมกำลังมา ! ไม่ว่าจะในบ้านเราหรือทั่วโลก ทางเลือกสำหรับการนำเสนอตัวสินค้าโดยตัดทิ้งไปกับสิ่งที่จะสร้างคำวิจารณ์จากแง่มุมต่างๆ พันร้อยนับพันและควบคุมไม่ได้ จึงอาจเป็นคำตอบสำหรับการตลาดในยุคนี้ที่สังคมเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน 

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวใหม่ๆ กับพวกเราได้ที่ Exotic Quixotic

อ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ: https://www.bangkokbiznews.com/auto/999918

CNN: https://edition.cnn.com/2018/03/22/motorsport/grid-girls-australian-grand-prix-spt/index.html

New York Post: https://nypost.com/2018/02/01/grid-girls-disgusted-at-formula-1s-pc-banishment-of-them/

Another significant shift from a major automotive brand has echoed across various brands and might be the inception of a new paradigm in car presentations. Mercedes-Benz recently announced a new stance in car showcasing, stating that from now on, there will be “no more ‘pretties’” (promotional models). The era of the glamorous models standing by the cars at every event is over. This move is aligned with the company’s commitment to gender equality and valuing diversity.

Is this a genuine effort on the company’s part or just one of their marketing strategies? Let's delve into deciphering this matter and explore how it mirrors the evolving changes in society.

A new approach
When the value of an individual isn’t determined by gender and the world is progressing towards another level of technology, turning alongside the innovation journey that is heading towards the cars of the future. In this context, Mercedes-Benz stands as a globally recognized and “bold” brand that is breaking away from the conventional notion of “beautiful women paired with beautiful cars.”

Shifting away from the antiquated practice of marketing that relies on gender stereotypes, and burying it deep under the influence of the changing times, we’re now entering a new era, free from limitations based on appearance, gender, and lifestyle. For brands like Mercedes-Benz, this has become an opportunity to seize a fresh stance in product presentation, making their brand appear even more luxurious (beyond its already luxurious image).

The context of the “pretties” has shifted
The company introduces a “Digital Guide” that provides information about all models of their vehicles, without the condition that they must be attractive young women posing provocatively next to the cars at every show. In reality, this branding element might not bring much benefit, but it has been used extensively due to the requirement that it is deemed “necessary.”

From the data of the largest auto show in Thailand, Motor Show, which has been held for almost half a century, it’s evident that promotional models have been a part of such events since the very first one. The main purpose initially was marketing, particularly to attract the audience’s interest to visit booths. Over time, this tradition has continued, and now, when people talk about or attend the Motor Show, the term “pretty” is often brought up as a joke:

“Are you going to the Motor Show to see the pretties?”

“Did you go to buy a car and take pictures with the pretties?"

The context of “pretties” has shifted drastically over time. What initially started as a marketing strategy has evolved into making an individual a “victim,” subjected to both direct and indirect harm by ill-intentioned individuals. Moreover, the prevailing perception of promotional models in today’s socially conscious society must acknowledge that the images projected are no longer as glamorous as they used to be.

Looking at it differently, fewer women’s roles is not a new thing to match the trend for gender equality in society. In car racing like Formula 1, they stopped using Grid Girls in 2018, for similar reasons. They did it because they wanted to treat everyone equally, considering how society is changing. The main point is that having Grid Girls doesn’t illustrate the brand’s values anymore, and it goes against what modern society believes in.

  

Melissa James, a 25-year-old former Grid Girl and a model for over 8 years, shared her feelings with CNN, saying that

“You’re not just standing there on the concrete… Saying that we’re just a pretty face is absolutely ludicrous. We’re saleswomen at the end of the day. We need to learn how to talk to people and get people on board with the product”

She also adds that, “I absolutely loved it. You want me to wear a super comfortable outfit and go to the VIP areas and watch what I was already going to pay to watch? Yeah, that’s fine by me. It was a dream job.”

No more “pretties”?
In the world of Thai automobiles, the names ‘Benz’ and ‘Mercedes-Benz’ stand out as icons of remarkable marketing prowess that has stood the test of time. These names conjure images of luxurious European cars, known for their inherent value and aspirational charm. This strong connection, carefully nurtured by the brand, carries a profound appeal.

However, the introduction of promotional models adds a subtle layer of complexity. While these models are strategically positioned to capture attention and attract event-goers, their incorporation demands finesse. Poor execution could potentially weaken the brand's essence. The interplay of promotional models within the Benz storyline encourages reflection, as it might inadvertently lead to a clash, tipping the balance towards unfavorable outcomes rather than positive ones.

Merging with the current wave of discussions on equality and freedom in society! Whether at home or globally, the choice to present products is now intertwined with factors that might invite scrutiny from various perspectives. The control is elusive, reaching hundreds and thousands, and might hold the key to marketing in this era of societal transformation from what it used to be.

Sources

Bangkok Biznews: https://www.bangkokbiznews.com/auto/999918

CNN: https://edition.cnn.com/2018/03/22/motorsport/grid-girls-australian-grand-prix-spt/index.html

New York Post: https://nypost.com/2018/02/01/grid-girls-disgusted-at-formula-1s-pc-banishment-of-them/