artn’t ศิลปะไม่มีโครงสร้าง กับมายาคติศิลปะสะท้อนสังคม

‘artn’t’ Makes the Case for Art for the People by the People

EQ มีโอกาสได้พูดคุยกับสมาชิกของ artn’t (อาท นอท หรือ อ๊านท์) กลุ่มที่รวมตัวกันในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ศิลปะหลากหลายแขนงสะท้อนเรื่องราวสังคม และต่อต้านอำนาจของรัฐบาล จากเรื่องราวศิลปะมากมายที่ถูกไหลผ่านบนไทม์ไลน์ของเพจ สู่การออกสู่สังเวียนบนพื้นที่จริงของการชุมนุมเพื่อออกมาเรียกร้องสิทธิจากรัฐบาลที่ประชาชนไม่เคยได้รับการดูแลแบบที่ควร 

“ในเมื่อรัฐฯไม่น่าไว้ใจอีกต่อไปแล้ว เราก็หาวิธีจัดการกันเอง หาวิธีการสร้างภาษาของเราเอง หาศิลปะเพื่อสะท้อนในแบบของเรา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ารัฐล้มเหลว ประชาชนล้มตาย”

artn’t ศิลปะไม่มีโครงสร้าง

หากใครได้เห็นชื่อเพจนี้ผ่านตาคงจินตนาการถึงการอ่านออกเสียงในรูปแบบที่ถูกต้องไม่ออกด้วยซ้ำ และไม่รู้จะเปล่งเสียงชื่อเพจอย่างไรออกมา ด้วยคำที่ถูกพลิกแพลงให้ดูผิดแปลกไปจากเดิม ส่งผลให้โครงสร้างทางความคิดของแต่ละคนมีการเรียนรู้หรืออยากที่จะเปล่งเสียงออกไปไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบกาณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งความแตกต่าง และการเปล่งเสียงที่ยากแบบนี้นี่แหละถือเป็นคอนเซ็ปต์หลัก และความตั้งใจของเพจด้วยซ้ำ

“มันคือการเล่นกับภาษา ซึ่งไม่ค่อยถูกหลักไวยกรณ์สักเท่าไร ปกติเราคุ้นชินกับการที่ถูกคิดกับระเบียบแบบแผนที่เราคุ้นชินที่ถูกปลูกฝังมาพอเราไปเจออะไรที่มันผิดไปจากเดิม เราไม่รู้ว่ามันออกเสียงว่าอะไร แต่เราจะเข้าใจว่ามันหมายความว่ายังไงผ่านการจัดเรียงเหตุผลใหม่ จัดเรียงเพื่อที่จะเข้าใจกับสิ่งนี้ใหม่”

เมื่อดึงความหมายทั้งสองคำมาควบรวมกันระหว่าง art + not สุดท้ายแล้วความหมายคือ ศิลปะไม่ หรือ ไม่ศิลปะ ที่แปลตามความหมายของคำไทย แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ทุกอย่างก็ถูกสะท้อนผ่านมุมมองของใจความ “ศิลปะ” อยู่ดี 

Powerful of artn’t

artn’t เป็นเพจที่เสมือนกระบอกเสียงให้กับประชาชนทุกคน แต่แท้ที่จริงแล้วการที่เขาจะกลายมาเป็นเพจที่เป็นกระบอกเสียงอยู่ได้ทุกวันนี้เกิดจากที่ประชาชนทุกคนค่อยๆ เปล่งเสียงที่มีต่อระบบโครงสร้างของประเทศนี้ออกมา จากเพจเล็กๆ ก็ถูกขยายตัวให้มีพลังที่ใหญ่ขึ้น เพราะเสียงที่ทุกคนเปล่งออกมามีเจตนารมณ์ทิศทางเดียวกันกับ artn’t ดังนั้นจากเสียงเล็กเสียงน้อย เราก็จะหลายเป็นเสียงที่ใหญ่และมีพลังขึ้นมาได้ 

ภายในเพจของ artn’t ต่างแสดงความคิดเห็นและเจตนารมณ์ที่มีต่อระบบระเบียบของประเทศนี้ ทั้งการใช้ศิลปะแนวสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic Art) ที่ใช้วิธีการวาด เขียนภาพเข้ามาเล่าเรื่อง รวมไปถึงศิลปะการแสดง (Performance Art) ใช้ภาษากายของมนุษย์ในการเล่าเรื่องราวแทน 

“Performance Art ระบุพื้นที่กับเวลาอย่างชัดเจน มันทำงานกับผู้คน บรรยากาศ พลังงาน พื้นที่ เวลา วันที่ เสียง ทุกขณะที่ Perform อยู่มันเหมือนทุกอย่างมันมีความหมายในตัว แล้วเราก็เข้าไปเปิดเผยความหมายนั้นผ่านการกระทำ ทั้งความหมายทางด้านเวลาหรือสถานการณ์ อย่างเช่น 6 โมงเย็น หรือวันที่ 6 ตุลา ซึ่งถ้าจะพูดว่าทำไมใช้ Performance มันคือ การเล่นกับสถานการณ์”

หนึ่งในกลุ่มสมาชิกของ artn’t พูดถึงศิลปะเชิงสะท้องสังคมว่าหลายต่อหลายครั้งผู้คนมักหลบซ่อนตัวเองภายใต้งาน เหมือนกับการขังตัวเองเอาไว้ในหอศิลป์ซึ่งไม่รู้ว่าคนจะเข้ามาเปิดดูเมื่อไร หรือจ้องมองภาพของเราได้ขนาดไหน แต่ในเมื่อเรากล้าแสดงเจตนารมณ์ และจุดยืนของตัวเองที่มีต่องานแล้วเราควรที่จะออกมาทำให้ศิลปะเหล่านั้น ออกสู่สายตาประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คนเดินเข้าหา นี่ถือเป็นจุดยืนที่สำคัญ เพราะสุดท้ายแล้วในฐานะคนทำงานศิลปะคนหนึ่ง การกระชากตัวเองออกมาในพื้นที่สาธารณะเหมือนการถูกปลดปล่อยอารมณ์และความรู้สึกของเราออกไป ส่วนงานศิลปะชิ้นนั้นจะสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากน้อยเพียงใดก็สุดแต่การตีความหมายของผู้รับสาร

มายาคติศิลปะสะท้อนสังคม

ศิลปะเท่าเทียม – ทุกคนสามารถสร้างผลงานศิลปะได้โดยไม่ต้องขนานนามว่าเป็นศิลปิน และเราไม่จำเป็นต้องเชิดชูใครให้เป็นศิลปินเพียงเพราะทำงานศิลปะ หนึ่งในสมาชิกของ artn’t บอกกับเราถึงมุมมองศิลปะที่มีต่อสังคมในปัจจุบันถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ทำให้เขาเริ่มคิดว่า เรากำลังจะละทิ้งขนบเดิมที่เคยต้องยกยอปอปั้น หรือให้ค่ากับงานใครงานหนึ่งเท่านั้น ณ ตอนนี้ศิลปะทุกชิ้นบนโลกไม่ว่ามาจากใคร หรือถูกกระบวนการคิดแบบไหน ล้วนแล้วแต่มีค่าในตัวของมันเอง

คนทำงานศิลปะหลากหลายแขนงถูกให้ค่า และมีความสำคัญต่อประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือทุกแขนงของศิลปะล้วนแล้วแต่มีความหมายในรูปแบบของตัวมันเสมอ หากจะถามว่าบนประเทศนี้สนับสนุนงานศิลปะรูปแบบใด ก็อาจจะเป็นศิลปะที่มีแบบแผนที่ชัดเจน เป็นศิลปะที่ถูกวาดฝีมือลายมือด้วยปูชนียบุคคล และสามารถให้ความหมายตามแบบฉบับของรัฐบาลได้ สิ่งเหล่านั้นจะถูกยกย่องให้เป็นศิลปะที่มีคุณค่าเสมอ และยกย่องบุคคลที่เป็นเลิศทางด้านศิลปะให้อยู่เหนือชั้นกว่าคนที่ทำงานศิลปะคนอื่นๆ กล่าวคือ คนที่สร้างสรรค์งานศิลปะอื่นๆ นับว่าไม่มีค่าหรือ?

“ส่วนหนึ่งงานศิลปะที่ประชาชนเป็นคนทำ ไม่ใช่งานศิลปะที่มาจากรัฐฯ เป็นงานศิลปะที่รัฐไม่เข้าใจว่าพูดเรื่องอะไร เป็นภาษาที่รัฐฯไม่คุ้นชินที่จะทำความเข้าใจ รัฐฯไม่สามารถที่จะเข้าไปช่วงชิงความหมายตรงนั้นได้ เพราะว่า มันไม่ใช่งานศิลปะที่ถูกสั่งสอนมา”

“ไอเดียของรัฐฯเป็นการรวมศูนย์กลางของทุกอย่าง แล้วองค์ความรู้ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับรัฐฯ หรือความไว้ใจทั้งหลายแหล่ก็จะอยู่กับรัฐฯทั้งหมด เพราะฉะนั้นอะไรที่มันสั่นคลอน รัฐฯก็จะไม่สามารถรับรองมันได้ อะไรที่รัฐไม่ไว้ใจ หรือผิดแปลกไป มันถูกต้องในแบบของเขาแล้วที่เขาจะทำ มันเป็นอะไรที่ไม่ไว้ใจเขาก็เลือกที่จะปิด” 

“ถ้าพูดในแง่ของประชาชนเราก็ได้เปรียบ เพราะว่ายิ่งปิดการรับรู้มันยิ่งเปิด ยิ่งอะไรที่รู้ว่ารัฐต้องการจะห้าม เราก็ยิ่งอยากรู้”

ติดตามและอัปเดตศิลปะที่สั่นคลอนอำนาจทั้งหมดได้ที่ artn't

EQ sit down with members of artn’t (pronounced “aren’t”), a Chiang Mai-based art collective known for making poignant social commentary through a variety of artistic mediums. With their firm anti-government stance, they are also one of the groups you often see at the demonstrations against the military junta.

“When the government can no longer be trusted, we have to find our own ways to deal with that. We have to create our own language and different art forms to portray Thailand as a failed state where people are dying.”

Art without structure

Looking at the name ‘artn’t’ at first glance, how do you think it’s pronounced? The answer varies depending on an individual and their own life experience. We are told that this elusiveness is, in fact, by design. The collective intends for it to be a concept that invites interpretations.

“[The name] is a play on language. We’re so used to thinking by the rules, so when we see something that’s grammatically incorrect, we get a bit confused. We have no idea how it’s supposed to be read. We have to re-arrange our way of thinking so that we can wrap our head around it and gain insight into what it truly means.”

The name is derived from the words “art” and “not.” If you were to translate it into Thai, the meaning is either “art not” or “not art.” Either way, its core concept still remains: art.

Fueled by power of the people

‘artn’t’ wouldn’t be what it is today if it wasn’t for the power of the people who wanted to see change in our country. From a small Facebook page, it has become a mouthpiece for the pro-democracy movement. The posts range from opinions to aesthetic art and performance art. 

“Performance art has a specific place and time. It goes hand in hand with people, atmosphere, energy, space, time, date as well as sound. Every element has its own meaning in itself, we’re just there to convey that message through actions. For example, we can come up with a performance that conveys the connotation of a specific time like 6pm or the date like October 6th. We play with certain situations.”

One of the members comments that artists tend to hide behind their social commentary artwork. It’s as if they locked themselves up in an art gallery, not knowing when their pieces will be appreciated. Artists should be bold enough to express their point of views and make them known to the public. Being in a public space as an artist feels like a release of feelings and emotions. It’s up to the audience how they receive the message.

The myths about art

Art is equal – Anyone can make art. You don’t have to be labeled an ‘artist’ to be able to do so. At the same time, there is no need to put someone on a pedestal just because they make art.

“As time evolves, I begin to notice a shift in our attitude towards art. We’re starting to abandon the notion that we should extol certain artists. All forms of art, regardless of who created it, has their own value. All artistic disciplines are equally valid whether it’s fine arts or sculpture. In this country, however, only the works of great masters seem to matter above all else. Is it because they fit the narrative set out by the state? What about all the other artists or creators? Do they not matter?”

“The state doesn’t get the sort of art created by the people. They don’t understand our language. They fail to grasp its meaning because it’s something they’re not used to seeing. It’s unconventional.”

“The government operates with the idea that it’s the center of the universe. Every branch of knowledge has to be approved and centralized. Anything that they deemed a threat or untrustworthy is subject to swift censorship.”

“It actually works in our favor because the more they attempt to hide or censor information, they more people want to uncover the truth.”