Culture

นิยามความเป็นชายของจีน – ความงามที่สังคมต้องการ กับแบบที่รัฐบาลอยากให้เป็น

Defining Masculinity: China’s Beauty Ideals and Government’s Vision

Photo credit: BROWSE CAT

ถ้าพูดถึงสื่อที่มาจากจีน ในช่วงนี้ภาพจำที่เราติดตากันคงจะหนีไม่พ้นลุคของผู้ชายร่างบางๆ หน้าหวานๆ ดูขี้อาย แบบ ‘หวังอี้ป๋อ’ หรือ ’เซียวจ้าน’ แม้แต่ใน Tiktok ก็จะมีลุคแนวสตรีทของหนุ่มๆ ในลักษณะคล้ายกันนี้ให้เห็นอยู่เป็นเนืองๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นค่านิยมความงามในอดีตที่กำลังย้อนกลับมาสู่สังคมอีกครั้ง แม้ว่าจะสร้างความนิยม และ soft power ให้กับวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้กลับถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีนอย่างเข้มงวด จนเราสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด จีนถึงกระตือรือร้นในเรื่องนี้เป็นพิเศษ 

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

Photo credit: THE DIACRITIC

คงต้องเกริ่นก่อนว่า ตั้งแต่ก่อนจีนจะเข้าสู่ยุคจักรวรรดิ นิยามความเป็นชายของจีนก็ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ‘เหวิน’ (文) ความสง่างามในแบบของบัณฑิตกับขุนนาง และ ‘อู๋’ (武) ความแข็งแกร่งในแบบของแม่ทัพกับทหาร ที่ผ่านมา เทรนด์ของชายที่ดูอ้อนแอ้นอรชรและมีใบหน้าค่อนไปทางสวย (เหวิน) จะได้รับความนิยมในหมู่ผู้หญิงมากกว่า ในปลายสมัยราชวงศ์ชิง ผู้ชายสามารถแสดงตัวว่าชื่นชอบเพศเดียวกันได้อย่างเปิดเผย ตั้งแต่จักรพรรดิกับขันทีจนถึงเศรษฐีกับบ่าวรับใช้ โดยฝ่ายที่มีอายุน้อยกว่าและมีฐานะทางสังคมต่ำกว่ามักจะคงความงามแบบเหวินไว้

Photo credit: Amazon

แต่จุดผลิกผันของความงามในรูปแบบนี้ต้องมาสะดุดลงเมื่อปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นช่วงเวลาที่จีนบอบช้ำจากความพ่ายแพ้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (The First Sino-Japanese War) นอกจากความสิ้นหวังแล้ว สิ่งที่พ่วงมาด้วยกลับเป็นความรู้สึกอับอายและถูกหยามเกียรติจากฝั่งศัตรูและอำนาจตะวันตกที่เข้ามา โดยเหตุผลที่จักรวรรดิต่างชาติมองว่าจีนล้าหลังไม่ใช่เพียงเพราะเทคโนโลยีห่างชั้นกันเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมกดขี่ผู้หญิงหลายอย่างและการที่ผู้ชายมีร่างกายผอมเพรียวแบบเหวิน ทั้งหมดนี้ทำให้จีนถึงกับได้ฉายาว่า ‘ชายป่วยแห่งเอเชีย’ (Sick Man of Asia) เลยทีเดียว 

Photo credit: Quora

เมื่อเป็นเช่นนี้ เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางจึงมองหาหนทางกอบกู้ศักดิ์ศรีแผ่นดินคืนมา และได้คำตอบคือการผูกความเป็นทหารกับความเป็นชายเข้าไว้ด้วยกัน ผู้ชายแบบ ‘อู๋’ เลยกลับมาเป็นกระแสหลัก เป็นผู้ชายแบบที่รัฐต้องการ การตัดสินใจนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดลัทธิดาร์วินทางสังคม (Social Darwinism) ของฝั่งยุโรป ซึ่งส่งเสริมความเชื่อที่ว่าความอยู่รอดของประเทศชาติขึ้นอยู่กับความเป็นชาย ที่เน้นความแข็งแรงทางกายภาพ การวางตัวในสังคม และการเป็นช้างเท้าหน้าของชายจีน

ปฏิวัติวัฒนธรรม ปฏิวัติความเป็นเกย์

Photo credit: INSIDER

หลังจบราชวงศ์ชิง จีนก็ก้าวสู่ยุคใหม่พร้อมกับระบอบการปกครองใหม่ อำนาจที่เปลี่ยนมือมากว่า 30 ปีตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ‘เหมาเจ๋อตง’ (毛泽东) ในปี ค.ศ. 1949 ด้วยหลักการคอมมิวนิสต์ ผู้ชายจึงมักถูกวาดให้มีภาพลักษณ์ของผู้ใช้แรงงานหรือทหารกล้ามโต (ความงามแบบอู๋) ที่เสียสละตนเพื่อประเทศมากกว่าความสำเร็จส่วนตัว และมีความภักดีต่อพรรคของผู้นำ ความรวมเข้ากับลัทธิขงจื๊อที่ว่า “เกิดเป็นผู้ชายต้องเป็นสามีที่ดีของภรรยา พ่อที่ดีของลูก และลูกที่ดีของพ่อแม่” ก็ยังไม่หายไปไหน และถูกทำให้ความเชื่อนี้แข็งแรง มีน้ำหนัก และกลายเป็นรากเหง้าของชาวจีนจนมาถึงทุกวันนี้

Photo credit: SILPA-MAG

แต่หลังจากนโยบายพัฒนาก้าวกระโดดไกล (Great Leap Forward) ที่จบลงด้วยความล้มเหลว เหมาจึงใช้บั้นปลายชีวิตไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรม (Great Cultural Revolution: ค.ศ. 1966-1979) เพื่อล้มล้างสิ่งเก่าๆ ที่เขาเชื่อว่าคอยขัดขวางไม่ให้แผ่นดินจีนมีความเท่าเทียมอย่างแท้จริง โดยบงการปลุกระดมใช้นักเรียนนักศึกษาเป็นมือเป็นเท้าในการโจมตีและสังหารคนที่เห็นต่าง หรือขัดแย้งกับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เมื่อนักศึกษาเหล่านี้หมดประโยชน์แล้ว เหมาก็ปิดท้ายด้วยการประณามและจัมกุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่งตัวพวกเขาไป ‘ปรับทัศนคติ’ โดยการใช้แรงงาน แถมยังใช้โอกาสนี้แอบรวบกลุ่มชายรักร่วมเพศที่ไม่ตรงกับกรอบความเป็นชายของพรรคคอมมิวนิสต์ ด้วยข้อหารบกวนความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองไปพร้อมกัน เรียกได้ว่ารวบทุกอย่างที่ไม่ใช่ความเป็นจีนในสายตาเหมาออกไปได้ในคราวเดียว 

วงการบันเทิงจีนสู่ตลาดโลก

Photo credit: creatrip

พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นิยามความงามของผู้ชายก็คล้ายจะย้อนกลับไปปลายสมัยราชวงศ์ชิงอีกครั้ง อุตสาหกรรมไอดอลเกาหลีที่กระจายไปทั่วโลกสร้างกระแสนิยมให้กับ ‘หนุ่มดอกไม้’ (꽃미남) ผู้นุ่มนวลและน่าทะนุถนอมคล้ายผู้หญิง เมื่อฐานแฟนคลับไอดอลเกาหลีและจีนขยายตัวออกไปเรื่อยๆ แม่จีนก็บัญญัติศัพท์เรียกคนดังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักแสดง หรือนายแบบที่อ่อนวัย หน้าหวาน และเจ้าสำอางว่า ‘เสี่ยวเซียนโร่ว’ (小鲜肉) ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ‘เนื้อสดชิ้นเล็ก’ เป็นคำเปรียบเปรยราวกับจะติดป้ายบอกว่าคนคนนี้คือหนุ่มน้อยน่าเคี้ยวสำหรับตัวเอง

Photo credit: trueID

ทั้งนี้ การอนุญาตให้ลงทุนสร้างเซเลบริตี้ชายในแบบดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์รักร่วมเพศจะถูกยอมรับตามไปด้วยในสายตารัฐบาลจีน เพราะถึงแม้ว่า ‘ความเป็นชาย’ แบบเหวินที่ต่างจากเหมาเจ๋อตงจะสามารถขึ้นฉายในสื่อกระแสหลักได้ ซีรีส์และภาพยนตร์ที่นำเสนอเนื้อหาชายรักชาย (และหญิงรักหญิง) ก็ยังถูกแบนอย่างไม่มีข้อยกเว้น จนโปรดิวเซอร์หลายคนต้องปรับสคริปต์ให้อยู่ในขอบเขต ‘มิตรภาพลูกผู้ชาย’ แทน

สู่การเปลี่ยนแปลงหรือย้อนรอยเดิม 

Photo credit: Tibetan Review

ในช่วงปลายปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายกับระเบียบควบคุมเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องเสียจนสำนักข่าวหลายแห่งตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งที่ 2 ก็เป็นได้ ซึ่งหนึ่งในการควบคุมที่ว่าคือ การแบนสื่อโทรทัศน์ทุกรูปแบบที่ถ่ายทอดชายที่มีลักษณะตุ้งติ้ง (娘炮) หรือ แต่งกายหรือประพฤติตนไม่ตรงตามเพศกำหนด

การออกระเบียบเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ‘สีจิ้นผิง’ (习近平) ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันของจีน ต้องการเดินตามรอยเหมาเจ๋อตงด้วยการลบล้างค่านิยมความงาม ที่ได้รับอิทธิพลจากวงการ K-pop และ J-pop และทำให้เยาวชนชายจีนไม่สนใจความเป็นชายในแบบที่พรรคคอมมิวนิสต์คาดหวัง ทั้งยังเป็นแบบอย่างที่นำไปสู่ ‘ความเสื่อมถอยทางศีลธรรม’ บ่งบอกความจริงอีกข้อว่า คนฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่างสี มองความรักร่วมเพศ รวมถึงคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ว่าเป็นวัฒนธรรมต่างชาติที่จำเป็นต้องกำจัดให้สิ้น

Photo credit: USA Today

แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน ถ้าเราสังเกตดีๆ คอนเซ็ปต์ความงามของเหวินก็ยังถูกนำมาปรับใช้กับสภาพสังคมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอายุที่น้อยกว่า ความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เป็นทรัพย์สินของผู้อุปถัมภ์ ก็ยังคงมีอยู่ แต่เปลี่ยนจากอำนาจที่เป็นการปกครอง มาเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหล่าแม่ๆ ได้อุ้มชูลูกๆ ของตนเองเอาไว้ และยังต้องดูกันต่อไปว่าทางการจีนจะจัดการและจัดระเบียบวัฒนธรรมเหล่านี้ให้เป็นไปในทางใด 

อ้างอิง

Hird, Derek. Masculinities in China 

Worth, Jun, McMillan et al. (2018). ‘There was no mercy at all’: Hooliganism, homosexuality and the opening-up of China. 

Zhang, Qian and Keith Negus (2020). East Asian pop music idol production and the emergence of data fandom in China. 

The Standard Podcast

China.org.cn 

USA Today 

 When talking about media from China these days, one can’t help but notice a recurring image – that of slim, sweet-faced young men like Wang Yibo or Xiao Zhan. This trend even extends to platforms like TikTok, where we see a similar style among young men. These trends are essentially reviving past beauty ideals and making a comeback in society. Despite their popularity and substantial influence on Chinese culture, they’re being tightly regulated by the government. This makes us wonder, why is China so deeply invested in this particular phenomenon? 

The beginning of change

Photo credit: THE DIACRITIC 

Before China entered the imperial era, the definition of masculinity in China was divided into two types: Wen (文), embodying the elegance of scholars and aristocrats, and Wu (武), representing the strength of warriors and soldiers. In the past, the trend of men appearing delicate and possessing feminine features gained more popularity among women. During the late dynastic periods, men, regardless of their position, could openly express same-sex affections, whether they were emperors or commoners. Typically, those who were younger and of lower social status often preserved the beauty ideals associated with ‘Wen.’

Photo credit: Amazon 

However, the turning point of this beauty ideal took a stumbling turn during the late Qing Dynasty, a period when China suffered the defeat in the First Sino-Japanese War. Besides the sense of disappointment, what followed was a feeling of embarrassment and scorn from both the enemy and Western powers that had entered. The reason for the perception of China’s decline by foreign dynasties was not solely due to technological disparities; it was also related to cultural restraints on women and the image of slim, delicate male bodies resembling the “Wen” type. All of these factors led China to be derogatorily labeled as the “Sick Man of Asia.”

Photo credit: Quora 

In such circumstances, the royal bloodlines and nobility sought a way to reclaim national glory, and their answer was to reestablish the significance of military prowess and masculinity intertwined. The archetype of “Wu” resurfaced as the dominant trend and became the type of man the state endorsed. This decision was influenced by the societal perspective of Social Darwinism from the Western Europe, which reinforced the belief that a nation’s survival depended on masculinity. This concept emphasized physical strength, societal positioning, and being the backbone of Chinese men.

Cultural Revolution & Revolution of LGBTQ+ Identity

Photo credit: INSIDER 


After the end of the Qing Dynasty, China entered a new era with a new form of governance. The power shifted hands for over 30 years, under the rule of Mao Zedong. In 1949, the country embraced communism. During this time, men were often portrayed as laborers or strong soldiers (reflecting the “Wang” image), sacrificing personal success for the greater good of the country. There was an emphasis on loyalty to the leadership and adherence to the Communist ideology. The traditional Confucian saying, “A man should be a good husband to his wife, a good father to his children, and a good son to his parents," still lingers and holds weight, shaping the beliefs of the Chinese people even to this day.

Photo credit: SILPA-MAG 

However, after the policy of the Great Leap Forward ended in failure, Mao turned to the Cultural Revolution (1966-1979) to eradicate what he believed hindered China’s true equality. Utilizing students as instruments, he launched attacks and executions against those who held differing views or contradicted Communist ideology. Once these students had served their purpose, Mao concluded the movement with purges and the suppression of those involved, sending them for “reeducation” through forced labor. In this turbulent period, he even covertly targeted same-sex relationships that deviated from the Communist norm of masculinity. This upheaval disrupted the peace of communities and essentially erased everything that wasn’t in line with Mao’s vision of Chinese identity, all in one swift move.

The Chinese entertainment industry enters the global market

Photo credit: creatrip

 

As we enter the 21st century, the definition of male beauty seems to be revisiting the aesthetics of the late Qing Dynasty. The K-pop industry in Korea, which has spread worldwide, has popularized the term “flower boys” (꽃미남) to describe delicate and effeminate young men who appear somewhat feminine. As fan clubs of K-pop idols expand into China, Chinese society has also adopted the term “xiao xian rou” (小鲜肉) to refer to various celebrities, whether they are singers, actors, or youthful models, who possess youthful and attractive features. This term roughly translates to “fresh meat” and serves as a metaphor suggesting that these individuals are young and enticing, suitable for one’s personal enjoyment.

Photo credit: trueID 

However, allowing investments in creating male celebrities in the aforementioned style does not necessarily imply that same-sex relationships are accepted within the framework of the Chinese government. While the “effeminate” form of male beauty, different from the “macho” appearance, can be highlighted in mainstream media, TV series and films that present content about same-sex relationships (both male-male and female-female) are still heavily censored. This has led many producers to alter their scripts to fit within the boundaries of “bromance” instead.

Towards change or a return to the past 

Photo credit: Tibetan Review 

In late last year, the Chinese government announced a continuous policy of controlling the economy and society, prompting several news outlets to note that this could be the second cultural revolution. One of the measures for control includes banning all forms of television that feature effeminate men or individuals who dress or behave in ways that do not conform to traditional gender roles.

The enforcement of such regulations reflects that Xi Dada, the current leader of China, aims to follow in the footsteps of Mao Zedong by erasing beauty standards influenced by K-pop and J-pop from the minds of Chinese youth, making them less inclined to embrace a non-conforming masculine identity as desired by the Communist Party. This also leads to a decline in moral values, underscoring the truth that conservative factions view inclusive concepts such as same-sex relationships and LGBTQ+ identities as foreign cultures that must be eradicated.

Photo credit: USA Today 

No matter how much time passes, if we observe closely, the concept of beauty influenced by “Wen” still finds its way into contemporary society. Whether it’s the younger generation or those who feel like masters, considering themselves as treasures of the fortunate, this mindset persists. However, it has shifted from a form of governance to an economic power. The ongoing question is how China will manage and shape these cultural aspects in the future. 

Sources:

Hird, Derek. Masculinities in China 

Worth, Jun, McMillan et al. (2018). ‘There was no mercy at all’: Hooliganism, homosexuality and the opening-up of China. 

Zhang, Qian and Keith Negus (2020). East Asian pop music idol production and the emergence of data fandom in China. 

The Standard Podcast

China.org.cn 

USA Today