Life

HappiCup : ถ้วยอนามัย เยื่อพรหมจรรย์ และประจำเดือน เรื่องของผู้หญิงที่ผู้ชายอ่อนไหว

Breaking the Taboo with Happi Cup

ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมผู้ชายไทย เราถึงมีปัญหากับเรื่องเหล่านี้เสียเหลือเกินไม่ว่าจะเป็น ถ้วยอนามัยที่ถูกสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อรองรับประจำเดือน และมันจะทำลายเยื่อพรหมจรรย์หรือเปล่า ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องของผู้หญิงเสียด้วยซิ 

วันนี้เราเลยได้พาคุณเมย์ - ภัททิยา ธนศรีวนิชชัย และ คุณตุลย์ - ภากร ธนศรีวนิชชัย เจ้าของแบรนด์ HappiCup ถ้วยอนามัยสำหรับผู้มีประจำเดือน พร้อมชวนพูดคุยเรื่อง Tabu ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวประจำเดือน มุมมองเกี่ยวกับผ้าอนามัยฟรี วันหยุดสำหรับผู้หญิงมีประจำเดือน และผู้ชายควรได้มีดโกนหนวดฟรีด้วยหรือไม่ ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ในบทสัมภาษณ์ 

ถ้วยอนามัย เรื่องใหม่ของคนไทย

ถ้าพูดถึงผ้าอนามัยหลายคนคงนึงถึงแบบแผ่นที่มีขายกันทั่วไปตามท้องตลาดหรือไม่ก็แบบสอดที่แพร่หลายในทางยุโรป แต่พอเป็นถ้วยอนามัย เราอาจจะยังไม่คุ้นชินกับผลิตภัณฑ์นี้เท่าไหร่ มาทำความรู้จักกับ Happicup ถ้วยอนามัยที่จะช่วยให้ชีวิตของคุณผู้หญิงไร้ข้อจำกัด

เมย์: เกิดจากทริปมัลดีฟส์ตอนปี 2019 ก็มีตุลย์ไปด้วย ระหว่างทริปก็มีฝนมาเรื่อยๆ จนวันสุดท้ายน้ำสวยฟ้าใสเลย แต่เมย์ดันประจำเดือนมา แล้วมาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้กิจกรรมทางน้ำทั้งหมดยกเลิกไปโดยปริยายเลย ได้แต่นั่งมองตุลย์ มองคนอื่นเขาเล่นน้ำกัน แล้ววันนั้นเป็นวันที่น้ำใส ฟ้าโล่งถ่ายรูปสวยมาก เมย์ก็ได้แต่อยู่บนฝั่งลงน้ำไม่ได้เลย หลังจากจบทริปนั้นคุณน้าของเมย์ได้แวะที่สิงคโปร์ก่อนกลับแล้วเจอถ้วยอนามัย ส่วนตัวเมย์ก็อยากลองใช้เลยฝากซื้อมาด้วย จนได้ลองใช้จริง มันแบบ ว้าวมาก มันคือความแห้งที่ไม่เคยรู้สึกมากก่อน เบา สบาย คือฉันทนอะไรมาตั้งเป็น 10 ปี เนี่ย 

ก็ลองใช้มาเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าเฮ้ย มันเปลี่ยนชีวิตเหมือนกันนะ อยากส่งต่อให้ทุกคนรู้จักสิ่งนี้ เลยแชร์ลง Facebook กับ Instagram ปรากฎว่ามีเพื่อนๆ ทักเข้ามาเยอะมาก ซึ่งเพื่อนเมย์ส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักสิ่งนี้ เหมือนเราเจอ pain point ของคนมีประจำเดือนที่เหมือนกัน แต่มันยังหาทางออกไม่ได้ เลยพูดกับตุลย์เลยว่า ฉันอยากทำสิ่งนี้ ก็เริ่มลงมือทำกันเลย 

ตุลย์: ส่วนผมก็รู้จักกับถ้วยอนามัยครั้งแรกพร้อมกับพี่เมย์เลย เพราะที่เรารู้กันมาก็จะมีแค่แบบแผ่น มากสุดก็มีแบบสอด แต่แบบถ้วยนี้ไม่เคยเห็นเลย แต่ก็ไปรู้มาว่าที่ฝั่งอเมริกา ฝั่งยุโรป เขาก็ใช้กันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ก็จะเป็นแบบถุงผ้าที่เคยเห็นมา 

เมย์: อย่างที่ตุลย์เล่า พอเป็นถุงผ้ามันมีเรื่องของความเปียก เลอะเทอะ ระหว่างปัสสาวะได้ เมย์เลยคิดว่าอยากหาอะไรที่ทำแล้วมันมีความยั่งยืนกว่านั้น ระหว่างนี้เราทำการค้นคว้าหนักมาก ทั้งเพื่อนเมย์ เพื่อนตุลย์ ใครที่มีปัญหาเราเข้าไปคุยทั้งหมด ไอเดียเลยมาจบที่ถ้วยซิลิโคน ก็ยังมีเรื่องความแข็งความนิ่มของเนื้อสัมผัส รูปทรงที่เหมาะกับสรีระคนเอเชียจนได้ออกมาเป็น HappiCup อย่างทุกวันนี้ และที่สำคัญเลยเมย์ได้วางระบบหลังบ้านเอาให้แน่นที่สุด เพราะการใช้ถ้วยอนามัยเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย เราต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ใช้ตั้งแต่ วิธีเริ่มใช้ การใส่ - ถอด วิธีการดูแลรักษา ปัญหาที่พบได้ระหว่างใส่ เราคิดแทนคนใส่ทั้งหมดเพื่อให้ผู้หญิงที่ใส่อุ่นใจ มีปัญหาตรงไหนทีมแอดมินพร้อมตอบและให้คำปรึกษาตลอด ก็ได้รับคำชมเยอะมาก เสียงตอบรับดีมาก

FAQ ของ Happicup 

ถ้วยอนามัยที่เป็นเรื่องใหม่มาก สำหรับคนไทย แน่นอนว่าต้องมาพร้อมคำถามมากมายของผู้ใช้และผู้ที่สนใจ เรื่องราวแบบไหนที่เป็นคำถาม FAQ ที่ทาง HappiCup ต้องเจออยู่บ่อยๆ 

เมย์ & ตุลย์: (หัวเราะ)

เมย์: เยอะมากนะ พูดในมุมของเมย์ก่อน คนไทยรู้เรื่องสรีระของร่างกายตัวเองและเรื่องสุขศึกษาน้อยมากๆ เมย์เจอคำถามว่าใส่แล้วจะปัสสาวะยังไงบ่อยมาก ก็ถือโอกาสให้ข้อมูลเลย สรีระผู้หญิงมีช่องในบริเวณนั้นอยู่ 3 ช่อง ปัสสาวะ ช่องคลอด และ ทวารหนัก แต่มันมีทางออกใหญ่ร่วมกัน การปัสสาวะในช่วงประจำเดือน มันจะเหมือนมีเลือดออกมาด้วย พอใส่ถ้วยอนามัยเข้าไปมันจะไปรองเลือดเอาไว้ ทำให้เลือดไม่ไหลมารวมกัน เห็นเรื่องนี้ตุลย์ก็มีดราม่าในทวิตเตอร์ไปหนึ่งยก (หัวเราะ)

ตุลย์: เรื่องมายาคตินี่ก็เยอะนะ คือเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่ว่าเลือดประจำเดือนคือเลือดสกปรก ของเสีย หรือไปถึงเรื่องไสยศาสตร์ มันเลยเป็นความคิดที่ว่าประจำเดือนไม่ควรเก็บไว้ในตัว เลือดเสียเก็บไว้ในร่างกายจะดีหรือเปล่า ต้องอธิบายเรื่องทาบูนี้ก่อน คือประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสียแต่เป็นการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกที่มันขยายตัวแล้วไม่มีตัวอ่อนมาเกาะ มันคือเลือดที่มีความสมบูรณ์มากเป็นเลือดคุณภาพ แล้วการที่มันลงมาอยู่ในถ้วยคือการรองรับเลือดเหล่านี้เอาไว้ไม่ให้ไหลออกไปข้างนอก พอถึงเวลาเราก็ถอดออก อย่างการใส่ผ้าอนามัยยังมีการ oxidized ของเลือดกับอากาศทำให้มีกลิ่น สี หรือการใส่แบบสอดที่เป็นการซึมซับเลือดไว้ในไฟเบอร์ ยิ่งที่ให้มีโอกาสการซึมกลับของเลือดมากกว่าอีก ยังมีเรื่องของการต้มถ้วยอนามัยที่ห้ามทำในครัว แม้ว่าจะแยกหม้อแล้วก็ตาม เยอะมากเลยครับเรื่องความเชื่อเนี่ย ก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป 

เมย์: เรื่องนี้ก็ติดคำถามยอดฮิตที่ส่วนใหญ่มาจากผู้ชาย จะเป็นเรื่องเยื่อพรหมจรรย์ เราก็จะมีคำถามว่าเห้ย What so matter with the word “พรหมจรรย์” 

“การที่เขาสอดอะไรเข้าไปเพื่อรองรับประจำเดือน มันไม่ได้หมายความว่าคุณค่าของผู้หญิงคนนั้นจะลดลง”

แต่เขาหาวิธีที่สบายและตอบโจทย์การรับมือกับประจำเดือน คุณ (ผู้ชาย) ไม่มีประจำเดือนไม่รู้หรอกว่าแต่ละเดือนผู้หญิงต้องทุกข์ทรมานขนาดไหน

ผ้าอนามัยฟรี กับถ้วยอนามัยเสียเงิน 

อีกหนึ่งการเคลื่อนไหวของฝั่งสิทธิสตรีที่ต้องการให้รัฐเข้ามาให้การช่วยเหลือผู้หญิงกับการมีประจำเดือนด้วยการแจกผ้าอนามัยฟรี ทำให้เราสงสัยว่าแล้วอย่างนี้ HappiCup จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ 

เมย์: ในความเห็นของเมย์ที่เป็นคนมีประจำเดือนคนหนึ่ง เมย์มองว่าถ้ามีให้ใช้ฟรีมันดีไหม มันก็ดี แต่ของฟรีก็ไม่ใช่ของดีไปเสียหมด ถ้ามีของฟรีแสดงว่า รัฐจะต้องไปจัดหา มีการจัดซื้อ คัดสเปก ประมูล อีกหลายขั้นตอนที่ไม่รู้ว่ามันโปร่งใสแค่ไหน และสเปกที่เลือกมา ก็ไม่รู้ว่ามันจะตอบโจทย์ทุกคนหรือเปล่า ทุกวันนี้ยังมีแบบหนา แบบบาง แบบยาว แบบเย็น มีปีก ไม่มีปีก สารพัดแบบให้เลือก เมย์เลยคิดว่าการให้ฟรีมันไม่ได้ตอบโจทย์ขนาดนั้น แต่เมย์เชื่อว่าเราควรมีสวัสดิการบางอย่างให้กับผู้หญิงอย่างเช่น อาจจะเป็นเงินสวัสดิการสำหรับผู้มีประจำเดือนทุกคน แล้วให้เขาไปเลือกของที่เขาใช้เอง อยากได้ของแพงกว่านั้นก็จ่ายส่วนต่าง หรือถ้าอยู่ในงบที่ให้ ก็เก็บส่วนที่เหลือไว้สมทบต่อได้ อีกอย่างมันป้องกันการผูกขาดกับเจ้าใดเจ้าหนึ่งได้ด้วยนะ

ตุลย์: เรื่องฟรีไม่ฟรีอันนี้ผมเห็นด้วยกับพี่เมย์นะ แต่อีกเรื่องที่เราสามารถทำได้เลยคือเรื่องภาษี ผ้าอนามัยมันไม่ควรมีภาษีเลย อย่างแรกผู้หญิงไม่ได้เลือกสรีระด้วยซ้ำว่าต้องการจะมาอยู่ในสรีระนี้ไหม เขาเลือกไม่ได้ว่าโตมาไม่อยากมีลูกนะ ขอไม่มีตั้งแต่แรกเลย มันไม่ใช่ไง แล้วทำไมเราถึงจะต้องให้เขาแบกรับภาษีเหล่านี้อีก vat 7% นี่ไม่ควรมีเลย ไหนจะมีพวก Pink Tax กับสิ่งของที่ถูกดีไซน์สำหรับผู้หญิงอีก ไหนจะมีเรื่องยกทรงอีก นี้ยังไม่ลงในรายละเอียดเลยนะว่ามันมีอะไรอีกยุบยิบมากมาย ก็เห็นแล้วว่าเพื่อนมนุษย์เราต้องแบกรับอะไรเยอะขนาดนี้เลยเหรอ 

อดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้าผ้าอนามัยฟรีแล้ว จะกระทบการธุรกิจของทั้งคู่ไหม 

เมย์: มันคงมีการกระทบบ้าง แต่อย่างที่บอกไป เมย์เชื่อว่าถ้าคนที่มีประจำเดือนมาจริงๆ แล้วมีโอกาสได้เลือกใช้สินค้าพวกนี้ด้วยตัวเอง ก็จะรู้ว่าอะไรที่เหมาะกับเราไม่เหมาะกับเรา ตัวอย่างเช่น ผ้าอนามัยมีสูตรเย็น มีกลิ่นชาโคล บางคนอาจจะใช้แล้วได้ผล บางคนอาจใช้แล้วแพ้ สุดท้ายแล้วมันจะต้องมีคนที่ใช้โปรดักส์เราแล้วมันให้ประสบการณ์ที่ดี และเมย์เชื่อว่าสิ่งที่เราให้ เราให้ได้เหนือกว่าผ้าอนามัย มันทำให้ผู้หญิงมีอิสระจากประจำเดือนจริงๆ ทำให้รู้สึกว่าวันนั้นของเดือนคือไม่ใช่วันนั้นของเดือนอีกต่อไป 

ตุลย์: กระทบหรือไม่กระทบ ส่วนตัวผมไม่ได้เป็นปัญหากับมันนั้น ไม่เท่ากับเรื่องที่เพื่อนมนุษย์ของเราจะมีทางเลือกในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้นหรือเปล่า อันนี้ผมว่ามันสำคัญกว่ามาก 

“ประจำเดือน” อยากเปลี่ยนแปลงมายาคติอะไรกับคำนี้บ้าง 

พอพูดถึงคำว่าประจำเดือน หลากหลายความหมาย หลากหลายภาพจำ ของคำนี้ต่างพรูพรุ่งเข้ามาตามแต่มุมมองและการรับรู้ของแต่ละคน แต่สำหรับเมย์และตุลย์ที่คุ้นเคยกับคำนี้เป็นอย่างดีมีอะไรอยากเปลี่ยนแปลงหรือทำความเข้าใจกับคำนี้ใหม่ในแง่มุมไหนบ้าง 

ตุลย์: ผมอยาก raise awareness ให้มากขึ้น มันไม่ใช่ว่าเราไม่มีแล้วเราจะไม่ลำบาก เราสามารถช่วยให้คนที่ลำบากในการใช้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นได้ ผมเห็นผู้ชายหลายคนพูดแนวๆ ก็เกิดมาเป็นผู้หญิงเอง ก็ต้องมีประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมดา คือโลกนี้มันเป็น patriarchypatriarchy มานานเสียเหลือเกิน จนกระทั่งเรามองข้ามความลำบากของคนอีกครึ่งโลกที่ต้องประสบอยู่ทุกเดือน มันควรถูกแก้ไขไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่บังคับให้เขาจำยอมกับความลำบาก แค่เริ่มต้นด้วยการให้ความเห็นอกเห็นใจมันก็น่าอยู่ขึ้นแล้ว 

แล้วผมอยากให้มันหมดไปซักทีกับการถือผ้าอนามัยแล้วบอกว่าเป็นขนมปัง ผ้าอนามัยก็คือผ้าอนามัย ผู้ชายก็ไม่ต้องไปแซว มันเป็นความจำเป็นในการใช้ชีวิตของผู้หญิง เราอยู่ด้วยกันแบบเอื้ออำนวยดีกว่า 

เมย์: อีกเรื่องที่อยากให้เปลี่ยนมุมมองคือ ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิเลือกอะไรที่มันเหมาะกับตัวเอง ตอบโจทย์ และสบายที่สุด การไปตราหน้าว่าผู้หญิงที่ใช้ถ้วยอนามันคือแปลก บางคนไปถึงเรื่องเซ็กซ์ทอย เมย์ว่าเรื่องแบบนี้มันทำให้คนที่ใช้ก็รู้สึกไม่ดีด้วย แล้วมันไม่ได้ไปเกี่ยวกับเยื่อพรหมจรรย์อะไรแล้ว ถึงมันเกี่ยวก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวผู้หญิงที่ใช้ถ้วยอนามัยลดน้อยลงไปเลย 

ผู้หญิง กับ วันลาหยุดประจำเดือน 

เมย์: อันนี้เมย์ว่าเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันยาก จริงๆ ไม่ได้มีใครหรอกอยากป่วย ไม่ได้อยากมีประจำเดือน คือถ้ามีมันก็ดี แต่ส่วนตัวอาจจะยังไม่ได้สำคัญที่สุดถ้าเทียบกับเรื่องที่ว่าค่าใช้จ่ายที่เขาต้องจ่ายเกี่ยวกับการมีประจำเดือน

มันอาจจะไม่มี solution ที่ตายตัวสำหรับทุกสังคม ถ้ารอให้รัฐออกกฎหมายน่าจะอีกนาน แต่ถ้าในฐานะบุคคล เราทำงานเอกชน ถ้ามันมีอาการหนักจริงๆ เราก็มีกฎภายในให้หยุดไป เราช่วยกันก่อนที่เราจะรอให้รัฐช่วย

ตุลย์: ส่วนผมไม่เคยคิดว่ามันเป็นการเอาเปรียบอะไรนะ เพราะผมไม่เคยรู้สึกถึงความทรมานนั้นด้วยซ้ำ ผมเลยไม่รู้ว่าจะไปตัดสินทำไมว่าควรมีวันหยุดหรือไม่ควรมีวันหยุด 

ผู้หญิงได้ผ้าอนามัยฟรี ผู้ชายควรได้มีดโกนหนวดฟรีไหม 

เมย์: เอาจริงๆ แอบรู้สึกแย่นิดหนึ่ง ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย ไม่รู้ว่าผู้ชายมี pain point ตรงนี้ยังไงบ้าง อาจจะต้องให้ตุลย์ตอบ

ตุลย์: มันก็ยากที่จะคุยเหมือนกันนะ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องการจัดการประจำเดือนเป็นสารคัดหลั่งจากร่างกาย การจัดการมันมีความยุ่งยากกว่า แล้วมันมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเพื่อสุขอนามัย คือมันเป็นเรื่องพื้นฐานของสุขภาพ แต่สำหรับหนวดมันคือการเลือกจัดการบางคนอาจจะไว้ยาว บางคนอาจจะไม่ชอบ หรือผู้หญิงบางคนก็มีหนวดอ่อนๆ ก็ต้องเสียค่ามีดโกนเหมือนกัน มันเป็นการจัดการในระดับที่เท่ากัน ผมเลยมองว่ามันไม่ต้องมีมีดโกดหนวดฟรี 

สำหรับผู้ชายมันอาจจะมีเรื่องของความผิดปรกติของอวัยวะเพศ หนังหุ้มปลายตีบหรือความผิดรูปใดๆ ที่ต้องแก้ไข อันนี้ผมว่าอาจจะต้องมีสิทธิรักษาจากรัฐ นอกจากเรื่องนี้แล้วผมไม่รู้สึกว่ามีเรื่องไหนชาเลนจ์ผู้ชายแล้วนะ 

คิดว่า Happicup จะเติบโตไปในทางไหนได้อีกบ้าง 

เมย์: ในปีนี้เราก็ตั้งใจจะทำพวกเจลหล่อลื่นสำหรับการช่วยใส่ กับหม้อต้มที่เป็นแบบเฉพาะของ Happicup �

Topics related to feminine hygiene such as menstrual cup, hymen, and period often cause qualms to Thai men. Some even fear that women’s use of menstrual cups will lead to their hymen being broken. What led to that thinking and why are these topics considered taboo in the first place? EQ sit down with Pattiya “May” Thanasrivanitchai and Pakorn “Tul” Thanasrivanitchai, the siblings behind menstrual cup brand called Happi Cup, to discuss myths about period, free tampons, period leave, and whether or not men should have access to free razors as well.

Menstrual cup, a new concept for most Thais

When it comes to women’s sanitary products, most people tend to think of pads or tampons which are more prevalent in Europe. Menstrual cups, on the other hand, are still relatively a new thing.

May: We went on this trip to Maldives in 2019. It was raining the whole time. When the weather finally turned clear on our last day there, I suddenly got my period which meant that I couldn’t do all these water activities. It was a real bummer having to sit and watch other people enjoying themselves in the sun. Then, a relative of mine introduced me to Happi Cup which completely blew me away. I’d never experienced such light and comfortable dryness before. I’m not sure how I went through all these years without knowing about it. The more I used them, the more I realized how beneficial they were. When I posted about these cups on Facebook and Instagram, my friends all got really curious because they didn’t know that such a thing existed. These common pain points led me to the decision to launch Happi Cup in Thailand.



Tul: We actually learned about menstrual cups at the same time. Before then, I only knew about pads and tampons. Menstrual cups are apparently more commonly used in the US and Europe, although most of them are made from fabric.

May: Like he mentioned, the fabric kind is not very practical to use as it can get wet and messy. A lot of research went into finding something more sustainable before we finally settled on silicone due to its soft texture. And since most women are still not familiar with these cups, we’ve made sure to explain everything thoroughly so that our customers are able to use our product with ease. We also have a dedicated team of staff who will answer any questions on our page.

What are some of the most asked questions you get about Happi Cup?

May: We’re often clueless about how own bodies work so questions like ‘how am I supposed to pee when I’m using Happi Cup?’ come up a lot. First of all, we have to understand that females have three different entrances in our pelvic region: the urethra, the vagina, and the anus. The cup sits in the vaginal canal so it’s only collecting menstrual blood and nothing else. I think Tul was involved in some Twitter drama about this. (laughs)

Tul: There are a lot of myths about period. We’re raised to believe that period blood is dirty and that it’s assocaited with some kind of dark magic. It’s important to understand that period blood isn’t rejected blood, rather a type of fluid that contains blood, cells from the uterus lining, and mucus. These cups collect that liquid and then you empty it out. With pads or tampons, however, there’s a risk of oxidization which can cause unpleasant smell. Some people also believe that they’re not supposed to clean the cup in the kitchen. There are many things that still need to be debunked.

May: Men love asking about women’s hymen and virginity. They want to know if these cups will have any impact on that. I’m not quite what the big fuss is about virginity. Men have no idea how painful it is for us to get period every month.

“Just because women insert a device in their vagina to collect menstrual blood doesn’t mean they’re any less of a woman”

Free sanitary pads Vs. Happi Cup

There’s been a push from the women's rights group for the government to provide women with free menstrual products. If this finally happens, how do you think it will impact your business?

May: As a woman, I think it’s a good initiative. I’m just not entirely convinced how transparent the whole thing will be in the hands of the government. There are also all these different types of pads and tampons available so how do they know that the one they choose will accommodate most women? Instead of free pads, how about a system where women are entitled to a sanitary products benefit? This can help eliminate any potential monopoly of a certain brand as well.

Tul: I agree with May. One thing that can be implemented right away is getting rid of tampon tax. Women didn’t choose to be born as women so it’s not really fair to make them bear this 7% vat burden, not to mention all this pink tax you find in products aimed at women.  

May: If free pads become a thing, our business will of course be impacted one way or another. But I believe that it’s up to women to choose the products that suit them the most. Some people prefer pads with cooling sensation or charcoal scent whereas others may be allergic to them. I believe that our product will allow customers to have a better experience.

Tul: I’m not really worried about the impact. I’m more concerned about providing people with products that will help improve their quality of life. 

Which myths about period do you wish to change the most? 

Tul: I want to raise more awareness, especially to men. I’ve heard guys saying things like “periods are normal for women” because we live in patriarchical society and sometimes we forget that the other half of the population has to go through this painful process every month. Let’s start by having some sympathy towards women and stop making fun of women buying pads and tampons.

May: Women have the right to choose what’s best for them. Some people go so far as to comparing these cups to sex toys. It has nothing to do with women’s virginity.

Women and period leave 

May: Personally, I have nothing against it. No one wants to suffer menstrual pains if they could choose. The most important thing for me is the expenses that come with having period. It might take a while for the law to pass, but it should be up to a company to implement this rule.

Tul: I’ve never experienced menstrual pains so I’m in no position to have a say in the matter. 

If women are provided free pads or tampons, do you think men should also be provided free razors?

May: I’ve never actually thought about this before. I feel bad! What do you think, Tul?

Tul: It’s a difficult topic to discuss. I do think, though, that it takes a lot more to deal with period blood which is a matter of personal hygiene. Facial hair is very much a personal choice. Some women also need razors, so how do we make sure that it’s equally provided? Personally, I don’t think it’s necessary to make razors free for all. But if it’s something to do with the male genitals or issues that need medical intervention, I think the government should provide the treatment for free.

What’s next for Happi Cup?

May: We’re planning to launch our own lubricant, a pot, and a new cup model. We hope to also expand to other Asian countries this year.