Identity

มายาคติ เงื่อนไขการยอมรับ และการกดทับความหลากหลาย  ที่ถูกถ่ายทอดผ่าน ‘บันทึกกะเทยอีสาน’

In Conversation with ปณต “Teuy” ศรีนวล, the Voice Behind ‘Banteuk Kateoy Issan’ and Trans Invisibility

บทสัมภาษณ์พิเศษพูดคุยกับ ‘เต้ย - ปณต ศรีนวล’ ในบทบาทของนักเขียน กับผลงานหนังสือล่าสุด “บันทึกกะเทยอีสาน” ที่ไปชนะโครงการ Progressive Fund จาก Common School ภายใต้การดูแลของ คณะก้าวหน้า กับการตีแผ่ประสบการณ์ของผู้เขียนที่ต้องพบเจอความไม่เท่าเทียมทางเพศ ปัญหาถูกกดทับจากระบบชายเป็นใหญ่ และการกระจายความเจริญที่ไม่ทั่วถึงทุกภาคส่วนในประเทศไทย

ในบทสัมภาษณ์นี้ เราได้ชวนเต้ยมาคุยเกี่ยวกับเรื่องคัลท์ที่สุดในหนังสือที่ได้เจอมา รวมถึงคำแนะนำที่มีให้เยาวชนคนข้ามเพศ และการเปิดรับความหลากหลายทางเพศในภาคอีสาน เราเริ่มเปิดบทสนทนาด้วยการถามคำแรกกับเต้ยว่า:

คิดว่าเรื่องราวบทไหนในหนังสือคือประสบการณ์ที่คัลท์ที่สุด และไม่คิดว่าจะได้เจออะไรแบบนี้

“บทที่เต้ยรู้สึกว่าคัลท์ที่สุดคือบทที่ไปอยู่วัด ก็คือการที่ตายแล้วไปรู้ว่าพระมีอะไรกัน สามเณรมีอะไรกัน เราคิดมาตลอดว่าวัดคือพื้นที่บริสุทธิ์ คิดว่าผู้ชายไปอยู่ร่วมกันเยอะๆ แล้วความเป็นชายจะหนักแน่น แต่ใครจะไปคิดว่าตรงนั้นมีพื้นที่ของคนรักเพศเดียวกัน (gender homosexual) ด้วย ตรงนั้นคล้ายๆ กับอาณาจักรในแง่ที่ว่า ผู้ชายหน้าตาดีตัวท็อปจะมีอำนาจ”

“เขาจะโดนจีบโดยกลุ่มแฟนด้อมสาวๆ เต้ยก็อยู่ในกลุ่มสาวๆ แต่ทุกคนอยู่ในกลุ่มสามเณร เราก็โดนจับคู่กับพี่คนหนึ่ง ตอนนั้นเป็นสามเณรหัวโปก ก็เลยจะมีการค้านอำนาจด้วย ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงสามเณร แล้วสามเณรสาวๆ ก็มีพี่เจษ ซึ่งเป็นพี่สามเณรสาวอีกคนหนึ่งเป็นพี่เลี้ยง พอนึกออกไหม มันก็จะเป็นเหมือนกะเทยตัวแม่ดูแลกะเทยตัวลูก จากที่เคยคิดว่าวัดจะได้ชูความเป็นชาย มีความเป็นชายมากขึ้น ตอนนั้นเราเชื่อว่ามันจะมีวิธีที่ทำให้เราไม่เป็นทรานส์ แต่พอเข้าไปจริงๆ ยิ่งทำให้ค้นพบตัวตนว่าเราคือทรานส์เจนเดอร์ ”

มีคนอ่านมาแชร์เรื่องราวของตัวเองที่คล้ายกับหนังสือบ้างไหม?

“หลายคนที่ทักมาจะไม่ทักมาในฐานะคนข้ามเพศเหมือนกัน แต่จะทักมาในฐานะคนอีสาน เขาเข้าใจมากๆ ว่าการหลุดพ้นจากความยากแค้นจะต้องผ่านการศึกษา เพราะฉะนั้นจึงต้องตื่นแต่เช้า นั่งรถไฟไป-กลับเพียงเพื่อเติมความหวังว่า โตขึ้นจะได้มีเงินแล้วหลุดพ้นจากความจน มีอีกหลายคนด้วยที่เข้าใจในจุดที่ไม่ได้อยากเรียนสายอาชีพ อยากเรียนคณะอักษรฯ แต่ดันไปอยู่ต่างจังหวัด มันก็จะมีแรงต่อต้านเต็มไปหมด พวกเราที่เป็นทั้งคนอีสานและ LGBTQ+ ต่อสู้กันมาเยอะ เรื่องอัตลักษณ์ทับซ้อนเป็นเรื่องจริง”

Photo credit: The Isaan Record

คิดว่าในปัจจุบัน มุมมองสังคมไทยในต่างจังหวัดโอบรับความเป็น LGBTQ+ มากขึ้นไหม?

“ในต่างจังหวัดยังเป็นการยอมรับอย่างมีเงื่อนไข มีการโอบรับดีขึ้นมากเลยนะ แต่มันต้องกับความเชื่อที่ว่าคนกลุ่มนี้จะต้องมาทำหน้าที่บางอย่าง ต้องเรียนเก่ง ต้องทำงานที่ดี อย่างตอนนี้เต้ยเองก็เป็นผู้ช่วยวิจัย ซึ่งต้องลงพื้นที่ ครั้งหนึ่งเราได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์กะเทยในจังหวัดทางภาคเหนือ ก็เลยได้รู้ว่าพวกเขาก่อตั้งกลุ่มไว้ไปช่วยทำงานต่างๆ เช่น บายศรี เพราะถ้าคุณเป็นกะเทย คุณต้องมาเข้าร่วมกลุ่มทำบายศรี ถ้าไม่มาหรือทำไม่เป็นก็ต้องทำให้เป็น ซึ่งมันก็แสดงให้เห็นว่าขนาดคนที่เป็น LGBTQ+ ยังมีปัญหาการกดทับเรื่องเพศภายในคอมมูนิตี้เหมือนกัน การยอมรับจึงมาพร้อมเงื่อนไขบางอย่างเสมอ”

อะไรคือปัญหาหลักของการยอมรับและเห็นค่าเยาวชน LGBTQ+ ในต่างจังหวัด

“ปัญหาหลักในต่างจังหวัดก็คือ เรื่องของความเชื่อจากคนในกลุ่มที่กดทับกันเอง เต้ยเคยได้ยินคำว่า “เป็นกะเทย ยังไงก็ใส่ซองกันหมด” (จ่ายเงินเพื่อให้ได้ผู้ชาย) ความเชื่อพวกนี้เป็นความเกลียดกลัวคนข้ามเพศ ซึ่งคนในกลุ่มพูดใส่กันเอง ถ้าสมมติว่าคนในกลุ่มยังไม่ปลดแอกจากความคิดนี้ได้ ก็ยากที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ คนกันเองจึงต้องช่วยกันปลดแอกความคิดนี้ ปัญหานี้ได้ถูกนำไปอยู่ในวาระข้อมูลของ UPR (Universal Periodic Review) ด้วยว่าคนข้ามเพศมีแนวโน้มที่จะไม่รวย เพราะเขาพร้อมจะจ่ายเพื่อให้ได้รับความรักหรือการยอมรับ กะเทยหลายคนไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ แต่พอถึงเวลาที่พ่อแม่แก่ตัว ก็ต้องกลับมาดูแลเพื่อความรัก หรือจ่ายให้ผู้ชายเพื่อชดเชยในสิ่งที่ตัวเองให้ไม่ได้ คนข้ามเพศเลยติดอยู่กับความสัมพันธ์ที่กดทับพวกเขา ด้วยความเชื่อที่ว่าถ้าไปจากคนนี้ ก็จะไม่มีใครรักเรา”

เต้ยแชร์ประสบการณ์ของตัวเองต่อปัญหานี้เพิ่มเติมว่า “เต้ยสู้เรื่องนี้มานานมาก ตอนที่เต้ยมีแฟนคนแรก เต้ยทำทุกอย่างเพื่อขอให้เขาอยู่กับเรา เต้ยวางแผนว่าจะไปเรียนต่อ แต่ก็ทิ้งทุกแผนเพื่อให้ได้รับความรัก ตั้งแต่นั้นมา เต้ยใช้เวลาครึ่งปีในการเรียนรู้ เราก็สำเร็จได้จากการทำงาน ทำโปรเจกต์ที่ทำงานหนัก มันคือการชดเชยช่วงเวลาที่ผ่านมา เต้ยรู้สึกผิดกับตัวเองในตอนนั้น นี่คือเบื้องหลังของคนที่ทำงานเก่งมากๆ ที่หลายคนเห็น มันมีอะไรขาดหายไปที่เต้ยต้องพยายามเอามาเติมเต็ม”

คิดว่าทำไมการมีพื้นที่ถูกมองเห็นและถูกนำเสนอในสื่อจึงสำคัญแก่ LGBTQ+

“การแสดงให้เห็นถึงตัวตนและการมีอยู่ของคนข้ามเพศที่ง่ายที่สุด คือการทำให้พวกเขาถูกมองเห็นในสื่อ ในมุมมองของคนขับเคลื่อน เราก็จะเห็นว่ามันมีพลังและทำให้เรามีพื้นที่มากพอ แต่พอเราเดินออกไปจากขบวนไพรด์สัก 200 เมตร คนก็ไม่เข้าใจกันแล้วว่าเรามาเดินทำไม มันยังมีคนที่ไม่เข้าใจอยู่เยอะ นี่คือสาเหตุว่าทำไมมูฟเมนต์ถึงต้องเคลื่อนต่อ ถ้าการทำให้ถูกมองเห็น (Visibility) ไม่เกิดขึ้น สิทธิ กฎหมาย ชดเชยผลประโยชน์ก็จะไม่มีเลย สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจ ถึงคนจะบอกว่าเยอะแค่ไหน เราก็ยังเป็นคนกลุ่มน้อย เราจึงต้องรวมตัวกันผลักดันเพื่อให้คนกลุ่มน้อยอย่างเราได้รับสิทธิที่ควรได้รับตั้งแต่ต้น”

คำแนะนำที่อยากจะฝากให้ Trans Youth ในไทย

“สิ่งที่เต้ยอยากจะบอกเยาวชนคนข้ามเพศ (Trans Youth) คือมันมีหลายความเชื่อที่ว่า เราจะมีอนาคตที่ไม่สดใสเหมือนคนรักต่างเพศ แต่เราอยากให้รู้ว่ามันจะโอเคในท้ายที่สุด สิ่งที่คิดไว้จะมีโอกาสเป็นจริงเยอะ และที่มันเป็นจริงก็เพราะสังคมอยากให้เป็น แต่ที่มันจริง ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าเยาวชนคนข้ามเพศได้อ่านข้อความนี้ คำแนะนำที่อยากจะบอกก็คืออยากให้แข็งแกร่ง ให้กล้าที่จะเป็นตัวเอง ถึงสังคมไม่รักเรา มันก็จะมีคนที่รักเรา และเชื่อใจเราในท้ายที่สุดเสมอ”

ปัจจุบัน ‘เต้ย’ เป็นผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการประจําสํานักข่าว “GendersMatter” ที่ทําประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ทับซ้อน นอกจากนี้ เธอยังเขียนหนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าของเต้ย: คนข้ามเพศ รัฐสวัสดิการ และการพัฒนาประเทศ” ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกก่อน “บันทึกกะเทยอีสาน” นี้

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวใหม่ๆ จากพวกเราได้ที่ Exotic Quixotic

In this exclusive interview, EQ sit down with ปณต “Teuy” ศรีนวล to discuss her latest book “Banteuk Kateoy Isaan” (“Isaan Trans Diary”) which has won the Progressive Fund from Common School, under the supervision of the Progressive Movement. Here, we will explore the author’s experiences in encountering gender inequality, the suppression of issues stemming from a male-dominated system, and the uneven distribution of prosperity across different regions in Thailand.

In your opinion, which chapter of your book is the wildest?
“It’s this chapter where I ended up staying at a temple. It delves into facing mortality and discovering what the monks and novices go through. All along, I had this idea of the temple as this sacred haven. I thought that in a setting where many men coexist, traditional masculinity would dominate. But who would’ve ever guessed that in that very context, there’d also be room for gay men. It’s kind of like discovering a hidden realm within, where this hot top wields influence.”



“So, he would get hit on by these novice monks, me included. Each group would have an older novice guiding them, and the affeminate novices would have a ‘sister’ as their mentor. Just think about it, it’s like the older transgender woman taking care of the younger transgender girl. I used to think that being in the temple would elevate one’s masculinity. But once I was really immersed in it, I ended up discovering more about myself and realized that I am a transgender.”

Do people ever share their own similar stories with you after reading the book?
“Many people who reach out don’t always do so because of our shared transgender identity, but often because of our shared Isaan background. They understand quite well that breaking free from adversity requires education. That’s why they wake up early, taking trains back and forth, just hoping that as they grow up, they’ll escape poverty. There are many others who also empathize with a point in life where they didn’t want to pursue vocational education but desired to study liberal arts. Yet, circumstances led them to other provinces, where they faced resistance. Those of us who are both Isaan and part of the LGBTQ+ community, we’ve been fighting a lot. The complexities of identity are indeed a lived reality.”

Photo credit: The Isaan Record

Do you think that the perspective of Thai society in different provinces has become more accepting of LGBTQ+ individuals nowadays?
“In the provinces, acceptance still comes with conditions. It has improved quite a bit, but it’s rooted in the belief that members of this group must fulfill certain roles. They need to excel in their studies and perform well at work. Currently, even I am a research assistant. This requires fieldwork. Once, I had the opportunity to interview transgender women in the northern region. I learned that they established groups to contribute in various ways, such as community development. For instance, Baan Sree. If you are a transgender woman, you're expected to participate in making ‘bai sree” (rice offering). If you don’t or can’t, you’re still expected to find a way to contribute. This indicates that even within the LGBTQ+ community, there are still issues of suppression related to gender identity. Acceptance often comes with certain conditions.”

What are the main issues with acceptance and valuing LGBTQ+ youth in different provinces?
“The primary challenge in different provinces is the internal belief within the LGBTQ+ community that perpetuates self-suppression. There’s a saying that ‘being transgender means paying for affection.’ This mindset stems from both fear and disdain for transgender individuals. Even if this mindset isn’t completely shed within the community, it becomes challenging to drive gender equality. People within the LGBTQ+ community need to collectively challenge this belief. This issue has been highlighted in Universal Periodic Review (UPR) data, showing that many transgender individuals are economically disadvantaged due to their readiness to pay for love or acceptance. Many transgender individuals lack parental acceptance, yet in their parents’ old age, they return to care for them or compensate for past support. Transgender individuals often stay in stifling relationships, fearing they won’t find love if they leave.”

“I’ve been fighting this battle for a long time. When I was with my first partner, I did everything to make the relationship work. I had plans to pursue further studies, but abandoned them all for the sake of love. Since then, I spent half a year learning and growing. I eventually succeeded through hard work, taking on demanding projects. It was a way to compensate for the time that had passed. I felt conflicted about myself during that period. There was something missing that I had to strive to fill.”

Why is having visibility and representation in the media important for the LGBTQ+ community?

“The most straightforward way to make transgender individuals visible is to have them represented in the media. From the perspective of driving change, we can see that it holds power and allows us to have enough space. However, once we walk about 200 meters away from the pride parade, people no longer understand why we’re walking. There are still many who don’t understand. This is why the movement must continue. If visibility isn’t achieved, rights, legal protections, and compensation won’t exist. One thing we must understand is that no matter how many times people say there’s a lot of us, we are still a minority. We need to come together and push for the rights we deserve from the very beginning.”

Advice for trans youth in Thailand

“What I’d like to convey to transgender youth is that there’s often a belief that our future might not shine as brightly as those in opposite-sex relationships. However, I want you to understand that things will eventually be okay. Your aspirations can become reality. And while what’s considered true is often shaped by society, remember that truths can evolve. If you, as transgender youth, come across this message, the advice I’d like to offer is to hold onto your strength and embrace your authentic self. Even if society doesn’t fully embrace us, there will always be individuals who love and have faith in us in the end.”



Currently, Teuy is the founder and editor-in-chief of the news outlet “GendersMatter,” which focuses on issues related to gender diversity and intersectional identities. In addition to this, they have authored a book titled “Teuy's Tales: Transgender Individuals, Welfare State, and National Development,” which was their first book before the publication of the “Banteuk Kateoy Issan.”