Culture

“แก้วใส: Daily Life Story” พื้นที่สะท้อนชีวิตที่ชวนขบคิด ‘ปัญหาและโอกาส’ ของ Phu Thon People

Meet Kaewsai, a Woman Hell-bent on Shattering Isan Stereotypes and Driving Social Change through her Facebook Page

ไม่รู้ว่าอัลกอริทึมของ Facebook ทำงานอย่างไร ถึงทำให้คอนเทนต์จาก “แก้วใส: Daily Life Story” โผล่มาบนหน้าฟีด เอกลักษณ์ของเพจนี้คือการบอกเล่าวิถีชีวิตของ Phu Thon People (คนภูธร) ในตำบลทุ่งแก จังหวัดสกลนคร ด้วยการพากย์เสียงแบบ “เว้าไทยได้ เว้าลาวท่อง สปีคอีงลิชคล่อง” ต้องยอมรับเลยว่าดูไปเพียงคลิปเดียวก็หลงเสน่ห์จนต้องกดติดตาม พอดูไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งรู้สึกว่าโคตรเจ๋ง จนอยากจะบอกต่อให้หลายคนได้รู้จัก เพราะนอกจากจะนำเสนอวิถีชีวิตแล้ว เพจนี้ยังเป็นเสมือนพื้นที่สะท้อนปัญหาของการบริหารประเทศรวมศูนย์แบบไทยๆ และชวนขบคิดถึงการพัฒนาที่ดีกว่านี้ – มันเจ๋งขนาดที่ทำให้เราคิดถึงปัญหาเชิงโครสร้างเลยล่ะ

TMI of เจ้าของเพจ “แก้วใส”

ชื่อแก้วใส - กชกร บัวล้ำล้ำค่ะ (นามสกุลไม่ได้พิมพ์ผิดนะคะ บัวล้ำล้ำจริงๆ) (Kaewsai - Kotchakorn Bualamlam) ตอนมัธยมชอบทำหนังสั้นมากๆ แต่ตอนนี้เรียนอยู่ปี 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นคนสกลนคร แต่กำลังฝึกสอนอยู่ที่กาฬสินธุ์ ชีวิตเราก็จะวนเวียนอยู่ที่ 3 จังหวัดนี้ นี่ก็เพิ่งกลับจากกินชาบูร้านอร่อยที่อยู่ไกลไปอีกอำเภอ ต้องขี่มอเตอร์ไซค์ไป 15 กิโล”

บทสนทนาระหว่างเรานั้นเริ่มต้นด้วยอะไรที่เรียบง่ายและเป็นกันเอง แต่บอกเลยว่าแค่เริ่มก็เห็นหลายสิ่งที่สะท้อนออกมา ไม่ว่าจะเป็นตัวตนของแก้วใส และความเป็นอยู่ของคนต่างจังหวัด

คำนำของไดอารี่

“แก้วใส: Daily Life Story เกิดจากการที่เราอยากลองทำเพจเล่นๆ เพราะตอนมัธยมเราทำหนังสั้นมาก่อน เคยได้ทุนไปแข่งทั้งในและต่างประเทศ พื้นฐานเลยเป็นคนที่ชอบตัดต่อ ชอบทำคลิปอยู่แล้ว คอนเทนต์ในเพจก็จะเป็นตัวเองมากๆ เล่าเรื่องธรรมดาในชีวิตของตัวเอง แต่ละวันเจออะไรก็ถ่ายเก็บเอาไว้ แล้วกลับมาพากย์เสียง ส่วนการพูด ในชีวิตจริงก็เป็นคนที่พูดผสมกันหมดเลย ทั้งภาษาอีสาน กลาง อังกฤษ”

ชอบทำหนังสั้น แต่ทำไมมาเรียนครู?

“เราชอบทำหนังสั้นมาตลอด แต่ด้วยบริบทสังคมที่นี่มันบีบบังคับให้เราเรียนทำหนังไม่ได้ เพราะไม่รู้จะกลับมาทำอะไร ที่บ้านมีแต่ดินกับทุ่งนา อีกอย่างคือเราคิดว่าค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนมันแพง ไม่อยากรบกวนพ่อแม่ ก็เลยต้องเรียนครู เพราะข้าราชการมันเป็นอาชีพมั่นคงและนิยมกันในชนบท ตอนแรกร้องไห้หนักมากที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ชอบ แต่มันเจ็บจนชินแล้ว”

“เรื่องนี้มันทำให้เราคิดมาตลอดว่าถ้าประเทศเรามีสวัสดิการด้านการศึกษา ความฝันของใครหลายๆ คนคงมีโอกาสได้เป็นจริงมากกว่านี้”

“เว้าไทยได้ เว้าลาวท่อง สปีคอีงลิชคล่องมาก”

“เราพูดแบบนี้เพราะเริ่มจากแม่ตัวเอง แม่เราจะชอบพูดกับฝรั่ง เวลาเจอฝรั่งที่เซเว่นก็จะชอบให้เราเข้าไปคุย ซึ่งเราก็เป็นคนกล้าแสดงออกด้วย ก็เลยกล้าพูด แถวบ้านเราจะมีฝรั่งอยู่ในหมู่บ้านละ 2-3 คน เพราะผู้หญิงที่เขาอยากยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ก็จะลงไปทำงานที่พัทยา และแต่งงานกับคนต่างชาติ เหมือนในสารคดีเรื่อง “Heartbound” (2018) ส่วนการพัฒนาภาษา เราเป็นคนที่ชอบดูหนังนอกกระแส แต่ส่วนใหญ่ไม่มีซับไตเติลภาษาไทย เลยต้องพยายามแปลเอง และพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น โหลดทุกแอปฯ ที่ฟรี สอบชิงทุนไปแข่งหนังสั้นที่ต่างประเทศ”

5 ภาพยนตร์สะท้อนผู้หญิงที่ถูกมองเป็นชายขอบของสังคม

“ปกติคนอื่นก็มองว่าเราแปลกอยู่แล้วนะ ด้วยความที่ตอนเราอยู่มหาวิทยาลัย เราทำกิจกรรมด้านการเมืองด้วย คนก็เลยจะไม่ค่อยหัวซา (ไม่ค่อยสนใจ) เราเท่าไหร่ อารมณ์แบบว่า “มันบ้าๆ บ๊องๆ ปล่อยมันไป” เขาเลยชินกับการพูดของเรา”

แท้จริงแล้ว ไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นอีสานเป็นเหมือนในคอนเทนต์ของเพจหรือเปล่า?

“ถ้าไม่นับเราที่ชอบไปร่วมกิจกรรมทางการเมือง คนอื่นก็รักสนุกเหมือนวัยรุ่นทั่วไป อย่างมหาวิทยาลัยเราจะตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 30 กม. ถ้าเป็นวัยรุ่นชนชั้นกลางที่มีรถเก๋ง เขาก็จะขับรถไปดูหนังในเมือง แต่ถ้าเป็นวัยรุ่นทั่วไปอาจมีมากสุดแค่มอเตอร์ไซค์ ซึ่งจะเข้าเมืองครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง มันเหนื่อยเกินไป ตัวเลือกเลยจะมีแค่ร้านเหล้า 2-3 ร้าน กับร้านนม”

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแบบแก้วใสสไตล์

“สกลนครเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ทางการเมืองที่ยาวนาน และมีนักพูดนักคิดทางการเมืองเสียชีวิตที่นี่ แต่รัฐไทยไม่ให้ความสำคัญ เราเลยอยากชวนทุกคนไปดูอนุสรณ์สถานครูเตียง ศิริขันธ์, ศูนย์การเรียนรู้ครูครอง จันดาวงศ์, และอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์”\

นอกจากถ่ายทอดกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ยังถ่ายทอดมนต์เสน่ห์ของภาคอีสาน

“คนอีสานมีวิถีชีวิตหลายอย่างที่น่าสนใจ มันมีทั้งความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ ศาสนาผี วัฒนธรรมประเพณีและประวัติศาสตร์ลาว ซึ่งเชื่อมโยงร้อยเรียงเป็นอันเดียวกันแบบแทบจะแยกไม่ออก เช่น บุญซําฮะ (ชําระ) การทำบุญเบิกบ้านในช่วงฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่เพิ่งเขียนลงเพจไป เราคิดว่าตรงนี้มันเป็นเสน่ห์ เพราะลึกๆ แล้ว ถ้าไม่พูดถึงการเข้ามายึดครองของรัฐสยาม เราก็เชื่อว่าเรามีเชื้อชาติลาว เพราะเรากินข้าวเหนียว เราพูดภาษาลาว”

จุดเริ่มต้นของเพจแก้วใสกับแฮชแท็ก #Realบ้านนอกNoRomanticize

ถึงจะนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสานและวัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม แก้วใสก็ไม่ได้สนับสนุนให้คนอื่นมองว่าชีวิตวิถีบ้านนอกนั้นเป็นเรื่องราวสวยงามชวนโรแมนติก (Romanticize)

“ที่ผ่านมา สื่อของรัฐนำเสนอภาพลักษณ์ว่าภาคอีสานมีความเรียบง่าย น่าอยู่ แต่เราไม่อยากให้คนเมืองมองว่าชีวิตคนต่างจังหวัดสบายขนาดนั้น เพราะมันจะทำให้คนอีสานคิดว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็โอเคดีแล้ว ชีวิตไม่ได้ขาดอะไร บางส่วนพอใจกับการไม่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือต้องเปลี่ยนมาปลูกข้าวแบบไม่ใส่ปุ๋ยเพราะมันแพง ทั้งๆ ที่แบบนั้นมันไม่โอเค เพจแก้วใสเลยอยากสะท้อนปัญหาของการกระจายอำนาจรัฐและการเมืองท้องถิ่นอยู่เรื่อยๆ”

“ปัญหาของสังคมชนบทมันชัดเจนมากว่าต้องปรับที่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น คือเปลี่ยนจากล่างขึ้นบน และที่สำคัญคือเรื่องการศึกษา คนบ้านเราออกจากระบบการศึกษาเพื่อไปทำงานกันเยอะมาก เพราะไม่มีเงินเรียนต่อ ถ้าระบบการศึกษาดี บางคนคงไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น หรือเลือกทำงานที่เหนื่อยอย่างเป็นผู้ให้บริการทางเพศ (Sex worker)”

ผลตอบรับเมื่อเพจแห่งรอยยิ้มผลิตคอนเทนต์การเมือง

“ก็มีทั้งคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ เช่น บางคนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเราต้องออกมาพูดให้ต่างจังหวัดดูแร้นแค้นขนาดนั้น หรือบางทีก็มี IO มาด่า ซึ่งเราก็เฉยๆ เพราะมองว่าเป็นขบวนการของรัฐที่อยากต่อสู้กับคนต่อต้าน ส่วนพ่อแม่เรา เมื่อก่อนเขาไม่เคยยอมรับการเรียกร้องทางการเมืองของเรา แต่พอเราทำเพจนี้ เราพูดเรื่องการเมือง เขาก็ได้เห็นว่ามีคนคิดเหมือนเราอยู่ ลูกเขาไม่ได้เป็นบ้า เขาก็เริ่มยอมรับได้ เหมือนเราได้ให้ความรู้เขาไปในตัวด้วย”

สรุปแล้ว “แก้วใส: Daily Life Story” จัดอยู่ในหมวดหมู่ไหน?

‘Education’ – เราอยากให้คนอื่นพูดภาษาอังกฤษได้ แล้วกลับมาพัฒนาบ้านเรา เพราะเด็กชนบทมักจะรู้สึกว่าภาษาอังกฤษห่างไกลตัว แต่เรารู้สึกว่ามันช่วยให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลก และอยากให้ทุกคนรับรู้ถึงปัญหาของคนอีสานแบบ no romanticize ให้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง”

“สำหรับคนที่อาจจะมาติดตามเพจด้วยความตลก ถ้าต่อไปเราพูดเรื่องเครียดกว่าเดิม ก็ยังอยากให้อยู่ด้วยกัน เพราะเราตั้งใจให้เพจเป็น soft power ที่สามารถสร้างพลังอันเข้มแข็งได้ในอนาคต เราอยากให้เพจของเรามีการต่อสู้ทางความคิด มันจะได้สร้างอุดมการณ์บางอย่าง ส่วนคนที่อยากฝึกภาษาอังกฤษ ก็อยากให้มาดูเพจเรา เพราะเราก็เป็นคนชายขอบที่ออกจะธรรมดามากๆ แต่วันนี้เราสามารถเล่าเรื่องของตัวเองได้แล้ว”

“ข่อยเฮ็ดได่ เจ่ากะเฮ็ดได่”

ติดตามเพจของแก้วใสได้ที่ แก้วใส: Daily Life Story

I’ve been wondering how Facebook’s algorithm manages to show me content from Kaewsai: Daily Life Story, but I’m glad that it did. This page is really something special, showcasing the authentic ‘phu thon’ (rural) lifestyle in the Thung Kae district of Sakon Nakhon province. And the coolest part? They give it a unique twist with a trilingual voiceover, mixing central Thai, Isan dialect, and even a touch of English.

One video is all it took to captivate my interest. The more I watch, the more I’m drawn to its charm and compelled to share it with others. Beyond just depicting a way of life, this page serves as a mirror reflecting our country’s various concerns and issues, offering a Thai-style hub for discussions and inviting contemplation on progress.

Meet the page owner
“My name is Kaewsai or Kotchakorn Bualamlam. Don’t worry, you got my last name right, it’s really Bualamlam! Back in high school, I was really into making short films, but right now, I’m in my fourth year at the Faculty of Education, majoring in Thai Language, at Roi Et Rajabhat University. I’m a Sakon Nakhon native, but currently doing some teaching practice in Kalasin. Life’s got me bouncing between these three provinces. I actually just got back from having some awesome hot pot in another district – had to ride my motorbike for like 15 kilometers to get there!”

How did the idea for your page come about?
“‘Kaewsai: Daily Life Story’ actually started as a little experiment. Back in high school, I was all about making short films and even scored some scholarships for local and international competitions. So, video editing and creating clips is kinda my thing. The stuff on the page is just me being me, sharing everyday moments. Whenever I stumble upon something cool, I capture it and then add my own voiceover. And when it comes to talking, well, in real life, I’m a mix of everything – Isan dialect, central Thai, and a bit of English.”

Why didn’t you continue your interest in making short films?
“I’ve actually been into making short films for quite a while, but my situation makes it pretty challenging to really dive into that passion, especially around here. Life kind of steers me towards other priorities instead of filmmaking. You know, back home, it’s all just fields and farmland. The costs of equipment for learning this stuff are no joke, and I don’t want to put a financial strain on my parents. So, I ended up taking the more conventional path, studying to become a teacher because being a civil servant is a secure and respected profession in rural areas. It definitely stings not being able to study what I’m truly passionate about, but I’ve learned to just roll with it.”

“This whole thing makes me constantly think that if our country had better education opportunities, the dreams of so many people could become a lot more achievable.”

What about the trilingual concept?
“I talk like this because it all started with my mom. She likes talking to foreigners and whenever she sees them at 7-Eleven, she’ll strike up a conversation with them. In our neighborhood, there are about 2-3 foreigners in each community. The women who want to improve their quality of life will go work in Pattaya and marry foreigners, just like in the 2018’s documentary “Heartbound.” I enjoy watching movies that are not mainstream, but most of them don’t have Thai subtitles. So, I have to try translating them myself and immerse myself in environments where English is used. Like downloading all the free apps and entering short film contests abroad.”

“People think I’m weird anyway. At university, I’m involved in political activities and they’re kinda like “Whatever. Just ignore her, she’s weird like that.” I guess they got used to my way of talking.”


Is the lifestyle of Isan teenagers really like what you portray?
“Minus all the political activities, I think we just have fun like regular teenagers. Our university is about 30 kilometers away from the town. If you’re a middle-class teenager with a sedan, you'd drive to town to watch movies. But for others, we might only have motorbikes at most. Going to town once takes about half an hour. It’s just too tiring. So, the options are limited to a few pubs and milk shops.”


What are some interesting places to visit in Sakon Nakhon?
”Sakon Nakhon has a long history of political struggle, and there have been political figures who’ve lost their lives here. The Thai government doesn’t really want to highlight it, though. I’d like to invite everyone to visit historical sites like Kud Tiang Sirikhun, Chan Dao Ngern, and Anusorn Sathan Chit Phumisak, which all hold political significance.”

Apart from showcasing your daily routines, you also capture the unique charm of the Isan region

“Isan people have many interesting aspects of life. There’s a mix of beliefs related to Buddhism, folk beliefs, cultural traditions, and Lao history that are interconnected and almost inseparable. For example, there’s ‘Bun Sama Ha,’ which is a merit-making ceremony held during the hot season in April. It’s super interesting because, even if we don’t talk about the annexation by the Siamese state, we still believe we have Lao heritage. After all, we eat sticky rice and speak the Lao language.”


Can you tell us about the hashtag #RealRuralNoRomanticize

”In the past, state media has often portrayed Isan as simple and idyllic. However, I don’t want Bangkok people to think that life in different provinces is that comfortable. That perception might lead people from Isan to believe that everything is fine just as it is and that life lacks nothing. Through my page, I want to reflect the issues of power distribution and local politics that persist over time.”

“The issue in rural society is much more about the need to shift power to the local level – changing the dynamics from bottom to top. And importantly, it revolves around education. Many people from our villages leave the education system to work elsewhere because they can’t afford further education. If the education system were better, some people might not have to seek work in other regions or resort to exhausting jobs like sex work.”


What kind of response have you received since you started creating political content?
“The feedback varies – some people get it, while others don’t. Some don’t understand why I have to create content that makes the province looks underdeveloped. I just shrug it off when I see hate comments from IO’s [information officers]. My parents used to not accept my political stance, but since I created my page, they saw that there were others who thought like me. They realized I’m not crazy. I feel like I’m slowly educating them about these matters.”

In which category would you put ‘Kaewsai: Daily Life Story’ under?
“Education. I hope people can learn to speak English and then return to improve our hometown. Many rural kids feel like English is too far away from them, but I believe learning it helps us understand the world better. I want everyone to understand the problems in Isan without making them seem romantic, so we can make real changes.”

“For those who might be following the page for laughs, if I start talking about more serious topics in the future, I still want everyone to stick around. My intention is for my page to be a form of soft power that can create a strong impact in the future. I want it to be a platform for thought-provoking discussions that can stimulate ideas. And for those who want to practice English, I encourage you to also check out my page. Look at me, I’m practically nobody and I’m able to share my stories in my own way.”