Life

“ขาหมูกะเตี๋ยว” ร้านกวยจั๊บขาหมูสไตล์วินเทจแห่งเกาะพะงัน

This Phangan Noodle Shop Serves Up Equal Parts Nostalgia and Yumminess

หากใครเคยแวะเวียนมาเที่ยวเกาะพะงันแล้วได้ตะลอนชิมร้านอาหารท้องถิ่นเจ้าดังของที่นี่ล่ะก็ รับรองว่าหนึ่งในร้านดังที่ไม่ควรพลาดก็คือ “ขาหมูกะเตี๋ยว” ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากเสียจนช่วงเที่ยงแทบไม่มีที่นั่งจะต้องมีร้าน นอกจากจะมีเมนูดังอย่างข้าวขาหมูและกวยจั๊บขาหมูสูตรเด็ดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้ร้านนี้มีความโดดเด่นจนกลายเป็นจุดขายก็คือ บรรดาของสะสมสไตล์วินเทจที่เจ้าของร้านนำมาตั้งโชว์ไว้อย่างแน่นขนัด ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พบเห็นได้ง่ายนัก ทำให้ภาพของเครื่องใช้ยุควินเทจเหล่านี้กลายเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จนขึ้นแท่นติดอันดับร้านอาหารขายดีบนเกาะไปอย่างไม่ต้องสงสัย

คุณลุงจรัส เสียงสุวรรณ

หลังจากฟาดไปทั้งข้าวขาหมูตามด้วยกวยจั๊บอีกชามแล้ว (อย่างละ 50 บาทเท่านั้น แถมปริมาณเยอะด้วย) เราก็ได้นั่งถามถึงที่มาที่ไปกับ คุณลุงจรัส เสียงสุวรรณ เจ้าของร้านและของวินเทจภายในร้าน คุณลุงจรัสเล่าว่า เดิมทีเขาไม่ได้เป็นคนที่นี่ พื้นเพเป็นคนอำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี แต่ไปโตและทำงานที่กรุงเทพฯ นับหลายปี ความชอบที่มีเกิดจากการที่ได้เห็นนาฬิกาทองเหลืองที่คนที่บ้านสะสมไว้ตั้งแต่ที่คุณลุงยังไม่เกิด จึงได้เริ่มทำความรู้จักกับการดูแลพวกมันมาโดยตลอด และเมื่อโตขึ้น คุณลุงก็พบเห็นเครื่องใช้ทองเหลืองอื่นๆ เช่น เตารีดแบบโบราณที่ต้องนำถ่านไปเผาไฟก่อนจะนำมาบรรจุในตัวเตารีดให้เกิดความร้อน คุณลุงพบว่ามันเป็นสิ่งที่น่าหลงใหลกับการได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสิ่งที่บ่งบอกถึงแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะของยุคสมัยนั้นๆ คุณลุงจึงเริ่มหันมาสนใจเก็บสะสมของเก่าอย่างจริงจัง แต่ไม่ถึงขนาดตามเก็บข้อมูลและที่มาที่ไปของแต่ละชิ้น เพราะคุณลุงมักจะซื้อของเหล่านี้ตามความชอบส่วนตัว ไม่ได้สนใจว่ามันจะมีค่าในสายตาคนอื่น อย่างเช่น รถจักรยานล้อโตคันนี้ ที่คุณลุงชี้ดูเห็นรถจักรยานโบราณที่มีล้อหน้าใหญ่มาก แต่ล้อหลังเล็กนิดเดียว

“ตอนเด็กๆ ผมเคยมีโอกาสได้ไปดูคณะละครสัตว์ที่เดินทางมาเล่นจากต่างประเทศ เวลาที่เขาคั่นฉากจะมีบรรดานักแสดงและตัวตลกออกมาขี่จักรยานแบบนี้วนไปมาบนเวที ก็รู้สึกประทับใจมาก แอบคิดไว้ในใจว่าถ้าวันหนึ่งโตไป เราก็อยากมีโอกาสได้ขี่บ้างนะ คงจะสนุกดี” 

ใครจะคิดว่าวันหนึ่ง เด็กน้อยที่ยังอยู่ข้างในคุณลุงจะได้มีโอกาสสัมผัสกับรถจักรยานในฝันและได้ขี่มันจริงๆ คุณลุงเผยรอยยิ้มที่ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความสุขของเด็กชายคนนั้นเมื่อพาเราไปชมจักรยานคันนี้

จากความประทับใจในวัยเด็กทำให้คุณลุงจรัสได้ค้นพบความชอบอย่างแท้จริงของตัวเอง กลายมาเป็นความผูกพันกับของทุกชิ้น ไม่ว่าคุณลุงจะย้ายบ้านไปที่ไหน ก็จะต้องขนพวกมันไปด้วยราวกับขบวนคาราวาน คุณลุงซึ่งโชคชะตานำพาให้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากใหม่ที่เกาะพะงันเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ก็ได้นำสมบัติสุดรักทุกชิ้นมาด้วย เมื่อเดินทางมาถึงเกาะก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่คนท้องถิ่นอย่างมาก จนมีเจ้าของรีสอร์ตหลายรายวนเวียนมาขายขนมจีบกับคุณลุง บ้างก็ให้ราคาแก่ของชิ้นที่ตัวเองหมายตา หรือบางรายถึงขั้นบอกคุณลุงว่าให้บอกราคาที่ต้องการมาเลย เพราะเขาชอบมันมากพอและพร้อมจะจ่าย คุณลุงชี้ให้ดูข้าวของบางชิ้นที่ตกเป็นเป้าสายตาของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นม้าทองเหลืองสำริดลงดำ โคมไฟจากอินเดีย ที่มีคนอินเดียพากันชี้ชมอย่างตื่นเต้นเมื่อได้พบเห็นงานเฟอร์นิเจอร์แท้จากอินเดียในเกาะแห่งนี้ สำหรับคุณลุงแล้ว ของเหล่านี้ไม่สามารถถูกนำไปซื้อขายต่อได้อีก เพราะมันมีสถานะเปรียบดั่งสมาชิกของบ้านที่อยู่ด้วยกันจนกว่าใครจะหมดลมหายใจไปก่อน

“ข้าวของพวกนี้ก็มีมูลค่าทางการตลาดของเขาอยู่ แต่สำหรับผมมันคือมูลค่าทางใจ บางคนมาเห็นว่าผมมีของที่เหมือนกันอยู่มากกว่าหนึ่งชิ้น เขาก็มาติดต่ออยากจะขอซื้อชิ้นที่เหมือนกันไปไว้บ้าง แต่ผมกลับมองว่าเงินจำนวน 2-3 พันบาทที่ได้มามันใช้ไปไม่นานก็หมด ในขณะที่ของบางชิ้นกว่าจะได้มาผมเคยต้องอดกลั้นไม่ใช้เงินเพื่อเอาไปซื้อเขา แต่ไม่ใช่ทำเพราะต้องการเก็งราคาในภายภาคหน้า ทุกครั้งที่เห็นเขา ผมก็จะจำได้ว่าเราได้เขามาอย่างไร การจะเอาเขาไปขายต่อ บอกเลยว่าผมไม่มีนโยบายอย่างนั้นครับ”

เนื่องจากเป็นร้านยอดฮิตทั้งในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ เราจึงถือโอกาสพูดคุยกับลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย และแล้วสายตาก็พลันไปปะทะกับดีเจสาวสุดแซ่บ CLEO-P หรือ Soraya Whillas แห่ง Go Grrrls ที่ดูเหมือนว่าเธอแทบจะกลายเป็นสาวชาวเกาะไปแล้ว เมื่อถูกถามว่ารู้สึกอย่างไรกับข้าวของสะสมในร้านนี้ เธอตอบว่า

“สัมผัสได้ว่าเป็นบรรยากาศที่เจ้าของร้านจะต้องไม่เคยทิ้งข้าวของแม้แต่ชิ้นเดียวแน่นอน มองแว้บเดียวก็รู้แล้วว่าเป็นของที่เขาสะสมด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก และขนทุกอย่างมาตั้งไว้ที่นี่หมด จนกลายเป็นกึ่งโกดัง กึ่งร้านอาหาร รู้สึกถึงความรักและความหวงแหนของเขาอย่างชัดเจน มันเลยกลายเป็นเอกลักษณ์ของร้านไป เพราะเป็นที่เดียวที่มาแล้วได้ความรู้สึกนี้” 

CLEO-P (Soraya Whillas)

นอกจากการตกแต่งร้านที่มีจุดขายโดดเด่นแล้ว ร้านนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของรสชาติอีกด้วยนะ ดั่งคำยืนยันจาก คุณสุวิทย์ วิเศษวรเวศย์ ลูกค้าเจ้าประจำอีกราย

“พี่ชอบไปเพราะเดินทางสะดวก อาหารสะอาดและอร่อยถูกปาก มีให้เลือกหลายเมนู แล้วก็ชอบการแต่งร้านที่เป็นของเก่า ของสะสม ยิ่งทำให้เห็นคุณค่าของความเก่าแก่โบราณ เหมือนกับอาหารธรรมดาๆ แต่มีความคลาสสิก เป็นจานโปรดตั้งแต่สมัยเด็ก กินแล้วนึกถึงเพื่อนเก่าที่เริ่มจะแก่ลงไปทุกคน รวมถึงตัวเองที่รู้สึกรักความเก่าแก่ร่วงโรยของภายนอก แต่ยังคงความสดใส มีคุณค่าภายในจิตใจ มีความสุขทุกครั้งที่เข้าถึงและเข้าใจ”

ส่วนคุณพ่อสุดแซ่บชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่บนเกาะพะงันมานานหลายปีแล้ว Maxim Karataev ซึ่งขี่มอเตอร์ไซค์พาลูกวัยน่ารัก 2 คนมาทานมื้อเที่ยงในวันนี้ เขาบอกว่าชอบบ้านทรงตึกแถวอยู่แล้ว เพราะมันทำให้รู้สึกคุ้นเคย เหมือนกับอยู่บ้านที่มอสโก ต่างกันตรงที่นี่จะตกแต่งแบบไทย ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่เขาหลงใหล ในขณะที่มอสโก เขามักจะไปใช้บริการตามร้านต่างๆ ที่ตกแต่งด้วยสไตล์วินเทจ ซึ่งมักจะเห็นแต่ข้าวของที่ผลิตขึ้นในประเทศแถบนั้น

“นอกจากการตกแต่งร้านแล้วยังมีความประทับใจอีกหลายอย่างที่ทำให้ผมและครอบครัวชอบมาที่นี่ คือพวกเราชอบทานข้าวขาหมูกัน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คนรัสเซียหลายๆ คนจะทานได้ อาจจะเป็นเพราะลูกผมเกิดและโตที่นี่เลยไม่มีปัญหา ปกติก็จะมีบ้านผมและก๊วนเพื่อนรัสเซียกลุ่มหนึ่งที่ชอบมาทานกันเป็นประจำ เวลาผมพาลูกมา พนักงานก็จะช่วยกันดูแลลูกผม แถมพอทานเสร็จเจ้าของร้านยังเดินแจกผลไม้ให้ทุกโต๊ะอีก มันอาจจะดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่สำหรับผมแล้ว มันทำให้อยากจะกลับมาอุดหนุนพวกเขาไปตลอดเลยครับ”

Valerie Velt และ Alex Lazaro คู่รักนักเดินทางที่เพิ่งมาถึงเกาะพะงันไม่กี่วัน พวกเขาสะดุดตากับร้านนี้ตั้งแต่วันแรกที่ลงเรือมายังเกาะแล้วนั่งรถแท็กซี่ผ่าน และเมื่อพวกเขาเดินผ่านมันอีกครั้ง จึงตัดสินใจเข้ามานั่งรับประทานดู Alex บอกเราว่า:

“จริงๆ ที่ว่าสะดุดตาก็ไม่ใช่เพราะเราสังเกตเห็นของตกแต่งทันทีหรอกนะครับ แต่เป็นเพราะเราเห็นลูกค้าคนไทยแน่นขนัดเต็มร้านมาก เลยแอบจำไว้ในใจว่าเป็นร้านที่ต้องมาลองทานดู เราสองคนชอบอาหารเอเชียนมากๆ อยู่แล้ว เลยตั้งใจมาเพื่อตามหาร้านเด็ดของคนไทย พอมาร้านนี้ก็ไม่ผิดหวังเลย เพราะสัมผัสได้ถึงรสชาติของสตรีทฟู้ดแบบไทยจริงๆ และระหว่างที่นั่งรออาหารอยู่ในร้าน สายตาก็เริ่มสำรวจดูว่ามีอะไรให้มองบ้าง ก็พบว่าแทบทุกที่ในร้านเต็มไปด้วยข้าวของวินเทจหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน หรือบางอย่างผมก็โตขึ้นมากับมัน เช่น โมเดลรถ หรือสกุลเงินจากประเทศต่างๆ ที่วางประดับอยู่บนโต๊ะซึ่งทำจากจักรเย็บผ้าเก่า ก็รู้สึกว่าเพลินดีนะครับ”

ส่วน Valerie ตั้งข้อสังเกตว่า:

“ฉันคิดว่าบรรดาข้าวของที่อยู่ในร้านส่วนใหญ่ มันเป็นเหมือนของที่เขาใช้กันจริงๆ แล้วส่งผ่านรุ่นต่อรุ่นให้เก็บรักษาซะส่วนใหญ่ จนกระทั่งมันกลายเป็นของสะสมในเวลาต่อมามากกว่านะ แต่ฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพวกสกู๊ตเตอร์นี่เขาซื้อมาทีหลัง หรือว่ามันถูกส่งต่อมา พอดีเห็นคนที่มาทานร้านนี้มีทุกเพศทุกวัย ฉันก็นึกไปว่าคนแต่ละรุ่นน่าจะเคยใช้ของชิ้นไหนมาบ้าง นั่งแมตช์ในใจไปเรื่อย” 

ข้อสังเกตของ Valerie จึงทำให้เราได้ทราบต่อมาจากคุณลุงจรัสว่า คุณลุงได้ถ่ายทอดความรักในการสะสมของวินเทจไปให้แก่ลูกชายทั้งสามคน โดยที่ทั้งสามคนเป็นนักสะสมรถมอเตอร์ไซค์และสกู๊ตเตอร์วินเทจอย่างฮาเลย์ เดวิดสัน หรือเวสป้า ซึ่งมอเตอร์ไซค์พวกนี้ คุณลุงจะต้องสตาร์ทมันอาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้ตัวเครื่องยังใช้งานได้ และแน่นอนว่าเมื่อลูกๆ มาเยี่ยมเยือนคุณลุงพร้อมหน้าพร้อมตาเมื่อไหร่ ชาวบ้านแถวท่าเรือและตลาดท้องศาลาจะได้เห็นภาพของครอบครัวนักสะสมครอบครัวนี้ชวนกันขี่สกู๊ตเตอร์รอบเมือง สร้างสีสันให้แก่ย่านที่คึกคักที่สุดของเกาะพะงัน

สำหรับผู้เขียนแล้ว สิ่งที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับร้านนี้คือ ในขณะที่โลกปัจจุบันนี้ล้วนใช้จุดขายเป็นความรวดเร็ว สะดวกสบาย แม้แต่รายการอาหารที่ปรากฎอยู่บนเมนูของร้านก็เช่นกัน แต่ร้านนี้กลับพาทุกคนย้อนไปสู่อดีตที่เราเคยรู้สึกว่ามีเวลาอยู่ในมือมากพอที่จะดื่มด่ำกับการดำเนินชีวิตอันแสนจะธรรมดา ผ่านหน้าตาอันแสนคลาสสิกของข้าวของวินเทจเหล่านี้ แม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ที่เข้าไปนั่ง กลับสามารถซึมซับเอาความใส่ใจที่เจ้าของร้านมีให้ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศและการบริการ หรือการใส่ใจเล็กๆ น้อยๆ อย่างการตั้งใจมอบผลไม้ให้แก่ลูกค้าทุกคนด้วยมือตัวเองของคุณลุงจรัส ที่เกรงว่าถ้าวางไว้ให้คนหยิบเองก็จะมีคนที่ไม่กล้าหยิบ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เริ่มพบได้น้อยลงเรื่อยๆ ในโลกยุคใหม่ ข้าวของเครื่องใช้ที่วางอยู่ในร้านนี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนของสังคมในโลกยุคเก่า ที่คุณลุงจรัสและครอบครัวยังคงรักษาไว้และปฏิบัติสืบต่อมา จนอาจเรียกได้ว่าเป็นกุญแจของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจของครอบครัวนี้เลยก็ว่าได้

ติดตามและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ร้านขาหมู กะเตี๋ยว

If you’ve been to Koh Phangan before, chances are you’ve heard of or even been to Kha Moo Ka Tiew, a local eatery serving khao kha moo (slow-braised pork leg on rice) and guay jub kha moo (rolled rice noodles soup with slow-braised pork leg). The food here is, of course, yummy (you’d be hard pressed to find a table during lunch hours), but what makes it truly stand out from other restaurants on the island is its decor. Let’s be honest, it’s not every day you’ll find a noodle shop packed with vintage scooters, antique knick-knacks, and other eye-catching collectibles.

Uncle Jaras Siangsuwan

After finishing my bowl of guay jub and khao kha moo, I sit down with Uncle Jaras Siangsuwan for a chat. “I’m not from here originally. I was born in Na San, Surat Thani, but grew up in Bangkok and worked there for many years,” he explains. Having grown up in a house of full of collectibles like brass clockts and vintage irons, he developed an affinanity for antiques. “I find it fascinating to own these objects because each one reflects the art and history of its time.”

As a self-described casual collector, he seeks out objects that bring him joy rather than market value. “When I was a little kid, I went to see a traveling circus and saw the clowns riding these high-wheelers,” he points to an old penny-farthing sandwiched between scooters of various sizes. “It left a huge impression on me and I promised myself that I would own it one day.”

Who would have thought that a childhood memory would one day turn into a passion? As I admire the unique-looking bike, he adds that wherever he moves to, he would always have all his stuff in tow, much like a caravan.

“When I moved to the island 12 years ago, people got really excited by my collection. I actually got a lot of offers from resort owners, especially for these pieces,” Uncle Jaras says, pointing to a bronze horse sculpture painted in black and a hanglamp from India. “I can’t sell them because they’re like members of my family.”

“These things might have some market value, but for me, it’s all sentimental. People wonder why I don’t want to sell them some of the identical pieces I have. Every piece comes with its own memory which is not worth a couple of thousands baht that will be spent sooner or later anyway. It’s never been my intention to flip them for profit.”

Now, let’s go have a chat with some customers. What do they think about this one-of-a-kind shop?

“I can tell that everything we see here is an accumulation of what the owner has been collecting since he was young. His love for them gives this half-restaurant, half-warehouse a unique character. I’ve never been anywhere that gives me this feeling before,” says Soraya Whillas aka CLEO-P aka from Go Grrrls.

CLEO-P (Soraya Whillas)

“I love coming here because it’s so convenient. The food is also hygienic, yummy, and there’s a lot to choose from on the menu,” says another frequent customer สุวิทย์ วิเศษวรเวศย์. “I also love the decor. Eating here reminds me of my friends and the fact that we’re growing old. But only on the outside though, we’re still quite young on the inside.” 


Maxim Karataev, a Russian dad with two daughters, says that he’s also impressed by the restaurant’s decor. “We all love khao kha moo. It’s not really a dish that most Russians would eat, but my kids were born and raised here so it’s not really an issue for them. If I’m not with my girls, I usually come here with a group of my Russian friends. After a meal, the uncle always gives us some fruits. It’s a small gesture but it makes me want to keep coming back.”

Freshly arrived couple Valerie Velt and Alex Lazaro tell me that the reason the restaurant caught their eye was not due to the decor, but how packed it was with Thai customers. “We went past it in a taxi and noticed how popular it was with locals. We both love Asian food so we wanted to come here and gave it a try. While waiting for our food, we noticed all these interesting knick-knacks like car models or foreign currency. It’s pretty fun to look at.” 

Valerie adds that “I think most of the stuff here are probably things that people actually used before they passed them down to the next generation. I’m not sure about these scooters though.”

Uncle Jaras explains that his three sons are a collector of vintage scooters like Vespa and Harley Davidson. “I have to start their engines once a week to keep them functional. When my sons come to visit, we usually go out for a ride together around Thong Sala market.”


The visit to Kha Moo Ka Tiew today has transported me back in time when restaurants were all about giving customers authentic experience. In this day and age, places like Kha Moo Ka Tiew are becoming a rarity. Perhaps, like his vintage collections, that’s what Uncle Jaras is trying to preserve. Perhaps that’s the key to his success.