Identity

#myvoicefor ‘Inclusion’ Daofah - เสียงโอบรับความหลากหลายด้วยการไม่ตีกรอบ Stereotype และ Come Out ในแบบของตัวเอง

‍Embracing Diversity Unapologetically with Daofah’s Stereotype-Free Approach‍

เพื่อเฉลิมฉลองเดือนไพรด์ปีนี้ทาง EQ ก็ได้ชวนผู้คนใน LGBTQ+ คอมมูนิตี้ที่มีความหลากหลายมาสนทนากัน ว่ามีเสียงอะไรที่อยากส่งไปให้ถึงสังคมไทยในวงกว้างบ้าง คนแรกที่เราได้ชวนมาคุยคือ ‘ดาวฟ้า’ (daoferrell) ติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษและศิลปิน ที่เป็นเสียงของ ‘Inclusion’ เพื่อโอบรับความหลากหลายเข้ามาในคอมมูนิตี้

เดือนไพรด์เป็นเดือนที่ผู้คนจะมีภาพจำว่าเป็นเดือนแห่งการ ‘คัมเอาท์’ (come out) ที่คนเพศหลากหลายจะต้องเดินออกจากที่ซ่อน (หรือที่เรียกกันว่า ‘closet’) ประกาศให้โลกรับรู้ว่าฉันภูมิใจในตัวเองที่เป็น LGBTQ+ และภายในคอมมูนิตี้เองก็มักจะมีการรณรงค์กันให้ออกมาเป็นตัวของตัวเอง ป่าวร้องว่าตัวเองมีอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศแบบไหน แต่ทว่าการคัมเอาท์นั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนสบายใจและสะดวกใจที่จะทำเสมอไป ในนัยเดียวกันก็เป็นการผลักไสและกดดันคนอื่นๆ ในคอมมูนิตี้ที่ไม่ได้พูดออกมา ดาวฟ้าได้เล่าเกริ่นถึงที่มาของเสียง ‘Inclusion’ ที่เขาอยากส่งให้คอมมูนิตี้ LGBTQ+ ในเดือนไพรด์

“ผมอยากเป็นเสียงของ 'Inclusion' ซึ่งมันก็คือการรวมคนเข้ามา ปกติแล้วพอพูดถึง LGBTQ+ คนมักจะมีภาพจำว่าต้องเป็นคนที่ อู้ว! อ้า! (ร่าเริง กล้าแสดงออก สดใส) แต่จริงๆ แล้ว LGBTQ+ ก็ไม่ต้องมีลักษณะนิสัยแบบภาพจำนั้นเสมอไป”

“พวกเขามีความแตกต่าง และไม่ต้องมีชีวิตหรือรสนิยมทางเพศที่ตรงตาม stereotype”

การ ‘คัมเอาท์’ จำเป็นต้องเสียงดังเสมอไปหรือเปล่า? 

“การคัมเอาท์ไม่ใช่แค่การออกมาบอกว่า “I'm gay and I'm proud!” (ฉันเป็นเกย์และฉันเองก็ภูมิใจ!) มันมีคนหลายกลุ่มที่ไม่ได้สบายใจจะทำแบบนั้น”

ถ้าอย่างนั้น ‘การคัมเอาท์’ ที่สบายใจสำหรับดาวฟ้านั้นเป็นอย่างไร?

“การคัมเอาท์ในความหมายของผมก็คือการ ‘ออกจากมุมมืด’ มันคือการที่เราไม่จำเป็นต้องโกหกตัวเอง หรือเป็นไปตามแบบที่สังคมบอกให้เป็น มันคือความกล้าที่จะได้เป็นตัวเอง กล้าที่จะเป็นเพศของตัวเอง โดยจะตะโกนหรือไม่ตะโกนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องปกปิดหรือรับแรงกดดันจากสังคมซึ่งคอยกดให้เขาไม่ได้แสดงตัวตน การพูดถึงการคัมเอาท์แบบนี้จะทำให้เกิดการโอบรับมากขึ้น แล้วคอมมูนิตี้ LGBTQ+ จะได้ขยายออก และส่งผลกับประเทศให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นต่อไปด้วย”

เดือนไพรด์นี้เป็นเดือนที่เฉลิมฉลองทุกๆ ความภาคภูมิใจ เราจึงถามดาวฟ้าว่า 

มีประสบการณ์อะไรที่ทำให้รู้สึกภูมิใจที่สุดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองไหม? 

“ก่อนจะพูดถึงสิ่งที่ภูมิใจ ผมขอเล่าก่อนว่าผมเองก็มีช่วงยากลำบากในชีวิตเหมือนกับหลายๆ คน มันมีช่วงที่ผมซึมเศร้า สูญเสียตัวตน รู้สึกว่าต้องตามหาความรักและความยอมรับจากคนอื่น จากสังคมที่ก็ไม่รู้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในนั้นหรือเปล่า ผมมีปัญหาเรื่องนี้มาตลอด ที่ต้องตามหาความรักจากคนอื่น เพื่อยืนยันว่าตัวผมมีคุณค่า จนกระทั่งผมไปหาพี่คนหนึ่งเขาเป็นนักเต้นรูดเสา (pole dancer) เขาจับเราแต่งตัวในชุดลูกไม้ แต่งหน้าทำผม แล้วพอผมมองกระจกก็รู้สึกว่าตัวเองสวยจัง”

“คำว่าสวยตรงนี้ไม่ใช่แค่ “I’m beautiful” (ฉันสวยจัง) ไม่ใช่แค่คำว่าสวย แต่มันคือความรู้สึกที่ว่าเรามีคุณค่าและมีความสวยงาม เราสัมผัสความรู้สึกเหล่านี้ได้จากรูปที่ถ่ายออกมา หลังจากนั้นเราก็หยุดที่จะไปหาคุณค่าจากคนอื่น มันทำให้ผมเห็นคุณค่าตัวเองจากข้างในโดยไม่จำเป็นต้องขอคำเหล่านี้จากคนอื่นเลย แล้วมันก็เป็นลุคที่ gender-fluid ด้วย ผมเลยรู้สึกว่าอัตลักษณ์ของเรามันสวยงามแล้วก็น่าภูมิใจมากๆ”

คำถามสุดท้ายในเดือนไพรด์ 2022 นี้ ทางเราก็ได้ถามดาวฟ้าว่า:

คิดว่าอะไรจะช่วยให้ประเทศไทยเปิดรับความหลากหลายได้มากขึ้นบ้าง?

“มีหลายอย่างมากที่จะทำให้มันเปิดกว้างขึ้น อย่างการที่ผมได้มาสัมภาษณ์ในวันนี้ ทีมงานที่ถ่ายทอดนำเสนอเรื่องเหล่านี้ก็ช่วยให้มันเปิดกว้างขึ้นได้ เพราะมันคือการโชว์ให้สังคมไทยเห็นว่ามันมีคนแบบนี้อยู่ ว่าคนที่เป็น gender-fluid เขาเป็นแบบนี้ มีลักษณะความคิดแบบนี้ เพศมันเป็นแบบนี้นะ มันคือการทำให้คนเห็นว่าสังคมเรามีความหลากหลาย สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมเปิดรับความหลากหลายในคอมมูนิตี้มากขึ้น”

“แต่สิ่งที่จะทำให้เปิดกว้างอย่างทวีคูณคือการให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายนี้มีมาตราเดียว แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรสมันมีเป็นร้อยๆ อัน เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เพศเดียวกันแต่งงานนะ นักกฎหมายเขาพูดเลยว่า กฎหมายเป็นพลวัตทางทัศนคติ กฎหมายส่งผลต่อทัศนคติของบุคคล สมมติถ้ากฎหมายห้ามเหล้า สุรา บุหรี่ สังคมก็จะมองว่าคนที่ทำสิ่งเหล่านี้คือคนไม่ดี หรือเรื่องของ Sex Worker กฎหมายไทยไม่รับรอง แต่ พ.ร.บ.ที่เป็นกฎหมายแยกรับรอง ทัศนคติต่ออาชีพนี้ในไทยก็ไม่ดีเพราะกฎหมายหลักไม่รับรอง”

“กฎหมายส่งผลต่อทัศนคติของคน ถ้ากฎหมายสมรสเท่าเทียมออกมาได้ ทัศนคติของคนในสังคมต่อ LGBTQ+ จะพัฒนาและเปิดกว้างขึ้นได้ในทันที ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปิดกว้างได้ดีที่สุด”

ทางเราได้แต่พยักหน้าให้กับคำตอบของดาวฟ้า เพราะทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องจริงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขนบของสังคมซึ่งตีกรอบผู้คนเอาไว้ การคัมเอาท์ที่ควรขึ้นอยู่กับความสบายใจของแต่ละคน และตัวกฎหมายที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน หวังว่าสิ่งที่ดาวฟ้าและ LGBTQ+ ทุกคนปรารถนาจะได้รับการอนุมัติในอีกไม่นานเกินรอ

และนี่คือเสียงของดาวฟ้า ที่เปล่งเพื่อ ‘ความครอบคลุม’ ในสังคม

ติดตามดาวฟ้าได้ที่

Instagram: daoferrell

Twitter: Daoferrell

In celebration of this Pride month, EQ is engaging in conversations with members of the diverse LGBTQ+ community. We delve into the voices that yearn to resonate within the broader Thai society. Our first guest, Daofah, an English tutor and artist, stands as a beacon of “inclusion,” advocating the embrace of diversity within the community.

During Pride Month, the concept of “coming out” often takes the spotlight, as individuals in the LGBTQ+ spectrum step out of the closet to proudly embrace their identities. Within the community, there’s a push to encourage self-expression and authenticity. However, it’s important to remember that ‘coming out’ isn’t everyone’s journey, and inclusion means supporting each individual's unique path. Daofah shares with us his message of inclusion, aiming to resonate with the LGBTQ+ community during this meaningful month.

“I want to champion ‘inclusion,’ which means unity. When people think of LGBTQ+, they might envision the flamboyant, larger-than-life “Hey! Look at me!” moment. But the beauty of LGBTQ+ is that it defies stereotypes.”

“They’re diverse and don’t need to conform to stereotypical lifestyles or gender preferences.”

Is coming out always about making a loud statement?
Coming out isn’t just saying ‘I’m gay and I’m proud!’ There are many groups of people who aren’t comfortable doing that.”

What does ‘coming out’ mean to you?
“It means stepping out of the shadows. It’s about not needing to deceive ourselves or conform to societal expectations. It’s the courage to be myself, to embrace my gender, whether loudly or quietly. It doesn’t require hiding or succumbing to societal pressure that keeps me from being authentic. Talking about it this way can foster greater acceptance, expand the LGBTQ+ community, and contribute to a more diverse nation.”

Have you had any experiences that made you feel most proud of your gender identity?
“Before I talk about what I'm proud of, let me say that I’ve also had challenging periods in my life, much like everyone else. There were times when I felt depressed, lost my sense of self, and believed I needed to seek love and acceptance from others, from a society that may not have recognized our existence. I struggled with this issue for a while, always seeking external validation to prove my worth. Until one day, I met someone—a pole dancer. They dressed me up in pole dance attire, did my hair and makeup, and when I looked in the mirror, I felt beautiful.”

“The word ‘beautiful’ is not all about ‘I’m beautiful.’ It’s a feeling that we are valuable and inherently beautiful. I felt this when I saw the pictures taken. From that point on, I stopped seeking validation from others, allowing me to see my worth from within. I embraced a gender-fluid look too, and that’s when I truly felt proud of my unique identity.”

What do you think could help Thailand become more open to diversity?

“There are many things that could make it more open. Like today’s interview, the team presenting these stories helps broaden perspectives. It shows Thai society that people like this exist—gender-fluid individuals, diverse thoughts, different genders. It’s about making society see our diversity. All of this helps society become more open to diversity within the community.”

“But a major step towards greater openness is legalizing equal marriage rights. While there’s just one rule in this specific law, marriage-related laws have numerous details. So, it’s not only about same-sex marriage. Legal experts suggest that laws reflect how society thinks. Laws shape people’s thoughts. For example, if a law bans alcohol and cigarettes, society might judge those who use them as not good individuals. Similarly, Thai law doesn’t recognize sex work so it affects how this occupation is perceived in society.”

“Laws influence people’s attitudes. If equal marriage laws are enacted, it would immediately foster the development and broadening of society’s perspective towards LGBTQ+. This is a crucial step to achieve the utmost openness.”

As our conversation with Daofah came to a close, we couldn’t help but reflect on the profound truth in his words. The constraints of societal norms, the personal significance of coming out, and the essential evolution of legal structures—each element held a vital place in shaping perspectives. With a shared sense of optimism, we look forward to the day when Daofah’s aspirations, along with those of the entire LGBTQ+ community, are no longer held back but embraced with the recognition they rightly deserve.