Identity

#MyVoiceforTheErased - Noriko เสียงของ Bisexual ที่ถูกลบเลือนหายไปใน LGBTQ+

#MyVoiceforTheErased: Noriko Talks Bi-Erasure Within LGBTQ+ Community

"ไบเซ็กชวลไม่มีอยู่จริง" "ไบเซ็กชวลก็คือเกย์ที่ยังไม่เปิดตัว" และ "ไบเซ็กชวลชอบชายหญิงเท่าๆ กัน ชอบได้หมดโดยไม่มีขอบเขตทางเพศ" คือมายาคติที่ได้ลบกลุ่ม B (Bisexual) ใน LGBTQ+ ให้หายไปจากคอมมูนิตี้มาอย่างยาวนาน

เพราะไม่มีควรมีเสียงของใครต้องหายไป ในบทความนี้ เราได้ชวน 'โนริโกะ – ชลิตา เศรษฐชยานนท์' บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์อายุ 21 ปี ที่อยากมาส่งเสียงเรื่อง 'Bi-Erasure' เพื่อทำลายมายาคติและเฉลิมฉลองการมีอยู่ของทุกเพศทุกตัวตนเนื่องในเดือนแห่งไพรด์นี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราต้องฟังเสียงของทุกคนในคอมมูนิตี้

'Bisexuality' ตามนิยามของ 'Human Rights Campaign' ได้ระบุเอาไว้ว่า ไบเซ็กชวลคือบุคคลที่มีแรงดึงดูดทางอารมณ์ ความรัก และเซ็กส์ ได้มากกว่าหนึ่งอัตลักษณ์หรือเพศวิถีของบุคคลหนึ่ง โดยความดึงดูดนั้นไม่จำเป็นต้องมีระดับที่เท่ากัน หรือกล่าวได้ว่าพวกเขาชอบบุคคลมากกว่าแค่เพศใดเพศหนึ่ง

‘Bi-erasure’ คือการลบเลือนการมีอยู่ของไบเซ็กชวลว่าไม่มีอยู่จริง และเป็นการปฏิเสธอัตลักษณ์ที่สามารถนำไปสู่การเกลียดกลัวไบเซ็กชวล (Biphobia) ในปัจจุบันเองก็ยังมีการลบเลือนและบิดเบือนอัตลักษณ์นี้ในสังคม ลบเลือนตัวละครไบเซ็กชวลในสื่อ ไปจนถึงการตั้งคำถามด้วยอคติทางเพศว่า ไบเซ็กชวลคือผู้สับสนทางเพศ ไม่นานเดี๋ยวก็หายสับสนและกลับไปเป็นไบเซ็กชวลตามเดิม หรือไม่ช้าก็จะเลือกว่าตัวเองเป็นเกย์หรือสเตรท (คนรักต่างเพศ)

เราเปิดบทสนทนาด้วยการถามโนริโกะว่า ในเดือนไพรด์นี้มีเสียงอะไรที่อยากส่งถึงกลุ่ม LGBTQ+ ในไทยบ้าง เธอจึงเล่าว่าอยากส่งเสียงประเด็นเรื่อง 'Bi-Erasure' ที่สังคมมักจะมองว่าไบเซ็กชวลไม่มีอยู่จริง

"เราอยากส่งเสียงเรื่อง Bi-Erasure อย่างเราที่เป็นไบเซ็กชวล แต่ก็ไม่ได้รักผู้หญิงหรือผู้ชายในเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน เรารู้สึกว่าเป็นประเด็นที่คนในสังคมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ คนส่วนใหญ่จะชอบอนุมานเป็น 50-50 แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป"

ในสังคมตอนนี้ก็ได้เปิดรับและยังไม่มีความเข้าใจต่อไบเซ็กชวลอยู่มาก เมื่อไม่เข้าใจ ก็มักจะมีคำถามนี้ตามมาว่า “แล้วรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นไบเซ็กชวล” เราเลยนำคำถามนี้มาถามเธอ เพื่อฟังเสียงของไบเซ็กชวลว่าคิดอย่างไรกับมัน

"เราว่ามันก็คงไม่ต่างจากคนที่รู้ตัวเองว่าเป็นคนรักต่างเพศ (Heterosexual) ที่ชอบชายหญิง มันก็เหมือนเวลาเราไปเจอคนหนึ่งที่ชอบ เราก็จะรู้ว่าเราชอบคนแบบนี้ แล้วเราก็รู้ว่าตัวเองชอบคนมากกว่าเพศเดียวนะ"

เดือนไพรด์นี้มีเรื่องน่าภูมิใจที่อยากจะแชร์บ้างไหม?

"เรามีประสบการณ์คัมเอาท์ (Come out) กับคนกลุ่มหนึ่งค่ะ ซึ่งการคัมเอาท์ไม่ได้มีผลต่ออัตลักษณ์ของเรา มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคนว่าจะคัมเอาท์หรือไม่ ตอนที่เราคัมเอาท์ครั้งแรกกับเพื่อนที่เคยไปแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่นด้วยกัน เป็นกลุ่มเพื่อนไม่ได้คุยกันมาประมาณ 3 ปี ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าเขาจะเปิดรับได้แค่ไหน แต่ก็รู้สึกว่าควรจะบอก เราเลยส่งข้อความไปหาว่า “เราเป็นไบเซ็กชวลนะ” เพื่อนก็ถามกลับมาว่า “จริงหรอ เธอไปค้นพบตัวเองได้ยังไง” แล้วก็คุยกันปกติ เพื่อนกลุ่มนี้คือคนที่สนใจ LGBTQ+ ในสมัยที่เราเป็นพันธมิตรก็เลยภูมิใจกับตรงนี้"

ท้ายที่สุดนี้ เราเลยชวนเธอคุยปิดบทสนทนาว่า:

คิดว่าอะไรจะช่วยให้สังคมไทยเปิดรับความหลากหลายมากขึ้น?

"เราคิดว่ากฎหมายน่าจะช่วยให้คนเปิดรับได้เร็วที่สุด เพราะมันเห็นเป็นรูปธรรมว่าสังคมมองเห็นเขา และพร้อมจะให้โอกาสเขาได้ทำอะไรหลายๆ อย่างในสังคม"

ติดตามโนริโกะได้ที่

Instagram: nor1ko

อ้างอิง

Health: https://bit.ly/3H6CSde 

GLAAD: https://bit.ly/39hr5wk  

HRC: https://bit.ly/3O5eZoR 

“Bisexuality doesn’t exist.”
“Bisexuality is just closeted homosexuality.”
“Bisexuals like both genders equally.”

The above sentiments have perpetuated the erasure of the letter ‘B’ (Bisexual) group within the LGBTQ+ community for a long time. Because no one’s voice should be silenced, in today’s #MYVOICEFOR, we sit down with ชลิตา “Noriko” เศรษฐชยานนท์, a 21-year-old graduate student from the Faculty of Arts, to discuss “bisexual erasure,” which refers to the tendency to question or deny the legitimacy of bisexuality as an identity.

According to the Human Rights Campaign, “Bisexuality” is defined as an individual who experiences emotional, romantic, and sexual attraction to more than one gender or identity, not necessarily in equal proportions, and regardless of their own gender identity.

Bi-erasure refers to the erasure of the existence of bisexuality and denies the identity, potentially leading to Biphobia. Even today, there’s still erasure and distortion of this identity in society, misrepresentation of bisexual characters in media, and even questioning of bisexuals’ sexual orientation. It’s a cycle where bisexuals are labeled as confused about their sexuality only to eventually revert back to being recognized as bisexual or sometimes pressured to identify as either gay or straight.

“I want to raise awareness about bi-erasure as someone who identifies as bisexual. It’s not about having an equal attraction to both genders. I feel that this is something that many people in society don’t fully grasp. Most people assume it’s a 50-50 split, but it’s not always that simple.”

While society has become somewhat more open-minded, there’s still a lack of understanding towards bisexuality. “I don’t think it’s that different from heterosexuals who are attracted to the opposite gender. When I meet someone I’m attracted to, I realize that I have a preference for that type of person, not their gender.”

Do you have any experiences that make you feel incredibly proud and that you’d like to share this Pride Month?

“I had a ‘coming out’ experience with a certain group of friends. You know, ‘coming out’ doesn’t really change who we are; it’s more about the personal decision each of us makes. So, the first time I decided to share my truth was with a group of friends I had gone on an exchange program to Japan with. We hadn’t really stayed in touch as a group for about 3 years. I wasn’t sure how open they would be, but I felt it was important for me to be honest. So, I messaged them saying, ‘I’m bisexual.’ One of my friends responded with curiosity, asking, ‘Really? How did you come to realize that about yourself?’ We just had a normal conversation from there. What’s amazing is that this group of friends is genuinely interested in LGBTQ+ matters. Back when I was an ally, I take pride in being a part of that journey.”

What do you think would help Thai society become more diverse?

“I believe that enacting laws could create greater acceptance. When there are legal structures in place that acknowledge and support diversity, society tends to recognize and offer more opportunities.”

Sources:

Health: https://bit.ly/3H6CSde 

GLAAD: https://bit.ly/39hr5wk  

HRC: https://bit.ly/3O5eZoR