Identity

#MyVoiceforEmpowerment - Thanyok เสียงที่อยากให้ทุกคนกลับมารักตัวเอง พร้อมยืนหยัดได้อย่างภูมิใจ

#MyVoiceforEmpowerment: Self-Love with Thanyok

“ความรักตัวเองจะทำให้เราได้ยืนหยัดต่อความเกลียดกลัวที่มีต่อตัวเองและจากสังคม"

นี่คือเสียงของ ‘ทันหยก’ ที่ได้มาร่วมสนับสนุน LGBTQ+ คอมมูนิตี้ว่า ‘อยากให้ทุกคนกลับมารักตัวเอง’ เพราะความรักจะพาพวกเราทุกคนผ่านทุกความเกลียดกลัวไปได้ ทันหยกเริ่มเปิดบทสนทนาว่าเสียงที่เธออยากจะส่งให้แก่ LGBTQ+ ทุกๆ คนในเดือนไพรด์นี้ คืออยากส่งพลังให้ทุกคนกลับมารักตัวเอง เธอจึงเลือกจะเป็นตัวแทนเสียงแห่ง ‘Empowerment’ 

"เราอยากเป็นเสียงสนับสนุนให้ทุกคนกลับมารักตัวเอง เพราะว่าสังคมนี้ไม่ได้สอนให้ทุกคนเกลียดกลัวคนที่มีเพศหลากหลาย แต่สังคมนี้สอนให้คนที่มีเพศหลากหลายเกลียดกลัวตัวเอง ดังนั้น ความรักตัวเองจะทำให้เราได้ยืนหยัดต่อความเกลียดกลัวที่มีต่อตัวเองและจากสังคม" 

ก่อนที่เธอจะมาถึงเส้นทางตรงนี้ ทันหยกเล่าว่าตัวเองก็มีปัญหาในการรักตัวเองมาก่อน และเข้าใจว่ามันยากแค่ไหนกว่าจะมาค้นพบความรักตัวเอง เธอเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาที่มีปัญหาต่อเรื่องนี้ว่า 

"เรามีความคาดหวังมาโดยตลอดว่าที่บ้านจะยอมรับเราที่เป็นเพศหลากหลายหรืออะไรก็ตาม แต่กลายเป็นว่าเขายอมรับเราไม่ได้ เราก็เคยพยายามจะทำให้เขายอมรับนะ จนมาถึงจุดที่มันทำไม่ได้แล้ว พอทำไม่ไหว มันก็วนกลับมาทำร้ายเราให้สิ้นหวัง แต่ว่าเราก็ลองพยายามอีกสักครั้ง ครั้งนี้ก็โอเคไม่เป็นไร”

“ถ้าที่บ้านไม่ยอมรับ มันก็คงเลยขีดจำกัดแล้ว จะไม่พยายามต่อแล้ว เพราะเราก็ต้องเซฟใจตัวเอง"

หลังจากบทสนทนาถึงเส้นทางของความลำบากในการรักตัวเองและการเซฟใจมาได้จนถึงวันนี้ เราเลยถามเธอต่อว่า มีประสบการณ์อะไรที่รู้สึกภูมิใจมากๆ ในชีวิตที่อยากจะแชร์ในเดือนไพรด์นี้บ้างไหม 

"เรื่องที่ภูมิใจในชีวิตตัวเองมันเริ่มมาจากการที่เราต้องอยู่กับโรคซึมเศร้าตั้งแต่มัธยม 2 ตอนนี้ก็ผ่านมา 5 ปีแล้ว ต้องบอกก่อนว่ามันเริ่มจากความรักตัวเองในระดับที่เล็กๆ ความรักนั้นยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ก็เลยพึ่งพาความรักของคนอื่น มีเพื่อน มีหมอที่ช่วยเราให้มาถึงจุดที่มีความรักตัวเอง ซึ่งมากพอที่จะยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง พอมาถึงตรงนี้แล้ว เราเองก็อยากส่งต่อความรักดีๆ ให้คนอื่น และเป็นพลังงานที่ดีให้สังคม"

ทันหยักคือเสียงของ ‘Trans-androgyne’ ซึ่งก็คือคนข้ามเพศที่อยู่นอกกล่องและไม่ปฏิเสธความเป็นชาย-หญิง เราเลยถามเธอว่า:

อะไรคือประสบการณ์ที่ทำให้ค้นพบอัตลักษณ์นี้ ?

"เรารู้จักคำว่าทรานส์แอนโดรจีนัส (Trans androgynous) มานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอิน จนวันหนึ่ง เรามีความคิดว่าถ้ามีจู๋ขึ้นมาจะเป็นยังไงนะ แล้วก็ลองเอาจู๋มาใส่จนเกิดการสำเร็จความใคร่ (Orgasm) คือเราอยากมีจู๋นะ แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย ก็เลยรู้สึกว่าอัตลักษณ์นี้มันคือตัวเราที่สุด”

ทันหยกเป็นนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมและสิทธิความหลากหลายทางเพศมาตั้งแต่สมัยที่เธอยังเป็นเยาวชน เราเลยถามถึง จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอตัดสินใจเริ่มกิจกรรม ว่ามันคืออะไร เธอจึงเล่าให้เราฟังว่า

"จุดเริ่มต้นคือเริ่มจากการจัดม็อบครั้งแรกที่สุราษฎร์ธานี ช่วงนั้นเป็นตอนที่พรรคประชาธิปไตยถูกสั่งให้ยุบ เรารู้สึกว่ากำลังถูกปิดปากเรื่อยๆ ถ้าไม่รีบก็คงจะไม่ได้พูดในสิ่งที่อยากพูด แล้วก็เริ่มสร้างแอคเคานต์ม็อบขึ้นมา ในม็อบเราก็ได้พูดเรื่องเพศ มีคนมาพูดเรื่องเศรษฐกิจ แล้วก็มีเพื่อนๆ มาช่วยเหลือกันสร้างม็อบจนสำเร็จ" 

ในประเทศไทยตอนนี้มีเยาวชนที่ออกมาต่อสู้เพื่ออนาคตและความเท่าเทียมมากขึ้น มีหลายประเด็นที่ถูกขับเคลื่อน ในบทสนทนาปิดบทความนี้ เราจึงถามทันหยกว่า

คิดว่ามีประเด็นการเคลื่อนไหวทางเพศอะไรไหม ที่ยังขาดพื้น ตกหล่น และควรได้รับเสียงมากขึ้นในช่วงนี้ ?

ทันหยักเล่าให้พวกเราฟังว่ายังมีประเด็นเรื่องเยาวชนคนข้ามเพศในไทยที่ต้องการความเท่าเทียมมากกว่านี้ เพราะเยาวชนทุกคนก็คืออนาคตของโลก และไม่ควรจะมีเยาวชนกลุ่มใดที่ถูกปิดกั้นทางโอกาสเพราะความแตกต่าง

"ในไทยตอนนี้ ‘เยาวชนคนข้ามเพศ’ (Trans youth) ที่เป็นเด็กและเป็นคนข้ามเพศยังถูกหลายๆ อย่างกดทับอยู่มาก เมื่ออายุไม่เกิน 18 ปี ก็ไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้เลย พอจะทำอะไรก็ต้องมีผู้ปกครองมาเกี่ยวตลอด หลายบ้านก็ชอบทำตัวเป็นเจ้าของชีวิตเด็ก เยาวชนข้ามเพศหลายคนก็เลยขาดสิทธิที่จะเข้าถึงบริการรับฮอร์โมนหรือให้คำปรึกษาทางเพศ บางรายก็ถูกครอบครัวชักจูง บังคับให้เป็นคนที่พวกเขาไม่ได้อยากเป็น เสียงของความเคลื่อนไหวที่อยากไฮไลต์ให้ดังขึ้นคือการให้เยาวชนคนข้ามเพศได้มีสิทธิเท่าเทียม"

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวใหม่ๆ จากพวกเราได้ที่ https://exoticquixotic.com

“Self-love empowers us to stand strong against the hatred and fears, both from within and society.”


“I aim to be a supportive voice, encouraging everyone to love themselves. Society doesn’t teach us to hate or fear diversity, but it does often teach those who are diverse to fear themselves. Self-love empowers us to stand strong against the hatred and fears, both from within and society,” Thanyok shares with EQ a heartfelt message for the month of Pride.

 

Before getting to where she is today, Thanayok shares that she too had her own struggles with self-love. She understands just how tough it can be to truly embrace oneself. 

“I always thought my family would eventually embrace me as I am, no matter my gender identity or anything else. But reality was different — they just couldn’t accept me. I gave my all to make them understand, until I hit a wall where it felt impossible. And when my efforts fell flat, it just ended up hurting me even more, leaving me feeling crushed. But you know what? I didn’t give up. I’ll it another shot. And this time, I’m okay if things don’t turn out perfectly.”

“If my family doesn’t accept me, then I guess that’s it. I won’t try anymore because I need to protect myself.”

Do you have any experiences that make you feel incredibly proud and that you’d like to share with us this Pride Month?

“I’ve been dealing with depression for about five years now. It all began with just a tiny bit of self-love, but then I realized I couldn’t solely depend on that; I had to lean on the love and support from friends and doctors. They helped me reach a point where I could truly love myself. Once I got there, I felt this urge to share that positive love with others and contribute good energy to our society.”

You identify as trans-androgyne. How did you come to embrace that identity?

“I’ve been familiar with the term ‘trans androgynous’ for quite some time, but it didn't really resonate with me until one day I had this thought: ‘What if I embrace it? How would it feel?’ Once I tried adopting it, to my surprise, it led to a satisfying experience. It made me realize that I want to explore this aspect of myself, without denying my femininity or masculinity. It’s like finding my truest identity.”

When did you first get into activism?

“It was when I organized my first protest in Surat Thani. It was during a time when the democratic party was ordered to dissolve. I felt like my voice was being suppressed, and if I didn’t act quickly, I might never get to say what I wanted to say. So, I began organizing counter-protests. In these protests, I talked about gender, economics, and everything else. Friends came together to help each other, and that’s how I successfully made my protests happen.”

Do you think there are any gender-related issues that are still underrepresented and deserve more attention?

“In Thailand right now, trans youth often face a lot of pressure. If they’re under 18, they can’t really do anything on their own. They need a guardian’s involvement for practically everything. Many families try to control their lives, and as a result, many transgender youth miss out on the right to access hormone treatments or gender-related counseling services. Some are even forced by their families to be someone they don’t want to be. My movement is about giving equal rights to trans youth and making their voices heard.”