Identity

รีวิวชีวิตวัยรุ่นปัตตานี จังหวัดคัลเลอร์ฟูล ชิลและอบอุ่นใจ

EQ Youth: Multicultural Pattani

“บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด” 

คำขวัญแรกของจังหวัดปัตตานีที่เหล่าวัยรุ่นปัตตานีทั้ง 4 คนแนะนำกับเราว่ามันบ่งบอกถึงเสน่ห์ของจังหวัดได้อย่างชัดเจนว่าถ้าพูดถึงจังหวัดปัตตานีต้องคำขวัญนี้เลย ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นคำขวัญปัจจุบันว่า "เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้"

บทความนี้เราได้เชิญชวนวัยรุ่นปัตตานี 4 คนมาร่วมพูดคุยเล่าเสน่ห์ของจังหวัดปัตตานี สถานที่ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ชีวิตวัยรุ่น อาหารที่อยากแนะนำและบอกรักจังหวัดปัตตานีกัน

ฝ้าย (@faiafaii) เป็นคนที่มีพื้นเพครอบครัวมาจากจังหวัดชุมพร เธอเกิดและเติบโตที่จังหวัดปัตตานี ตอนนี้ก็ทำบัญชีที่บ้านไปพร้อมๆ กับเรียนปริญญาโท เธอเล่าชีวิตวัยรุ่นที่ปัตตานีว่า มันเป็นชีวิตที่มีความสุขมากๆ

“เราเป็นคนนับถือศาสนาพุทธนะ เป็นคนไทยพุทธ ชีวิตที่อยู่ปัตตานี เรามีคัลเจอร์ที่เยอะ มันเปิดโลก มีทั้งจีน มลายู แล้วก็พุทธ ชีวิตอยู่นี้มันเปิดโลกโดยไม่ต้องสรรหาเอง ชีวิตมันสนุกมากๆ แต่ว่าตอนเป็นเด็กมันก็จะมีความระแวงเวลาสถานการณ์ไม่สงบ เวลาไปเที่ยวก็ต้องกลับบ้านก่อนห้าโมงเย็น คือมันต้องระวังตัวเองเยอะมาก ตอนที่ได้ไปเปิดโลกที่กรุงเทพ ไปเรียนกรุงเทพ ก็ตกใจว่าทำไมคนเข้ากลับบ้านกันสามสี่ทุ่ม เขาออกมาใช้ชีวิตกลางคืนกันได้ เพราะเรามีชีวิตสนุกได้แค่ตอนกลางวัน ก็เลยเป็นเด็กใช้ชีวิตตอนเที่ยวให้คุ้มที่สุด”

“สมัยเรียนก็โดดเรียนเก่ง ช่วงม. ปลาย โรงเรียนไม่มีรั้วมันก็จะออกไปโน่นไปนี้บ่อย เพราะใช้ชีวิตกลางคืนไม่ได้ พอตกดึกไปกินน้ำชากับเพื่อนไม่ได้ ยิ่งช่วงไหนมีระเบิด ก็ต้องห้ามออกจากบ้านเลย มันกลายเป็นว่าเด็กสามจังหวัดใช้ชีวิตกลางวันมากกว่ากลางคืน แต่ถามว่ามีความสุขไหม ชีวิตที่นี่ก็มีความสุขมาก มันมีสามวัฒนธรรม แต่ละวัฒนธรรมก็ความยูนีคของเขา ทั้งคนจีน คนไทย คนมลายู”

ซีน (@zeenxschulz) เป็นคนปัตตานีโดยกำเนิด ตอนนี้เขาเป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 4 ที่เล่าว่า มุมมองรีวิวชีวิตวัยรุ่นของพวกเขานั้นก็ไม่ใช่ภาพแทนของวัยรุ่นทั้งหมดนะ พวกเขามีชีวิตไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันเพราะทั้งสี่คนเรียนจบมาจากโรงเรียนเดียวกัน แต่ทว่าประสบการณ์ที่ประทับใจในชีวิตวัยรุ่นที่ปัตตานีของเขาก็คือการได้ไปชมพระอาทิตย์ตกกับเพื่อนๆ

“ชีวิตวัยรุ่นของเราก็จะคล้ายกับเพื่อนๆ พี่ๆ ในนี้เลย ถ้ามีเวลาว่างหลังเลิกเรียน เอาที่ไปบ่อยๆ ที่ไปทุกวันไปดูพระอาทิตย์ หลังทะเลสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หาดสะมิแล ปัตตานีที่ยื่นออกไปในทะเล แต่พอไปก็ต้องรีบกลับบ้านเพราะช่วงประมาณหกโมงถึงหกโมงครึ่งเมืองจะเงียบมากเพราะมันเป็นเวลาละหมาดที่คนเขาจะปิดบ้านกัน”

ดา (@ninajdasulaiman) เป็นคนปัตตานีที่ตอนนี้กำลังเรียนคณะนิติศาสตร์อินเตอร์ปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ เธอเล่าถึงร้านน้ำชาร้านโปรดและแหล่งดูพระอาทิตย์ตกดีๆ ที่ปัตตานีไว้ว่า

“ตอนช่วงวัยรุ่นของเราเหตุการณ์มันไม่ค่อยรุนแรง ตอนที่รุนแรงเราไม่ค่อยได้อยู่ไทย ไปเที่ยวเป็นคาเฟ่ ก็มีโมเมนต์ไม่ค่อยออกข้างนอกตอนดึกๆ ร้านน้ำชา ชา-โคล มีตลาด Green Market ให้เดิน แล้วก็มี แหลมตาชี ปัตตานีที่ขับรถไปดูพระอาทิตย์ตกกับเพื่อนๆ ”

สิรา (@luckybsira) เป็นคนที่เกิดและเติบโตมีบ้านที่จังหวัดปัตตานี ตอนนี้เธอเป็นนักเขียนอยู่ที่ way magazine เธอเล่าว่าชีวิตวัยรุ่นของเธอจะแตกต่างจากทั้งสองคนหน่อยตรงที่เธออาจจะไม่ได้ใช้เวลาตอนหลังเลิกเรียนกับเพื่อนมากนักเพราะต้องเดินทางกลับบ้านที่อยู่ไกลจากตัวเมือง แต่เธอก็ใช้ช่วงเวลาที่แฮงเอาท์ให้เต็มที่ที่สุด

“ชีวิตเราจะไม่เหมือนทั้งสามคน บ้านเราอยู่ต่างอำเภอ ใช้เวลาไปกลับ สามสิบนาที ใช้เวลามาแฮงเอาท์ มาโรงเรียน ช่วงเวลาไปโรงเรียนจะไปไหนมาไหนมากที่สุด ถ้ามีคาบว่างเยอะ ก็จะไปแฮงค์เอาท์ ถนนสายมอ”

ถ้าให้แต่ละคนให้มู้ดที่บ่งบอกถึงจังหวัดปัตตานีเป็นคนละมู้ด จะให้มู้ดอะไรกันบ้าง

ฝ้าย: คัลเลอร์ฟูล คนปัตตานี เขาแต่งตัวเก่ง ไม่เหมือนที่อื่น ข้างขาบนลาย ข้างล่างก็ลายก็ได้ ชอบพูดเสียงดังๆ มีสีสัน

ซีน: เป็นจังหวัดที่ไปได้เรื่อยๆ จะเป็นที่ไหนก็ไปเรื่อยๆ

ดา: ชิลๆ รีแลกซ์

สิรา: เป็นความเงียบที่อยู่กลางเสียงดัง คนก็จะแต่งตัวโดดเด่น ถึงมันจะดูเงียบ แต่ทุกคนก็ตะโกนออกมา

Photo credit: muslimthaipost

ถ้ามีเพื่อนต่างจังหวัดมาเที่ยวจังหวัดปัตตานีหนึ่งวันจะพาเพื่อนไปไหนกันบ้าง มีร้านอาหาร ร้านอะไรอร่อยๆ อยากแนะนำบ้าง

ดา: ถ้ามากินมื้อเช้ามื้อแรกของวันที่ปัตตานีที่คนปัตตานีหลายคนชอบไปกินก็คือร้าน บังหนูด ก็จะมีแนะนำ โรตี ชาชัก ปัตตานี

ซีน: มื้อเที่ยงก็มีแนะนำร้านราดหน้านำรส ถ้าเพื่อนมาก็อยากจะพาไปไหว้เจ้าแม่ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดกลาง วัดช้างให้ ละแวกที่คนมาปัตตานีต้องมา

สิรา: ละแวกนั้นเป็นละแวกที่ไม่ว่าคนศาสนาก็ไป แถวนั้นเป็นสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมแฝงชิโนยูโรเปียน มันคล้ายกับภูเก็ต ย่านเมืองเก่า แล้วก็มีหลากหลายวัฒนธรรมตรงนั้น

Photo credit: mgronline

ฝ้าย: ตรงศาลเจ้าแม่ แถวละแวกนั้นมันมีสามวัฒนธรรม มีวัดหัวตลาด ไทยพุทธ ศาลเจ้าแม่ก็จีน เลยไปอีก มัสยิดกลาง แล้วตรงนั้น มันเป็นละแวกคนไปเที่ยวก็เยอะ เป็นย่านโปรโตกีส ไม่ใช่เพาะแค่คนมาถ่ายรูป

Photo credit: Line Today, Thailand tourism directory

ซีน: ตอนกลางวันก็สามารถแวะกินข้าวที่โรงเตี้ยมได้ มันจะอยู่ติดถนนเลย เป็นร้านอาหารจีนที่มีชาจีน อาหารจีนอร่อยๆ

ฝ้าย: ถ้าอาหารแนะนำเพิ่มก็จะมีติมซำ ก๋วยจั๊บยะลา (แต่เป็นร้านที่อยู่ในปัตตานี) ข้าวยำที่ตลาดโต้รุ่งปัตตานี หมี่กะทิ

สิรา: ถ้ามาปัตตานีก็อยากแนะนำร้านน้ำชาด้วย มีร้านน้ำชาเยอะแบบเติมได้เรื่อยๆ ที่ตลาดโต้รุ่ง แหล่งของกินในเมืองก็จะเป็นตลาดนี้แหละ

Photo credit: paaktai

หลังจากจบทริปเที่ยวในเมือง ก็ยังมีธรรมชาติรอบจังหวัดให้เที่ยวชมอีกเยอะ แหล่งดูพระอาทิตย์ตกดินที่แนะนำจากดาและซีนก็คือ หาดสะมิแล และ แหลมตาชี ส่วนถนนเดินชิลก็มีแนะนำถนนสายมอและตลาด Green Market หลังจากแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว รีวิวชีวิตวัยรุ่นกันเสร็จแล้ว ก่อนจะปิดบทความ เราจึงถามคำถามสุดท้ายกับแต่ละคนว่า

แหลมตาชี

มีอะไรอยากจะบอกรักจังหวัดปัตตานีกันไว้บ้างไหม

ฝ้าย: “เรารักการแต่งตัว รักในความยูนีค รักในความเป็นไปไม่ได้แต่มันเป็นไปได้ของปัตตานี มันไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไร แต่ละคนที่อยู่ เขาก็มีความตกต่างกันแต่ก็อยู่ด้วยกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน”

“ยกตัวอย่าง พวกเราสังคมเด็กโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มันไปที่ไหนมันจะรู้ว่านี้เด็กสาธิตชัดๆ มันจะรับรู้ได้ไง คนนี้เป็นเด็กสาธิต แต่นอกจากรู้ว่าเป็นเด็กสาธิตไม่พอ มันจะรู้ว่าเออเราจะได้รับความช่วยเหลืออยู่แล้ว ต่อให้ไม่ว่าเราจะไปอยู่ตรงไหนเขาก็พร้อมจะช่วยเหลือเราอยู่แล้ว มันเลยเป็นความรู้สึกที่ว่าแต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างกัน แต่พอมาอยู่ด้วยกันเพราะคือรู้เลยว่าเขาเป็นใคร แล้วอยู่ด้วยกันเพราะอะไร ด้วยความปัตตานี วัฒนธรรมมันหล่อหลอมให้เราเป็นคนประมาณนี้”

ซีน: “รักปัตตานีที่มันเป็นปัตตานี มันมีความเป็นตัวของมันเอง เราอยู่มาเกือบ 20 ปี ด้วยความเคยชิน เราโอเคมาก กับบรรยากาศอย่างนี้ มันเซฟโซนของเรา เราชอบที่ปัตตานีเป็นปัตตานี”

ดา: เรารักปัตตานีเหมือนพี่ๆ เลย รักที่มันสงบ ท้ายที่สุดแล้วมันคือบ้านของเรา มันคือเซฟโซนของเรา เราโตกับสภาพแวดล้อมที่ดีมากๆ พี่ๆ ครอบครัว คนรอบตัวคือดีหมดเลย ทุกคนที่นั่นน่ารักมากๆ อยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวเองแล้วจะรู้ว่ามันอบอุ่นมากจริงๆ

สิรา: “ขอเสริมจากที่น้องดาพูด คือรู้สึกว่าปัตตานีเป็นจังหวัดที่ไม่ได้เล็กไม่ได้ใหญ่ไปกว่าจังหวัดอื่น แต่รู้สึกว่าคนในจังหวัดมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันหมดเลย มันจะรู้ว่าคนนี้รู้จักคนนี้แล้วเหมือนทุกคนรู้จักกัน เรารู้สึกว่าทุกคนไม่ใช่คนแปลกหน้า เราชอบที่ทุกคนเป็นคอมมูนิตี้เดียวกัน”

“ถ้าให้บอกรัก คือรักในความเงียบของปัตตานีนั้นและ ถึงจะมีช่วงให้เอ๊ะ ให้ระวังตัว แต่เราก็มั่นใจว่าความเงียบนี้ของปัตตานีนี้เป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรที่ดีต่อสภาพจิตใจที่ส่งผลให้พวกเราเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะก็นึกไม่ออกเหมือนกันถ้าพวกเราไม่ได้โตในที่เงียบแบบนั้น ไปอยู่ในที่ที่วุ่นวาย เสียงดังหรือมีความเจริญกว่านี้ คือมันอาจจะฟังดูเหมือน romanticize แต่ปัตตานีมันเป็นความเงียบที่ดี เรารักในความเงียบสงบของพื้นที่ตรงนั้น”

“Pure budu, abundance of beautiful beaches, waterfalls, and doves, delicious ‘Luk Yee’ and fresh cockles”

If it weren’t for the four young locals whom we spoke to, we wouldn’t have any idea what Pattani’s motto used to be before it got replaced with “A harmony of 3 cultures, fantastic halal food hub, faith-led citizens, and natural beauty co-existing in the peaceful south.”

But apart from the (almost) haiku-like motto, what’s it really like to live 1,056 kilometers from Bangkok? Let’s see what these Pattanians have to say.

Meet Fai, a student currently undertaking a master’s degree and helping out her family’s bookkeeping. Her family may be from Chumphon, but she was born and raised in Pattani.

“I’m actually a Thai buddhist. Living here, everyday is pretty much an eye-opening experience. We’ve got a big melting pot of different cultures – Chinese, Malay, and Thai. Life is so much fun here although things were quite rough when I was young with all the unrest that was happening. I had to make sure that I get home by 5pm. I was shocked when I moved to Bangkok to study and saw how people would just stay out to enjoy a proper nightlife.”

“I skipped school a lot when I was in high school. There wasn’t any fence so I would just waltz right out. But since there wasn’t much of a nightlife to be had especially during a period of unrest, us teenagers in the 3 southern provinces didn’t have any choice but to spend most of our time during the day. It’s still a happy life for me because I really enjoy Pattani’s multicultural uniqueness.”

A Pattani native, Zeen is a fourth-year student at the Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.
“If I have free time after school, I usually go check out the sunset at  Samilae Beach behind Somdet Phra Srinagarindra Park. When I go, I have to hurry home because the town gets very quiet from about 6am to 6.30pm during the prayer time.”


Da, a fresher in the International Programs, Faculty of Law, Thammasat University, adds that:

“The situation was rather calm when I lived here. It wasn’t until I moved abroad that it got serious. I like to go to cafes, tea shops, Green Market or
Ta Chee cape to catch the sunset.”

Sira, a writer at Way Magazine, tells us that her lifestyle is a little different because she doesn’t live in the city center.
“My commute takes about half an hour so most of my time is spent at school. If I have a free period, I normall go hang out near the university.”

What ‘mood’ do you think Pattani represent?
Fai:
Colorful. People here like to get dressed up. They’re not afraid to wear stripe on stripe. The way they talk is also loud and colorful.

Zeen: Easygoing.

Da: Chill and laidback.

Sira: Stillness among loudness.

Photo credit: muslimthaipost

When out-of-town friends come to visit, where do you usually take them out to eat?
Da: For breakfast, it’d be Bang Nood restaurant and Roti Cha Chak Pattani.

Zeen: For lunch, I’d recommend Namrod ratna. I would also take them to pay respect to the goddess at Lim Ko Niao Shrine, visit Central Mosque and Chang Hai Temple.

Sira: That neighborhood has a lot of Sino-Portuguese architecture like what you see in Old Town, Phuket.

Photo credit: mgronline

Fai: The neighborhood near the goddess shrine is very multicultural. You can find Buddhist temples, Chinese shrines, and mosques. It’s very popular with visitors.

Photo credit: Line Today, Thailand tourism directory 

Zeen: You can go have lunch at the streetside Chinese tavern. They serve yummy tea and Chinese food.

Fai: Try dim sum, Yala thick noodles, khao yum at the nightmarket, and coconut noodles.

Sira: We have a lot of tea parlors here and you can get a free refill.

Photo credit: paaktai

What do you love the most about Pattani?
Fai: I love the style and uniqueness of the people here. We might be different, but it still feels like we’re the same family.

Ta Chee Cape

“For example, we all recognize students from Prince of Songkla University Demonstration School wherever we see them. If they need help, we’re more than willing to help them out with anything. Our culture has shaped us into who we are today.”

Zeen: Pattani is in its own league. I’ve lived here for almost 20 years and it’s my safe zone. I love the unique vibe here.

Da: Pattani is also my safe zone. I grew up in a good family surrounded by good people. Everyone is super nice here and I hope people get to experience that.

Sira: Pattani is neither smaller nor bigger than other provinces, but I feel like people here are all interacting with each other like everyone knows each other. It’s like we’re one big community. There might be periods where we have to stay vigilant, but I love the peace and quiet that Pattani gives me. I don’t want to romanticize things, but I don’t know how I would have turned out had I lived somewhere busy and hectic.”