พูดคุยกับคู่รัก LGBTQ+ ในวันที่ #สมรสเท่าเทียม ยังเป็นแค่ภาพร่างกับ “โบ๊ทนิวเยียร์ และ 4 คู่รัก”

In Conversation with LGBTQ+ Couples: When Will Marriage Equality Become a Reality in Thailand?

แม้ช่วง 2 - 3 ปีมานี้ การขับเคลื่อนเรื่อง “สมรสเท่าเทียม” ของ LGBTQ+ จะมีกระแสหนักแน่นขึ้นมาก แต่ต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะจริงๆ มีการผลักดันกันอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 แล้ว ทั้งในแง่มุมของประชาชนที่ออกมาเรียกร้อง หรือแม้แต่บุคลากรภาครัฐที่ร่วมร่างกฎหมาย พ.ร.บ. คู่ชีวิตมาหลายฉบับ เพื่อให้ทุกเพศได้จดทะเบียนสมรสและรับสิทธิในคู่สมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 63 เป็นอีกครั้งที่ทุกคนหวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นดังหวัง เพราะร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิตและร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.พ.พ. ที่มติครม. เห็นชอบ ยังไม่ตอบโจทย์ความเท่าเทียมในทุกมิติ เกิดเป็นกระแส #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต สนั่นโซเชียล ทำให้วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่แสดงถึงความเท่าเทียมของทุกเพศอย่างแท้จริง ต้องกลับไปเป็นเพียงแค่ภาพร่างอีกครั้ง 

ในระหว่างที่กระบวนการทางกฎหมายค่อยๆ เป็นไป (อย่างเชื่องช้า) EQ เลยอยากชวนทุกคนมาอัปเดตมุมมองของคู่รัก LGBTQ+ กันว่า ถ้ามีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นจริงจะทำให้ชีวิตพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างไร และมีอะไรบ้างที่อยากเห็นควบคู่ไปกับการปรับแก้กฎหมายในครั้งนี้

โบ๊ท ณัฐพงศ์ - นิวเยียร์ กิตติวัฒน์ (@bbbothhh, @newyear_kitiwhut) คู่รักชื่อดังที่ใช้ชีวิตร่วมกันมานานกว่า 9 ปี ได้แชร์ความคิดเห็นกับเราว่า การสมรสเท่าเทียมเท่าในความคิดของเขาคือการได้รับสิทธิ์ทุกอย่างเท่ากับทุกเพศอย่างเสมอภาค รวมไปถึงการถูกปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้ว่าตอนนี้ทั้งคู่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากล่าช้าของกฎหมายฯ เพราะในแง่ของการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างการซื้อบ้านหรือทำธุรกิจ ยังอยู่ในจุดที่ต่างคนต่างทำเองได้ แต่ในเรื่องที่ยังไม่เกิดและคิดว่าสำคัญมากถ้าในอนาคตครอบครัวเหลือกันแค่ 2 คนคือ การตัดสินใจในเรื่องของการเข้าโรงพยาบาล การลดหย่อนภาษี และสิทธิอื่นๆ ที่พึงมี จึงคิดว่ายังไงกฎหมายสมรสเท่าเทียมก็ควรต้องเร่งทำให้เกิดขึ้น อย่าจำกัดให้คู่สมรสยังเป็นแค่ชายหญิง

“การแต่งงานคือการแสดงให้เห็นว่าคู่รักได้เป็นคู่ชีวิตกันอย่างแท้จริง ซึ่งหากมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมยอมรับให้ทุกเพศจดทะเบียนสมรสกันได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว คิดว่าจะทำให้ชีวิตการแต่งงานของ LGBTQ+ สมบูรณ์ขึ้นอีก เพราะเมื่อกฎหมายพร้อม สังคมพร้อม นอกจากแต่งงานแล้วก็อาจขยับขยายไปถึงการมีลูกได้ง่ายขึ้น เพราะมั่นใจได้ว่าเด็กจะเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่กดดัน หรือถูกมองว่าแปลกแยก”

นอกจากนี้โบ๊ทนิวเยียร์ยังมองว่าความคิดและการกระทำของคนในสังคมควรต้องปรับเปลี่ยนไปพร้อมกัน หรือควรต้องปรับไประหว่างรอกฎหมาย เพื่อทำให้เกิดคำว่า ‘เท่าเทียม’ ขึ้นจริงๆ เพราะมองว่าถ้าคนในวงกว้างจิตใต้สำนึกดี มองคนเท่ากัน พอกฎหมายปรับแก้ได้แล้วทุกอย่างก็จะลงล็อกพอดีและใช้ได้จริง โดยที่ไม่มีข้อกังขาอะไรเกิดขึ้นตามมาอีก 

เรื่องแรกคือการปฏิบัติต่อ LGBTQ+ แม้ตอนนี้สังคมจะเปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตการทำงานในวงการบันเทิง การที่คนช่วยกันเรียกร้องสิทธิกันมากขึ้น หรือการคัมเอาท์ที่มากกว่าเดิม แต่ทั้งสองคนรู้สึกว่าเวลาคู่รักที่มีชื่อเสียงออกไปไหน คนส่วนใหญ่มักยอมรับมากกว่าเมื่อเทียบกับคู่ที่ไม่มีชื่อเสียง หลายครั้งที่คนเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไป เลยคิดว่าเรื่องนี้ก็สำคัญไม่แพ้กฎหมาย สังคมควรทำให้เท่ากันและสิทธิ์ทุกคู่อย่างเสมอภาคจะได้ไม่เกิด Bullying, Cyber bully เหมือนที่ผ่านมา หรือเกิดเหตุที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น โรคซึมเศร้าจากสายตาที่กดดันของสังคม

“อยากให้มองและปฏิบัติกับทุกคนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง โดยไม่มีเพศมาระบุ คือมองให้ถึงเนื้อแท้หรือคุณค่าข้างใน เพื่อให้อยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุขและไม่ต้องแบ่งแยกเพราะ LGBTQ+ เท่ากับมนุษย์ เรื่องเพศสภาพมันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต รวมทั้งอยากให้เปิดใจรับฟังคิดเห็นของกันและกันทั้งในแง่ของกฎหมายและการใช้ชีวิต แล้วจะเห็นว่าพวกเราไม่ได้แปลกหรือแตกต่าง และเป็นคนดีได้”

อย่าตีกรอบว่าคู่รัก LGBTQ+ จะไม่ยืนยาวเหมือนชายหญิง ในอดีตโบ๊ทและนิวเยียร์เคยถูกหลายคนมองว่าคบกันเพื่อโปรโมท คบเพื่อกระแส ไม่นานก็เลิกกัน เพราะคู่รักชายชายที่เปิดตัวสมัยนั้นมีน้อยมาก แต่สุดท้ายก็คบกันมาได้อย่างมั่นคงกว่า 9 ปี โดยเชื่อว่าสมัยนี้ก็อาจมีคนคิดแบบนี้อยู่ 

ปรับระบบการศึกษา อยากพยายามสอดแทรกเข้าไปในบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนว่า ‘เพศ’ ไม่ได้มีจำกัดอยู่แค่ชายหญิง แต่ยังมีเพศทางเลือกด้วย เพื่อให้เด็กได้ซึมซับและเกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่าง ส่วนคุณครูเองก็ควรเป็นผู้นำที่ดี มีความทันสมัย เข้าใจความต่าง เข้าใจเด็ก ไม่ล้อเลียน หรือสร้างปมในใจให้เด็ก

“ตอนนี้สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแล้ว คนรุ่นใหม่ยอมรับ LGBTQ+ กันมากขึ้น ส่วนสำคัญก็มาจากการขับเคลื่อนที่ทุกคนกำลังทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชุมนุม เรียกร้องผ่านโซเชียลมีเดีย หรือการที่อินฟลูเอนเซอร์ทำคอนเทนท์ต่างๆ ลงยูทูป เช่นที่เราทำ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เจาะลึกถึงการผลักดันกฎหมายโดยตรง แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมได้เห็นว่าเรามีตัวตน มีความรักที่ยั่งยืนได้ และเติบโตได้อย่างดีโดยไม่เบียดเบียนใคร แต่ยังไงก็ยังหวังว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เท่าเทียมจริงๆ จะเกิดขึ้นได้ เพื่อทำให้ชีวิตคู่ของหลายคนคอมพลีทมากขึ้น”

ด้านคุณบี (นามสมมติ) พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งกล่าวว่า เห็นด้วยกับหลายเรื่องที่โบ๊ทนิวเยียร์แชร์ เพราะเจอด้วยตนเองมาแล้ว เช่น โดนล้อเลียน และถูกสังคมตีกรอบเรื่องความรักที่ไม่ยืนยาวว่านานไปก็ต้องกลับไปคบกันแบบชายหญิง จึงมองว่าก่อนกฎหมายจะชัดเจน คนในสังคมควรปรับความคิดและทัศนคติก่อน ส่วนเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ล่าช้า มีผลมากต่อการใช้ชีวิตคู่ โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการของบริษัท ที่ให้แค่คู่สมรสตามกฎหมาย (ช-ญ) ได้สิทธิ์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ เป็นสิ่งที่ครอบครัวของพนักงานทุกคนควรจะได้รับ “ส่วนตัวแล้วอยากให้มีทั้ง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และปรับแก้ป.พ.พ.ให้มันไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อทำให้โอกาสในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การเซ็นยินยอมทางการแพทย์ การเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฯลฯ เพราะเรามองว่าเรื่องพวกนี้แทบจะเป็นสถานการณ์ที่ต้องพบตลอดการมีชีวิตอยู่แล้ว และเราเองก็ต้องการมีคู่ชีวิตที่ใช้ชีวิตร่วมกันเหมือนชายหญิงทั่วไป”

Photo credit: Ian Taylor

น้ำฝน คณิตตา พนักงานออฟฟิศ อายุ 30 ปี เปิดเผยกับเราว่า ใช้ชีวิตอยู่กับคู่รักมาสักพักแล้ว แต่แต่งงานให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้ จึงไม่ได้รับสิทธิเท่าช-ญ อย่างสวัสดิการบริษัท การทำธุรกรรม เป็นต้น เพราะยังไม่ถูกมองว่าเป็นคู่สามีภรรยากันอย่างแท้จริง ซึ่งตัวเขาเองคิดว่าไม่ควรต้องมีกฎหมายสมรสแยกแต่ควรจะปรับกฎหมายเดิมให้รองรับทุกเพศ เพราะการแบ่งแยกกฎหมายก็ถือว่าไม่เท่าเทียมแล้ว และควรให้มันเกิดขึ้นได้จริงสักที “กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะทำให้ชีวิตคู่ของ LGBTQ+ ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับจากสังคมในทุกแง่มุม เพราะสังคมเคารพกฎหมายเหมือนสิ่งศักสิทธิ์ แต่ถ้าปรับกฎหมายทั้งมันยากเกินก็ค่อยๆ ปรับไปทีละจุด เช่น อนุญาติให้จดทะเบียนสมรสและมีสิทธิในสวัสดิการต่างๆ ได้ก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่ม จนทุกเพศได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน”

ช๊อป ดนุสรณ์ และคู่รักที่รับราชการทั้งคู่ กล่าวว่า การไม่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมสักทีทำให้ใช้ชีวิตลำบาก มีครั้งหนึ่งเคยวางแผนซื้อบ้านด้วยกันแต่ค้ำให้กันก็ไม่ได้ เลยต้องล้มแผนการซื้อบ้านไปก่อน ถ้าหากมีกฎหมายฯจะทำให้ชีวิตของทั้งคู่ดีขึ้นได้ อย่างน้อยก็ทำการทำธุรกรรมต่างๆ และเบิกใช้สวัสดิการของคู่สมรสได้ตามปกติเหมือนคู่สมรสช-ญ นอกจากนั้นอยากให้คนในสังคมปรับความคิดจากข้อกำหนด (ที่ตั้งขึ้นเอง) ด้วย เช่น มองว่าผู้ชายต้องเป็นทหาร ผู้หญิงต้องเป็นพยาบาล “ทัศนคติสำคัญกว่าข้อกฎหมาย หากเรามีความคิดและทัศนคติที่ดี มองว่าทุกเพศเป็นปกติชนทั่วไปและยินดีกับทุกความรัก ทุกอย่างก็จะดีไปด้วย มันอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่เข้าใจยาก แต่เข้าใจได้ ถ้าใจเราเปิดรับ”

Photo credit: Yoav Hornung

ด้านคุณแทม (นามสมมติ) เปิดเผยว่าอยากให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้น เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตคู่ของ LGBTQ+ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มสิทธิในการจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ช่วยเพิ่มคุณค่าในด้านจิตใจ ทั้งต่อบุคคลนั้นเอง ครอบครัว และสังคมในวงกว้าง “การปรับกฎหมายถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำให้สังคมส่วนใหญ่รับรู้ และเกิดการยอมรับได้มากขึ้น เพราะแม้ว่าสังคมปัจจุบันเริ่มเปิดรับมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ 100% เราอยากให้อยู่ร่วมกันแบบมองข้ามเรื่องเพศ เพราะทุกคนคือมนุษย์ และมีคุณค่าในตัวเอง”

มุมมองของคู่รัก LGBTQ+ ทั้ง 5 สะท้อนให้เห็นว่า กฎหมาย #สมรสเท่าเทียม คือหนึ่งในความสำคัญของชีวิตคู่ ทุกคนยังคงรอคอยวันที่ฉบับสมบูรณ์มันชัดเจนและบังคับใช้ได้จริง ส่วนเราในฐานะผู้เขียนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความเท่าเทียมที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อให้การต่อสู้ที่ยาวนานของทุกคนสิ้นสุดลงสักที 

Photo credit: iLaw


Even though the push for marriage equality among the LGBTQ+ community had its start in 2013, it wasn’t until recent years that the movement seemed to have gained a stronger momentum. In 2020, a bill permitting same-sex civil partnerships was approved by the Cabinet, but it still doesn’t grant same-sex couples the same rights as heterosexual couples. As a result, many activists refuse to accept the bill and continue to fight for true equality with growing support on Twitter coupled with a hashtag opposing the bill.

How does the Cabinet’s decision affect the lives of those in the LGBTQ+ community? EQ talk to these couples to find out.

According to Nattapong “Both” Chinsoponsap and Kitiwhut “Newyear” Sawutdimilin, marriage equality means that every couple, regardless of gender, is granted the same equal rights. “Because we are both working and each of us is capable of taking care of our financial affairs, it’s not a huge deal for us right now if we can’t enjoy the benefits as a spouse. However, if that day comes when we have to rely on each other, we want to be able to enjoy all the rights and benefits provided to married couples such as medical decisions and tax deduction. It’s not really marriage equality if certain rights are still off limits to us.”

“Couples show their commitment and devotion to each other through marriages. LGBTQ+ couples should be able to do the same. If same-sex marriages are legalized, we believe that it will bring a sense of fulfilment to a lot of us in the community. When the law recognizes us, society will also recognize and accept us. Our children will grow up in a good environment where they won’t feel alienated.”

But it’s not just the law that needs to change. In order to achieve true equality, the public attitudes towards the LGBTQ+ community have to change as well. As a celebrity couple, Both and Newyear find it relatively easy to be accepted by society. However, they want to see all same-sex couples being treated with respect and dignity no matter who they are.

“We’re humans like everyone else so we should be treated equally. People should look beyond our sexual orientations and take us for who we are so that we can co-exist in peace and harmony. They should open their hearts because, at the end of the day, we all have the same needs and wants and we’re not that different from them.”

Debunking myths about LGBTQ+ 
Although the two of them have been together for 9 years, they were still subjected to the stereotype that same-sex relationships aren't long-lasting as heterosexual ones. In fact, when they first went public with their relationship, they were accused of doing it just for publicity purposes. This is why sex education is extremely important. Kids should be taught about gender diversity so that they understand that it’s part of human nature and not something unusual or abnormal.

“We believe that our society is heading in the right direction. The young generation is more accepting of those in the LGBTQ+ community, thanks to all the social movements we have seen happening in recent years. What we do might not have a direct impact on the law, but at least we’re paving the way for positive representation for queer people. We really hope that we’ll get to see marriage equality become a reality in the next couple of years.”

Having experienced bullying and discrimination, an office worker who goes by the name of Bee agrees with Both and Newyear. There needs to be a shift in attitudes towards same-sex relationships.

“Personally, I want the same-sex civil partnerships bill to pass so that we could do benefit from mutual financial benefits and visitation and medical decision-making rights. My partner should also be entitled to the benefits provided by my company and vice versa. We deserve the same rights as straight couples.”

 

Photo credit: Ian Taylor

30-year old office worker Manfon Kanitta has been in a same-sex relationship for a while now. But since she’s not allowed to marry her partner, she can’t enjoy the same rights and benefits that heterosexual couples have.

“The law shouldn’t discriminate. The fact that they feel like they need to draft a separate set of laws and regulations for LGBTQ+ couples doesn’t sound like equality to me. I understand that a complete overhaul of law might be difficult, but it can be done gradually. Maybe start with a legal recognition of same-sex relationships and then implement spouse benefits.”

Government employees ช๊อป ดนุสรณ์ and his partner also admit to us that the fact that they can’t get married legally has made their lives difficult. They are not entitled to the benefits provided by the government and they cannot apply for the loan to buy a house.

“Even then, I think it all comes down to attitudes. It shouldn’t matter what sexual orientation people identify themselves with, love is love. Love should be celebrated. It’s that simple.”

Photo credit: Yoav Hornung

Tam (alias) also wants same-sex marriage to be legalized because it will drive society towards more acceptance, which in turn leads to a better quality of life for LGBTQ+ people.

“Although we’ve come a long way in terms of LGBTQ+ acceptance, it’s still not not 100%. I think an update to the law will be the first step towards wider social acceptance. I want to see everyone coexist peacefully and equally. We’re all human beings.”

Photo credit: iLaw