Identity

Sound of Youth: “Beauty” การแต่งหน้าและความงามในมุมมองของวัยรุ่นชนบท

Sound of Youth: Beauty & Makeup

เชื่อว่าทุกคนที่มีความชื่นชอบด้านการแต่งหน้า ล้วนก็มีจุดเริ่มต้นและมุมมองเกี่ยวกับความงามที่ไม่ซ้ำกัน ขึ้นอยู่กับสังคม สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ที่เคยได้พบเจอในชีวิต ยิ่งมาจากพื้นเพที่หลากหลายก็ยิ่งมีความต่าง วันนี้ EQ จึงได้พูดคุยกับเหล่าหญิงสาววัยรุ่นจากต่างจังหวัด 3 คน ถึงก้าวแรกที่ทำให้เริ่มหยิบจับเครื่องสำอางมาแต่งหน้า นิยามของความสวย และการปรับรูปลักษณ์เข้ากับไลฟ์สไตล์ในเมืองใหญ่

‘ดรีม – สุกฤตา ศรีนุกูล’ สาวหนองคายที่ตกหลุมรักการแต่งหน้าตั้งแต่แรกพบ ปัจจุบันตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในชลบุรี (IG : @dream_srinukul)

“น่าจะเป็นตอนมัธยมฯ ต้นที่เรารู้สึกว่าอยากจะสวยได้มากกว่านี้ เพราะเวลาได้เห็นรุ่นพี่ที่โรงเรียนแต่งหน้ากันก็รู้สึกว่า “เฮ้ย ทำไมเขาสวยจัง ใช้เครื่องสำอางอะไร” เราก็อยากใช้ตาม จะได้สวยเหมือนเขา”

‘หยก – พิมนภา ใบสันต์’ เจ้าแม่แฟชั่นจากหาดใหญ่ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯ และคุ้นเคยกับการแต่งหน้าเหมือนเป็นเพื่อนอีกคน (IG : __yokk)

“ตั้งแต่ช่วงอนุบาลฯ จนถึงประถมฯ เราได้เรียนรำไทยที่โรงเรียน ก็เลยได้รู้จักการแต่งหน้า แต่ตอนนั้นยังแต่งเองไม่เป็น และไม่รู้วิธีหรือรายละเอียด เพราะการแต่งหน้านางรำเป็นการแต่งแบบจัดเต็ม ที่เน้นคิ้วเข้ม ตาชัด และปากสีเด่น บางครั้งตอนเด็กๆ เราก็เอาเครื่องสำอางของแม่มาลองแต่งเล่น แต่พอโตขึ้นมาประมาณ ป.5-6 เราก็ได้มีสังคมเป็นของตัวเอง เพื่อนรอบตัวใช้บลัชออนไม่ก็ลิปบาล์มสีชมพูทั้งนั้น แล้วเวลาเดินห้างก็จะไปดูลิปฯ กัน เราเลยเริ่มที่จะแต่งหน้าอ่อนๆ ถึงจะยังแต่งส่วนตาไม่เป็น ก็ใช้ลิปฯ มัน แล้วปัดแก้มด้วยแป้งอัดแข็ง พอขึ้นมัธยมฯ ซึ่งเป็นช่วงที่มีอินเทอร์เน็ต เราก็ดูวิธีกรีดอายไลเนอร์และปัดมาสคาร่าจาก Facebook หรือ Hi5 และเริ่มพัฒนาขึ้น (หัวเราะ)”

‘ปรายฟ้า – ปฐมวรรณ เหมทิพย์’ เด็กสาวจากเมืองสงขลาที่มาศึกษามหาวิทยาลัยต่อในกรุงเทพฯ และมีความสนใจด้านความสวยความงามจากสังคมรอบตัว (IG : @pfahs)

“เราเริ่มใช้ลิปบาล์มมีสีตั้งแต่ ม.1 แต่ก็ใช้แค่นั้นเลย แป้งฝุ่นก็ไม่ใช้เพราะไม่ชอบเป็นการส่วนตัว ตอนที่เริ่มแต่งหน้าจริงจังน่าจะเป็นช่วง ม.ปลาย ที่เราเริ่มใช้ลิปสติกไม่ก็ลิปกลอส แล้วก็เขียนคิ้วบ้าง แต่ว่าไม่บ่อย เพราะกลัวครูจับได้ ตอนนั้นคนรอบตัวเขาเริ่มแต่งหน้ากันแล้ว เราเลยรู้สึกว่าต้องเอาด้วย อยากลองดู จะได้รู้ว่ามันเป็นยังไง”

เครื่องสำอางชิ้นแรกในชีวิต

ดรีม: คงเป็นลิปสติก เพราะรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นอะไรที่เบสิคสำหรับเด็กทั่วไป เหมือนประโยคที่เขาว่า “ปากไม่แดง ไม่มีแรงเดิน” ตอนนั้นก็ซื้อจากร้านค้าทั่วไป เนื่องจากเราไม่ได้รู้จักแบรนด์อะไรมากมาย แล้วก็ยังไม่ได้มีเงินเยอะถึงขนาดที่จะไปซื้อลิปฯ แบรนด์ดังได้ เราเลยไปดูร้านค้าที่ขายเครื่องสำอางทั่วไป ซึ่งมีหลายยี่ห้อ หลายราคาให้เลือก และให้พนักงานช่วยแนะนำ

หยก: คงเป็นลิปสติก เราจำได้ว่าตอนนั้นเดินผ่านวัตสันก็เลยซื้อ เพราะเวลาแต่งหน้า สิ่งแรกที่นึกถึงก็จะเป็นลิปสติก ในวันที่ไปโรงเรียน ถ้าเราไม่ได้แต่งหน้าก็ต้องมีลิปฯ ซึ่งตอนเด็กๆ จะรู้แค่ว่าร้านค้าทั่วไปตามห้างหรือ 7-11 มีลิปมันขาย แต่ไม่ได้รู้จักพวกเคาน์เตอร์แบรนด์เลย

ปรายฟ้า: ลิปมันเปลี่ยนสี ไม่แน่ใจว่าซื้อมาจากร้านเครื่องสำอางโดยเฉพาะหรือเปล่า เพราะดูเหมือนว่าร้านจะรับของจากหลายแบรนด์หรือซื้อจากอินเทอร์เน็ตมาวางขาย แต่ตอนนี้ส่วนตัวชอบซื้อที่วัตสันมากกว่า เรารู้สึกว่ามันมีความน่าเชื่อถือ ไม่ต้องกลัวว่าเครื่องสำอางจะมีสารที่ไม่ปลอดภัยหรือเปล่า

คำนิยามของ ‘ความสวย’

ดรีม: สำหรับเรา ความสวยเป็นอะไรที่วัดไม่ได้ เราจะไปบอกว่าคนนี้สวยมาก คนนี้สวยน้อย คนนี้สวยแบบไหน ก็ไม่ได้ เราไม่สามารถให้คะแนนความสวยกับใครได้ เพราะว่ามันมีทั้งความสวยที่มาจากภายใน แล้วก็ความสวยที่เป็นบุคลิก ความเป็นตัวเอง หรือเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนการแต่งหน้าเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองว่า “ฉันแต่งเติมตรงนี้แล้ว ฉันจะมั่นใจมากขึ้น กล้าเฉิดฉายมากขึ้น” เราไม่ได้แต่งเพราะอยากจะสวยมากกว่าคนอื่น แต่แต่งเพื่อให้ตัวเองมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้

หยก: ความสวยคือการแต่งหน้าที่เข้ากับลุคของตัวเอง เพราะมันจะดูน่ามองและเป็นธรรมชาติ แต่จริงๆ แล้ว แต่ละคนก็แต่งได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์เกาหลี สายฝอ หรืออื่นๆ เราต้องดูที่บุคลิกด้วยว่าตัวเองเข้ากับการแต่งหน้าแบบไหน ถ้าไปกันได้กับบุคลิก ทุกอย่างก็จะดูดี สมมติว่าวันนี้เรามั่นใจเรื่องการกรีดตาและการแต่งตัว แล้วลุคเข้ากัน ก็โอเค แต่บางวันถ้าอยากแต่งหน้าจัดเต็มแล้วเสื้อผ้าไม่เข้ากัน ก็แต่งแบบนั้นไม่ได้ 

ปรายฟ้า: ถ้าเป็นตอนที่ยังเรียนมัธยมที่สงขลา เราจะมีหน้าตาแบบหนึ่งที่รู้สึกว่าสวย เพราะคนรอบตัวเขามองว่าแบบนั้นสวย ทำให้เรามีความคิดว่าต้องหน้าตาแบบนี้เท่านั้นถึงจะสวย ถ้าให้ยกตัวอย่างของตัวเอง เราก็ไม่ได้ตรงตาม beauty standard ซึ่งขอพูดก่อนว่า beauty standard ในความคิดของเราก็คือคนที่มีหน้าตาหมวยๆ ซึ่งคนในสังคมรอบตัวเรามองว่าสวย และให้โอกาสคนลักษณะนี้ในการทำกิจกรรมมากกว่า แต่พอเราได้ไปเจอโลกมากขึ้นก็รู้สึกว่า “ไม่ มันไม่ใช่แค่แบบนั้น” มันเป็นเพราะสังคมที่เราอยู่ ที่ทำให้คิดว่าความสวยมีเพียงแค่แบบเดียว พอเราออกมาจากตรงนั้นถึงได้รู้ว่า ‘ทุกคนสวยในแบบที่ตัวเองเป็น’ ไม่ได้มี pattern ว่าต้องหน้าตาแบบนี้เท่านั้นถึงจะเรียกว่าสวย

การปรับตัวในสังคมเมืองใหญ่

แน่นอนว่าพอก้าวเข้าสู่ต่างเมือง ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมนั้นๆ เป็นธรรมดา เราจึงได้ถามพวกเธอว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ได้มีการปรับตัวในด้านของความสวยความงามให้เข้ากับสถานที่ใหม่ๆ บ้างหรือเปล่า ซึ่งทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เปลี่ยน’ แต่ว่าเปลี่ยนไปอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตและความคิดอ่านของพวกเธอแต่ละคน

ดรีม: ตรงนี้เราคิดว่าได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองบ้างเพื่อเข้าสังคม ฟีลแบบ “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” จากตอนมัธยมฯ ที่อาจจะทาแค่ลิปสติก พอขึ้นมหาวิทยาลัย แทบทุกคนรอบตัวก็แต่งหน้ากันหมดเลย แล้วพอเราไม่แต่งก็รู้สึกว่า “ทำไมหน้าฉันดูว่างๆ จัง มันดูไม่มีอะไรเลย” เวลาคนเดินผ่าน เขาก็จะดูคนที่แต่งหน้าก่อน เราเลยเปลี่ยนตัวเองด้วยการแต่งหน้าไปเรียนทุกวัน อีกเหตุผลที่ทำให้แต่งหน้าก็มีเรื่องของภาพลักษณ์ด้วย เราเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ก็จะมีภาพลักษณ์ที่คนอื่นมองว่าลีดฯ ต้องเป็นยังไง คนที่จะเป็นลีดฯ ได้ต้องมีลักษณะหรือบุคลิกแบบไหน เราแค่ถ่ายทอดมันออกมาผ่านการแต่งหน้า ถ้าสมมติเราบอกทุกคนว่าเป็นลีดฯ แต่เราหน้าโล้นๆ ไม่แต่งตัว เขาก็จะมีภาพจำที่ไม่ดีกับลีดฯ เราเลยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและดูแลตัวเองตลอดเวลา เพราะการดูสวยในทุกๆ วันคือการสร้างคุณค่าให้ตัวเอง

หยก: ก็มีเปลี่ยนบ้าง เรื่องแต่งหน้ายังไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่การทำผมเปลี่ยนไปมาก ตอนอยู่หาดใหญ่เราไม่ได้ทำอะไรเยอะขนาดนั้น แต่พอมาอยู่กรุงเทพฯ ก็จะหนีบผมบ้าง ม้วนผมบ้าง ให้มันดูดีขึ้นนิดนึง เพราะเพื่อนก็ทำ ก่อนเข้ามหา’ลัยก็ไปทำสีผม เพราะไม่อยากให้ตัวเองดูเด็ก ส่วนการแต่งตัวก็เปลี่ยนลุคให้ดูชิลขึ้น ปกติเราเป็นคนชอบแต่งตัวแบบจัดเต็ม แต่พออยู่มหา’ลัยก็ไม่อยากแต่งตัวให้ดูเด่น จะเน้นให้เข้ากับเพื่อนมากกว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความมั่นใจด้วย แต่ตอนแรกเรายังไม่ได้รู้จักใคร ก็เลยไม่อยากแสดงออกหรือแต่งให้ดูเป็นตัวเองขนาดนั้น นอกจากว่าอยู่กับเพื่อนสนิทหรือไปเที่ยว ถึงจะแต่งแบบจัดเต็มได้ เพราะมีคนเคยบอกว่า เราแต่งตัวมีสไตล์ชัดเจนเกินไป ไม่ก็เป็นคอมเมนต์ในเชิงลบ เราเลยรู้สึกว่า ถ้ามีเพื่อนที่เข้าใจการแต่งตัวของเราก็ค่อยสบายใจหน่อย (หัวเราะ)

ปรายฟ้า: อย่างที่ได้บอกไปว่ามาตรฐานความงามตอนอยู่สงขลาจะเป็นแบบหนึ่ง ที่พอเราไม่ได้มีหน้าตาแบบพิมพ์นิยม คนรอบตัวก็จะใช้คำว่า ’หน้าเก๋’ ในการชมเรา ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันดีหรือมันไม่ดี ไม่รู้ว่าคำนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ เพราะถ้าคนไหนสวยหรือน่ารัก เขาก็จะพูดไปตรงๆ ทำให้เวลาโดนคนที่เพิ่งเจอกันชมด้วยคำว่าหน้าเก๋ เราก็จะไม่มั่นใจไปด้วย บวกกับว่าตอนนั้นกฎโรงเรียนเคร่งเรื่องระเบียบทรงผม เราจะต้องตัดผมสั้นเท่าติ่งหู ก็ยิ่งไม่มีความมั่นใจไปกันใหญ่ แต่พออยู่กรุงเทพฯ เราได้หันกลับมาคิดว่า หลายคนก็สวยหลายแบบ เราเลยไม่เปลี่ยนตัวเองตาม beauty standard ที่ใครกำหนด แค่อยากจะดูดีขึ้นในแบบของเราเอง เพื่อนรอบตัวที่กรุงเทพฯ ก็ดูแลตัวเองและสวยในแบบของเขาไปแล้ว เลยรู้สึกว่าอยากทำของเราบ้าง เราเริ่มแต่งหน้ามากขึ้น แล้วพอได้ทำทรงผมที่อยากไว้ เราก็มั่นใจมากขึ้นอีก รู้สึกว่าตัวเองสวยขึ้นจริงๆ เพราะทรงผมเป็นประเด็นที่ทำให้ความรู้สึกเราเปลี่ยนไปด้วย

Every individual drawn to the art of makeup has a unique beginning and perspective on beauty. These viewpoints take shape under the influence of their society, surroundings, and life’s experiences. The broader the spectrum of backgrounds, the richer they are. In today’s episode of Sound of Youth, we’re having a chat with three teenage girls who come from different provinces. We’ll dive into their experiences with makeup, their own ideas about beauty, and how they effortlessly blend their looks with the vibrant pace of urban living.

สุกฤตา “Dream” ศรีนุกูล, a university student in Chonburi

“It might have been during my early high school years when I felt like I wanted to look prettier. When I saw the older students doing their makeup at school, I thought, ‘Why do they look so beautiful? What makeup are they using?' I wanted to use the same things so I could look as pretty as they did.”

พิมนภา “Yokk” ใบสันต์, a fashionista from Hat Yai currently pursuing her undergraduate studies in Bangkok

“Back in kindergarten and all through primary school, I was into learning Thai dance at my school. That’s when I first got a taste of makeup, although I wasn’t really doing it myself back then, and the whole technique was a bit of a mystery. You know, the makeup for Thai dance is quite something – they go all out with strong eyebrows, sharp eyes, and bold lips. So, as a kid, I’d goof around with my mom’s makeup for fun. It wasn’t until middle school, when I had my own group of friends, that I noticed everyone using blush-ons and those pink lip balms. Whenever we hit the mall, checking out lipsticks became a ritual. So, I sort of eased into playing with makeup, although I had no clue about eye makeup at that point. Lipstick and a touch of cheek powder were my go-tos. By the time I hit high school, the internet was becoming huge. I’d learn eyeliner tricks and mascara hacks from Facebook and Hi5. That’s when I started getting a bit better at this makeup thing.”

ปฐมวรรณ “Praifah” เหมทิพย์, a Songkhla native currently studying at a university in Bangkok

“I started with tinted lip balm in 9th grade, but I skipped powder as I wasn’t into it personally. I got into makeup seriously around 12th grade – using lipstick, lip gloss, and occasionally filling in my eyebrows. I was careful not to overdo it, fearing teachers might spot it. As more friends began trying makeup, I joined in to see how it’d turn out for me.”

What was your first makeup item?

Dream: Probably a lipstick. There’s a saying that goes something like, ‘No red lips, no power.’ Back then, I just got it from regular stores because I couldn’t really afford fancy lipstick brands. I’d hit up those general makeup stores with all sorts of options in terms of brands and prices. I pretty much relied on the store folks to help me figure out what to pick.

Yok: It’s probably a lipstick. I remember walking through Watson’s and decided to buy it. When it came to putting on makeup, the first thing that popped into my head was lipstick. On school days, if I didn’t do a full face, I’d still have my lipstick on. As a kid, I only knew that regular stores in malls or 7-Elevens sold lipsticks, but I didn’t really know much about those brand counters.

Praifah: It was a color-changing lip balm for me. I’m not entirely sure if I bought them from dedicated makeup stores or not. But nowadays, I prefer buying from Watson’s because it’s more reliable, and I don’t have to worry as much about whether the makeup might contain unsafe ingredients.

What’s your definition of ‘beauty’?

Dream: For me, beauty isn’t something that can be measured. I can’t simply say someone is very beautiful, someone is not that beautiful, or define the kind of beauty someone has. I can’t give a score to anyone’s beauty because beauty encompasses both the internal and individual uniqueness, being true to oneself, and having distinctive qualities. As for makeup, it’s a way to boost my self-confidence. I don’t put on makeup because I want to be prettier than others, but to feel confident in my everyday life.

Yok: Beauty is about putting on makeup that complements your own look, so it appears attractive and natural. The reality is that each person can style themselves in various ways, whether it’s the Korean style or a smoky look. We need to consider our personality and see which makeup style suits us best. If it aligns with our personality, everything will look great. Let’s say today we feel confident about our eye makeup and outfit, and they blend well together – that’s perfect. 

Praifah: Back when I was in high school in Songkhla, I thought a certain look was beautiful because it was how those around me perceived it. This made me believe that beauty was tied to having that particular appearance. Personally, I didn't feel like I fit the beauty standard, which in my view was having a small, delicate face. People in my social circle deemed this as beautiful and favored those who had this look, offering them more opportunities. But I eventually realized that beauty isn’t confined to just one appearance. Society conditions us to think that beauty conforms to a single template. Once I stepped outside that limited perspective, I came to understand that everyone possesses their own unique beauty.

Have you changed up your beauty routine to match city life?

Dream: I feel like I’ve made some adjustments to fit into society, sort of like that “when in Rome, do as the Romans do” vibe. During high school, maybe it was just me putting on lipstick, but once I got to university, pretty much everyone around me was going all out with makeup. If I didn’t, I’d catch myself thinking, “Why does my face look so bare? It’s like there's nothing there.” When people walked by, their attention would go to those who were already wearing makeup. So, I ended up changing my routine and started putting on makeup every day for classes. Another reason for this makeup thing is about my image. I’m part of the cheerleading team, and there’s this specific image people associate with cheerleaders. To fit that, you need a certain look or personality. That’s why I’ve had to change things up and take care of myself all the time, because looking good every day is about building my own self-worth.

Yok: The makeup part hasn’t changed that much, but my approach to hairstyling has changed quite a bit. Back in Hat Yai, I didn’t do much with my hair, just left it as is. But when I moved to Bangkok, I started experimenting more — braiding it and curling it just to make it look a bit better. Friends were doing it, so I thought, why not? Before starting university, I even dyed my hair because I didn’t want to look too childish. When it comes to dressing up, I kind of switched things up to look more relaxed. But at the start, when I didn't really know anyone, I wasn't too keen on standing out with my outfits or expressing myself through clothing. Except for those times hanging out with my close buddies or going somewhere, that’s when I'd really go all out with my outfit. It’s because someone once said my style was a bit too out there, and I got some not-so-great comments too. So, I figured if I had friends who got my style, I’d feel way more comfortable and easygoing about it.

Praifah: As I mentioned, during my time in Songkhla, the beauty standards seemed quite limited. If someone didn’t fit the conventional beauty mold, they would often be labeled as having a “distinctive face,” and I wasn’t entirely sure if that was meant as a compliment. The stringent school regulations regarding hairstyles didn’t make things any easier. When I moved to Bangkok, my perspective shifted as I realized that beauty encompasses a wide range of looks. It was then that I made the decision not to conform to others’ standards but rather focus on feeling confident in my own way.

I began to explore makeup and even got the haircut I had always wanted, which significantly boosted my self-assurance. This change in hairstyle had a profound impact on how I viewed myself, altering my self-perception in a truly positive manner.