Adi แบรนด์แฟชั่นสัญชาติไทยกับเสื้อผ้าแรงๆ ที่ได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมวัยรุ่น

“เราโตมาในยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมักมากับคำจำกัดความมากมาย เช่น เป็นผู้ชายทำไมแต่งตัวโป๊แบบนี้ เป็นกะเทยรึป่าวแบบนี้ เราไม่ชอบคำพวกนี้ ก็เลยอยากทำเสื้อผ้าที่ออกมาเพื่อ blend คำจำกัดความเหล่านี้ให้ออกไป ทำลายกรอบกำแพง และเผยตัวตนที่แท้จริงดีกว่า”

Youth Culture เป็นคำที่ใช้กับมาตั้งแต่ปี 1950 ที่หมายถึงวัฒนธรรมเฉพาะของวัยรุ่น ทั้งสไตล์ แฟชั่น ภาษาพูด และดนตรี มาจนถึงปี 2021 ปีที่เทรนด์ทุกอย่างถูกกำหนดโดย Youth Culture อีกครั้ง แต่มันเกิดอีกแขนงที่แตกออกไปอีก เป็น Youth Subculture ซึ่งความหมายเหมือนกันแต่แยกย่อยลงไปอีก เช่นอิทธิพลจากดนตรีพังค์ อินดัสเตรียลเทคโน ชาวเรฟ ชาวก็อธ ความดำมึด ความขบถและแปลกแยกจากสังคม แน่นอนว่าแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น Hi-end หลายๆ แบรนด์เลือกดึงเอาคอนเซ็ปต์นี้ไปใช้ เห็นได้จากแบรนด์อย่าง Balenciaga, Vetements, Heron Preston หรือ Raf Simons ที่นำเสนอความเป็น Youth Subculture ออกมาในแง่ของสัญลักษณ์ต่างๆ บนเสื้อผ้า เพื่อต่อต้าน หรือแสดงความความก้าวร้าวที่ขัดต่อวัฒนธรรมในสังคม

หนึ่งในแบรนด์แฟชั่นไทยที่นำเอาวัฒนธรรมวัยรุ่นมาดัดแปลงได้อย่างสวยงาม ทั้งผ่านงานออกแบบที่สุดคงต้องยกให้ ADI โดยมี “อดิ” เป็นทั้งเจ้าของแบรนด์และดีไซน์เนอร์ ที่สะสมวัฒนธรรมวัยรุ่นมาตั้งแต่เรียนแฟชั่นที่มิลาน มันไม่ใช่แค่ความชอบแต่เป็นความหลงใหลไปกับความแตกต่างและการทำเสื้อผ้าที่ใช้สื่อสารกับคนรอบตัวว่าฉันคือใคร แบรนด์ ADI กลายมาเป็นแบรนด์เสื้อผ้าวัยรุ่นที่ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุ เป็นความเป็น Unisex ที่สามารถผสานดนตรี แฟชั่น สะท้อนออกมาในเสื้อผ้าทุกชิ้นที่สวมใส่

แบรนด์ ADI มีความเป็นมาอย่างไร

คือสมัยที่เรียนอยู่ที่มิลาน มันมีโปรเจ็คต์หนึ่งในวิชาชื่อว่า Fashion Identity  เป็นวิชาที่เหมือนให้เราได้สำรวจความหลงไหลของตัวเอง ศึกษาว่าแนวทางไหนที่ดึงดูดเราและตรงกับทัศนคติมากที่สุด แล้วเราก็ได้ ทำตามแนวทางนั้นมาโดยตลอดเลย  ปรากฏว่าเกือบทุกโปรเจคที่เรียนอยู่ตอนนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Subculture วัฒนธรรม ความเคลื่อนไหวของวัยรุ่นทั้งหมดเลย

หลังจากเรียนจบในปี 2016 ก็มีโอกาสได้ไปฝึกงานสัมภาษณ์งานหลายๆ สตูดิโอยิ่งเหมือนเป็นตัวกระตุ้นให้อยากทำอะไรสักอย่างอยู่ตลอดเวลา มันมีความรู้สึกอยากทำมาก  อยากทำอะไรสั่งอย่างภายใต้ชื่อของตัวเองคือไม่เผื่อใจรอให้พร้อมเลยครับ คือเริ่มลงมือทำแบบเท่าที่ทำได้เลยเริ่มจากผ้าเซลล์ตามตลาดนัด เสื้อผ้ามือสองและเศษผ้าต่างๆ สมัยเรียนกับจักรบ้านตัวเอง มีแอบไปเย็บที่โรงเรียนบ้าง 

เริ่มสนใจเรื่องแฟชั่นตั้งแต่เมื่อไหร่ 

ตั้งแต่จำความได้ เราเริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับพวกงานฝีมือและศิลปะมาโดยตลอด ไม่เคยจะห่างกันเลย อะไรที่เกี่ยวกับศิลปะทั้งหมด เราทำมาโดยตลอด พอโตขึ้นมาวัยรุ่นหน่อยก็เริ่มเย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาให้น้องสาว (แอบทำเอา) จากนั้นมาก็เริ่ม DIY แก้ทรง สกรีน ตัดประกอบนั้นนี้กับเสื้อผ้าของตัวเองเลยครับ ยังไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่ามันมีวิชาที่เรียกว่า Fashion Design อยู่ด้วย 

คำจำกัดความของ ADI

Gender Bender, Clubwear and  Queer

ADI คือเสื้อผ้าแนวไหนและมันสะท้อนอะไรถึงวัยรุ่นไทย

คือ Street Fashion ที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมวัยรุ่นในแต่ละยุคสมัยที่ยืนหยัดในตัวของตังเอง  แสดงตัวตนออกมาผ่านผลงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบทเพลง บทกวี งานศิลปะ เสื้อผ้าและทรงผม ผสมกับพวก Iconic Items  ที่ทำให้เรานึงถึงความทรงจำในวัยเด็กออกมา เป็นเสื้อผ้าที่สามารถสวมใส่ได้จริงโดยไม่จำกัดเพศและอายุ อยากแสดงให้เห็นว่าเสื้อผ้าในยุคปัจุบบันมันมีความหลากหลายและเปิดกว้างมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการผลิตงานและการนำเสนอ ไม่ได้มีแค่เสื้อผ้าผู้หญิงเสื้อผ้าผู้ชาย ชุดทำงาน ชุดเที่ยว เท่านั้น 

แรงบันดาลใจในแต่ละคอลเลคชั่น

ก่อนทำงานแต่ละครั้งผมจะกลับมาที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ครับ ทบทวนเรื่องราวความประทับใจ ความหลงไหล และประสบการณ์ที่เกิดกับตัวเองตั้งแต่เด็กจนโต จากนั้นก็โฟกัสมาหนึ่งหัวข้อค้นคว้า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรืออื่นๆ อีกมากมายนำมาดัดใส่ความเป็น ADI เข้าไป 

การทำงานในแต่ละ Collection

ช่วงที่ทำคอลเลคชั่นใดคอลเลคชั้นหนึ่งอยู่ เราก็จะมีไอเดียของอีกคอลฯหนึ่งเตรียมไว้เลยครับ ส่วนใหญ่เราเป็นคนชอบทำ mind-mapping  แล้วจากนั้นทำการค้นคว้าในหลายๆ ช่องทางจากนั้นค่อยเสก็ตช์ ทดลองเทคนิคต่างๆ บวกกับการขึ้นตัวอย่างก่อนการผลิต ฟิตติ่งแล้วก็ไฟนอลครับ

หัวใจสำคัญของการออกแบบเสื้อผ้าของ ADI

หนึ่งเลยตัวเราต้องชอบก่อน พอใจก่อน และพยายามทำให้ทุกชิ้นสวมใส่ได้จริง และง่ายต่อการเอาไปแมชกับชิ้นอื่นๆ ด้วยครับ

อยากเห็นวัยรุ่นไทยกับแฟชั่นไทยในทิศทางไหน

สนุกกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวของตัวเองและปลดปล่อยมันออกมาโดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดใดๆ อยากเห็นความหลายหลายของรูปแบบประเภทเสื้อผ้า และหวังว่าในอนาคตจะมีช่องทางการนำเสนอให้เยอะกว่านี้ รวมไปถึงกลุ่มคนหรือองค์กรต่างๆ ให้การสนับสนุนผลักดันจัดให้มีการนำเสนอผลงานด้านแฟชั่นและความคิดสร้างสรรค์ให้มากกว่านี้ 

คำแนะนำสำหรับ Designer หน้าใหม่

ลงมือทำเลยอย่ารอให้พร้อม เริ่มเท่าที่เราทำได้ ทำไปเรื่อยๆ สุดท้ายระหว่างทางเราจะรู้สึกตื่นเต้นและเซอร์ไพรซ์กับตัวเองมากๆ 

อัพเดทคอลเลคชั่นใหม่ของ ADI ได้ที่ 

https://www.adi-studio.com/