Culture

แฟนคลับ T-POP : จาก ‘ถูกเหยียด’ สู่ ‘ยอมรับ’ และการเติบโตไปพร้อมกับวงการเพลง

The Fascinating Evolution of T-Pop

Photo credit: Pantip

ต้องยอมรับเลยว่าตอนนี้กระแส T-POP มาแรงมาก เห็นได้จากรายการ “T-POP Stage” ที่มีคนรุ่นใหม่ติดตามเยอะ ความมีชื่อเสียงของศิลปินดังไกลถึงคนต่างชาติ เพลงฮิตใน Tiktok ที่เต้นกันทั่วบ้านทั่วเมือง ความปังของการรียูเนี่ยนศิลปินยุค 90s และเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยที่ไม่ได้มีแค่เพลงป็อบต่างชาติอีกต่อไปแล้ว อย่างล่าสุดกับแฮชแท็ก #ข้อยกเว้น_4EVE กับการต้อนรับเพลงใหม่ของวง 4EVE ที่ติดเทรนด์กันตั้งแต่ช่วงค่ำจนถึงเช้าของอีกวัน ซึ่งทั้งหมดเป็นปรากฏการณ์ที่เน้นย้ำว่าแฟนคลับวงการ T-POP ในตอนนี้แข็งแกร่งมาก และดูเหมือนจะกลมเกลียวกันมากกว่าเมื่อก่อน

ไม่ง่ายเลย กว่าจะมาถึงวันนี้

แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ที่ใครๆ ก็นิยมชมชอบใน T-POP เมื่อลองมองย้อนกลับไปในยุคกามิกาเซ่ครองเมือง หรือไกลกว่านั้นหน่อยอย่าง D2B, เจอาร์-วอย, Raptor ฯลฯ ทั้งศิลปินและแฟนคลับล้วนต้องเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีกันมาก่อน โดยเฉพาะกับการ ‘ถูกเหยียด’ จากคนบางกลุ่ม ทั้งเหยียดสไตล์เพลง การร้อง ความสามารถ และการตามซัพพอร์ตศิลปิน

Photo credit: MThai

เชื่อว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจมีข้อสงสัยแล้วว่ามันเคยมีการเหยียดกันจริงเหรอ ในเมื่อคนรอบข้างก็ฟัง T-POP กันเต็มไปหมด และตัวเขาเองก็ไม่เคยเจอ เราอยากจะบอกว่ามีจริงๆ แต่การจะหาหลักฐานมาซัพพอร์ตการถูกเหยียดในช่วงยุค 90s ที่โซเชียลมีเดียยังไม่กว้างขวางค่อนข้างทำได้ยาก ผู้เขียนจึงขออนุญาตยกตัวอย่างในยุคที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าคือช่วงปี 2550 เป็นต้นมา หรือช่วงที่ค่ายกามิกาเซ่ (KamiKaze) ได้รับความนิยมสูงมาแทน

‘หนิง - อารยา สุขเกษม’ แฟนคลับ Gen Y ผู้รักใน T-POP ตั้งแต่ยุคกามิกาเซ่จนถึงปัจจุบัน เล่าให้เราฟังถึงมุมหนึ่งว่า “เมื่อก่อนแฟนคลับ T-POP มักจะโดนคนที่ชอบ K-POP เหยียดว่าไปก๊อบปี้เพลง ชุด หรือท่าเต้นจากฝั่งนู้นมา เหมือนไม่ยอมรับในความสามารถของศิลปิน เรายอมรับว่าบางวงอาจมีการก๊อบมาจริง แต่บางวงเท่าที่ดู เขาน่าจะนำมาเป็นแรงบันดาลใจมากกว่า แต่ก็โดนเหยียดแบบเหมารวมไปด้วย”

https://www.youtube.com/watch?v=kDMfPoxnLdU

ซึ่งสอดคล้องกับในคลิปเบื้องหลังเพลง “กอดได้ไหม” ซึ่ง K-OTIC คัฟเวอร์ UrboyTJ จากแชแนลยูทูบ “Koendanai” ที่ UrboyTJ พูดในช่วงหนึ่งว่า “เพลงทุกเพลงของกามิกาเซ่ เมื่อก่อนมันถูกดูถูกเยอะมาก ว่าแบบก๊อบนู่น ก๊อบนี้ ร้องก็ไม่ชัด เพลงอะไรก็ไม่รู้”

หรือถ้าจะหาหลักฐานสนับสนุนมากกว่านี้ เราอยากชวนคุณลองเปิดทวิตเตอร์ แล้วเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ดอย่าง “กามิ เหยียด” คุณก็จะพบว่ามีคนอีกมากที่พบเจอเหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ที่ T-POP แมสไปไกลถึงหลายประเทศ ทั้งตัวแฟนคลับและศิลปินเอง แม้จะมีกระแสชื่นชอบส่วนหนึ่งอยู่บ้าง แต่ก็มีช่วงแห่งการโดนเหยียดหรือไม่ได้การยอมรับจากคนอีกส่วนหนึ่งเช่นกัน 

แต่คนที่ไม่เคยโดนเหยียดก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกนะ ‘แจม - อภิสรา’ แฟนคลับที่ตามมาตั้งแต่ยุค D2B และปัจจุบันเป็นแฟนคลับของมิค-แมค (MICMAC) นักดนตรีแฝดจากวง Fool Step เล่าเสริมว่า ในอดีตตนไม่เคยเจอการโดนเหยียดจากใคร อาจเพราะเป็นคนที่ฟังแค่เพลง ไม่ได้มีเวลามากพอที่จะเข้าไปเป็นแฟนคลับแบบเจาะลึก แต่พอตอนนี้มีเวลาตามผลงานมากขึ้นแล้ว ก็พอเห็นและรับรู้บ้างว่ามีปัญหา แต่ไม่เคยเจอกับตัว

ทำไมวงการ T-POP สมัยก่อนถึง ‘โดนเหยียด’

แล้วทำไมสมัยกามิกาเซ่ถึงโดนเหยียดขนาดนั้น แต่สมัยนี้กลับเปลี่ยนไปเป็น ‘หน้ามือ’ ศิลปินใหม่ๆ ได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้น ศิลปินเก่าที่กลับมาทำเพลงใหม่ก็ปัง ส่วนแฟนคลับก็เหนียวแน่นกว่าเดิมเสียอีก เราลองมาดูคำตอบกันดีกว่า

1. การแทรกซึมของเพลงป็อบต่างชาติ

ปี 2550 หรือ 2007 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่เพลงป็อบต่างชาติผลัดกันเข้ามาตีตลาดไทย ไม่ว่าจะเป็น C-POP และ J-POP ที่มีฐานแฟนคลับในบ้านเราอยู่แล้ว หรือแม้แต่ K-POP ที่บุกตลาดด้วยบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป นักร้องเดี่ยว รวมถึงซอฟต์พาวเวอร์ (Soft power) อย่างเพลงประกอบซีรีส์ ซึ่งเป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจในยุคนั้น ทำให้แฟนคลับจำนวนมากสามารถตกหลุมรักได้ในเวลาอันสั้น แต่ความชื่นชอบนั้น บางครั้งก็มาพร้อมกับการเปรียบเทียบ ใครเหมือนศิลปินที่พวกเขารัก แม้จะเพียงน้อยนิดก็ทำให้ไม่พอใจได้ จึงไม่แปลกที่ศิลปิน T-POP หน้าใหม่ที่เดบิวต์ช่วงนั้น จะพบกับประสบการณ์ไม่ดี

Photo credit: Khaosan Entertainment

2. คนทำเพลงเล่นกับกระแสเกินไป

อย่างที่คุณหนิงแชร์กับเราตอนต้นว่า บางครั้งบางวงก็ก๊อบปี้ K-POP มาจริง อาจเพราะเห็นว่าเทรนด์กำลังมา คนกำลังฮิต ค่ายเพลงต่างๆ เลยอยากทำบ้าง เช่น เทรนด์เสื้อผ้า ท่าเต้น เป็นต้น แต่อาจลืมแบ่งขอบเขตระหว่างคำว่าเลียนแบบและแรงบันดาลใจ เลยทำให้ศิลปินโดนเหยียดหยามแบบเหมารวมว่าไม่มีคุณภาพ ไม่เป็นตัวเอง และไม่มีความชัดเจน

Photo credit: Daily News

3. ตัวตนศิลปินถูกจำกัด

คอนเทนต์ที่ถูกนำเสนอผ่านอินเทอร์เน็ตก็สำคัญ สมัยก่อนที่ยังต้องใช้บัตรเติมอินเทอร์เน็ต เสียงเชื่อมต่อเหมือนติดต่อยานแม่นอกโลก การติดตามศิลปินก็ต้องพึ่งพาโทรทัศน์กับสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อหลักที่มีสังคมเป็นตัวกำหนดความนิยมและความเหมาะสม ถ้าไม่ใช่ค่ายใหญ่ ทุนหนา ก็ไม่มีวันที่จะแมส หรือถ้าไม่ทำตัวอยู่ในบรรทัดฐานของสังคม ก็อาจไม่มีพื้นที่ให้แสงส่องถึง ทำให้ตัวตนและความสามารถของศิลปินไม่ได้ถูกนำเสนออย่างกว้างขวาง คนทั่วไปเลยไม่อยากสนับสนุน หรือได้เห็นอะไรไปมากกว่าการร้องเพลง ซึ่งต่างจากสมัยนี้ที่มีมิติให้เห็นมากกว่าการร้องเพลง เช่น การช่วยเป็นกระบอกเสียงทางการเมือง การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม การไล่ตามความฝัน ไหวพริบ ตัวตนที่ไม่ซ้ำใคร เป็นต้น

Photo credit: Koendanai

แจม: สิบกว่าปีก่อน ถ้าอยากชมคอนเทนต์ศิลปินที่ชอบก็ต้องรอดูสัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ ใน SNS มีน้อยมาก แต่ตอนนี้ศิลปินมีความหลากหลายของคอนเทนต์ให้ได้ติดตามมากขึ้นแล้ว เพราะเขาสามารถแสดงตัวตน และสร้างคอนเทนต์ผ่าน SNS ได้เองตลอดเวลา

4. ความขึ้นลงของเทรนด์

เพลงก็เหมือนเสื้อผ้าแฟชั่น ที่พอถึงจุดๆ หนึ่งก็จะดรอปลงและเลือนหายไป ถึงจะมีอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ก็จะรู้สึกว่ามันเกลื่อน มันซ้ำกันไปหมด ไม่แปลกใจที่ยุคหนึ่งคนจะเริ่มเบื่อเพลง T-POP และมองเห็นแต่การลอกกันมา ไม่โดดเด่น 

ทั้ง 4 ประเด็นหลักๆ นี้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศิลปินโดนเหยียด ซึ่งส่งผลกระทบให้แฟนคลับที่สนับสนุนศิลปินเหล่านั้นโดยเหยียดตามไปด้วย

ก้าวสู่ยุคใหม่ที่คนหมู่มากสนับสนุน T-POP

Photo credit: IDOLTH

กลับมาที่ยุคปัจจุบัน เมื่อ 4 ประเด็นดังกล่าวถูกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น T-POP มีตัวตนที่ชัดเจน แตกต่างกว่าเพลงป็อบชาติอื่น ประกอบกับเทรนด์ของวงการเพลงได้วนกลับมาอีกครั้ง แฟนด้อม T-POP ก็ก้าวหน้าตามไปด้วย หมดยุคแฟนคลับต้องแอบกรี๊ดเงียบๆ คนเดียวอีกต่อไป เพราะตอนนี้สามารถพูดได้เต็มเสียงแล้วว่า ฉันเป็นแฟนคลับของเขา! 

แจม: ก่อนหน้านี้อาจจะเป็นช่วงเวลาอิ่มตัวของ T-POP กระแสเลยตกไปพักหนึ่ง พอวันนี้กลับมาแมสกว่าเดิมได้ ก็รู้สึกแฮปปี้นะ เพราะเราติดตามเพลงแนวนี้มาตลอด สไตล์ของเพลง T-POP เป็นอะไรที่ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสม มันก็พร้อมสร้างกระแสให้วงการเพลงได้ตลอดอยู่แล้ว

Photo credit: workpointTODAY

หนิง: ตอนนี้เราตามวง LAZ 1, ATLAS, PROXIE บรรยากาศในแฟนด้อมมันต่างจากเมื่อก่อนเยอะ เพราะคนที่ชอบ T-POP ไม่ว่าจะเป็นแฟนคลับวงไหน ทุกคนก็เหมือนเป็นเพื่อนกัน พร้อมซัพพอร์ตวงอื่นๆ และรันวงการนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ส่วนการเหยียดหรือเปรียบเทียบแนวเพลงก็ยังเจออยู่บ้าง แต่ไม่บ่อยแล้ว เหมือนคนเปิดใจกันเยอะขึ้น

Photo credit: L’OFFICIEL Thailand

“ความโดดเด่นของ T-POP คือ ดนตรีจะไม่ได้ซับซ้อนมาก เน้นฟังง่าย เต้นตามชาเลนจ์ต่างๆ ได้ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วม คอนเซ็ปต์ของแต่ละวงก็ชัดขึ้น มีเพลงหลากหลาย ทั้งน่ารัก สดใส หนักแน่น ศิลปินก็เองก็เก่ง เราไม่อยากให้อะไรพวกนี้โดนมองข้าม เพราะคนไทยที่มีความสามารถยังมีอยู่เยอะมาก ไม่อยากให้ตั้งแง่แล้วมากดกันเอง”

การเปลี่ยนแปลงในด้านดีที่เกิดขึ้นกับวงการ T-POP ทำให้คนที่เกี่ยวข้องกับวงการ รวมถึงแฟนคลับ ได้ก้าวไปสู่ที่แตกต่างด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บทความนี้ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ร้ายใคร แค่เพียงต้องการสะท้อนถึงวิถีแฟนด้อมในยุคที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับในปัจจุบันก็เท่านั้น เพราะเราเชื่อว่าศิลปิน คนเบื้องหลัง และแฟนคลับ คือสิ่งที่จะทำให้วงการเพลงป็อบไทยเติบโต ตราบใดที่เพลงดี แต่ถ้ามีคนเหยียดหรือไม่ให้ค่า เพลงนั้นหรือศิลปินคนนั้นก็อาจจะร่วงมากกว่ารุ่งได้

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวใหม่ๆ จากพวกเราได้ที่ Exotic Quixotic

With the rise in its popularity, there’s no denying that T-Pop is all the rage right now. This phenomena has led artists from T-Pop Stage to worldwide recognition and inspired handfuls of TikTok viral hits, reunions of 90s artists, and several Twitter trends and hashtags including #ข้อยกเว้น_4EVE (#khoyokwen_4EVE).

T-Pop’s long road to mainstream recognition
Before T-Pop got to where it is today, let’s go back in time to the era of Kamikaze, D2B, JR-Voy or even Raptor. Fans have told us about stories of how they were looked down and treated unfairly simply because they supported those artists.

Photo credit: MThai

In those early days of T-Pop, there was no such thing as social media. It wasn’t until around 2007 when recording label Kamikaze came into existence that things got, for lack of a better word, interesting.

Araya “Ning” Sukkasem is a member of Gen Y who’s been following T-Pop since Kamikaze tells us that, “Some K-Pop fans really looked down on us T-Pop fans. They’d accuse [the artists] of copying outfits or music from K-Pop. I mean, I’m not denying that there might be some copycats out there, but I believe that there also artists who are actually talented as well. It’s just not fair to lump everyone together.”

(FOR MAHER: Please embed this link, thank you!)

เบื้องหลัง กอดได้ไหม K-OTIC cover UrboyTJ (Eng TH sub) | #Koendanai

From the clip above, rapper UrboyTJ agrees that there was a bias against Kamikaze – “People looked down on Kamikaze, saying things like we copied other artists and our music sucked.”

If anyone wants further proof, simply do a search on “กามิ เหยียด” (“Kamikaze bias”) on Twitter. While the love for T-Pop is real, the hate for it is also real (at least back in those days).

Jam Apisara, fans of D2B and twin duo MICMAC, tells us that she never actually experienced discrimination from anyone. “Maybe it’s because I only listen to their music. I’m not really involved with the fanclubs or anything like that.”

So, what brought on the hate?
Here are a few reasons we could think of:

1. The onslaught of imported pop
From 2007 onwards, we’ve had waves of imported pop ranging from C-Pop, J-Pop to K-Pop. This fanbase can be so ruthless that they’re ready to attack anyone who compares their favorite artists with T-Pop artists.

Photo credit: Khaosan Entertainment

2. Following trends too much
According to Ning, some T-Pop artists are accused of copying K-Pop because of their fashion and choreography. There’s a fine line between being inspired and plagiarism and recording labels have to be more careful not to take things too far.

Photo credit: Daily News

3. Industry limitations
It can’t be denied that mainstream media plays a vital role in making or breaking artists. Unless backed by major labels, they probably won’t become successful or it will take them a long time to reach the audience. Things have gotten better, though. With social media and internet, artists are breaking out of their mold and are unafraid to speak their minds.

Photo credit: Koendanai

4. Catching up with trends
Like fashion, music is all about what’s trendy at the moment. This often leads to the market being saturated with cookie-cutter music. The listener become bored because everyone sounds and looks the same.


T-Pop and Its Thriving Era

Photo credit: IDOLTH

Today, T-Pop has improved so much that it’s cultivated its own style and identity. It can proudly hold its own against other strains of pop.
Jam: T-Pop went through a rough patch before. People had enough of it so it sort of fell out of vogue for a while. Now that it’s back, I’m super happy because I’ve been such a long-time fan. With the right timing, I think T-Pop will definitely make a big splash in the industry.

Photo credit: workpointTODAY

Ning: I’m following bands like LAZ 1, ATLAS and PROXIE and I have to say that today’s fandom is so much different than it used to be. Everybody is friends with everybody regardless of which bands we support. There’s also some discrimination to be found, but not as much as before. People have become more open minded.

Photo credit: L’OFFICIEL Thailand

“What makes T-Pop stand out is the fact that it’s not difficult for the listener to appreciate. It’s easy to dance to especially when it comes to TikTok challenges. Each band has its own distinctive concept and there are all sorts of different genres and styles to be enjoyed. Thai artists are also very talented. People shouldn’t be so biased and quick to judge.”