Art

ลาดพริ้ว : ปล่อยใจชิลๆ ปลิวไปกับเสียงเพลง ในบรรยากาศห้องนอนเพื่อน

Catch Great Music and Laidback Vibes at LadPhriw

เชื่อว่าในช่วงเดือนนี้ คงไม่มีร้านไหนฮอตฮิตติดลมบนบินพริ้วไปไกลกว่าร้าน “ลาดพริ้ว” อีกแล้ว กับการรวมตัวของหุ้นส่วนถึง 13 ท่าน ล้วนแล้วแต่ตัวจี๊ดในวงการครีเอทีฟ โปรดักชั่น และแวดวงดนตรีทั้งนั้น คลอดมาเป็นร้านใหม่สุดชิล ที่นั่งฟังเพลงกันได้แบบพริ้วๆ เบาๆ อยู่แถวลาดพร้าว วันนี้เราสบโอกาสได้มาที่ร้าน จึงได้ขอฉกตัวหนึ่งในหุ้นส่วนมือทองที่ปั้นร้านไหนก็ดังไปซะทุกร้านกับ คุณบี - ปนัดดา ใบคำเลิศ มาพูดคุยทำความรู้จักที่มาที่ไปของร้านลาดพริ้ว

คุณบี - ปนัดดา ใบคำเลิศ

“ลาดพริ้ว” ชื่อนี้ได้มาจากไหน? 

การคิดชื่อร้านน่าจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ยากที่สุด แต่กลับใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ผ่านฝีมือครีเอทีฟขั้นป๋าอย่าง พี่เต็ด - ยุทธนา บุญอ้อม หนึ่งในหุ้นส่วนของร้าน คุณบีเล่าให้เราฟังว่า “พวกเรามอบหน้าที่นี้ให้พี่เต็ดไปเลย เพราะในบรรดาหุ้นส่วนทั้งหมด คนที่น่าจะครีเอทชื่อร้านได้ดีที่สุดก็คือเขา บรีฟที่ให้ไปคือ “ร้านที่อยู่มุมอับ โดน MRT บัง ตั้งอยู่แถว 5 แยกลาดพร้าว” ป๋าก็หายไป 15 นาที แล้วถึงกลับมาพร้อมกับลิสต์รายชื่อเป็นสิบชื่อ แต่เราสะดุดกับชื่อหนึ่ง “ลาดพริ้ว” มันฟังแล้วดูเป็นที่นี่มาก มันมีความพริ้วไหว ความชิล ความทิ้งตัวได้ แล้วชื่อลาดพริ้ว มันเข้ากับลาดพร้าวพอดี แต่พลิ้วจริงๆ มันสะกดด้วย ล.ลิง แต่เราอยากใช้ ร.เรือ ถึงขั้นปรึกษาครูทอมคำไทยเลยว่ามันใช้ ร.เรือ ได้ไหม เราจะโดนเอดูเขตไหมนะ (หัวเราะ) เขาบอกว่าไม่เป็นไร สามารถใช้ได้”

จุดเริ่มต้นของ ลาดพริ้ว

“ต้องเล่าก่อนว่าตัวของบีเองทำร้านอยู่แถวนี้ด้วยอยู่แล้ว เราเห็นเลยว่าตั้งแต่หัวถนนไปจนถึงซอย 10 กว่า มันมีร้านนั่งชิลอยู่ประมาณเกือบ 10 ร้าน ซึ่งเยอะมาก แต่มันก็ยังไม่พอกับจำนวนคนที่มา เนี่ย เดี๋ยวรอดูเลย ทุ่มนึงคนก็แน่นไปหมด เราเลยเริ่มกันกับ พี่วัฒน์ ร้าน Highland, พี่ปลา ผู้จัดการ เอ๊ะ จิรากร, แบงก์ ผู้จัดการวง Bomb at Track ส่วนพี่เต็ดเนี่ย ก่อนหน้านี้เราเคยทำ “เปิดหมวก” ด้วยกันมาก่อน พี่เต็ดก็เข้ามาขอหุ้นด้วยตอนบีโพสต์ลง Facebook ตอนแรกคิดว่าพี่เขาเล่นๆ สรุปเอาจริง ก็เลยได้มาทำงานด้วยกันอีกรอบ แล้วก็ได้หุ้นส่วนเพิ่มอีกคนก็คือ เอ็กซ์ มือกลองวง สปุ๊กนิค ปาปิยอง กุ๊กกุ๊ก มาช่วยแต่งร้านให้ รวมๆ แล้วเรามีหุ้นส่วนประมาณ 13 คน”

คุณวัฒน์ - ชัยวัฒน์ บานใจ หนึ่งในหุ้นส่วนร้าน ลาดพริ้ว

วัฒนธรรมการ Hang out ที่เปลี่ยนไป

เราอาจจะยังเรียกสถานการณ์ปัจจุบันว่ายุค Post Covid ได้ไม่เต็มปากเท่าไหร่ แต่ก็เป็นช่วงที่ผู้คนเริ่มออกมาสังสรรค์และพยายามใช้ชีวิตให้เป็นปรกติกันแล้ว เราเลยอยากรู้ว่าในฐานะเจ้าของกิจการที่เปิดมาก่อน เขาเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในวัฒนธรรมการสังสรรค์ระหว่างช่วงโควิดและหลังโควิด 

“สุดท้ายคนมันโหยหาการเจอกันแบบตัวต่อตัว ได้คุยกัน ได้ฟังดนตรีสด มันช่วยแก้เบื่อจาก work from home หรือเรียนออนไลน์ได้นะ พูดถึงช่วงนี้ก่อนแล้วกัน ลูกค้าเปลี่ยนไปเยอะ เขาไม่อยากได้ความแออัดในร้าน สังเกตว่าในร้านมีโต๊ะน้อยมาก ให้ความรู้สึกที่มันโปร่งโล่งมากที่สุด ยิ่งช่วงนี้เด็กเจน Z เขาเริ่มโตพอจะเข้าร้านได้แล้ว เขาจะอยากมองหาอะไรแปลกใหม่ อยากทดลอง อยากสัมผัสวัฒนธรรมคนที่โตแล้ว เราก็ใช้ดนตรีในการเชื่อมจุดตรงกลางของทั้งสองเจเนอเรชั่น”

“ดนตรีที่เราเปิดในร้านก็มีตั้งแต่ยุค 80-90s ทั้งไทยแล้วก็สากล เน้นว่าหาฟังไม่ได้ในร้านแถวนี้ ส่วนใหญ่จะไม่แมส เป็นเพลงที่อาจจะไม่รู้จักแต่ฟังแล้วเพราะ เอาไปฟังต่อที่บ้านได้ จะบอกว่าอินดี้ไหม มันก็ไม่ขนาดนั้น แต่เราเชื่อว่าคนที่มาลาดพริ้วจะไม่ได้อยากโยกหนักๆ แบบ Body Slam หรือเพลงฮิตที่ทุกคนร้องตามได้อะไรแบบนั้น ของที่นี่จะไม่แมสมากแต่เพลงเพราะ”

ห้องเพื่อน ดนตรีสด อาหารอร่อย 

3 คำนี้ คงจะอธิบายคอนเซปต์คร่าวๆ ของลาดพริ้วได้เป็นอย่างดี และนี่ก็คือความตั้งใจและแรงบันดาลใจในการตกแต่งร้านด้วย

“เราได้เอ็กซ์มาช่วยทำในส่วนของการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งโดยรวม อย่างเวทีเอ็กซ์ก็เลือกเตียงมาวาง เขาบอกว่าเวลาเราไปห้องเพื่อน คนเล่นกีต้าร์มันจะนั่งบนเตียง พวกร้องเพลงก็จะนั่งล้อมวงข้างล่างกัน แล้วไปบ้านเพื่อนก็จะไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมอาหารอร่อยกว่าบ้านเรา (หัวเราะ) และอาหารที่นี่ราคาไม่แรงมาก เราอยากให้คนที่เข้ามาได้บรรยากาศของการไปบ้านเพื่อนจริงๆ หารค่าอาหาร ค่าเหล้าออกมามันต้องเป็นราคาที่ไม่ต่างกับนั่งทานกันบ้านเพื่อนมากนัก เป็นราคาที่จ่ายไหวและเขาอยากกลับมาอีก”

พื้นที่สำหรับศิลปินทุกรุ่น 

“คือร้านนี้มันมาจากความต้องการของเรา ที่เราอยากทำจริงๆ เรามี ref. อยู่ในหัวกันมาอยู่แล้ว จนถึงวันนี้ความพร้อมขนาดนี้แล้ว เราอยากให้ร้านนี้เป็นพื้นที่ของที่คนดนตรีในทุกระดับ ตัวเล็ก ตัวใหญ่ สามารถเข้ามาเปิดคอนเสิร์ตขนาดเล็กๆ ได้ คนที่ยังไม่มีชื่อเสียง ไม่มีกำลังพอ จะมาขอทดลองเล่นโชว์ที่ร้านเราก็ได้ มันเป็นความฝันของเราที่อยากมีพื้นที่ให้ศิลปินตัวเล็กๆ ที่ยังไม่มีคนซัพพอร์ตได้แสดงฝีมือ ได้สร้างฐานแฟนคลับ เก็บประสบการณ์และให้พื้นที่เขาได้โชว์”

เปิดร้านแบบใหม่ ส่งป้ายห้ามเข้า

“ด้วยความที่เราทำงานในวงการใกล้ๆ กัน เราจะเห็นแล้วแหละว่าใครเป็นยังไง เราพอรู้ว่าตัวอันตรายของร้านเหล้าที่พอเมาแล้วจะเป็นภาระมีใครบ้าง (หัวเราะ) พอพวกเขารู้ว่าเราจะเปิดร้านก็อยากมากัน แล้วจากประสบการณ์ คนพวกนี้ไล่ยังไงก็ไม่กลับ เหนื่อยมาก ต้องนั่งเฝ้ากว่าจะได้ปิดร้าน เลยมีไอเดียคุยกันเล่นๆ ว่าจะทำยังไงให้เขามาแบบเกรงใจ เลยคิดบัตรเชิญแนว “พวกมึงคือบุคคลอันตรายที่ไม่อยากให้มา” คือจะมาก็ได้นะ แต่จะคุมเข้มอย่างดี แล้วก็หารูปแต่ละคนตอนมันเมา เอามาทำป้าย เริ่มจาก พี่เป๋ง - ชานนท์ ยอดหงษ์ กลายเป็นพี่แกบอกว่า “เฮ้ย ตลกว่ะ ปรกติเราได้แต่บัตรเชิญ แต่คราวนี้ได้บัตรห้ามเข้า” พอพี่เต็ดเห็น เขาก็บอกว่ามันโอเคเลย แล้วก็เอาไปแชร์ ซึ่งไม่ได้คิดเลยว่ามันจะได้รับการแชร์เยอะขนาดนี้ จนหลายๆ คนมารู้จักร้านเราเพราะป้ายนี้ เลยกลายเป็นว่ามันเป็นแบคดรอปให้คนมาถ่ายรูปเล่น แล้วบางคนก็เข้าใจว่าพวกนี้เป็นหุ้นส่วนของร้าน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ (หัวเราะ)”

ฝากร้านกับชาว EQ นิดนึง 

“เข้าใจว่าช่วงที่ผ่านมาหลายคนก็สังสรรค์กันที่บ้านเพื่อน แต่วันนี้ถ้าบ้านเพื่อนคุณไม่สามารถรับคนเป็นสิบๆ คนได้ เพื่อนร้องเพลงยังไม่ค่อยเพราะ ก็อยากให้ลองมาที่นี่ แล้วคุณจะประทับใจทั้งความเป็นกันเอง อาหาร ดนตรี หรือใครที่สนใจอยากจัดงานแกลเลอรี่ ปาร์ตี้ แฟนมีตติ้งเล็กๆ หรืองานอะไรก็มาคุยกันได้ สบายๆ เหมือนว่าเราเป็นเพื่อนคุณคนหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่มาแล้วสบายใจ ในอนาคตก็อยากทำให้เป็น co-working space ตอนกลางวันด้วย เพราะเรารู้สึกว่าแถวนี้ไม่ค่อยมีร้านนั่งดีๆ ที่อาหารถูกหน่อย มีไฟ มีอินเทอร์เน็ต ห้องน้ำ แอร์ ก็เลยอยากทำร้านให้สามารถนั่งได้ทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ แต่คงต้องให้ส่วนกลางคืนลงตัวก่อน เพราะเพิ่งเปิดร้านได้สิบกว่าวันเอง”

ติดตามร้านและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ลาดพริ้ว

Amidst the vibrant buzz of this month, LadPhriw emerges as the ultimate go-to spot for unwinding. A collective effort of 13 creative minds, LadPhriw knows no bounds. From impressive promotions to a diverse musical backdrop, this new sanctuary tucked away in Lat Phrao has perfected the art of creating an environment tailored for relaxed musical enjoyment. Today, we had the honor of dropping by, and we're excited to acquaint you with one of its driving forces, ปนัดดา “Bee” ใบคำเลิศ.

ปนัดดา “Bee” ใบคำเลิศ

Where does the name “LatPhriw” come from?
“Naming a place can often be one of the toughest challenges, yet it took us less than half an hour. Thanks to the creative prowess of one of our partners, Yuthana “Ted” Boonorm, LadPhriw was born. We actually handed this task to him straight away because, among all the partners, he seemed to have the best knack for creative naming. He vanished for just 15 minutes and returned with a list of ten names. But there was one name that caught our attention - “LadPhriw.” It sounded so fitting, evoking a sense of tranquility, chill vibes, and letting go. And it truly syncs with the neighborhood. There’s a playfulness to it too. The word “phriw” is normally spelled with an “L,” but we wanted to use an “R” instead. We even consulted with Kru Tom because we didn’t want to get canceled (laughs). He assured us it’s all good.”

The idea behind LadPhriw

“I already had a business in this neighborhood. Even though there’re already many hang-out spots from the main road up to Soi 10, it’s still not enough to accommodate the number of people coming. Seeing the place got packed to the brim one night led me to link up with Wat, the owner of Highland, Pla, the manager, and Jirakorn or Bank, the manager of the band Bomb at Track. As for Ted, prior to this, we had done a project together called “Perd Muak.” He approached us for investment when I posted about it on Facebook. I thought he was joking at first! Then we brought in one more partner, X, the drummer from the band Papiyong Kookkook. Collectively, we have around 13 partners in total.”

one of LadPhriw’s partners ชัยวัฒน์ “Wat” บานใจ


Evolution of the nightlife scene in the post-Covid era

Even though it might be premature to refer to the current time as the ‘post-Covid era,’ there is an unmistakable shift taking place. People are gradually reuniting in their quest to reintroduce a sense of normality into their lives. As proprietors who were among the first to reopen, we wanted to know if she’s observed any shift in social interactions and cultural trends, both at the peak of the pandemic and in its aftermath.

What notable changes have you noticed?
“Ultimately, people are craving face-to-face interactions, conversations, and live music. It’s a way to break the monotony of working from home or online learning. I’ve noticed how our customers have come to prefer a spacious and open atmosphere. Generation Z is growing up and they’re looking for something new, something to experiment with, and a chance to experience the culture of those who are older. We use music to bridge the gap between the two generations and bring them together.”

“The music we curate at our venue spans across the 80s and 90s, encompassing both Thai classics and international hits. We want to emphasize that these are tunes you won’t easily come across in other nearby venues. Mainstream hits aren’t our focus. Our playlist features tracks that might not be instantly recognizable, but they have the potential to become memorable after a listen. We wouldn’t exactly categorize it as ‘indie,’ though. We believe that those who come to LadPhriw aren’t seeking out heavy rock or the latest chart-toppers that everyone sings along to. Instead, we provide a selection of mellower, more melodious tunes.”

Like visiting a friend’s place

“X helped us with furniture selection and overall decor. He chose the beds for our performance area because he mentioned that when people visit a friend’s place, they tend to sit on the bed. The pricing for food here isn’t extravagant. We want our guests to truly feel like they’re in a friend’s cozy home. When they receive the bill, we want it to be in line with what they’d spend when eating at a friend’s place. It's a price that’s easy on the wallet, making it more likely for them to come back again.”

A platform for artists of all ages
“This place fulfills our longstanding dream. It’s a space where musicians, both newcomers and established names, can perform small gigs. We want to offer emerging artists a chance to showcase their talents, build a fanbase, and gain valuable experience.”


‘No-entry’ concept



“In this tight-knit industry, we can spot the troublemakers once they’re a few drinks deep. When they refuse to call it a night, shutting down becomes a whole ordeal for us. So, we had this quirky idea – like those ‘most wanted’ posters, but with a ‘no-entry’ twist. Not a total ban, obviously, but a watchful eye kinda thing. Ted loved it when he saw it. Next thing we know, those posters blew up online, and people started recognizing our joint. They even turned into a photo backdrop, and some customers thought those people were our partners!”

Would you like to plug anything for your bar?

“Recently, a bunch of people have been kicking back at their friends’ pads. But if your buddy’s place isn’t set up for about ten people, why not check this place out? You’ll be pleasantly surprised by the vibes, great grub, and tunes. If anyone’s keen on throwing art shows, parties, fan meet-ups, or anything like that, we’re all ears! Down the road, we’re even thinking of transforming into a co-working space during the day. We’ve noticed the shortage of cool spots with affordable food, power outlets, Wi-Fi, bathrooms, and AC around here, so we want to create a space you can enjoy both during the day and into the night. We’ll need to sort out the nighttime setup first, though, considering we’ve only been open for just over ten days.”