เปิดเส้นทาง “ออมสิน อัญชิสา” กับการคว้าแชมป์ลีกอาชีพครั้งแรกในชีวิต

‍Aomsin Anchisa and Her Journey to Professional Tennis

ถ้าใครที่ติดตามข่าวสารในแวดวงกีฬาเทนนิสอยู่ จะเห็นว่าเมื่อไม่นานมานี้มีข่าวน่ายินดีที่ ออมสิน - อัญชิสา ฉันทะ คว้ารางวัลชนะเลิศรายการลีกอาชีพ ITF WorldTennisTour W15 Monastir ประเทศตูนีเซีย มาได้ด้วยวัยเพียง 19 ปี เรียกได้ว่าเป็นนักเทนนิสดาวรุ่งคนล่าสุดของทีมชาติไทยชุดใหญ่ เพราะก่อนหน้าที่จะมาถึงรายการนี้ เธอก็คว้าเหรียญทองแดง รายการเทนนิสหญิงเดี่ยว ซีเกมส์ 2019 และเหรียญเงิน รายการเอเชีย สคูลเกมส์ 2017 มาด้วย

ผลงานที่เรายกตัวอย่างมาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งที่เธอได้รับตลอด 5 ปี ตั้งแต่สมัยเป็นเยาวชนทีมชาติจนถึงปัจจุบัน แต่เราเชื่อว่ามันมากพอที่จะทำให้ชาว EQ เห็นว่าเธอคือนักเทนนิสรุ่นใหม่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยฝีมือและความพยายาม ที่ควรค่าแก่การทำความรู้จักและสมัครเป็นกองเชียร์เป็นอย่างยิ่ง

ส่งต่อความชอบจากพี่ชาย

ก่อนที่จะรู้จักออมสิน อัญชิสา เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักนามสกุล “ฉันทะ” กันมาบ้างแล้ว เพราะเธอเป็นน้องสาวของ โอเว่น - ธนเพชร ฉันทะ นักหวดฝีมือดีทีมชาติไทยรุ่นเดวิส คัพนั่นเอง ซึ่งคนเก่งของ EQ เล่าให้เราฟังว่า ความชอบในเทนนิสตั้งแต่เด็กของพี่ชายได้ถูกส่งต่อมาที่เธอด้วย เพราะได้ลองเล่นเทนนิสก็เพราะได้ไปสนามเทนนิสที่พี่ชายเล่นบ่อยๆ เลยอยากเล่นบ้าง และคุณพ่อก็สนับสนุนเต็มที่ นั่นเลยเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอเอาจริงเอาจังกับเทนนิส และเมื่ออายุ 13 ก็มีโอกาสได้เข้ามาฝึกซ้อมที่กรุงเทพฯ อย่างจริงจัง และกลายเป็นนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทยภายใน 1 ปีได้สำเร็จ 

เอาชนะคู่แข่งในแบบของตัวเอง

“กีฬาเทนนิสจะไม่มีเสมอ มีแค่ชนะกับแพ้ ซึ่งการที่จะสู้ให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ เราต้องเริ่มจากชนะตัวเองให้ได้ก่อน” 

เธอกล่าวก่อนที่จะเปิดประเด็นว่า การเอาชนะตัวเองของเธอนั่นมีหลายอย่าง ซึ่งครั้งสำคัญที่สุดของเด็กจากประจวบคีรีขันธ์ที่เข้ามาสานฝันการเป็นนักกีฬาในกรุงเทพฯ อย่างเธอ คือการก้าวผ่านความกดดันจากสายตาคนภายนอก

“กว่าจะถึงว่านี้คิดว่ามันยากมากค่ะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเรามาจากต่างจังหวัดหรือเพราะอะไร แต่พอเริ่มซ้อมเริ่มแข่งก็รู้สึกว่าช่วงแรกคนมองเราด้วยสายตาที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ บางครั้งก็มีคำพูดที่ว่าเรา ‘ไม่น่าจะไปไกลกว่านี้ได้หรอก’ มันเลยทำให้ต้องเอาชนะสายตาและคำพูดพวกนั้น ด้วยการต้องตั้งใจซ้อม และทำผลงานให้เขาเห็นว่าเราทำได้”

นอกจากนี้ เธอยังบอกอีกว่าอีกแรงสำคัญที่ช่วยให้ก้าวข้ามความกดดันนั้นมาได้คือ การมีพี่ชาย โค้ช และคนรอบข้างที่คอยให้กำลังใจ ทุกคนจะพูดเสมอว่าถ้าไม่ได้รางวัลก็ไม่เป็นไรเพราะ มันไม่ใช่แมตซ์สุดท้ายของชีวิต ยังไงพวกเขาก็พร้อมสนับสนุนให้เราไปต่อ

ครั้งหนึ่งที่เกือบล้ม

“ถึงกำลังใจจะดี แต่ก็มีบ้างที่เสียใจและท้อใจเพราะ การแข่งขันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเสมอไป มีตอนที่ไปแข่งขันต่างประเทศแล้วแพ้บ่อยๆ จนเคยรู้สึกว่าไม่อยากเล่นเทนนิสแล้ว แต่พอกลับไทยก็ได้ลองคิดทบทวนกับตัวเองอีกทีว่ายังอยากเล่นกีฬานี้อยู่ไหม และในเมื่อทุกคนให้กำลังใจ ทำไมเราถึงจะยอมแพ้ มันเลยทำให้เราสู้ต่อมาถึงวันนี้”

ยืนขึ้นใหม่ด้วยความกดดันที่มากกว่า

เมื่อเอาชนะความกดดันในด่านแรกได้แล้ว เธอก็ได้พบกับความกดดันเลเวลสูงสุดในรูปแบบของ ความคาดหวังจากคนอื่น เพราะเมื่อคัดตัวติดทีมชาติชุดใหญ่ได้ คนก็จะมองว่าเธอเป็นตัวเต็งของรายการ ต้องทำรางวัลได้แน่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องไม่ดีหรือเรื่องผิดอะไร เพราะเธอก็จะพยายามทำผลงานให้ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่ามันกดดันมากจริงๆ 

พาตัวเองสู่แชมป์ลีกอาชีพ

แม้เธอจะฮึดสู้เพื่อเอาชนะตัวเองมาหลายครั้ง แต่แรงเหล่านั้นก็ไม่เคยหมดไป เธอยังเป็นเด็กสาวที่พัฒนาตัวเองอย่างไม่สิ้นสุดอยู่เสมอ จนทำให้ตอนนี้สามารถไต่ WTA Ranking ขึ้นมาได้ถึงอันดับที่ 760 แล้ว และยังคว้าแชมป์ในรายการลีกเทนนิสอาชีพ W15 เป็นครั้งแรกในชีวิตได้อีกด้วย 

“รางวัล W15 ทำให้เราได้พิสูจน์ตัวเองมากเลยค่ะ เพราะสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่ได้แข่งรายการนานาชาติแบบนี้มา 2 ปีแล้ว ส่วนรายการในประเทศก็พักมาหลายเดือน พอได้กลับมาแข่งแถมยังเป็นแชมป์ เลยรู้สึกว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้มากเหมือนกัน มันทำให้เราเห็นว่าตัวเองก็สามารถสู้กับคนต่างชาติได้ และมีมุมมองที่ว่าถ้านักกีฬาเทนนิสขยันซ้อมและไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ก็มีโอกาสที่จะทำอันดับโลกให้สูงขึ้นและคว้าแชมป์รายการอาชีพแบบนี้ได้”

ครั้งหนึ่งที่เคย (เกือบ) หมดไฟ

เท่าที่คุยกับนักกีฬาหลายคนในช่วงโควิด พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอกันบ่อยๆ คือ ภาวะ Burn Out ซึ่งออมสินเองบอกเราว่า เธอเป็นหนึ่งในคนที่เคยรู้สึกแบบนั้น เพราะช่วงที่โควิดระบาดหนัก ทำให้ไม่มีรายการแข่งขันเลย จากคนที่เสพติดการฝึกซ้อมและแข่งขันก็เริ่มเบื่อขึ้นมา เพราะซ้อมไปก็ไม่มีแมตซ์ให้แข่ง กลายเป็นคนไม่มีเป้าหมายชีวิตไปเลยช่วงหนึ่ง แต่พอได้ลงแข่งรายการ W15 ก็ทำให้ไฟในตัวเธอถูกจุดให้ติดขึ้นอีกครั้ง 

ความท้ายทายที่อยากทำให้ได้

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 9 ปีแล้วที่ออมสินเดินบนเส้นทางนักกีฬา และได้ลงสนามมาแล้วหลายครั้ง มันยังมีอะไรอีกบ้างที่คิดว่าอยากทำให้ได้สักครั้งในชีวิต

“อยากเก่งแบบ คริสติน่า มลาเดโนวิช นักเทนนิสชาวฝรั่งเศสที่เล่นดีทั้งประเภทเดี่ยวและคู่ เพราะเราไม่ถนัดเล่นคู่เลย รู้สึกว่าตัวเองยังประสบการณ์ไม่มากพอที่จะเล่นให้กลมกลืนกับคู่ของตัวเอง และสุดท้ายก็คืออยากขึ้นไปอยู่อันดับ 1 ใน 5 ของโลกค่ะ” 

ถ้าวันนั้นไม่เล่นเทนนิส วันนี้จะ…

“ตั้งใจเรียนอย่างเดียวค่ะ คิดว่าชีวิตน่าจะขาดสีสันไปเยอะเลยถ้าเทียบกันตอนนี้”

แชมป์แรกในลีกอาชีพของออมสิน อัญชิสา ถือว่าเป็นอีกก้าวสำคัญในชีวิตเธอเอง เพราะกว่าจะเอาชนะอุปสรรคหลายด่านมาจนถึงวันนี้ได้ ต้องใช้ความพยายามมากทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นก้าวสำคัญของคอกีฬาอย่างเราด้วย ที่จะมีแมตซ์แข่งขันจากนักกีฬารุ่นใหม่ให้ตามเชียร์กันมากขึ้นด้วย 

หลังจากนี้ออมสิน อัญชิสาจะมีแพลนลงแข่งขันทั้งรายการในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาอันดับให้ดีขึ้นอย่างที่ฝัน ซึ่งเธออยากให้ช่วยส่งกำลังใจและติดตามกันต่อไป เพราะในอนาคตจะมีรางวัลเจ๋งๆ มาฝากคนไทยอีกแน่นอน

ติดตามออมสิน อัญชิสา และอัพเดตข่าวสารเทนนิสทั้งหมดได้ที่ Anchisa Chanta, anchisa7, ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย (LTAT)

Most Thai tennis fans are probably familiar with the name Anchisa “Aomsin” Chanta by now. After taking home silver and bronze at the 2017 ASEAN Schools Games and 2019 SEA Games respectively, the 19-year-old tennis sensation went on to win the Women's Singles titles at the 2021 ITF World Tennis Tour W15 Monastir held in Tunisia.

How did she achieve all that and more in a span of mere five years? EQ sit down with the rising athlete to talk about her journey from a youth national team to where she is now.

Like brother, like sister
Some of us might already be familiar with the last name “Chanta”, and that is because Aomsin’s brother Thanapet “Owen” Chanta is also a talented tennis player in his own right. She tells us that when she was younger, she would tag along with him to his practice. One day, she gave tennis a try and it wasn’t long until she decided that she wanted to pursue it seriously. With her father’s support, she went to train in Bangkok at the age of 13. Then, only a year later, she made the youth team.

Overcoming the pressure

“There’s no tie in tennis. It’s either win or lose. You have to first overcome yourself before you can defeat your opponent.”

Aomsin says that as a young athlete from Prachuap Khiri Khan, she had to overcome the pressure of being a newcomer in Bangkok's tennis scene.


“It was tough to get to where I am today. I’m not sure if it was because I came from a different province or what, but when I started to train in the beginning, I felt like I was looked down on. Some even said that I wouldn’t go far. I wanted to prove those people wrong so I trained really hard.”

She further adds that she is lucky to have strong support from her brother and coach who always remind her that it’s alright to not win a match because it won’t be her last. 

Getting back up

“Sometimes when things don't go my way, I do get discouraged. There were times when I just kept losing these overseas matches to the point that I didn’t want to compete anymore. But after I had some time to reflect and think about all the support I had, I wanted to continue to fight.”

A different kind of pressure

Once she qualified for the national team, she faced a new set of pressure  that came from the expectations of others. As an up-and-coming player, all eyes were on her. 

Turning pro

Through determination and hard work, Aomsin has successfully joined the professional league.. She is currently ranked No. 760 in the world in singles by the Women's Tennis Association (WTA).

“I finally got to prove myself by winning the W15 event category. I hadn’t competed in an international event like that for two years due to the pandemic. To win a competition like that after a hiatus really exceeded my expectations. It gave me a boost of confidence and it’s great to know that we can win against players from other countries.”

Burnout from the pandemic 

We have talked to many athletes who admitted that they experience burnout brought on by the pandemic. Aomsin is no exception. She tells us that before W15, she felt uninspired and unmotivated. Training felt useless because events and competitions were all canceled. 

The ultimate goal

When asked if there’s anything she would still like to accomplish after nine years of playing tennis, she says that she wants to be as good as French professional tennis player Kristina Mladenovic.

“She’s really good in both singles and doubles. I don’t have enough experience playing doubles so I’m still lacking in that department. It’s also my dream to be ranked in the world’s top five.”

Before we wrap up our interview with the young athlete, we ask her what she would be doing if she hadn’t decided to pursue tennis in the first place.

“I would probably try to do well in school. But I think life would be a lot less colorful than it is now.”