Culture

ชวนคุยกับ 4 ยอดฝีมือ “Naviskater” โปรเจกต์เนวิเกเตอร์เพื่อชาว Downhill

Riding into the Sunset With Downhill Skateboarding Crew Behind Naviskater 

"เสน่ห์ของดาวน์ฮิลล์คือการท่องเที่ยว เพราะต้องเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ถ้าเราไปเจอทางที่เล่นได้สนุกก็เหมือนถูกหวย อารมณ์เหมือนเราเดินเรือแล้วเจอเกาะใหม่ มันเลยเป็นความสุขอย่างหนึ่งที่เราอยากแชร์ให้คนอื่นด้วย" เต้ - วรินทร์

ถ้าพูดถึงกีฬาที่ผสมผสานระหว่างความท้ายทาย การสัมผัสธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเอาไว้ในอย่างเดียวกัน คงไม่มีใครไม่นึกถึง Downhill Skateboard การเล่นสเก็ตบอร์ดบนทางลาดด้วยความเร็วไปพร้อมกับดื่มด่ำธรรมชาติให้ฉ่ำปอด ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ยากจะหาได้จากที่ไหน แต่การจะเก็บความสนุกและสถานที่เจ๋งๆ เอาไว้คนเดียว ไม่ใช่สไตล์ของ เต้ - วรินทร์ สันตะบุตร (Warin Santaputra) มะปราง - นวพรรณ อังอินสมบัติ (Nawapan Aunginsombut) เพลง - สนธยา แดงมี (Sonthaya Dangmee) และ พีท - กฤษณะ ประเสริฐพรรณ (Kritsana Prasertpan) เพราะความสุขของนักกีฬามากฝีมือทั้ง 4 คนนี้ คือการได้ออกไปเล่นดาวน์ฮิลล์กับคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด  “Naviskater” ขึ้นมา

Naviskater กับการเป็นมากกว่าเพจของชาวสเก็ต

ย้อนกลับไปเมื่อตอนมีแคมป์เก็บตัวนักกีฬาสเก็ตบอร์ดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ 2019 “เต้” พี่ใหญ่ของกลุ่มที่รับหน้าที่เป็นโค้ชในขณะนั้นเล่าให้เราฟังว่า มีโอกาสเจอกับนักกีฬาอย่างมะปราง พีท และเพื่อนของนักกีฬาอีกทีอย่างเพลง ซึ่งความสนิทสนมที่เกิดขึ้นระหว่างนั้น ทำให้หลังจากจบภารกิจแข่งขันไปแล้ว ได้ปิ๊งไอเดียที่จะมารวมตัวกันทำโปรเจกต์ Naviskater เพื่อออกไปค้นหาเส้นทางดาวน์ฮิลล์ใหม่ๆ ในประเทศไทย

“Naviskater มาจาก Navigator + Skater หรือการนำทางผสมกับสเก็ตเตอร์อย่างพวกเรา การที่เราออกไปท่องเที่ยวแบบนี้ก็เพราะอยากหาที่เล่นใหม่ๆ เพื่อเก็บประสบการณ์ พัฒนาฝีมือให้พร้อมกับการแข่งทั้งในและนอกประเทศ และอยากให้คนเล่นดาวน์ฮิลล์คนอื่นเห็นว่าเมืองไทยก็เหมาะกับการเล่นกีฬานี้ มีหลายจังหวัดที่เล่นได้ ซึ่งตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เราออกไป 12 EP หรือ 12 จังหวัดแล้ว”

Downhill Skateboard กับเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใคร 

เต้: ผมว่าเสน่ห์ของมันคือการได้ท่องเที่ยว ผมเล่นสเก็ตบอร์ดแบบสตรีทมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่พักไปช่วงเรียนมหา’ลัย ต่อมากหลังจากเบื่องานประจำแล้วลาออก เลยมานั่งค้นหาตัวเอง ทำกิจกรรมทุกอย่าง จนมาจบที่ลองบอร์ด เรารู้สึกว่าเออมันใช่ว่ะ มันคือความรู้สึกนี้เลยที่เราตามหาอยู่ 

มะปราง: เราเล่นลองบอร์ดมานานแล้ว แต่เพิ่งมาจริงจังกับดาวน์ฮิลล์ได้ประมาณ 3 ปี เพราะหลงใหลในการทำตัวเองให้มีสมาธิในความเร็ว การตัดสินใจทำอะไรในช่วงเวลาแค่แป๊บเดียวแล้วเราคุมอยู่ มันสุดยอดเลย

เพลง: มันทำให้เราได้จดจ่ออยู่กับตัวเองมากกว่าการใช้ชีวิตทั่วๆ ไป ได้ฝึกจิตใจตัวเองอยู่ตลอด ได้ฝึกการวางแผนหลายแบบ ได้อยู่กับเพื่อนที่ชอบเล่นอะไรเหมือนกัน ได้ใช้ความเร็ว ได้เจอธรรมชาติ รู้สึกเป็นอิสระ

พีท: ดาวน์ฮิลล์มันอนุญาตผมให้เป็นตัวเองที่สุดแล้ว เพราะผมรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อม การทำงาน การเข้าสังคมมันไม่ได้อนุญาตให้เราเป็นตัวเอง 100% ขนาดนั้น

เวลาที่เจอเรื่องเฟลๆ เคยคิดที่จะเลิกเล่นกันบ้างไหม

เพลง: ผมนี่เจ็บบ่อยเลยเพราะห้าว (หัวเราะ) คางแตกเพราะชนกับจักรยานก็เคยมาแล้ว แต่ไม่เคยคิดจะเลิกเล่นนะ มีแต่อยากเล่นให้ดีขึ้น อยากเอาชนะมันให้ได้ เพราะไหนๆ ก็เจ็บตัวแล้ว ถ้าวันไหนมีแผลก็จะมองบวก แบบว่าแผลแค่นี้เอง ไม่เจ็บหนัก ค่อยยังชั่ว 

มะปราง: เคยเจ็บหนักสุดคือล้มแล้วกระดูกแตก เพราะคุมบอร์ดไม่อยู่ แต่ไม่ได้เฟลเพราะเจ็บ เราเฟลเพราะต้องพักซ้อมนานมากกว่า แต่ก็ไม่เคยอยากเลิกเล่น มีแต่อยากเก่งกว่าเดิม หลังจากนั้นมาก็เลยพยายามให้ตัวเองเจ็บน้อยที่สุด 

การเดินทางแต่ละครั้งของ Naviskater

เต้: เราจะไปเมืองรองเป็นหลักเพราะรถน้อย การเล่นบนถนนของเราจะได้ไม่ไปรบกวนใคร เลือกด้วยการเปิด Google Earth หาถนนชนบทที่เป็นภูเขาสูง ความยาวได้ โค้งพอประมาณ สภาพถนนโอเค แล้วก็ลุยไปเลย 

“เราไม่ได้เตรียมอะไรมากมาย ก็เหมือนเที่ยวไทยทั่วไป หลายคนอาจคิดว่าการเดินทางแบบเราดูลำบาก ใช้เงินเยอะ แต่จริงๆ แล้วเที่ยวไทยในเมืองรองมันง่ายมาก โรงแรม ปั๊มน้ำมัน ถนนสะดวกหมด ค่าใช้จ่ายต่อทริปก็ถูก 400 – 500 บาทก็เช่าโรงแรมนอนสบายแล้ว แค่ดูเวลาว่างให้ตรงกัน คืนเดียวก็ไปได้ เพราะอุปกรณ์เราพร้อมใช้งานตลอดอยู่แล้ว” 

มะปราง: เราจะเตรียมซ้อมก่อนเลย เพราะว่าการดาวน์ฮิลล์จริงๆ มีเวลาค่อนข้างน้อย ยิ่งเวลาต้องถ่ายคลิป ยิ่งต้องทำให้มันรวดเร็ว กระชับที่สุด 

สถานที่ดาวน์ฮิลล์ที่อยากแชร์

พีท: ผมประทับใจจังหวัดแพร่ เพราะเป็นเมืองรอง รถน้อย อยู่ติดภูเขา ไปที่ไหนก็มีแต่ที่ทางให้เล่น ผู้คนน่ารัก 

มะปราง: เราชอบภูเก็ต เพราะบรรยากาศดี อากาศดี วิวสวย มีทั้งทะเลและภูเขา แล้วก็ได้เจอกลุ่มเพื่อนๆ ที่เล่นดาวน์ฮิลล์อยู่แล้ว เลยมีกิจกรรมให้ทำเยอะ 

เพลง: หาดใหญ่ครับ เป็นเมืองเงียบที่ธรรมชาติสมบูรณ์ มีกลุ่มเพื่อนที่เล่นอยู่แล้ว และทางสถานที่ที่เราไปเล่นกัน ผู้ใหญ่ก็สนับสนุนด้วย 

เต้: ปราจีนบุรี ใกล้กรุงเทพสุดเลยแต่เป็นจังหวัดที่คนลืม ทั้งๆ ที่มันอยู่ติดเขาใหญ่เหมือนโคราช เป็นผืนป่าเดียวกัน เขาเดียวกัน เราไปเล่นกันที่ “เขาอีโต้” ทางมันเล่นได้ดีเลย มีเขาในตัวเอง และเป็นพื้นที่ที่เขาสนับสนุนเรื่องกีฬาโดยเฉพาะ 

ตั้งเป้าหมายให้ไกลกว่าเดิม

เห็นว่านอกจากออกไปค้นหาสถานที่ใหม่ๆ แล้ว Naviskater ยังได้ทำอะไรอีกหลายอย่างระหว่างออกทริป 

เต้: ตอนที่เราไปเขาอีโต้ ได้มีโอกาสร่วมกับทางอุทยานจัด NAVISKATER Enjoy The PAVEMENT งานแข่งกระชับมิตรที่ชวนมือใหม่มาเล่นด้วยกัน กระแสตอบรับดีมาก หลายคนอยากให้จัดอีก เพราะถ้ารอไปแข่งงานใหญ่ คนมือใหม่แทบจะไม่มีโอกาสที่จะได้สนุกจริงๆ หรือได้เข้ารอบลึกเลย ส่วนในปีนี้ก็มีตั้งเป้าไว้ว่าเวลาไปเล่นที่จังหวัดไหนก็จะไปโดเนทสเก็ตบอร์ดให้ 1 โรงเรียนที่ขาดโอกาสด้วย เพื่อแชร์ความสุขกับคนอื่นอย่างเป็นรูปธรรม

เทคนิคเล่น Downhill สไตล์ Naviskater

ในสายตาของ Downhill Skater มือใหม่และเพื่อนๆ ในวงการ ส่วนมากจะชื่นชมฝีมือของแก๊ง Naviskater มากๆ อยากรู้ว่าพวกคุณมีเทคนิคในการเล่นหรือพัฒนาฝีมืออย่างไรกันบ้าง

พีท: สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย เราต้องรู้ว่าเล่นยังไงไม่ให้ไปทำคนอื่นเขาเจ็บหรือตัวเองเจ็บเอง ซึ่งบางคนอาจไปให้ความสำคัญกับการอัปเกรดอุปกรณ์จนลืมโฟกัสสิ่งนี้ไป 

มะปราง: เตรียมร่างกายให้พร้อมเสมอและฝึกสมาธิ เพราะผู้หญิงจะมีความวูบวาบมากกว่าผู้ชาย การจะทำให้สมาธิ อารมณ์คงที่จะค่อนข้างยากกว่า และสำคัญคืออุปกรณ์ Safety หมวกกันน็อค ถุงมือ สนับเข่า-ศอก กางเกงกันกระแทก ต้องครบ

เต้: เรื่องความเก่งบางคนอาจจะมีพรสวรรค์ แต่สำหรับผมมันมาจากการฝึกซ้อม การฝึกซ้อมเท่านั้นที่จะทำให้เล่นได้ดีขึ้น เก่งขึ้น ถ้าเวลาน้อยจะซ้อมทุกวันวันละ 15 นาทีก็ยังดีกว่าไม่ซ้อมเลย บางคนอาจจะมองว่าดาวน์ฮิลล์เป็นกิจกรรมสำหรับคนบ้าคลั่งความเร็ว แต่จริงๆ มันก็คือกีฬาอย่างหนึ่งที่ต้องการการฝึกซ้อม เพื่อให้กล้ามเนื้อจดจำและเล่นได้อย่างปลอดภัย 

“Slow is Smooth, Smooth is Fast ทำทุกอย่างอย่างช้าๆ แล้วมันจะราบรื่น ไม่มีสะดุด และไปได้เร็วเอง”

ติดตามและอัปเดตกิจกรรมมันส์ๆ ทั้งหมดได้ที่ 

Facebook: Naviskater

Instagram: naviskater

"The appeal of downhill [skateboarding] is traveling. You have to keep exploring. When you find a perfect location, it’s like winning a lottery. It’s like we’ve set sail and found a new island. I want to share this kind of joy with other people" - Tay Warin

Downhill skateboarding is a style of extreme sport that combines the thrill of riding a longboard down a steep hill at high speeds and the pleasure of being out in nature. EQ meet with Warin “Tay” Santaputra, Nawapan “Maprang” Aunginsombut, Sonthaya “Plaeng” Dangmee, and Kritsana “Pete” Prasertpan, the team behind Naviskater to find out more about the sport and how they came together as a crew.

How the four of them met
Tay met Maprang, Pete, and Plaeng while he was working as a head coach for Thai skateboarders to prepare them for the 2019 SEA Games. After the four of them became good friends, they decided to form Naviskater, a group with a mission to search for Thailand’s new downhill stars.

“Naviskater comes from “navigator” and “skater.” The name describes us riders perfectly because we love traveling to different places to train and find new experiences. We want people to realize that Thailand is great for downhill skateboarding. We’ve been to 12 provinces and made 12 episodes over the year.”

What draws you to downhill skateboarding?
Tay:
Traveling has a lot to do with it. I’d been skateboarding since I was young but I stopped when I went to university and had a full time job. When I decided to quit my job, I tried different hobbies before settling on longboarding. I felt like it was my calling.

Maprang: I’ve been longboarding for some time now, but only just got serious with downhill over the last 3 years. I love it because I get to concentrate on controlling my balance and speed. It’s a cool feeling to be able to make a quick decision and see how positively it turns out.

Plaeng: It puts me in this focus mode where I get to be one with myself. It’s also fun to hang out with my crew, feeling the speed, being out in nature and feeling free.

Pete: It allows me to be my true self because I don’t feel like I can be 100% myself when I’m at work or socializing with people.

Have you ever felt discouraged to continue?

Plaeng: ​I hurt myself a lot because I get too bold (laughs). I crashed into a bicycle and broke my chin once. I never want to quit though, it just makes me want to ride better. I try to look at it in a positive light.

Maprang: The most serious injury I had was when I lost control of the board, crashed and fractured my bones. I got discouraged not because of the pain, but the recovery period. I never wanted to quit either. I just want to get better and be more careful.

Can you tell us about your trips?

Tay: We try to go to less visited provinces because we don’t want be in the way of motorists. We’ll pack our bags right away if we find on Google Earth a nice long stretch of road with a bit of hill and curve, and in fairly good condition. There’s actually not a whole lot of preparation involved. People think these trips cost a lot of money, but it’s super convenient to go to these less visited areas. Plenty of gas stations, hotels, and nice roads to be had. 400-500 baht will get you a comfortable bed. The only thing is to make sure that everybody is free at the same time.

Maprang: We usually rehearse right away because we don’t have a lot of time to spare with downhill skateboarding. Add video shooting to the mix, we really need to make sure everything runs on schedule. 

Which location impressed you the most?
Pete:
I love Phrae because there’s hardly any traffic. It’s surrounded by hills and mountains so you can ride pretty much anywhere. People are super nice, too.

Maprang: I love Phuket because the atmosphere there is great. I love the sea and mountains, and I get to hang out with my downhill friends. There’s just so much to do there.

Plaeng: Hatyai because it’s a quiet city with great nature. All the ‘poo yai’ there don’t frown upon skaterboaders and I have friends there as well.

Tay: I have to say Prachin Buri. It’s super close to Bangkok, but often gets overlooked. The province shares the same Khao Yai forest with Korat. We usually ride at Khao E-to on this top notch hill road. They really support us over there.

Aiming high
Tay:
Amateur riders don’t usually get the chance to compete at most events so we organized ‘NAVISKATER: Enjoy The PAVEMENT’ event for them at Khao E-to. It was so successful that people wanted us to do it again. We also plan to donate one skateboard to a school in need wherever we go to share the joy of riding.

Can you share some advice for beginners?

Pete: The most important thing is safety. You have to learn how to protect yourself and others. Some riders focus too much on upgrading their gear that they’re forgetting it.

Maprang: Prepare your body and mind. Women tend to panic more easily than guys. Safety equipment is also important.

Tay: Some riders may be born with talent, but for me, it’s all about practice. 15 minutes of practice everyday is better than none at all. It might seem like a sport for speed fanatics, but it takes practice and muscle memory just like any other sport.

“Slow is smooth, smooth is fast”

Check out Naviskater’s Instagram