Daily Pickup

โอม ชนาธิป : ประสบการณ์แห่งตำนานใหม่ในลีกไต้หวัน

Ohm Chanatip and His Experience Playing in the Taiwan’s Basketball League

เมื่อปลายปี 2021 โอม - ชนาธิป จักรวาฬ (Ohm - Chanatip Jakrawan) ได้กลายเป็นตำนานบทใหม่ของสโมสรไฮเทค และวงการบาสเกตบอลไทย ด้วยการเป็นนักบาสไทยคนแรกที่สโมสร New Taipei CTBC DEA ของไต้หวัน ที่ถูกยืมตัวไปเป็นผู้เล่นในฐานะนักกีฬาอาชีพแบบมีค่าตัวในตลอดระยะเวลา 1 ฤดูกาล ซึ่งตอนนี้ก็เข้าสู่เดือนที่ 6 แล้ว ที่เขาไปโลดแล่นอยู่ในลีกอาชีพต่างแดน เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยไม่ต่างกันว่า บนทางเดินเส้นใหม่นี้ตัวเขาได้พบเจอกับอะไรมาบ้าง 

แน่นอนว่าเราไม่ปล่อยให้ทุกคนสงสัยนาน เรารีบต่อสายถึงเจ้าตัวให้เคลียร์คิววัน Day off มาพูดคุยกันเลย

อัปเดตชีวิตที่ไต้หวันให้ฟังหน่อย

คงต้องเกริ่นก่อนว่า ชายเจ้าของความสูง 203 ซม. ที่อยู่หลังกล้องนั้นไม่ได้เริ่มบทสนทนาด้วยการตอบคำถาม แต่เลือกที่จะถามเรากลับว่า “ที่ไทยร้อนมากไหม” พร้อมกับชูแขนให้ดูว่ากำลังใส่เสื้อกันหนาวตัวโคร่ง เพราะที่นั่นอากาศกำลังเย็นสบายสุดๆ 

“โอมมาอยู่ที่เขตซินเตี้ยน (Xindian Qū) อยู่ระหว่างไทเปกับนิวไทเป ตอนนี้อากาศเย็นสบาย หลายวันก่อนมีแผ่นดินไหว 6 ริกเตอร์กว่า ของในห้องสั่นไปหมด ส่วนการแข่งขันตอนนี้เหลืออีกแค่ประมาณ 8-9 แมตช์ก็จะจบฤดูกาลแล้วครับ แต่โอมน่าจะอยู่ได้อีกแค่ 6 แมตช์ เพราะปลายเดือนเมษาต้องกลับไทยไปเตรียมตัวแข่งซีเกมส์ 2022”

มีลุ้นต่อสัญญาหรือเปล่า

“ทีมโค้ชกับเพื่อนร่วมทีมก็ถามเหมือนกันว่าจะกลับไปที่ไต้หวันอีกไหม ยอมรับเลยว่าไม่แน่ใจ เพราะต้องกลับไปเรียนให้จบก่อน มันจะเต็มโควตา 8 ปีแล้ว (หัวเราะ) แต่จะรอลุ้นโอกาสในวันที่เราพร้อมอีกครั้งหนึ่ง”

เสียดายไหมที่บาสเกตบอลทำให้เราเรียนจบช้ากว่าคนอื่น 

“บาสเกตบอลทำให้การเรียนป.ตรีมันยาวนานกว่าคนอื่น รู้สึกเสียดายเวลาเหมือนกัน แต่มันไม่มีทางเลือก ถึงโอมจะให้ความสำคัญกับการเรียนเป็นหลัก แต่การบาลานซ์การเรียนกับกีฬาให้ดีเท่ากันทั้งคู่ก็ค่อนข้างยาก ก็ต้องยอมรับผล”

เคยคิดไหมว่าจะมาไกลถึงลีกต่างชาติ

อย่างที่โอมเคยให้สัมภาษณ์อยู่บ่อยๆ ถึงปัจจุบันจะเป็นนักบาสที่ทุ่มเทกับการพัฒนาตัวเอง แต่ในอดีตเขาเป็นเด็กที่ปฏิเสธการชักชวนให้เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลมาตลอด และแค่อยากเล่นบาสเพื่อเป็นโควตาเรียนต่อเท่านั้น

“ไม่เคยคิดเลยครับ รู้สึกดีใจมาก เพราะพี่ๆ หลายคนบอกว่าเราเป็นคนแรกของไทยเลยที่ได้เล่นลีกต่างชาติ และมีเงินเดือนในฐานะนักกีฬาอาชีพ กลายเป็นประวัติศาสตร์ของเมืองไทย”

ถ้าวันนั้นไม่เลือกเล่นบาสเกตบอล วันนี้เราจะทำอะไรอยู่

“น่าจะเรียนจบคณะดนตรีที่มหา’ลัยแถวลำปาง และเป็นครูสอนดนตรีมั้งครับ เพราะตอนนั้นชอบดนตรี หรืออาจจะขับ Grab อยู่ที่ไทย เพราะตกงานช่วงโควิด (หัวเราะ) ต้องขอบคุณบาสเกตบอลที่เข้ามาเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิต”

เป้าหมายหลังจากได้สัมผัสลีกไต้หวัน

“อยากไปเล่นลีกอื่นๆ ในเอเชียครับ ไม่ได้อยากไปไหนไกล เพราะแค่ได้มาเล่นลีกไต้หวันก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากแล้ว และอยากให้ตัวเองเก่งขึ้นกว่านี้ มีบทบาทในเกมมากขึ้น”

มีอะไรบ้างที่วงการบาสไทยต่างจากไต้หวัน

“อย่างแรกเลยคือลีกไต้หวันยาวมากๆ จัดแข่งตั้งแต่พฤศจิกายน–มิถุนายนของทุกปี นักกีฬาก็จะได้เงินเดือนเต็มทุกเดือน แต่ที่ไทยไม่กล้าเรียกว่าลีกด้วยซ้ำ มันเหมือนรายการแข่งมากกว่า รายการละประมาณ 1 เดือน ใน 1 ปีจะมีประมาณ 3-4 รายการ นักกีฬาก็มีเงินเดือนแค่เท่าที่แข่งนะครับ หรืออย่างทีมชาติเองก็ไม่ได้มีเงินเดือนทุกคน จะมีแค่เฉพาะตัวท็อปในทีม ส่วนใหญ่เป็นเบี้ยเลี้ยงซ้อมวันละไม่กี่ร้อยบาท หลายคนเลยต้องทำงานประจำ แล้วเอาเวลาว่างมาซ้อม เป็นแบบนี้มานานแล้ว ซึ่งมันค่อนข้างจะเป็นผลเสียกับนักกีฬา เพราะเวลามีแข่งอะไร เขาก็จะหวังแชมป์ แต่พอตัดภาพมาที่การส่งเสริมจากภาครัฐ จะเห็นว่ามันยังไม่มากพอเลย”

“การเล่นก็ต่าง ที่ไต้หวันจะเล่นเกมเร็ว ถ้ามีโอกาสก็จะทำแต้มตลอด ไม่เสียดายเลยว่าบุกแล้วจะยิงไม่ลง แต่ที่ไทยสไตล์จะช้าๆ กว่าจะส่งลูก กว่าจะชู้ต ส่วนความสามารถและร่างกายเขาก็ดีกว่า เพราะมีนักวิทยาศาสตร์การกีฬาดูแล”

แล้วแบบนี้เราต้องปรับตัวนานแค่ไหน

“เกือบ 2 เดือนเลยกว่าจะเข้าใจระบบทีม โอมต้องปรับเรื่องระบบการเล่นใหม่หมด ตอนอยู่ไทยจะได้เล่นเฉพาะในเขต 3 วินาที ใต้แป้น แต่พอมาอยู่ที่นี่ เขาจะให้เราวิ่งทั้งข้างในและข้างนอก ต้องเป็นคนต่อบอล เป็นสายป้องกันแทน ทำทุกอย่างที่ไม่เคยทำ ช่วงแรกกดดันมาก เพราะเขาอยากให้เรามาเพื่อทำแต้มวงใน แต่โค้ชก็บอกว่าไม่เป็นไร ค่อยๆ พัฒนาไป เขาสอนอะไรเยอะเลย ได้ประสบการณ์เยอะมาก การมาไต้หวันมันเลยไม่ได้เหมือนมาเพื่อแข่งนะ แต่มาซ้อมมากกว่า”

การใช้ชีวิตทั่วไปลำบากไหม

“การกินต้องพึ่งร้านสะดวกซื้อกับเดลิเวอรี่เป็นหลัก เพราะพูดจีนไม่ได้ ราคาอาหารเฉลี่ยต่อวันเกือบ 1,000 NT$  และมีการพูดคุยกันในทีมที่ลำบากหน่อย เพราะบางคนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ถ้าสื่อสารเรื่องบาสจะพอเข้าใจ แต่กับเรื่องทั่วไปก็ต้องเปิด Google Translate บ้าง ใช้ภาษามือบ้าง แต่ไม่มีปัญหากับการสนิทสนม โอมสนิทเกินครึ่งทีมแล้ว”

เหตุการณ์ฝังใจที่ไม่เคยเจอในไทย 

“เป็นพวกบาร์กับไนต์คลับ เพราะบ้านเรา 2 ทุ่มก็ไปนั่งฟังเพลง นั่งคุยกับเพื่อนได้แล้วใช่ไหม แต่ที่ไต้หวันเขาเปิดเที่ยงคืนถึงเช้า เพื่อนเคยพาไปครั้งหนึ่งแล้วเข็ด ครั้งต่อไปเลยขอกลับตีหนึ่งพอ ง่วงไม่ไหว”

ถ้ากลับไทยคิดว่าความคาดหวังของคนอื่นจะสูงขึ้นไหม

“น่าจะเป็นแบบนั้นอยู่แล้วครับ หลายคนคงคาดหวังสูงขึ้น ถ้ากลับไทยแล้วผลงานแย่กว่าเดิม คิดว่าคงโดนคอมเมนต์ถล่มทลายแน่นอน แต่โอมมั่นใจนะว่าตัวเองมีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว เลยไม่กังวลว่าจะเจออะไรไม่ดี”

ความคาดหวังของโอมกับซีเกมส์ 2021 

“โอมลงทั้ง 3x3 และ 5x5 คาดหวังว่าต้องเหรียญทองทั้งคู่ เพราะผู้เล่นเราดีมาก สู้ได้อยู่แล้ว แต่รายการ 5 คนอาจจะยากขึ้นหน่อย ปีนี้หลายประเทศในอาเซียนก็มีลูกครึ่งเยอะ ต้องรอลุ้นครับ ยังไงก็ฝากติดตามผลงานโอมด้วยนะครับ โอมกำลังจะกลับไปเล่นที่เมืองไทยในนามทีมชาติ และสโมสรไฮเทคเหมือนเดิม จะมีผลงานออกมาเรื่อยๆ”

ทิ้งท้ายแบบพิเศษเพื่อชาว EQ กับ 3 FACTS ABOUT OHM ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

1. โอมนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์

2. โอมเป็นเด็กที่มีความฝันหลากหลาย ตอนเด็กอยากเป็นตำรวจตามพ่อ แต่โตขึ้นมาหน่อยก็อยากเรียนบัญชีตามพี่สาว ก่อนขึ้นม.ปลายเคยอยากเรียนดนตรี พอมาอยู่อัสสัมชัญ ธนบุรี แล้วได้รู้จักกับสาขาธรณีวิทยา ก็เลือกสอบโควตาเข้าคณะนี้ 

3. ก่อนจะมาเรียนคณะศึกษาศาสตร์ เอกพลศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ ปี 7 โอมเคยเรียนคณะวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเดียวกันมาแล้ว 4 ปี แต่ก็ย้ายคณะ เพราะต้องแบ่งเวลาไปทุ่มเทให้บาสด้วย

ติดตามไลฟ์สไตล์และอัปเดตผลงานได้ที่ j.chanatip31

Photo credit: 新北中信特攻籃球隊 New Taipei CTBC DEA

In late 2021, Hitech Basketball Club’s Chanatip “Ohm” Jakrawan became the first ever Thai basketball player to sign with Taiwan’s New Taipei CTBC DEA club as a loan athlete. It’s been nearly six months since he’s moved to Taiwan so let’s catch up with him and see what he’s been up to.

How’s your life in Taiwan been treating you?
“I live in a city between Taipei and New Taipei called Xindian Qū. The weather here right now is nice and cool. We had an earthquake the other day, though. I think it was around six on the Richter scale – everything in my room was shaking! As for the tournament, I still have nine matches to go before the season ends, but I can only stay for six because I have to go back to Thailand in April to train for the SEA Games”

Are you planning to extend your contract?
“My coach and teammates have been asking me the same question. I’m not really sure, to be honest. I have to go back to finish my studies – my eight-year quota is running out (laughs). I’m open to opportunities in the future, though.”

Do you have any regret about graduating late?
“I know that basketball has been keeping from finishing my degree, but I don’t have a choice. It’s been a real challenge trying to balance the two. I just have to bear the consequences.”

Did you ever think you’d come this far?
“Never! I’m really happy to be the first Thai basketball player to join an international league and make history as a fully-paid professional athlete.”

If you weren’t a basketball player, what would you be doing now?
“I would have graduated with a music degree from a uni in Lam Phang and worked as a music teacher. That or I would have worked as a Grab rider.”

What’s your next goal after Taiwan?
“I want to play with other leagues in Asia because I don’t want to go too far [from home]. Having the opportunity to play with the Taiwanese league is already a huge deal for me and I want to keep improving.”

Are there any differences between the basketball scenes in Taiwan and Thailand?
“First of all, the Taiwan league lasts quite a long time, from November to June of every year. Players also receive a full salary every month. In Thailand, what we have is more like an event. Each event lasts about one month and there’re about 3-4 events in a year. Unless you’re a top pro, Thai players get paid only when they’re competing so not everyone has a fixed salary. There’re also training allowances of a few hundred baht per day but that’s simply not enough. That’s why many of us have to work full-time to survive.”

“As far as the tactics are concerned, they like to focus on the offense whereas we prefer a slower game. Physically, their players are a lot fitter too because they have a team of performance and sport scientist helping them.”

How long did it take you to adjust to the new team?
“I took me about two months before I started to get the hang of how they do things here. In Thailand, I used to play in the low post or inside the shaded line, but here, they wanted me to be more of an offense player. I’m under so much pressure to perform well but my coach told me that it’s alright to go slow. I feel like I’m here to train rather than compete.”


How’s life in general for you in Taiwan?
“Since I can’t speak Chinese, I mostly rely on food from convenience stores and delivery services. My food expenses are probably around 1,000 NT$ a day. Most of my teammates don’t speak English so sometimes I have to rely on hand gestures or Google Translate to communicate with them. I’m close friends with about half of the team, though.”

Any unforgettable experience in Taiwan?
”In Thailand, a night out starts from 8 pm, right? In Taiwan, not only are most bars and pubs open at midnight, they also stay open until morning. My friends took me out once and I got super tired. I promise myself that next time I’ll only stay until 1 am, max.”

What’s your hope for the 2021 SEA Games?
“I’m hoping that we get a gold medal in both 3x3 and 5x5. Our players are very talented. The 5x5 may be a little bit challenging because there’re many luk kreung [people of mixed Asian and foreign origin] players.”

Three Least Known Facts about Ohm

1. He is Protestant.

2. When he was a kid, he wanted to be a policeman like his father. As he grew older, he wanted to study accounting like his older sister. By the time he got into high school, he wanted to study music. When he actually got into Assumption Thonburi, he chose the field of geology.

3. Before switching to Physical Education at the Faculty of Education, Kasetsart University, he used to study at the Faculty of Science at the same university for four years.

Photo credit: 新北中信特攻籃球隊 New Taipei CTBC DEA