‘Fashion Revolution’ การปฏิวัติทางแฟชั่นเพื่อแฟชั่นและโลกที่ยั่งยืน

อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโลกเป็นอย่างมาก แต่มันก็ยังไม่สายเกินไปที่จะปฏิวัติแฟชั่นเพื่อสร้างความยั่งยืนและคืนความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่ถูกกดขี่ในวงจรอุตสาหกรรมแฟชั่น บทความนี้อยากจะชวนมาทำความรู้จัก ‘Fashion Revolution’ เครือข่ายคนรักแฟชั่นที่สร้างมูฟเมนต์เพื่อปฏิวัติทางแฟชั่นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเท่าเทียมมากขึ้นในโลกที่มีเครือข่ายกว่า 60 ประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางแฟชั่นเกิดขึ้นหลังจากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่จากเหตุการณ์ตึกถล่มที่กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2013 สาเหตุของตึกถล่มก็มาจากการละเลยสวัสดิการ ความปลอดภัยของนายจ้างที่ต้องการเร่งให้แรงงานผลิตเสื้อผ้าให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อตอบสนองให้ทันเทรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) 

เหตุการณ์นี้เผยให้เห็นว่าใต้ตึกถล่มนั้นเต็มไปด้วยฟาสต์แฟชั่นแบรนด์ต่างๆ ของโลกตะวันตก มันทำให้วงการแฟชั่นสะเทือนใจและร่วมมือกันตั้งคำถามว่า หลังจากนี้แฟชั่นจะมีความยั่งยืน ความเป็นธรรมต่อทั้งสภาพแวดล้อมของโลกและคนทำงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างไรบ้าง? จนเกิดเป็น #whomademyclothes ที่ชวนให้โลกหันมาสนใจว่า ผู้ผลิตเสื้อผ้านั้นถูกกดขี่อย่างไรบ้าง ค่าแรงขั้นต่ำเหล่านี้สมเหตุสมผลไหมและมันถึงเวลาหรือยังที่ทั้งโลกควรคำนึกถึงแฟชั่นที่ยั่งยืนมากขึ้น แทนการเน้นบริโภคเสื้อผ้าที่มาจากการกดขี่แรงงาน

Photo credit: tickover

เป้าหมายการเคลื่อนไหวของเครือข่าย Fashion Revolution คือการทำให้แฟชั่นไม่ไปทำลายคนและสภาพแวดล้อมโลก สร้างการบริโภคแฟชั่นที่ยั่งยืน โปร่งใสผ่านการเคลื่อนไหวสร้างแคมเปญเสริมการตระหนักรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติในระยะยาว 

Fashion Revolution Thailand คือเครือข่ายของประเทศไทยที่เกิดขึ้น 2017 ที่เปิดตัวด้วยแคมเปญ  #WhoMadeMyClothes ที่ชวนตั้งคำถามว่าใครคือผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าหนึ่งตัวที่เราสวมใส่ในไทย เนื่องจากตามรายงานปี 2017 ประเทศไทยเองก็ถือว่าเป็นประเทศส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่ มีที่ตั้งบริษัทเสื้อผ้ากว่า 2,000 แห่งและการจ้างแรงงานมากกว่า 1 ล้านคนแต่ก็ค่าแรงก็ยังน้อย มันจึงจำเป็นที่สังคมต้องเห็นว่าใครคือคนทำเสื้อผ้าที่ทุกคนใส่และจะทำอย่างไรให้พวกเขาได้รับความเท่าเทียม 

Photo credit: traidcraftexchange

ตั้งแต่เปิดตัวในปี 2017 ทางเครือข่ายก็มีกิจกรรมเคลื่อนไหวอีเวนต์ตั้งแต่การบรรยาย แคมเปญมากมายไปจนถึงออฟไลน์อีเวนต์ที่ทำให้กระแสการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าใส่เสื้อมือสองดังขึ้นในไทยผ่านงาน ‘Cloth Swap’ อีเวนต์เอาเสื้อผ้ามาแลกกันใส่เพื่อลดการบริโภคฟาสต์แฟชั่นที่ Lido Connect 2020 นอกจากนี้ก็ยังได้มีจัด Clubhouse ‘Who Made My Clothes? คำถามต่อบทบาทของแฟชั่นกับการขับเคลื่อนสิทธิแรงงาน ผู้คน การเมือง และสิ่งแวดล้อม ที่คุยว่า ผู้บริโภคทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยโลกและแฟชั่นรวมไปถึงนโยบายทางสังคม

Photo credit: EthicalFashion 

บทสรุปเนื้อหาจาก Clubhouse ‘Who Made My Clothes’ ทาง Fashion Revolutions Thailand บอกวิธีการเซฟแฟชั่นและโลกไว้สำหรับเหล่าผู้บริโภคดังนี้

1. การใส่ซ้ำ ซ่อมเสื้อผ้าและใส่เสื้อผ้ามือสองสร้างความยั่งยืนได้ 

2. มีสติก่อนซื้อ ซื้อของที่ตัวเองชอบแบบไม่บริโภคตามเทรนด์มากจนเกินไป

3. สนับสนุน Small Bussiness/Local Communities ไม่ผ่านคนกลางจะช่วยให้วงการแฟชั่นมีพื้นที่หลากหลายมากขึ้น  

4. เรียกร้องความโปร่งใสจากแบรนด์ให้เข้าใจว่าแบรนด์ที่เราสนับสนุนนั้นมีคุณค่าตรงกับเราไหม เงินที่เราจ่ายไปมันไปที่ใครบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสนับสนุนวงโคจรการกดขี่แรงงานคนผลิตเสื้อผ้า

Photo Credit: orsoladecastro

ท้ายที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวของ Fashion Revolution คือการปฏิวัติเพื่อให้แฟชั่นมันดีขึ้นต่อทั้งชีวิตคนและโลก แฟชั่นตามนิยาม Manifesto ของ Fashion Revolution คือ

“แฟชั่นคือการเฉลิมฉลองชีวิตผ่านการแสดงออกอย่างมีความสุขสะดวกสบาย ที่สามารถทั้งสะท้อน ประท้วง เห็นอกเห็นใจและแบ่งปันกันได้”

(Fashion to lives a means to express, delight, reflect, protest, comfort, commiserate and share. Fashion celebrates life.)

ติดตามและอ่านเรื่องราวการปฏิวัติทางแฟชั่นเพิ่มเติมได้ที่ fash_rev

อ้างอิง

Fashion Revolution: https://www.fashionrevolution.org  

Fashion Revolution Thailand: https://bit.ly/3CG9qYi