Daily Pickup

อีเวนต์ Top Spender ควรไปต่อหรือพอแค่นี้

The Conundrum of “Top Spender” Events

Photo credit: Post Today

กระแสความนิยมของศิลปิน นอกจากจะดูได้จากยอด follower และ engagement ต่างๆ  “Top Spender” ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ใช้วัดความดังได้ด้วยเช่นกัน มันก็คืออีเวนต์ที่กลุ่มแฟนคลับแข่งกันซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่จับมือร่วมกับศิลปินคนโปรด เพื่อดันตัวเองให้เป็นผู้จ่ายยอดเงินสูงสุด จึงจะได้รับสิทธิพิเศษจากศิลปิน ซึ่งในบางงาน ยอดอาจสิ้นสุดแค่หลักหมื่น แต่สำหรับบางงานนั้นพุ่งไปถึงหลักแสนก็มี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมศิลปินและแฟนคลับมีเงินสะพัดอย่างมหาศาล ไม่เว้นแม้ในช่วงเศรษฐกิจอ่อนแอจากแรงกระแทกของโรคระบาด

Photo credit: Voice TV

เมื่ออีเวนต์แรกๆ มีกระแสตอบรับเป็นที่น่าพอใจ อีเวนต์ต่อมาของศิลปินคนเดิมก็มักจะตามมาด้วยท็อปสเปนเดอร์อีกเช่นกัน เพราะเป็นผลดีกับตัวแบรนด์ ทั้งในแง่ของการสร้างยอดขายมหาศาลในเวลาอันสั้น และเป็นการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์หรือสินค้าใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแฟนคลับจำนวนไม่น้อยพร้อมที่จะเปย์เพื่อสนับสนุนศิลปิน แลกกับสิทธิพิเศษบางอย่างที่เหนือกว่าแฟนคลับคนอื่นๆ เช่น ได้ถ่ายรูปคู่ ไปดินเนอร์ร่วมโต๊ะ หรือรับลายเซ็นสดจากศิลปิน เป็นต้น

ความเห็นต่างท่ามกลางสมรภูมิ Top Spender

ตลอดเวลาที่ผ่านมา เมื่อไหร่ก็ตามที่มีงานท็อปสเปนเดอร์ ก็มักจะมีเสียงของแฟนคลับที่ไม่เห็นด้วยกับงานลักษณะนี้ โดยเฉพาะอีเวนต์ที่เกิดขึ้นติดๆ กัน กับศิลปินคนเดิม “บ้างก็มองว่ามันเป็นกิจกรรมที่ผลักแฟนคลับตัวเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีงบประมาณให้ออกไปนอกวงโคจร เพราะค่ายทำให้ศิลปินมีแต่อีเวนต์ที่ต้องจ่ายเงินเท่านั้นถึงจะได้เจอ” / “มองว่าท็อปสเปนเดอร์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นกับยอดขายขนาดนั้น แบรนด์ยังสามารถทำการตลาดแบบอื่นที่ win-win กับทุกฝ่ายได้” / “อยากให้ต้นสังกัดผลักดันศิลปินไปงาน CSR ที่แฟนคลับไม่ต้องเสียเงินมากๆ ดูบ้าง เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของศิลปิน ไม่ใช่ดูห่างไกลจนจับต้องไม่ได้” / “มองว่าแบรนด์ฉลาดแกมโกงที่จัดอีเวนต์แบบนี้ เพื่อให้ได้รายได้สูง แต่ลดต้นทุนด้วยการไม่ต้องจ้างศิลปินคนนั้นเป็นพรีเซนเตอร์”

ส่วนคนที่เคยเป็นผู้ทำยอดสูงสุด บ้างก็ให้ความเห็นว่า “ยังพร้อมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนศิลปินอยู่ เพราะเข้าใจว่ารายได้และชื่อเสียงต้องพึ่งพางานพวกนี้ แต่ถ้าแบรนด์ที่เคยเปย์แล้วไม่ประทับใจกลับมาจัดงานอีก ก็อาจจะพัก แล้วไปสนับสนุนงานอื่นแทน” / “การแข่งขันของแบรนด์ค่อนข้างรุนแรง ถึงจะพร้อมเปย์ แต่ตัดสินใจว่าจะเลือกเปย์เป็นงานๆ ไป ตามสิทธิพิเศษที่น่าสนใจ หรือประวัติการจัดงานที่ผ่านมาของแบรนด์” เป็นต้น 

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากข้อความเหล่านี้ คือทุกความเห็นล้วนไม่ได้โจมตีศิลปิน แต่กล่าวตำหนิต้นสังกัดศิลปิน และแบรนด์ผู้จัดกิจกรรมเสียมากกว่า เพราะเข้าใจดีว่าศิลปินอาจไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจในการเลือกรับงานด้วยตัวเอง

มิว ศุภศิษฏ์ กับการประกาศไม่รับงาน Top Spender

Photo credit: Sanook

ท่ามกลางกระแสดุเดือดระหว่างการจัดงานท็อปสเปนเดอร์ของหลายแบรนด์ กับการเห็นต่างของแฟนคลับและภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลง ในปลายปี 2020 ศิลปินและนักแสดงชื่อดังอย่าง มิว - ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ ที่แฟนคลับทุ่มให้กับงานอีเวนต์และโหวตในรายการต่างๆ ของเขามากถึงหลักล้าน ได้ออกมาประกาศทางไลฟ์สดว่า “จะไม่รับงานท็อปสเปนเดอร์อีก เพราะไม่อยากทำให้ทุกคนลำบาก และอยากให้สนับสนุนที่ผลงานเขามากกว่า เพราะในทุกการออกอัลบั้มของเขา จะมีสิทธิพิเศษให้ผู้ได้เข้าร่วมอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้เจอกัน” กลายเป็นกระแสที่ทั้งคนในและนอกแฟนด้อมพูดถึงกันในแง่บวกมาจนถึงตอนนี้ 

“SLR กล้อง ติด ตาย” ตัวอย่างของพลังเห็นต่างจากแฟนคลับ

แม้ความเห็นต่างจากกลุ่มแฟนคลับจะมีมานานหลายปี แต่อีเวนต์ท็อปสเปนเดอร์ก็ยังคงมีมาได้เรื่อยๆ แถมในปีนี้ยังขยายไปยังวงการภาพยนตร์ด้วย อย่างกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นกับภาพยนตร์ "SLR กล้อง ติด ตาย" ซึ่งเดิมทีตั้งใจสร้างความแปลกใหม่ให้วงการภาพยนตร์ไทยด้วยกิจกรรมท็อปสเปนเดอร์เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษ แต่กลับถูกกลุ่มแฟนคลับออกมาตำหนิว่า “ด้อยค่าวงการภาพยนตร์ด้วยกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม” / “ท็อปสเปนเดอร์จะไปทุกวงการไม่ได้” จนเกิดแฮชแท็ก #majorหยุดเถอะ และตามมาด้วยคำแถลงการณ์จากค่าย พร้อมยกเลิกกิจกรรมในที่สุด

หรือนี่คือจุดเปลี่ยนที่คนทำธุรกิจต้องมองใหม่?

ซึ่งจากทั้งความคิดเห็นที่แตกต่าง มาจนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาพยนตร์ SLR ผู้เขียนมองว่าความเห็นต่างของแฟนคลับที่เคยเป็นกำลังเล็กๆ ในอดีต ได้กลายเป็นพลังที่กำลังก่อตัวให้เกิดจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมบันเทิง แต่อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าอีเวนต์ท็อปสเปนเดอร์ ในการขายสินค้าอื่นๆ ก็ยังคงมีอยู่ ผู้เขียนจึงถือโอกาสหยิบเอาเรื่องราวเหล่านี้ ไปพูดคุยกับหนึ่งในเจ้าแม่ออร์แกไนเซอร์ที่คร่ำหวอดในวงการอีเวนต์บ้านเรา

Q: ตอนนี้แฟนคลับหลายคนเริ่มรู้สึกเฉยๆ ไปจนถึงไม่ค่อยชอบอีเวนต์แบบนี้แล้ว จากนี้และในอนาคตท็อปสเปนเดอร์จะยังได้ผล และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำไหม? แล้วแบรนด์ใหม่ที่คิดจะจัดอีเวนต์ลักษณะนี้ จะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน? 

A: ท็อปสเปนเดอร์จะยังได้ผลอยู่ เพราะนักแสดงและศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ แฟนคลับก็อยากจ่ายเงินเพื่อให้ได้ใกล้ชิดอยู่แล้ว แต่สิ่งที่แบรนด์ควรทำ คือดูแลแผนการตลาดอื่นๆ ให้ดีอย่างต่อเนื่อง เช่น คุณภาพของสินค้า การขายหน้าร้าน การดูแลหลังการขาย และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่แบรนด์เป็นที่รู้จักแล้ว เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ ไม่ใช่จัดอีเวนต์ครั้งเดียวจบ แต่ไม่สร้างความประทับใจให้ลูกค้าต่อ หรือจัดติดๆ กัน แล้วไม่พัฒนาอย่างอื่นให้ดีตามไปด้วย

บทสรุป

ทั้งหมดนี้คือความเห็นจากหลายมุมมองของคนในแฟนด้อมศิลปินไทยต่ออีเวนต์ท็อปสเปนเดอร์ สรุปได้ว่า แฟนคลับล้วนมีความเข้าใจในการทำงานของศิลปิน แต่ก็มีความหวังว่าต้นสังกัดจะเข้าใจถึงความยากลำบากของแฟนคลับ ในขณะเดียวกันก็คาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆ จะทำการตลาดแบบเป็นมิตรกับลูกค้า โดยไม่ขูดเลือดขูดเนื้อกันมากจนเกินไปในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ส่วนทางออร์แกไนเซอร์นั้นมองว่าท็อปสเปนเดอร์ยังคงไปต่อได้อีก แต่แบรนด์ต้องไม่ลืมที่จะควบคุมดูแลส่วนประกอบอื่นให้ดีต่อลูกค้าด้วย เพราะอีเวนต์นี้ช่วยสร้างกระแสและรายได้เป็นเพียงครั้งคราว แต่สิ่งที่จะทำให้แบรนด์คงอยู่ต่อไปได้คือ “ลูกค้า” ซึ่งอาจมาจากกลุ่มแฟนคลับของศิลปินนั่นเอง

Photo credit: Anthony DELANOIX

ในส่วนของผู้เขียน ที่เป็นมนุษย์แฟนคลับและทำงานในสายงานการตลาด อยากเสริมอีกมุมมองว่า ตราบใดที่ศิลปินยังเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็คงแยกขาดจากอีเวนต์ที่ลูกค้าต้องทุ่มเทเงินไม่ได้ เพราะสิทธิพิเศษของท็อปสเปนเดอร์ช่วยกระตุ้นสัญชาติญาณของมนุษย์ ที่อยากได้รับความพิเศษเหนือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแบรนด์ใดอยากเติบโตทางด้านยอดขาย ควบคู่กับภาพลักษณ์ที่ดี อาจลองเปลี่ยนจากท็อปสเปนเดอร์ไปเป็นลุ้นรับสิทธิ Lucky Draw หรือสร้างมูลค่าสินค้าด้วย Limited Edition ที่กระตุ้นให้คนอยากจ่ายมากขึ้นจะดีกว่า

ติดตามและอัปเดตเรื่องเกี่ยวกับ Fandom จากพวกเราได้ที่ Exotic Quixotic

In the world of showbiz, measuring popularity isn’t just about counting followers and engagement metrics. Here comes the fascinating “top spender” trend—a unique way to gauge an artist’s fame. In this captivating event, fan clubs compete to outshine one another by buying products from brands collaborating with their favorite artists. The goal? To become the ultimate big spender. With some events resulting in spending that ranges from thousands to even hundreds of thousands, this spectacle highlights not only the financial strength of the entertainment industry and its devoted fan base but also manages to stand strong despite economic ups and downs caused by pandemics.

Photo credit: Voice TV

As these top spender events first took the stage, they were met with a highly satisfying response. Subsequent editions featuring the same artists often experienced a resurgence of top spenders, and the reasons behind this are quite clear. This mutually beneficial interaction works wonders for brands, leading to a rapid surge in sales within a remarkably short time frame. Concurrently, it nurtures awareness about emerging products or partnerships—a sentiment perfectly echoed by Voice TV.


The mechanics of this phenomenon become most evident during repeat occurrences. Brands relish in a dual advantage: not only do sales skyrocket in the blink of an eye, but a halo effect also enhances the brand’s reputation. The elevated stature of these artists serves as inspiration for a dedicated following, eager to invest their earnings in exchange for exclusive privileges. This level of commitment often surpasses what’s offered to ordinary fans — imagine shared photoshoots, intimate meals, and cherished autographs, all set against the backdrop of undeniable star power. 

Diverse perspectives on the top spender phenomenon
Opinions on this trend vary significantly. Critics caution that these events might exploit fans’ enthusiasm, pushing them to overspend, while artists become entangled in paid commitments that overshadow authentic interactions. Some skeptics question whether emphasizing top spender events is essential for massive sales. They suggest brands can find alternative strategies that benefit everyone without burdening fans financially.

Seeking a balance, some suggest artists should focus on philanthropic CSR efforts, easing fans' financial burdens and bolstering their image as agents of positive change, fostering a lasting impact beyond profits. Conversely, skeptics scrutinize the "Top Spender" trend, perceiving it as a tactic by brands to boost revenue sans full-fledged artist endorsements—a strategic maneuver that curiously trims costs.

As the discussion rages on, the allure of the top spender narrative endures. With each unfolding top spender event, a spectrum of opinions arises—some embracing this trend, others voicing dissent, advocating for a more balanced and considerate artistic engagement. Ultimately, the lasting impact of these events hinges on finding the equilibrium between artistic admiration and the financial dynamics they bring to the forefront.

Some individuals who have previously held the title of top spender have shared their perspectives. “I’m still open to spending money to support the artist because I understand that their income and reputation rely on events like these. But if a brand that I’ve supported before doesn’t impress me with their upcoming event, I might take a break and support other events instead.”

A notable observation from these remarks is that they all refrain from criticizing the artists themselves. Instead, the focus is on expressing discontent with the management of the artists and the organizing brands. This perspective acknowledges that artists might not have the full authority to independently decide which events to participate in.

Mew Suppasit’s decision to decline top spender engagements

Photo credit: Sanook

Amidst the fervor of various brands organizing top spender events and the differing opinions of fan clubs and the economic downturn at the end of 2020, artist/actor Suppasit “Mew” Jongcheveevat, who has garnered millions of devoted fans through events and various program votes, came forward in a live stream to announce that he won’t be accepting top spender engagements anymore. This decision stems from his desire to not burden everyone and to encourage more support for his work. He emphasized that in every album release, he ensures that those who participate already receive special privileges, eliminating concerns of not getting to meet him. This announcement sparked discussions, both within and beyond his fan base, in a positive light, and continues to be a topic of conversation. 

“Top spender events won’t work in all sectors”
While differing opinions from fan clubs have persisted for many years, top spender events have continued to thrive, and this year, they have even extended into the world of filmmaking. A recent case is the movie
“SLR,”originally intended to bring novelty to the Thai film industry through a top spender event, allowing fans to exchange for exclusive privileges. However, this initiative faced criticism from fan clubs, accusing it of being “detrimental to the film industry with inappropriate activities” and asserting that “top spender events won’t work in all sectors.” This led to the emergence of the hashtag #majorหยุดเถอะ (“Major, please stop”), followed by a statement from the company, ultimately leading to the cancellation of the event.

  

Could this be the turning point?
From the diverse opinions that have surfaced, including the recent events surrounding the film “SLR,” it seems that the once minor differences in fan club opinions from the past have evolved into a force that is driving a change in the entertainment industry. With this in mind, we took the opportunity to have a conversation with one of the event organizers in our local event industry.

Q: Will top spender events remain effective and profitable, given the current shift in fan club attitudes and potential impacts on new brands planning such events?

“These events will remain effective due to the continuous emergence of new actors and artists, with fan clubs still eager to spend and engage. Brands should complement this with sustained marketing efforts like maintaining product quality, in-store sales, post-sales care, and more. The key is ensuring long-term business success, not solely relying on isolated events. Brands should prioritize holistic development rather than a flurry of events that might not leave a lasting customer impression.”

In Conclusion
These perspectives represent the varied viewpoints of people within the Thai artist fan club community regarding top spender events. In summary, fan clubs generally comprehend the artist’s professional endeavors, yet they also hope that the management understands the challenges they face. Simultaneously, they expect brands to approach marketing in a customer-friendly manner without overexploiting the situation, especially in today's challenging economic times. On the other hand, event organizers anticipate that these events will persist, but they emphasize that brands must not overlook the need to care for other aspects that ensure customer satisfaction. While such events generate momentum and revenue temporarily, they underscore the importance of the lasting relationship with the “customers,” which often stems from the artist’s fan club community.

Photo credit: Anthony DELANOIX