Culture

Break the Rule, Be a Gold And Follow the Trend: BAR IRIS ค็อกเทลบาร์ที่ไม่ทำตามกฎ แต่ขอให้สนุกในแบบที่เป็น

BAR IRIS คอนเซ็ปต์มาจากอะไร และคอนเซ็ปต์ของร้านมีอะไรบ้าง?

ธี: คือตอนแรกที่คุยกันว่า เอาแบบแรกสุดเลยนะ คือเราเห็นว่าตัวค็อกเทลบาร์ที่เรียกว่า Speakeasy ในทองหล่อ มันเริ่มมีซีนที่เป็นซีนค็อกเทลบาร์ที่ไม่ได้ Speakeasy แต่ยังเน้นคุณภาพค็อกเทลอยู่ มันเป็นค็อกเทลบาร์ที่สามารถสนุกได้ เป็น Speakeasy มีความยืดหยุ่น อยู่ที่ลูกค้า ฟีลกลุ่มลูกค้าของคืนนั้น ไฟสามารถสว่างได้ กินได้ เปลี่ยนสีได้ เป็นค็อกเทลบาร์นี้ที่สามารถเต้นได้ ซึ่งเราก็จะเริ่มเป็นเทรนด์ของร้านแบบนี้ในย่านทองหล่อมาสักพักหนึ่งแล้ว

มาที่บาร์นี้บ้าง 3 เดือนเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่วันแรกที่เปิดมาจนถึงวันนี้ เห็นความเปลี่ยนแปลง มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง?

ธี: BAR IRIS เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ใหญ่ ก็คือผมกับพาร์ทเนอร์ที่ทำพื้นที่จัดงานด้านบนของซีนสเปซมาคุมการพัฒนาของ Courtyard ตรงนี้เองทั้งหมด เพราะฉะนั้นยูนิต เราก็แบ่งเป็นผู้เช่าบ้าง แล้วก็เปิดเองบ้าง แล้วอันนี้คือหนึ่งในที่เปิดเอง แล้วมันมาเพราะว่าโจทย์คือเรามีไวบ์ตรงนี้ Courtyard คือมี Attraction ถูกไหมครับ ตรงนี้มันชัดเจน คนมากินข้าวแฮงก์เอ้าท์ คุยกัน ไม่ได้อะไรมากมาย เครื่องดื่มก็ปกติ ก็เลยรู้สึกว่า โอเค หลังจากที่ 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม เที่ยงคืนเนี่ย โอเค คนมันจะมีฟีลไหนบ้าง เขาอยากต่อไหนบ้าง ถ้าเราดูในทองหล่อ มันจะมีร้านที่มาก่อน แล้วก็ร้านที่ไปต่อ เราอยากทำให้มันครบในตึกนี้ ก็คือสามารถไปก่อนแล้วก็มาต่อได้ภายในตึกเดียวกัน ตอนนี้มันก็เริ่มอุ่นละ อาจจะมี ATOMIC ที่เคยได้ยิน ที่เป็นเกม เบียร์ปอง หรือว่าอาจจะมี THE RAT ที่เป็นอารมณ์ผับหน่อย แล้วตอนนี้อะไรมันขาด ผมก็ชอบไปค็อกเทลบาร์ นั่งเงียบๆ ฟังเพลง เครื่องเสียงดีๆ หน่อย อะไรแบบนี้ครับ มันก็เลยมีไอเดียนี้ขึ้นมาว่าเราจะทำค็อกเทลบาร์ ที่เราอาจจะเน้นเครื่องเสียง อาจจะเน้นวัตถุดิบของค็อกเทล

เราเซ็ตตัวเองเป็นบาร์ที่เป็น Trendy Bar ไหม และคิดว่าจะมองเรื่องความ Sustain ของบาร์ไปถึงจุดไหน ทุกคนทำธุรกิจมันต้องมองหา Long-term

ธี: เรียกอย่างไรก็ได้ครับ เอางี้ผมคิดว่ามันมีวันหมดอายุอยู่แล้ว เพราะเราทำร้านในแบบเทรนด์อาจจะช้าอาจจะเร็ว เรารู้เลยว่าเราไม่ได้มานั่งเปิดแบบ 8-10 ปี เราทำที โอเค 3-5 ปี โอเคจบ ไปทำอย่างอื่น เทรนด์ต่อไป

คอนเซ็ปต์ของค็อกเทลที่นี่เป็นอย่างไร?

ธี: ผมต้องเล่าให้ฟังว่า ผมกินเบียร์ กับ Gin Tonic ผมไม่ค่อยชอบค็อกเทลด้วยซ้ำ แต่ว่าผมชอบสิ่งที่มันมากับคำว่าค็อกเทล หรือว่าบาร์ค็อกเทล คือเครื่องดื่ม แต่เรารู้อยู่แล้ว ว่าเราชอบอะไร ดื่มอะไร เมนูอะไร แต่เพื่อนที่ไปด้วยเนี่ย มันจะมีปัญหาที่ว่า ไม่รู้จะสั่งเมนูอะไร ผมสบาย เดินเข้าร้าน “Gin Tonic แก้วหนึ่งครับ” เราเลยเริ่มคิดเมนูจากการที่ว่า เราพยายามลดทอนความยากของการสั่งลง วันนี้ฟีลอาจจะอยากดื่มอะไรสดชื่น หรือวันนี้งานทรมานมาก อยากจะขอแก้วหนักหน่อย Spirit-Forward ไหม หรืออยากจะกินขนมหวานๆ แบบครีมมี่

เราก็จะแบ่งหมวดหมู่ในเมนูแบบนั้นแทน เราบรีฟบาร์เทนเดอร์ว่า ผมว่าคนที่เข้ามาคนคงมีฟีลว่าอยากจะกินอารมณ์ไหน เอาให้คนที่เข้ามาเขารู้สึกสนุก ไม่ใช่เข้ามาแล้วต้องนั่งดูเมนูอีก 10 นาที กว่าจะได้สั่ง มันหมดอารมณ์ (หัวเราะ) เพราะผมรู้สึกว่าเวลาผมไปร้านเหล้าคือมันสนุกเพราะว่าคนที่เราไปด้วย ต่อให้เราจะนั่งข้าวสารหรือเราจะนั่งบางแสน ริมเล อะไรอย่างนี้ คือร้านมันไม่ต้องดี แต่ถ้าเราอยู่กับเพื่อนที่สนุก มันก็สนุกแล้ว เราเลยทำเมนูให้มันย่อยง่าย มีสตอรี่เบื้องหลังได้ เพราะร้านค็อกเทลมันมีจุดกำเนิด มาจากเรื่องราวภายในแก้วอยู่แล้ว ถ้าอยากรู้เดี๋ยวเล่าให้ฟัง แต่ถึงหน้าบาร์แล้ว อยากให้รีบสั่งก่อนเลย (หัวเราะ)

เล่าซิกเนเจอร์ 3 ตัวให้ฟังหน่อยว่ามีอะไรบ้าง?

ธี: ตัวที่บอกว่าแยกหมวดหมู่เป็นซิกเนเจอร์หมดเลยครับ ตัวหวานจะมีซิกเนเจอร์ 16 ตัว หรือ 12 ตัว ซึ่งก็หมุนไปเรื่อยๆ แหละครับ แต่ว่าเสน่ห์ของค็อกเทลคือ คุณมีเหล้าอยู่ 10 ขวด มันก็ทำได้เยอะอยู่แล้ว ไปได้เรื่อยๆ

แล้วของ Golden Drop ที่ BAR IRIS มีความพิเศษอะไรบ้าง?

ธี: ด้วยความที่เราเป็นบาร์เปิดใหม่ ในสถานที่ใหม่ มันคือเด็กคนหนึ่งในวงการ ที่เราอยากให้มันมีความซน ความสนุก ไม่ต้องเคร่งเครียดมาก ไม่ต้องคิดเยอะ อยากดื่มแบบไหนก็สื่อสารออกมาให้เข้าใจกันเลย เราเลยเลือกเป็น Cognac, Campari และ Sweet Vermouth ผสมกับน้ำเชอร์รี่ดอง และตกแต่งด้วยผลเชอร์รี่ มันก็จะเป็นดรอปของเชอร์รี่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

วันที่เลือก Head Bar Manager คนนี้เข้ามา ตัดสินใจจากอะไร ?

ธี: ผมได้คุณโอเว่นมาจากร้าน J.Boroski ซึ่งเป็นค็อกเทลบาร์ที่ค็อกเทลเลย เดินเข้าไปไม่มีเมนู ต้องบอกบาร์เทนเดอร์ว่าอกหัก แล้วเขาจะทำมาให้ เพราะฉะนั้นเรื่องเครื่องดื่มคือผมไว้ใจได้เลย แต่ที่เราหาคือ Head Bar Manager แน่นอนว่าจะไม่ได้ยืนบาร์นะ เพราะจะให้มาดูแลร้านภายในโครงการอีก 4 ร้าน ซึ่งเขาก็โอเคนะ เขาแฮปปี้เพราะอยากลองเปลี่ยนแนวดูบ้าง จนช่วงนี้พอดีบาร์เทนเดอร์ออก เขาเลยต้องกลับมาเขย่าเชกเกอร์อีกรอบ หลังจากแขวนไป 6 เดือน (หัวเราะ)

ความยากของการทำ BAR IRIS คืออะไร?

ธี: ทำอย่างไรให้คนมาร้านเรา (หัวเราะ) เมื่อกี้เราเพิ่งพูดถึงเทรนด์ไป แค่เทรนด์ก็หินพอแล้ว มันยังมีเรื่องของตัวเลือกในย่านทองหล่อที่ให้เลือกหลากหลายมาก ซึ่งมันก็มีตัวเลือกเยอะแบบนี้มาตลอดอยู่แล้ว แต่ตอนนี้รูปแบบมันยิ่งเยอะไปอีก ใหม่อีก มันไม่ใช่แค่แบบร้านดนตรีสด มันมีหลายรูปแบบ แล้วก็ในรูปแบบหนึ่งมีอีกหลายร้าน แล้วร้านหนึ่ง เดินแค่ 3-5 นาทีก็ถึง เพราะฉะนั้นมันมีการแข่งขันสูง

แล้ว BAR IRIS มีวิธีการ Differentiate ตัวเองออกมาจากการแข่งขันที่เป็น Red Ocean ของบาร์ค็อกเทลในย่านทองหล่อได้อย่างไร?

ธี: มันมีอยู่ 2-3 อย่างนะครับ และหลายๆ ร้านก็จะแตกแยกกันไป อย่างเช่น BAR IRIS สำหรับคนชอบฟังเพลง เราก็เลือกใช้ Sound System ที่เป็น Hi-end มาก อย่างคนที่รู้ว่า สมมติใช้ลำโพงยี่ห้อนี้และดีเจคนนี้มา โอเค เขาเลือกที่จะฟัง มันคงไม่ได้ถึงกับว่าเป็นลูกค้าประจำ แต่ตอนนี้ด้วยความที่แบ็กกราวด์เป็นอีเวนต์ เราก็เลยใช้อีเวนต์มาจัดที่นี่ แต่คือตอนนี้กำลังเริ่มอยู่เพราะว่าบาร์มันเพิ่ง 2-3 เดือน กำลังเซตอัพอยู่ อย่างเช่น ดีเจจากญี่ปุ่น เล่นไวนิลล้วน เซตอะไร เราจะใช่วิธีนี้ในการดึงคนมา ถ้าเกิดต่อไปอีกแง่หนึ่ง ที่มันฝืดๆ เลย คือการถ่ายรูปลง IG คนแค่มาถ่ายรูปลง IG  กินแก้วหนึ่งแล้วก็ไป แน่นอนว่านี่คงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือสิ่งที่ขับเคลื่อนร้านในช่วงแรกของชีวิตของมัน ผมว่าที่สำคัญก็คือ เราพยายามจะสร้างภาพของตึกดีกว่า เราจะพยายามจะมองว่า คนมาที่นี่เพื่อจะมาแฮงก์เอ้าท์กับเพื่อน ถ้าเพื่อนเขาสนุกแล้วเรามีเบียร์สั่งอาหาร สั่งเบอร์เกอร์มากินตรงนี้ตรงนี้ได้ ซึ่งผมพยายามสร้างภาพนั้นที่ทุกคนสามารถแฮงก์เอ้าท์ทั้งวันได้ อันนั้นคือประเด็นหลัก ซึ่งคุณอาจจะมา อยากกินค็อกเทล ผมรู้สึกว่ามันต้องมีอันนั้นอยู่ มันต้องมี Element นั้นอยู่ มันต้องมี Element เบียร์ทาวน์อยู่ มันต้องมี Element เที่ยวผับ อะไรอย่างนี้ ให้มันครบ

ถามความท้าทายของ Seenspace หน่อย เพราะว่าเราเห็น Seenspace มาตั้งหลายปีแล้ว แล้วมันถูกรื้อทำใหม่ตลอด ความท้าทายของการทำตรงนี้คืออะไร อยู่ตรงไหน?

ธี: พูดถึงความท้าทายมันคงมีเยอะมากนะ แน่นอนว่าข้อดีคือ มันอยู่ในโลเคชั่นทองหล่อ ในซอย 13 โลเคชั่นมันดี ตอนนี้ข้อเสียมันก็มีเยอะมากจนผมไม่สามารถอธิบายได้ เอาเป็นว่าแชปเตอร์นี้ดีกว่า ตอนที่ผมมาทำตรงนี้ ผมรู้สึกว่าตั้งแต่เริ่มทำมา ตั้งแต่เดือนธันวาคม มกราคม สิ่งที่ยากที่สุดคือ เราเปิดพร้อมกันหมด เรารีโนเวตพร้อมกันหมด มันไม่มีร้านไหน ยกเว้นยิมหรือว่าคลินิกที่เขาเปิดก่อนอยู่แล้ว มันเลยกลายเป็นเครื่องที่ใหญ่ที่ใช้เวลาสตาร์ทนาน เพราะทุกคนคือร้านใหม่ มาเปิดพร้อมกัน บางคนยังไม่เสร็จ ทุกคนยังไม่เสร็จ มันกลายเป็นเครื่องที่สตาร์ทช้า เป็นเครื่องที่ใหญ่ แล้วพอมันมีหลายคน หลายอะไร ครอบครัวมาเกี่ยว เน้นอยู่ในหนึ่ง ใช้เวลานานกว่าที่มันจะคำรามได้ แล้วตอนนี้เราก็อยู่ในขั้นตอนพยายามจะสตาร์ทเครื่องนั้นอยู่

ซีนของ Night Life ในทองหล่อในฐานะผู้เที่ยว เห็นความแตกต่าง เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรมาตลอดช่วง 5 ปี ?

ธี: ผมว่าทองหล่อ เรียกว่ากรุงเทพฯ เลยดีกว่า คัลเจอร์มันเปลี่ยนช้ามากนะครับ อย่างที่เราพูดถึงเทรนด์บาร์ กลายเป็นว่าทุกคนเล่น Ne-Yo, Usher, Rihanna ทุกคน Y2K 2000 กว่า แล้วนอกจากอันนั้นน่ะ ไม่มีเลย ผมยังไม่เห็นมูฟเมนต์อะไรเลยที่รู้สึกว่ามัน Next Level เหมือนเดิมมาก

สำหรับซีนการเที่ยว อยากเห็นอะไร ซีนแบบไหน ที่ Never happen, even in Thailand, in Bangkok?

ธี: เอาจริงๆ ผมว่าผมไม่แคร์ ต่อให้ผมอยากเห็นแต่ว่ามันคงไม่มีวันเกิดขึ้น เอางี้ดีกว่า ผมเห็นออร์แกไนเซอร์หลายๆ คน ที่เริ่มจัดอีเวนต์ที่มันแหวกแนว อย่างเช่น โชว์ Burlesque หรือว่าโชว์สไตล์ Performance เช่น Crazy Horse ที่ปารีส หรือว่า Broadway ที่นิวยอร์ก อย่างนี้ มันจะเริ่มมีซีนที่มันเป็นการแสดง คนซื้อบัตรที 2000-3000 เพื่อเข้ามาดูโชว์ 90 นาที อะไรอย่างนี้ครับ ซึ่งกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้มีอะไรขนาดนั้น พอมันมีงานแบบนั้น มันเปิดโอกาสให้กับสายอาชีพ เด็กอยากจะเรียนการแสดง อยากจะเรียนศิลปะอะไรก็ตาม ตอนนี้คือคุณจบมา เด็กเอกละครอะไรอย่างนี้ เป็นนักแสดงอะไรอย่างนี้ คุณต้องไปช่อง 3 ช่อง 7 คุณต้องไปหา IG คุณไม่มีช่องทาง อันนั้นสำคัญกว่า คนที่เที่ยวมันมีอะไรให้เที่ยว เที่ยวไปเรื่อยๆ

‘Trinket’ แอพลิเคชั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ประกอบการ นักการตลาด และผู้ใช้บริการได้มาพบกัน กับโปรโมชั่นต่างๆ ที่เสริมความตื่นเต้นด้วยการกำหนดสถานที่, ช่วงเวลาในการสะสม, กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนของ Trinket (Voucher จากร้านต่างๆ) เพื่อสร้างการรับรู้ โปรโมต และสร้างยอดขายไปในเวลาเดียวกัน ภายใต้คอนเซปต์ Collectability, Exclusivity, Hype และ Fans นอกจากนี้ Trinket ยังมีระบบตรวจสอบ และเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์แคมเปญสนุกๆ ในครั้งต่อไป

สามารถดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น Trinket ได้ทั้ง App Store และ Google Play