พูดคุยกับ DJ Sonny กว่า 20 ปีกับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยทางดนตรีที่น่าจดจำ

“นี่คือสิ่งที่ทำให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา มันใช้ได้ทั้งเพลงไทยและเทศ แต่ถ้าเราจะมองในมุมของเพลงไทยก็คือ เทคโนโลยีช่วยให้นักดนตรีไทย ลองผิดลองถูกในการทำ Sound ใหม่ๆมากขึ้น ถึงแม้ว่า Sound นั้นจะไม่ได้รับการ Support จากค่ายมากนัก”

-- DJ Sonny

ถ้าคุณเป็นเด็กที่เติบโตมาจาก 90’s ไม่มีทางที่จะไม่รู้จัก “อาทิตย์ พรหมประสิทธิ์”  หรือ “DJ Sonny” ที่ปัจจุบันเป็นดีเจของคลื่นวิทยุออนไลน์ Cat Radio และเป็นผู้คร่ำหวอดในวงการดนตรีไทยสากลมามากกว่า 20 ปี เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดนตรีมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” บทประพันธ์จาก The Merchant of Venice ของ William Shakespeare ยังใช้ได้ดีจนถึงปัจจุบัน ดนตรีมิใช่มีเพื่อนำความสุข ความสุนทรีย์ในอารมณ์มาสู่ผู้เล่นและผู้ฟัง หรือทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ไพเราะเสนาะหูเท่านั้น แต่มันยังเป็นสิ่งเชื่อมโยงกลุ่มคนที่ชื่นชอบอะไรคล้ายๆกันให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนที่เหนียวแน่น และกลายมาเป็น Community อย่างที่คุณเห็นในปัจจุบัน

เราเชื่อว่าหลายๆ คนที่ชอบฟังเพลงสากลช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จะต้องมานั่งรอฟังวิทยุช่วง “Sonny & Nor” อย่างแน่นอน ขอเล่าย้อนไปช่วงที่ผู้เขียนได้รู้จักกับชื่อ DJ Sonny ครั้งแรกจากรายการวิทยุ เป็นช่วงวัยรุ่นอายุ 15 ที่กำลังตามหาตัวเอง จนบังเอิญไปได้ยิน ดีเจสองคนพูดคุยกันในรายการของคลื่นวิทยุ Fat Radio เป็นการเปิดเพลงและพูดคุยถึงเพลงของศิลปินต่างประเทศหลายๆ วง ในวันนั้นจากเด็กที่กำลังค้นหาความหมายในชีวิต ก็ค้นพบสิ่งที่ชื่นชอบและเปิดโลกของดนตรีจนมาถึงวันนี้

และวันนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ดีเจระดับตำนาน ที่ผ่านเรื่องราวของดนตรีมาหลายยุคสมัย ทำให้เราได้เข้าใจและเปิดโลกกว้างถึงพัฒนาการของวงการดนตรี หลังจากที่สัมภาษณ์พี่ซอนนี่ จึงนึกย้อนกลับมาช่วงที่เริ่มฟังเพลงอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก และลองไล่ดูวิวัฒนาการของดนตรีว่า เทคโนโลยีและ Social Media มันเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อชีวิตคนเราอย่างมาก ต้องขอบคุณ Internet ที่เชื่อมทุกคนบนโลกนี้ไว้ด้วยกัน และ 20 ปีที่ผ่านมาของวงการดนตรีก็แสดงให้เห็นความสามารถของศิลปินแต่ละยุค แต่ละ Generation ได้อย่างชัดเจน

การเปลี่ยนแปลงของดนตรีตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงตลอด 20 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2000 พี่มองว่าเทคโนโลยีมันเข้ามามีส่วนสำคัญมาก ไม่ว่าจะการฟังเพลง การเข้าถึงเพลง การโปรโมต ทั้งหมดทั้งปวงนี้มันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ในยุค 90’s มันเป็นช่วงที่ Website หรือ Internet เริ่มเข้ามามีบทบาท พอมาในยุค 2000 มันเริ่มแพร่หลายมากขึ้น มี Content ที่หลากหลาย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่เหนือไปกว่า Internet คือ Social Media และสิ่งที่ตามมาคือ Streaming Platform สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของวงการดนตรีอย่างมาก Internet ทำให้การเข้าขึ้นเพลงง่าย และทุกอย่างมันเปิดมาก มันทำให้เรารู้จักเพลงที่เราไม่เคยรู้จัก

ส่วน Social Media มันเปลี่ยนการค้นหาเพลงจากที่เราไม่รู้จัก โดยใช้ความคล้ายคลึงกับเพลงที่เราสนใจออกมานำเสนอ มันยังก่อให้เกิดการจัดจำหน่าย การพูดถึง และกระจายออกไปของเพลงมากขึ้น ในเมื่อคนเราชอบเพลงไม่เหมือนกัน การที่ Social media มันจัดกลุ่มก้อนที่เราสนใจเป็นด้านๆ ไป ทำให้หลากหลายแนวเพลงมันเติบโตขึ้นไปของมันเอง เรามี Website และ Youtube ที่เปิดให้เราและศิลปินได้ Upload เพลง มีการกรองและจัดสรรเฉพาะแนวที่ตัวเองชอบ เปิดโอกาสให้แต่ละแนวในวงกว้างมากขึ้น ให้เราได้รู้จักวงดนตรีใหม่ๆ มากขึ้น จะเป็นแนวเดียวหรือคนละแนวก็ตาม และมันถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการเพลงตามมา นั่นหมายความว่า วงดนตรีไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในตลาดปัจจุบัน ถ้าไม่มีสื่อ Social Media เข้ามาช่วย พี่กำลังพูดถึงยุค 80’s หรือ 90’s ดนตรีอย่าง Hip Hop หรือ Rap มันเป็นอะไรที่ Underground มาก มันไม่มีทางที่จะเป็นที่รู้จักได้อย่างในปัจจุบันนี้ เพราะสื่อมันถูกจำกัดอยู่ที่สื่อหลักๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ

แต่กลับกันมาในวันนี้ ผู้ใช้ Youtube สามารถจัดสรรหรือเลือกได้เอง เพราะฉะนั้นดนตรี Rap มันเฟื่องฟูขึ้นมาได้เพราะกระแส Social Media มันต่อยอดไปถึง Idol ทั้งหลายที่ Social Media มีส่วนช่วยอย่างมาก K-Pop ที่มาดังในบ้านเราก็อาศัย Social Media มันไม่มีทางที่ K-Pop มันจะเข้ามาถึงบ้านเราได้มากขนาดนี้ถ้าไม่มีสื่อเหล่านี้นำมันมา

อะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วง 20 ปี?

ถ้าจะบอกว่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมาวงการดนตรีมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง มันก็คือเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้น ถ้าลงลึกไปอีกเราก็จะบอกว่า

“การฟังเพลงผ่าน Streaming Music มันเป็นจุดเปลี่ยน มีเพลงให้ฟังเป็นล้านๆ เพลง แต่ในท้ายที่สุดแล้วคนทั่วไปจะไม่สามารถเลือกเพลงที่ตัวเองชอบฟังได้ เพราะว่าคนเราไม่สามารถรู้ว่าจะฟังเพลงอะไรได้ถ้าไม่มีใครมาบอกให้ฉันฟัง”

หมายความว่าถ้าไม่มีใครมาจัด Playlist ให้เค้า หรือมากรองเพลงให้เค้า เค้าก็จะไม่รู้ว่าจะฟังเพลงอะไรดี น้อยมากที่จะเปิดมาใน Streaming แล้วจะพิมพ์ชื่อเพลง หรือชื่อศิลปินแล้วหาเพลงที่อยากฟัง นั่นคือคนที่มีความสามารถและสนใจเพลงอย่างจริงจัง ซึ่งคนเหล่านั้นถือเป็นคนที่ส่วนน้อยเหลือเกินในตอนนี้

ในเมื่อมันมีคนที่สกรีนเพลง มาให้ สร้าง Playlist มาให้ เค้าจึงคำนวณการใช้ของคน และคัดเลือกเพลงที่ตรงกับการใช้ ใกล้ๆ กับรสนิยมการฟังของเราโดยวัดจากเทมโป้ และการฟังบ่อย มันจึงทำให้เกิด Community ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เราจึงได้รู้จักกับศิลปินที่ไม่รู้จักมากมาย เราจึงไม่แน่ใจว่าศิลปินที่เราฟังตอนนี้เป็นชาติไหนกันแน่ เราแยกไม่ออกหรอก เค้าอาจเป็นศิลปินไทยที่ทำเพลงอยู่ข้างๆ บ้านเรานี่แหละ

ผลต่อเนื่องมาก็คือว่ามันมีศิลปินใหม่เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเทคโนโลยีที่มันช่วยเหลือเค้าเพื่อให้การทำเพลงง่ายขึ้น นั้นหมายความว่าความเร็วของ Internet และ Software, Program หรือ Application ต่างๆ มันมีการพัฒนาขึ้น การทำเพลงที่บ้านหรือการทำเพลงในห้องนอนฟังดูแล้วเหมือนทำขึ้นเล่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีมันเปลี่ยนความสมัครเล่นนั้นเป็นมืออาชีพโดยที่ผู้ฟังไม่รู้ตัว ผู้ฟังจับไม่ได้ว่าในเพลงนี้มันมีความมือสมัครเล่นซ่อนอยู่ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้มันทำให้ศิลปินและนักแต่งเพลงทำเพลงได้มากขึ้น เร็วขึ้น อุปกรณ์ดนตรีต่างๆ ก็ถูกลง

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงต่อไปก็คือ การจัดจำหน่าย อย่างการทำการตลาดของเพลง อย่างที่รู้ๆกันดีว่าศิลปินที่ทำเพลงเองส่วนใหญ่เค้าจะมองข้ามค่ายเพลง เค้ามองว่าการเป็นศิลปินอิสระเค้าก็สามารถดำรงชีพได้ แล้วทีนี้ค่ายจะอยู่ยังไง

“ตอนนี้ค่ายเพลงก็เปลี่ยนแปลงตัวเองอาศัยที่ตัวเองมีพาวเวอร์อยู่ในแง่ของการทำการตลาด หรือ Connection ต่างๆ และ Relationship ที่มีกับ Streaming ต่างๆ”

อย่างที่บอกไปว่า Streaming เพลงมันคือการสุ่มเลือกเพลงให้เรา ส่วนน้อยมากที่จะ Search ชื่อศิลปิน เพราะฉะนั้นพวก Apple Music ก็จะคัดเลือกเพลงให้คนอยู่เสมอ จำเป็นต้องมีคนคัดสรรเพลงเป็นล้านๆ ให้คนได้ฟัง ค่ายเพลงก็จะมี Deal เหล่านี้อยู่ การทำการตลาดก็เปลี่ยนไป เราจึงได้ยินคำว่าศิลปินยอดล้าน Views ศิลปินที่มียอด Streaming มากที่สุด พอมันเยอะมากเข้าจนเรารู้สึกว่ามันไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว มันกลายเป็นเรื่องปกติ หรืออีกคำก็จะเป็นศิลปินที่มีผู้ติดตามกี่ล้านๆ คนก็ว่าไป มันก็ต่อไปอีกว่าการที่เอาตัวเลขมาแสดงเป็นความชอบธรรม ทำให้แฟนเพลงจำเป็นที่จะต้อง Support ศิลปินนั้นๆ แฟนเพลงก็ควรที่จะช่วยทำยอดให้ศิลปินนั้นๆ เพื่อที่จะช่วยให้ค่ายเอาไปพูดต่อได้อีก

ยังไม่นับเรื่องที่ลึกซึ่งกว่านั้นอย่างเช่น ศิลปินจะทำเพลงที่มีความยาวสั้นลง เพื่อประโยชน์การปั่น Views ใน Youtube ทำเพลงให้สั้นที่สุด เพื่อให้เกิดการเล่นซ้ำได้เยอะที่สุด เพื่อให้เพลงเป็นกระแสนิยม มันจึงเกิดเหตุการณ์ที่ว่า เราจำเป็นต้องมีศิลปินมากขนาดนั้นเชียวหรือ ถ้ามองกลับไปสมัยก่อน 30 หรือ 40 ปีก่อนเพลงมันจะไม่ได้เยอะเท่านี้ เพลงมันจะอยู่ในความนิยมค่อนข้างนาน

“ปัจจุบันความนิยมมันไม่ได้อยู่ที่เพลง ความนิยมมันอยู่ที่ศิลปินมากกว่า ศิลปินมันกลายเป็น Branding“

นี่คือสิ่งที่ทำให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา มันใช้ได้ทั้งเพลงไทยและเทศ แต่ถ้าเราจะมองในมุมของเพลงไทยก็คือ เทคโนโลยีช่วยให้นักดนตรีไทย ลองผิดลองถูกในการทำ Sound ใหม่ๆ มากขึ้น ถึงแม้ว่า Sound นั้นจะไม่ได้รับการ Support จากค่ายมากนัก เรากำลังพูดถึง Sound อย่างเช่น Rap Music, Rock ใต้ดิน หรือรวมไปถึงเพลงลุกทุ่มผสมกับเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งมันเป็นอะไรที่ใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเพลงลูกทุ่งผสมเพลงเพื่อชีวิตที่มีการร้องแบบภาษาท้องถิ่น ไม่มีทางที่สถานีวิทยุจะเล่นได้ มันเป็นเฉพาะภาค เฉพาะถิ่นมากๆ ไม่มีทางที่ใครจะเล่นเพลงแล้วฟังไม่รู้เรื่อง แต่ก็มีคนที่ทำเพลงแบบนี้ เพราะเค้ารู้ว่ามันมีช่องทางที่ทำให้เค้าประสบความสำเร็จได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้ศิลปินและนักทำเพลงบ้านเรา มีโอกาสในการทำเพลงที่หลากหลายมากขึ้น

ชอบดนตรีในยุคไหนมากที่สุด

คนโดยส่วนใหญ่แล้วจะชอบฟังเพลงในช่วงเวลาที่เราไม่มีอะไรต้องกังวล เช่นเรื่องงาน ครอบครัว ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เราพบว่าชีวิตเรามีแต่เรื่องของการเรียน เรื่องเพื่อน และสิ่งบันเทิง เพลง หนัง หนังสือ การขับรถ หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นเพลงที่เราชอบมากที่สุดส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่เราฟังในตอนเด็กๆ ที่เราเติบโตขึ้นมา

“พี่ชอบเพลงในช่วงกลางยุค 80’s จนต้น 90’s ก็คือปี 1982 – 1995 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ชอบฟังเพลงมาก หลังจากนั้นไปก็มีเรื่องของการงานในชีวิต แต่พี่ก็พบกว่าเพลงช่วงนั้นมันมีความหลากหลายของมัน มันเป็นเพลงที่น่าจดจำ มันเป็นเพลงที่มี Sound เฉพาะตัว เวลาเราเปิดเพลงนี้เราจะรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นในยุคนั้น”

อย่างยุคนี้เราก็จะเห็นคนพูดว่า นี่มันเด็ก 90’s เด็ก 80’s เพราะว่าเพลงในยุคนั้นมัน Unique มากๆ พูดแล้วนึกออกเลยว่า Feel ประมาณไหน แต่ถ้าพูดว่าเพลงนี้มันเป็นเพลงปี 2012 เรานึกไม่ออกหรอกว่าเพลงมันประมาณไหน เพลงปี 2012 มันต่างกับเพลงปี 2016 ยังไง 

วงที่พี่ชื่นชอบ 80’s, 90’s ก็หลายวงมากๆ พี่ชอบ The Style Council, Orange Juice,  Saint Etienne, Massive Attack ในยุคนั้นนักดนตรีมันไม่สามารถเดินเข้าสตูดิโอเพื่อไปบันทึกเสียงได้ และสตูดิโอมันไม่สามารถสร้างขึ้นในห้อง ห้องหนึ่งได้ มันมีวิธีการของมัน มันไม่เหมือนสมัยนี้ที่ใช้ห้องในคอนโดทำก็ได้ เพราะว่าเทคโนโลยีมันไม่อำนวยให้เป็นอย่างนั้น

นักดนตรี ศิลปิน Producer เกิดขึ้นรายวัน

มันมีทั้งดี และไม่ดี เรื่องดีคงเป็นเรื่องเพลง ว่าคนมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำเพลงมากขึ้น ศิลปินมีโอกาสมากขึ้น เค้ารู้ว่าถ้าเค้าแต่งเพลงและทำเพลงออกมาเค้าจะมีช่องทางในการปล่อยเพลงให้คนได้ฟัง ทั้งทาง Youtube หรือ Streaming Music ต่างๆ แต่ข้อเสียคือมันเยอะเกินไปจนเราไม่สามารถที่จะตามหรืออินไปกับมันได้มากพอ

“เพลงมันควรจะทิ้งเวลาหน่อยให้มันทำงาน ให้เราได้มีเวลาซึมซับไปกับเพลง ศิลปินจะเติมโตมันต้องใช้เวลา ไม่มีทางที่จะมาแล้วดังเปรี้ยงได้ในเวลานิดเดียว”

เว้นแต่ว่าคุณทำเพลงที่มันเข้าหูในทันที มันไม่สามารถไปบอกเค้าได้ว่าคุณอย่าเพิ่งทำเพลง รอให้เพลงนี้ค่อยๆ ดังก่อน ศิลปินพอเค้ามีไอเดีย เค้าก็อยากจะทำเพลงออกมา บันทึกเลย อัดเลย เพราะเทคโนโลยีมันอยู่ข้างหน้าเค้า เค้าแค่เปิดคอมเค้าก็ทำได้เลย

แต่ในสมัยก่อนกว่าจะทำเพลงได้มันก็ต้องเตรียมการ ต้องจองเวลาสตูดิโอ มันเลยเกิดเหตุการณ์ที่ว่า เพลงในยุคนี้มันล้นมากๆ แล้ว Youtube หรือ Platform ต่างๆ มันไม่มีข้อจำกัดว่าเดือนนี้เต็มแล้วนะ ไม่ต้องส่งเพลงมาแล้ว มันไม่มีวันนั้น Platform เหล่านี้ต้องการที่จะให้มี Content มโหฬาร เพราะเค้ารู้ว่าคนติดอยู่กับ Platform เลิกไม่ได้ แต่ถ้าทุกคน Boycott ไปเลยว่า ฉันไม่ทำเพลงป้อน Platform ต่างๆ เหล่านี้ 1 ปีมันจะเกิดอะไรขึ้น ขอฝากไว้นะ

ความหลากหลายของแนวเพลงในปัจจุบัน

พี่มองว่ามันเป็นเรื่องปกติ ของวิวัฒนาการของดนตรี หมายความว่าทุกแนวดนตรีมันจะมี Sub Genre ที่ซอยลึกลงไปอีกโดยที่รากหรือแกนมันเป็นเหมือนเดิม คนคนหนึ่งอาจจะบอกว่า Rock Music คือย่างนี้ แต่มันยังมี South Music Rock, Oceanic Rock, Progressive Rock อะไรก็ว่าไป ในขนาดเดียวกับสาย Electronic เค้าก็มี Drum & Bass, Techno แต่คนที่ไม่อินในสไตล์นั้นๆ ก็จะไม่มีทางแยกออก ก็เลยไม่รู้ว่ามันต่างกันยังไง เช่นเดียวกับ Hip Hop ในอเมริกามันจะมี Daisy Age อันนี้เป็นซาวน์แบบ West Coast หรือ East Coast เราไม่อินกับมันเราแยกไม่ออกหรอก เพราะเราไม่รู้

ถ้ามองในแง่ดีนี่แสดงถึงการวิวัฒนาการของดนตรี เพราะมันเป็นสิ่งที่ดี ที่ว่าศิลปินไทยที่ทำ Hip hop หรือ Electronic แล้วเพิ่มเติม Genre ที่เป็น Sub ลงไปได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี มันแสดงให้เราเห็นความไม่หยุดนิ่งของดนตรี พี่คิดว่าเป็นสิ่งดีแล้วที่มันเป็นแบบนี้

อินดี้มิวสิค หรือเพลงนอกกระแสกลายมาเป็นดนตรีกระแสหลัก

มันเป็นข้อถกถียงกันมาสักพักแล้ว ต้องถามว่าเรามองคำว่าอินดี้ที่อะไร ที่ซาวน์ของมันหรือมองที่ว่า มันไม่มีค่าย ที่มันเป็นอิสระ หรือการที่ค่ายนั้นเป็นค่ายขนาดเล็ก ไม่ใช่ค่ายใหญ่ ถ้าเกิดเรามองว่าแนวเพลงหรือซาวน์ประมาณนี้มันเป็นเพลงอินดี้ แต่เราไม่รู้หรอกว่าเบื้องหลังการจัดจำหน่ายหรือการดูแล การจัดการศิลปินเป็นแบนค่ายใหญ่หรือเปล่า เพราะค่ายใหญ่ก็สามารถทำเพลงของศิลปินให้มีซาวน์เป็นอินดี้ได้ ขณะเดียวกันศิลปินที่เป็นศิลปินอิสระแต่ทำเพลงไม่ประหลาด อันนั้นแหละที่ควรจะเป็นศิลปินที่มีความเป็น Independent ที่เป็นอินดี้จริงๆ เพราะว่าตัวเองไม่อยู่ในกระแสหลัก ไม่ Mainstream ไม่ว่าจะเป็น Sound