Culture

Fyre: The Greatest Party That Never Happened เทศกาลดนตรีที่ขายฝัน

Fyre: The Greatest Party That Never Happened เป็นภาพยนตร์เชิงสารคดีอเมริกันปี 2019 เกี่ยวกับ บิลลี่ แม็คฟาร์แลนด์ (Billy McFarland) และเทศกาล Fyre ที่ล้มเหลวในปี 2017 กำกับโดยผู้กำกับ คริส สมิธ (Chris Smith) และอำนวยการสร้างโดย Danny Gabai และ Mick Purzycki เทศกาลดนตรี Fyre ควรจะเป็นความฝันที่เป็นจริงสำหรับผู้เข้าร่วมที่เป็นสายปาร์ตี้ทั้งหลาย บางคนทุ่มเงิน 250,000 ดอลลาร์เพื่อจะได้เข้าร่วมงานนี้ ซึ่งควรจะจัดขึ้นบนเกาะส่วนตัว มีวิลล่าเรียงรายเรียงราย ให้บริการอาหารนานาชาติแบบรสชาติต้นตำรับ และพบปะกับนางแบบและอินฟลูเอนเซอร์ที่โด่งดังที่สุดบน Instagram แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับกลับมาเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากกว่านั้น เรื่องราวความหายนะครั้งนี้เราสามารถเห็นได้ใน Netflix เรื่อง FYRE: The Greatest Party That Never Happened และภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้นำเสนอออกมาได้สนุกมาก

เรื่องราวของเทศกาล Fyre ได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่ประสบเหตุโดยตรงจากเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของ Fyre Media ของแม็คฟาร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีภาพลักษณ์น่าเชื่อถือที่ทำหน้าที่เหมือนรับจัดงานอีเวนท์ คุณอยากได้แร็ปเปอร์ชื่อดังอย่าง Ja Rule มาแสดงในงานวันเกิดคุณไหม ถ้าต้องการ Fyre Media สามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ สำหรับเทศกาลปกติอย่างเทศกาลแกลสตันบูรี (Glastonbury) ในไมอามี หรือ Coachella เองยังต้องใช้เวลาในการวางแผนมากกว่าหนึ่งปี แต่แม็คฟาร์แลนด์จ้างคนจำนวนมากมาสร้างผลงานของเขาให้มีชีวิตภายในไม่กี่สัปดาห์ เขานำคนที่ไม่มีประสบการณ์เข้ามาทำงาน และให้บัตรเครดิตของบริษัทและความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงแก่พวกเขา สถานที่จัดงานที่ที่ไม่ติดกับเมืองใหญ่และโลเคชั่นที่ชวนงงของเทศกาลดนตรี จนในที่สุดก็ไม่มีอำนาจการจัดการใดๆ เมื่อสิ่งต่างๆ เริ่มไม่เป็นไปตามอย่างที่คิด ไม่มีอะไรตรงกับที่โฆษณาไปสักอย่าง เต็นท์หรูเป็นโดมสวยกับกลายเป็นเพียงแค่โดมติดๆ กันเท่านั้น อาหารจากเชฟชื่อดังก็กลายมาเป็นเพียงแค่ชีสเบอร์เกอร์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หายวับไป คนเข้าร่วมงานเหมือนมาเข้าค่ายเซอร์ไวเวอร์ผจญภัยเอาชีวิตรอดมากกว่ามาเทศกาลงานดนตรีเสียอีก

ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดีย เทศกาลดนตรีก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของผู้คนในโซเชียลดูดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สารคดีเรื่องนี้นำเสนออย่างตรงไปตรงมา ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ต่างๆ นี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร สารคดีภาพยนตร์ของสมิทสรุปได้ว่าเทศกาล Fyre ไม่ได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางโซเชียลมีเดียหรือการไหลตามเหล่าอินฟลูฯ เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตชักนำให้เหล่าผู้คนมีความอยากจะเป็น ความอยากจะมีชีวิตอย่าง American Dream อย่างไร จากที่ดูภาพยนตร์เชิงสารคดีนี้มา ความเห็นอกเห็นใจมากที่สุดของนักเขียนตกไปอยู่กับพนักงานที่ทำงานให้แม็คฟาร์แลนด์ อดีตพนักงานคนหนึ่งเล่าว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนของเขาถูกเก็บเอาไว้จนกระทั่งเทศกาลสิ้นสุดลง ดังนั้นเขาจึงไม่สามารถลาออกได้โดยไม่สูญเสียอะไร อีกทั้งคนอื่นๆ ในทีมก็กังวลว่าความล้มเหลวของเทศกาลจะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของพวกเขาอย่างไรบ้าง จึงทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือในเทศกาลนี้ผ่านไปเท่าที่ทำได้ แต่สุดท้ายพนักงานของ Fyre Media ก็ถูกทิ้งให้เหนื่อยล้า ไม่ได้รับค่าจ้าง ว่างงาน และเป็นหนี้เสียแทน

แม็คฟาร์แลนด์รู้ว่าเขาสามารถขายแฟนตาซีนั้นได้ง่ายในยุคที่ทุกคนอย่างมีตัวตนบนโซเชียลมีเดีย เขาเพียงแค่ต้องการคนดังสักสองสามคนเพื่อช่วยโปรโมทสิ่งนี้ สิ่งแรกๆ ที่สารคดีของสมิธให้ความกระจ่างก็คือ จริงๆ แล้วเทศกาลนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นหนทางไปสู่จุดจบ คือเห็นจุดจบก่อนที่มันจะเริ่มเสียอีก มันถูกมองว่าเป็นวิธีการโปรโมตแอป Fyre ซึ่งเป็นเหมือนเป็น Uber ประเภทหนึ่งสำหรับการจองศิลปินอะไรแบบนั้น อย่างเช่น อยากให้ Taylor Swift มาเล่นงานวันเกิดครบรอบสิบแปดปีของลูกสาวคุณไหม? เพียงคลิกที่รูปประจำตัวของเธอแล้วส่งเงินสองสามล้านดอลลาร์ให้เธอผ่าน Paypal แล้วเธอจะไปที่บ้านของคุณภายใน 10 นาที ความฝันลมๆ แล้งๆ มีอยู่ได้ไม่นานจนสุดท้ายแล้วเขาก็ล้มละลายลงและฝากความผิดหวังไว้ให้พนักงานของเขาไว้ดูต่างหน้าเสียแทน

FYRE: The Greatest Party That Never Happened เป็นสารคดีที่ให้ความรู้ ความบันเทิง และสร้างความเดือดดาลเกี่ยวกับเทศกาลดนตรีที่เจริญรุ่งเรืองและจบลงเพราะโซเชียลมีเดีย ในช่วงเวลาหนึ่ง เราจะรู้สึกเหมือนนั่งฟังเพื่อนที่นินทาเรื่องซุบซิบกัน แต่สมิธเจาะลึกลงไปอีกเพื่อแสดงความเสียหายที่เกิดจากเทศกาลดนตรีและสิ่งที่แมคฟาร์แลนด์ทำลงไป สิ่งที่เราเหลือคือความจริงที่น่าอึดอัดเกี่ยวกับวัฒนธรรมอเมริกันและการแก้ปัญหาชุ่ยๆ ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น