Culture

ช็อกโกแลต, ศาสนา, Propaganda และการล่าอาณานิคม

ใกล้ถึงช่วงเทศกาล ‘วันวาเลนไทน์’ (Valentine's Day) ทีไร เราก็มักจะเห็นคู่รักหนุ่มสาวมอบ ‘ช็อกโกแลต’ (Chocolate) ให้กันเพื่อเป็นตัวแทนของความรักและความห่วงใย แต่เราเคยรู้กันหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ธรรมเนียมการมอบช็อกโกแลตให้คนรักในวันวาเลนไทน์นั้นมีที่มาอย่างไร ใครเป็นคนริเริ่ม และเริ่มมาตั้งแต่ตอนไหน วันนี้เราจะมาเฉลยให้ทุกคนได้รู้กัน

ต้นกำเนิด ‘ช็อกโกแลต’ จากราชาสู่นักบุญ จากชาวพื้นเมืองสู่โคลัมบัส

ต้นกำเนิดของขนมหวานแสนอร่อยที่มีชื่อว่า ‘ช็อกโกแลต’ นั้น เชื่อกันว่าสามารถย้อนกลับไปได้ราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ในทวีปอเมริกากลาง-อเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองอเมริกาโบราณทั้ง ชาวมายัน ชาวโอลเมก และแอซเท็กมีวัฒนธรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่ได้จากการนำ “เมล็ดโกโก้” (Cacao) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มาบดแล้วนำไปต้มกับนา้ น้ำ ผึ้ง และเครื่องเทศต่าง ๆ เรียกว่า “Xocoatl” อันเป็นที่มาของชื่อ ‘ช็อกโกแลต’ ในปัจจุบันนั่นเอง โดยเครื่องดื่มช็อกโกแลตนี้ ชาวพื้นเมืองอเมริกาทั้งชาวมายันและแอซเท็กเชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์ ดื่มแล้วมีพลัง มีเพียงชนชั้นปกครอง นักรบ และนักบวชเท่านั้นที่ทานได้ ถือเป็นของล้ำค่าอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกาโบราณเลยก็ว่าได้

ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักเดินเรือและนักสำรวจจากยุโรปได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ก็ทำให้พวกเขารู้จักกับเมล็ดโกโก้และช็อกโกแลตเป็นครั้งแรก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส’ (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนค้นพบ ‘โลกใหม่’ (ทวีปอเมริกา) คนแรกนั่นเอง โดยโคลัมบัสได้นำเมล็ดโกโก้ที่เขาเจอในทวีปอเมริกาติดตัวกลับไปยุโรปด้วย แต่เนื่องจากรสชาติของโกโก้นั้นมีรสขมมาก ทำให้ในช่วงแรก ๆ ชาวยุโรปไม่ค่อยนิยมบริโภคนัก จนกระทั่งต่อมามีการใส่น้าตาลทาให้รสชาติดีขึ้น ชาวยุโรปจึงเริ่มหันมาบริโภคเครื่องดื่มช็อกโกแลตกันมากขึ้น แต่ก็ยังจำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงที่มีฐานะเท่านั้น เนื่องจากเมล็ดโกโก้เป็นของหายากและมีราคาแพง แถมยังต้องนาไปผสมกับ ‘น้าตาล’ และเครื่องเทศอื่น ๆ ซึ่งก็มีราคาแพงไม่แพ้กันด้วยนั่นเอง

ส่วนต้นกำเนิดของเทศกาล ‘วันวาเลนไทน์’ ในทางวิชาการยังมีสถานะเป็นเพียง ‘ตำนาน’ ที่ค่อนข้างจะคลุมเครือ โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า น่าจะอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ราว ค.ศ.269 มีบาทหลวงรูปหนึ่งที่ชื่อว่า ‘วาเลนตินัส’ (Valentinus) แห่งเมืองแตร์นี (Terni) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘วาเลนไทน์’ (Valentine) ได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ และว่ากันว่าจักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 ผู้มีนโยบายต่อต้านการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พยายามบังคับให้เขาละทิ้งพระเจ้าของศาสนาคริสต์แล้วหันกลับมานับถือเทพเจ้าโรมันแทน แต่บาทหลวงวาเลนไทน์ไม่เพียงปฏิเสธ แต่ยังเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์ให้จักรพรรดิอีกด้วย ทำให้เขาถูกประหารชีวิตในปี ค.ศ.270 ต่อมานักบวชในนิกายโรมันคาทอลิกจึงยกให้บาทหลวงวาเลนไทน์เป็น ‘นักบุญวาเลนไทน์’ (Saint Valentine) เพื่อเชิดชูการ ‘มรณสักขี’ (Martyr; พลีชีพเพื่อศรัทธาในพระคริสต์ศาสนา) ของเขา

กล่าวได้ว่าเรื่องราวของนักบุญวาเลนไทน์ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์เลย หนำซ้ำยังไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความรักแบบ ‘โรแมนติก’ ด้วย

จะเห็นได้ว่าต้นกำเนิดของทั้ง ‘วันวาเลนไทน์’ และ ‘ช็อกโกแลต’ นั้น ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แถมยังอยู่คนละซีกโลกจนไม่น่ามาพบกันได้ ซึ่งกว่าที่ทั้งสองสิ่งนี้จะโคจรมาเจอกันก็ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีเลยทีเดียว โดยสิ่งที่จะทาให้ ‘วันวาเลนไทน์’ และ ‘ช็อกโกแลต’ โคจรมาพบกันก็คือ ยุค ‘ล่าอาณานิคม’ และ ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรม’ ที่เกิดขึ้นหลัง โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่ได้ไม่นานนั่นเอง

ยุค ‘ล่าอาณานิคม-การปฏิวัติอุสาหกรรม’ กับการเฟื่องฟูของ ‘ช็อกโกแลต’

หลังจากมีการค้นพบทวีปอเมริกาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โลกของเราก็เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “ยุคล่าอาณานิคม” (Colonisation) ดินแดนต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ถูกบรรดาชาติมหาอานาจในยุโรปทั้ง สเปน, โปรตุเกส, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ เข้ายึดครอง มีการอพยพชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ส่วนชาวพื้นเมืองอเมริกาถูกเจ้าอาณานิคมยุโรปปกครองในฐานะแรงงานสำหรับทางการเกษตรเพื่อผลิตสินค้าต่าง ๆ ป้อนให้กับประเทศแม่ในยุโรป ซึ่งหนึ่งในสินค้าสำคัญคือ ‘เมล็ดโกโก้’ แม้ว่าในช่วงแรกที่ช็อกโกแลตไปถึงยุโรป ชาวยุโรปจะไม่นิยมบริโภค เพราะมีรสขม (แถมแพง) แต่เมื่อภายหลังมีการใส่น้ำตาล, ชินเนมอน และเครื่องเทศต่าง ๆ ลงไป ทำให้ช็อกโกแลตเป็นเครื่องดื่มที่มีรสหอมหวาน ถูกใจชาวยุโรปมากขึ้น ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ‘เซอร์ ฮันส์ สโลน’ (Sir Hans Sloane) นายแพทย์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นเครื่องดื่มช็อกโกแลตสูตรใหม่ที่ใส่ ‘นมวัว’ มีรสชาตินุ่มละมุน ทำให้ช็อกโกแลตกลายเป็นเครื่องดื่มที่บรรดาชนชั้นสูงและพระมีสมณศักดิ์สูงนิยมดื่มกันทุกวันถึงขั้นที่พระนาง ‘มารี อ็องตัวแน็ต’ (Marie Antoinette) ราชินีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) แห่งฝรั่งเศส ทรงมี ‘เจ้าพนักงานปรุงช็อกโกแลตส่วนพระองค์’ ประจำอยู่ในพระราชวังแวร์ซายเลยทีเดียว

ต่อมาในช่วงกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เกิดการ ‘ปฏิวัติอุตสาหกรรม’ (Industrial Revolution) ขึ้นในยุโรป มีการใช้เครื่องจักรไอน้ำเข้ามาแทนที่แรงงานคน ทำให้การผลิตช็อกโกแลตที่เคยมีจำนวนจำกัดและราคาแพงนั้น ทำได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลงมาก ชาวยุโรปทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มชนิดนี้ได้

ไม่จำกัดอยู่แต่ชนชั้นสูงอีกต่อไป ในปี ค.ศ.1847 ‘โจเซฟ ฟราย’ (Joseph Fry) นักธุรกิจชาวอังกฤษได้คิดค้นกรรมวิธีแปรรูปโกโก้ให้เป็น ‘ช็อกโกแลตแท่ง’ ได้เป็นครั้งแรก พร้อมทั้งก่อตั้งโรงงานผลิตช็อกโกแลตแท่งแห่งแรกของโลกขึ้นที่เมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนทั่วโลกจึงได้รู้จักกับช็อกโกแลตในฐานะขนมหวานแสนอร่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ธรรมเนียมการให้ของขวัญในวันวาเลนไทน์คาดการณ์ว่าเริ่มมาจาก ‘สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย’ โดยพระองค์โปรดการพระราชทานของขวัญ, ดอกไม้ และการ์ดอวยพรให้คนใกล้ชิดในวันวาเลนไทน์ของทุกปี ซึ่งสันนิษฐานกันว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้องของการให้ของขวัญในวันวาเลนไทน์ และหนึ่งในของขวัญที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจุบันคือ ‘ช็อกโกแลต’

ที่มาของธรรมเนียมการมอบ ‘ช็อกโกแลต’ ระหว่างคู่รักในช่วงเทศกาล ‘วันวาเลนไทน์’ นั้น ผู้ริเริ่มธรรมเนียมนี้คือ นาย ‘ริชาร์ด แคดเบอรี’ (Richard Cadbury) นักธุรกิจหัวใสชาวอังกฤษ ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ช็อกโกแลตชื่อดังอย่าง ‘แคดเบอรี’ (Cadbury) โดยในปี ค.ศ.1861 เขาได้ผลิตช็อกโกแลตแท่งรูป ‘หัวใจ’ พร้อมทั้งออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นรูปหัวใจ มี ‘กามเทพ’ (Cupid) ยืนอยู่บนกล่อง แล้ววางจำหน่ายในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์เพื่อให้ใครต่อใครซื้อไปมอบให้กับคู่รักของตน จากเดิมที่คู่รักจะมอบแค่ดอกไม้และการ์ดอวยพรให้กันเท่านั้น เรียกได้ว่านายแคดเบอรีเป็นคนที่ริเริ่มธรรมเนียมการมอบช็อกโกแลตให้คนรักในวันวาเลนไทน์คนแรก และธรรมเนียมนี้ก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สรุปแล้ว หากจะบอกว่าการที่ ‘วันวาเลนไทน์’ กับ ‘ช็อกโกแลต’ ถูกนำมาเชื่อมโยงกันนั้น เป็นกระบวนการ ‘โฆษณาชวนเชื่อ’ (Propaganda) อันเป็นผลมาจาก ‘ยุคล่าอาณานิคม’ และ ‘การปฏิวัติอุสาหกรรม’ ก็คงไม่ผิดนัก เพราะ ‘ยุคล่าอาณานิคม’ ทำให้ชาวยุโรปรู้จักกับ ‘ช็อกโกแลต’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่ ‘การปฏิวัติอุสาหกรรม’ จะทำให้การผลิต ‘ช็อกโกแลต’ ทำได้ง่าย ราคาถูกลง ผลิตได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้บรรดานายทุนต้องหา ‘กิจกรรม’ (Event) เพื่อระบายสินค้าจานวนมหาศาลของตัวเองออกสู่ตลาด ซึ่งนอกจากเทศกาล ‘วันวาเลนไทน์’ แล้ว ‘ช็อกโกแลต’ ยังถูกนำไปเชื่อมโยงกับวันสำคัญอีกหลายวัน เช่น ‘วันอีสเตอร์’ (Easter), ‘วันฮาโลวีน’ (Halloween) เป็นต้น

อ้างอิง

matichon weekly

Matichon weekly

gourmet and cuisine

refresher thai

history