Culture

เมื่อ “โฟโต้การ์ด” ไม่ใช่แค่กระดาษ แต่คือวัฒนธรรมของเหล่าแฟนด้อม

Beyond Paper: Photocards Transform into a Culture Among Action Figure Enthusiasts

Photo credit: Kpopforfun

ในวงการแฟนคลับศิลปินเกาหลีนั้น เรามักจะได้เห็นเทรนด์ใหม่ๆ จากกลุ่มแฟนคลับเสมอ แม้ว่าบางเทรนด์จะได้รับความนิยมเพียงชั่วคราวและหายไปในระยะเวลาสั้นๆ แต่บางเทรนด์ก็ฮิตติดลมบนได้รับความนิยมยาวนานจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มแฟนคลับไปโดยปริยาย

ซึ่งเทรนด์หนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มแฟนคลับตอนนี้ คือ ‘การ์ด’ นั่นเอง

‘โฟโต้การ์ด’ หรือที่เรียกกันในกลุ่มแฟนคลับว่า ‘การ์ด’ นั้น มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ‘photo card’ หมายถึงรูปถ่ายของศิลปินที่มาในลักษณะแผ่นการ์ด โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดประมาณ 5.5x8.5 เซนติเมตร หรือขนาดใกล้เคียงกับบัตรเครดิต โดยโฟโต้การ์ดที่พูดถึงนี้จะเป็นลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงหรือต้นสังกัดที่ผลิตมาเป็นของที่ระลึกให้กับแฟนคลับเมื่อซื้ออัลบั้ม ส่วนใหญ่การ์ดจะถูกแนบมากับอัลบั้มในลักษณะคละสุ่ม จึงเกิดเป็นความสนุกขึ้นเมื่อต้องแกะอัลบั้มไปพร้อมๆ กับลุ้นว่าการ์ดที่ซ่อนอยู่ข้างในจะใช่รูปศิลปินคนโปรดของเราหรือไม่ นี่จึงเป็นสาเหตุให้การ์ดเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มแฟนคลับ ซึ่งปัจจุบันการ์ดก็ได้กลายมาเป็นเป็นไอเทมหลักที่แฟนๆ ต่างรอคอย ไม่แพ้อัลบั้มของศิลปินเลยก็ว่าได้

การสุ่มโฟโต้การ์ดในอัลบั้มที่ดูเหมือนจะเป็นเทรนด์ฮิตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น แท้จริงแล้ว

โฟโต้การ์ดรูปศิลปินถูกผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2010 จากอัลบั้ม “Oh!” ของศิลปินวง Girls’ Generation (SNSD) โดยต้นสังกัด SM Entertainment 

Photo credit: Topstar News

ในระยะเวลา 10 กว่าปี นับตั้งแต่มีการผลิตโฟโต้การ์ดออกมาครั้งแรกนั้น การ์ดก็ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมีหลากหลายประเภทมากขึ้น เช่น การ์ดที่แถมมากับอัลบั้ม, การ์ดพิเศษที่มีจำนวนจำกัด, การ์ดพร้อมลายเซ็น รวมไปถึงการ์ดที่ทำขายแยกออกมา เป็นต้น ทั้งหมดนี้แม้จะเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทและค่ายเพลง ที่อยากจูงใจให้คนซื้ออัลบั้มมากขึ้น แต่ด้วยความนิยมของการ์ด และกระแสการสะสมการ์ดในกลุ่มแฟนคลับ ทำให้โฟโต้การ์ดกลายมาเป็นปรากฏการณ์และวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘การแลกการ์ด’ เกิดขึ้น

การแลกการ์ด คือกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับ ที่เมื่อซื้ออัลบั้มมาแล้วได้โฟโต้การ์ดในอัลบั้มไม่ตรงตามความชอบ หรือไม่ใช่รูปศิลปินที่ตนเองอยากได้ จึงทำการตามหาเพื่อแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกับแฟนคลับคนอื่นๆ โดยช่องทางการแลกเปลี่ยนและซื้อขายการ์ดส่วนใหญ่มักจะทำผ่านสื่อออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์หรืออินสตาแกรม เป็นต้น

Photo credit: AliExpress

เพราะอะไร การแลกการ์ดถึงเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มแฟนด้อม?

“เพราะเราไม่ต้องไปเสียเงินซื้ออัลบั้มเพิ่ม เพื่อสุ่มจนกว่าจะเจอการ์ดที่เราอยากได้” 

“การ์ดบางอันมีจำนวนจำกัดมาก อย่างการ์ดที่ค่ายทำมาเนื่องในโอกาสพิเศษ โอกาสสุ่มเจอของเราก็ยิ่งน้อย การดีลการ์ด แลกการ์ดก็เป็นช่องทางหลักที่ทำให้เราได้การ์ดที่เราอยากได้ โดยไม่ต้องซื้ออัลบั้มเพิ่ม” นี่คือคำตอบส่วนหนึ่งของกลุ่มแฟนคลับที่อธิบายถึงเหตุผลการแลกการ์ดว่าเป็นเหมือนการหาซื้อของที่อยากได้ทั่วไป และการแลกการ์ดนั้นเป็นที่นิยม เพราะทุกครั้งที่มีการออกอัลบั้มใหม่ของศิลปิน โดยเฉพาะศิลปินที่มีสมาชิกวงจำนวนมาก ก็จะยิ่งเกิดการแลกเปลี่ยนการ์ดมาก เนื่องจากต่างคนต่างตามหาการ์ดรูปศิลปินคนโปรดของตน โดยเฉพาะศิลปินที่ได้รับความนิยมจากแฟนๆ เยอะ  โฟโต้การ์ดก็จะเป็นที่ต้องการมากและมีมูลค่าสูง

Photo credit: SM Entertainment

วัฒนธรรมที่เกิดจากการ์ด ไม่ได้มีเพียงแค่การแลกการ์ดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการตกแต่งการ์ด การสะสมการ์ด รวมไปถึงการสร้างกลุ่มสังคมขนาดย่อยเพื่อแลกเปลี่ยน พูดคุย ให้คำปรึกษากันเกี่ยวกับการ์ดอีกด้วย

เมื่อ “การ์ด” กลายมาเป็นความต้องการหลัก ปรากฏการณ์กว้านซื้ออัลบั้มจึงเกิดขึ้น

ในประเทศเกาหลีใต้ การกว้านซื้ออัลบั้มเพื่อแลกการ์ดนั้นกลายเป็นเรื่องปกติในกลุ่มแฟนคลับ เมื่อไม่นานมานี้ มีคนพบอัลบั้มของศิลปินจำนวนมาก ถูกวางทิ้งไว้อยู่ที่บริเวณทางออกสถานีรถไฟฟ้าฮงแด โดยอัลบั้มมีลักษณะที่ผ่านการแกะและนำการ์ดออกไปเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงอัลบั้มเปล่าพร้อมซีดีและโฟโต้บุ๊ก พอเรื่องนี้ถูกโพสต์ไปยังสื่อโซเชียลออนไลน์ ก็ทำให้เกิดเป็นกระแสอย่างมาก โดยกลุ่มแฟนคลับในเกาหลีต่างออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของอัลบั้ม ว่าแท้จริงแล้วอัลบั้มนั้นมีคุณค่าที่ตรงไหน การสนับสนุนศิลปินควรจะเคารพและให้คุณค่ากับผลงานของศิลปินมากกว่าสินค้าที่เป็นกลไกทางการตลาดอย่างเช่นการ์ด

Photo credit: Kim_Hyyeon

แม้ในประเทศไทยจะยังไม่เคยมีปรากฏการณ์กว้านซื้ออัลบั้มเพื่อแลกการ์ด เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ แต่ค่านิยมของการ์ดนั้นก็ยังมีอิทธิพลในกลุ่มแฟนคลับเช่นกัน

จากการสอบถามแฟนคลับบางส่วนถึงปัญหาของวัฒนธรรมการ์ดในประเทศไทย หลายคนมองว่าจริงๆ แล้ว ความต้องการหรือกำลังการซื้อของแฟนคลับคนไทยนั้นไม่ได้มีน้อยไปกว่าแฟนคลับชาติอื่นๆ เลย เพียงแต่การหาซื้ออัลบั้มหรือการ์ดในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากกว่า จึงทำให้คนที่เป็นตัวแทนรับซื้อหรือขายมีอำนาจในการต่อรอง ทำให้ราคาของการ์ดนั้นทะลุไปมากกว่าที่ควรจะเป็น การ์ดบางใบราคาพุ่งสูงไปถึง 5 หลักก็มี ซึ่งในจุดนี้หลายคนมองว่าเป็นปัญหา

Photo credit: Life - The Philippine Star

“นอกจากเรื่องราคา เราก็มองว่าคนไทยมีทัศนคติเกี่ยวกับคำว่าการ์ดต่างออกไปจากที่ควรจะเป็นมากๆ แฟนคลับบางคนมองว่าการ์ดเป็นเหมือนสมบัติที่แตะต้องไม่ได้ ห้ามมีรอยตำหนิ บางคนถึงขั้นเอาไฟฉายมาส่องหารอยตำหนิบนการ์ดเมื่อแลกการ์ดกัน ซึ่งเราเข้าใจว่าการ์ดบางใบแพงมาก แต่บางครั้งการ์ดก็ไม่ได้ถูกผลิตมาอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่โรงงานที่ผลิตแล้ว เราก็เป็นแฟนคลับคนหนึ่งที่ซื้ออัลบั้ม ซื้อการ์ด แลกการ์ดเป็นประจำ แต่สิ่งหนึ่งที่เรายอมรับกับตัวเองเสมอคือ สุดท้ายการ์ดก็เป็นกระดาษหนึ่งใบ ส่วนคุณค่าที่เหลือ พวกเราเป็นคนเพิ่มเข้าไปเอง”

– อีกหนึ่งความเห็นของแฟนคลับที่เสริมเกี่ยวกับวัฒนธรรมการ์ดในกลุ่มแฟนด้อมคนไทย

เมื่อ “การ์ด” ไม่ใช่แค่กระดาษ แล้วการ์ดคืออะไรสำหรับแฟนคลับ?

Photo credit: bemypeachjae

“เราว่ามันแล้วแต่คนมากๆ บางคนการ์ดเป็นเหมือนเป็นเครื่องรางนำโชค จัดใส่เคส ตกแต่งอย่างดี พาไปด้วยทุกที่ ส่วนบางคนก็คิดว่าเป็นตัวแทนของศิลปิน เวลาเหนื่อยหรือท้อ แค่ได้เห็นรูปของศิลปินที่เราชื่นชอบก็ทำให้มีกำลังใจได้” 

เคยคิดไหมว่าการที่มีโฟโต้การ์ดเข้ามา ทำให้การเป็นแฟนคลับเปลี่ยนแปลงไป?

“เคยนะ ทุกครั้งที่จ่ายเงินซื้อการ์ดแพงกว่าค่าอัลบั้ม (หัวเราะ) คือเรารู้สึกว่าการเป็นแฟนคลับในปัจจุบันกับเมื่อก่อนต่างกันเยอะมาก เราเป็นคนที่ชอบ K-Pop ตั้งแต่ยุคแรกๆ เป็นแฟนคลับมาตั้งแต่สมัยที่ไม่มีสินค้าของศิลปินเหมือนทุกวันนี้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่าการได้ฟังเพลงหรือดูมิวสิควิดีโอของศิลปินซ้ำไปซ้ำมาก็ทำให้มีความสุขแล้ว แต่ปัจจุบัน พอมีสินค้าของศิลปินออกมาขายที่ไม่ใช่แค่การ์ด แต่รวมถึงสินค้าอื่นๆ ด้วย แน่นอนว่าเราก็ซื้อ เพราะมันน่ารัก เราอยากได้ แต่พอซื้อไปเรื่อยๆ กลายเป็นว่าเราใช้เวลากับการหาซื้อของศิลปิน สนใจเกี่ยวกับสินค้าศิลปิน มากกว่าตัวผลงานของศิลปินเอง”

Photo credit: Favim

หากย้อนกลับไป 10 กว่าปีก่อน สมัยที่ไม่ได้มีช่องทางการติดตามผลงานของศิลปินมากเท่าทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่าการซื้ออัลบั้มของศิลปินสักอันมาฟังเพลงนั้น ถือเป็นจุดประสงค์หลักของแฟนคลับส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ช่องทางและรูปแบบในการสนับสนุนศิลปินนั้นเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นว่าการที่แฟนคลับจะสนับสนุนศิลปินด้วยการฟังเพลงนั้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออัลบั้มอีกต่อไป แฟนคลับเองสามารถดาวน์โหลด หรือสนับสนุนเพลงของศิลปินในช่องทางออนไลน์อื่นๆ ได้ 

เมื่อกลไลการซื้อขายอัลบั้มถูกเปลี่ยน ผู้ผลิตก็ต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อให้กลไลการซื้อขายอัลบั้มกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และการ์ดก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ เมื่อผู้ผลิตเห็นว่ากลุ่มแฟนคลับนั้นให้ความสนใจกับการ์ดภายในอัลบั้มอย่างล้นหลาม ผู้ผลิตเองจึงเริ่มที่จะออกแบบ

และผลิตการ์ดในทุกๆ โอกาสเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มแฟนคลับ ท้ายที่สุดแล้ว กลุ่มแฟนคลับอาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามว่า วัฒนธรรมการ์ดที่กำลังเป็นที่นิยมนี้ ยังคงเป็นการสนับสนุนศิลปินจริงๆ ใช่ไหม หรือเป็นการสนับสนุนนายทุนผู้ผลิตการ์ดเหล่านี้ออกมา

Photo credit: Life - The Philippine Star

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวเกี่ยวกับ Fandom ได้ที่ Exotic Quixotic

Trends in the world of K-pop idol fandom often emerge from the devoted fan community. While some trends enjoy fleeting popularity and fade quickly, others endure and transform into a cultural phenomenon among fan clubs.

One such trend currently making waves in fan clubs is the “photocard.” This term, derived from “photo card,” refers to artist photos presented in the form of card-sized prints, typically around 5.5x8.5 centimeters or similar in size to a credit card. “Photocards,” as they are commonly known within fan circles, are usually included as collectibles with album purchases, often distributed randomly. This adds an element of excitement, as fans open their albums in anticipation of discovering whether their favorite artist's photo is enclosed. Consequently, photocards have gained immense popularity among fan clubs, emerging as a sought-after item that rivals the appeal of the artists’ albums themselves.

The tradition of including photocards in albums gained momentum over the past few years, starting around 2010 with Girls’ Generation’s (SNSD) album “Oh!” released by SM Entertainment. What initially seemed like a trend has evolved into a hallmark feature of K-pop fan culture. 

Photo credit: Topstar News

Over the past decade since the introduction of the first photocards, these collectibles have undergone continuous development and diversified into various types. These include album-included cards, limited-edition cards, signature cards, and separately sold cards. While primarily a marketing strategy by companies and music labels to boost album sales, the popularity of photocards and the collector culture within fan clubs have led to the emergence of a new phenomenon and culture known as “card trading.”

Card trading is an activity within fan communities where fans exchange or purchase photocards if they didn't receive the preferred card in their album or desire a different artist’s card. This process typically takes place through online platforms like Twitter or Instagram, facilitating exchanges and purchases among fans.

Photo credit: AliExpress

Why is card trading immensely popular within fan club communities?

According to some segment of fan club members, they say that they don’t need to spend more money buying additional albums just to chance upon the cards they want. “Some cards are highly limited, like those produced for special occasions. The chance of obtaining our desired card through random album purchases is minimal. We have to resort to card deals and trades to acquire the cards we want without having to buy extra albums.” They liken card trading to general shopping for desired items, with the added allure that card trading is in vogue. Each time a new album is released by an artist, especially those with a sizable member count, card exchanges flourish. Fans hunt for cards featuring their favorite artists, and this pursuit is particularly intense for highly popular artists.

Photo credit: SM Entertainment

The culture stemming from photocards encompasses more than just card trading. It includes card decoration, collecting, and even the formation of smaller social communities for exchanging, conversing, and providing card-related advice.

As these cards became a hot commodity, a phenomenon of album hoarding emerged. In South Korea, album hoarding for card trading has become a norm among fan clubs. Recently, a large number of albums were found discarded near the exit of the Hongdae subway station. These albums were opened and the cards removed, leaving only empty albums with CDs and photobooks. Once this was shared on social media, it sparked a significant trend. Korean fan clubs voiced their opinions on the value of albums, highlighting the actual worth of these albums and stressing that supporting artists should prioritize respecting and valuing their artistic work more than merchandise like cards driven by marketing mechanisms.

Photo credit: Kim_Hyyeon

Even though the phenomenon of album hoarding for card trading hasn’t yet emerged in Thailand like it has in South Korea, the popularity of cards still holds influence within fan clubs.

Upon questioning some Thai fan clubs about the cultural aspects of cards in Thailand, many believe that the desire or purchasing power of Thai fan clubs is not lesser than that of other nationalities. However, the difficulty in acquiring albums or cards within Thailand is more pronounced, making intermediaries who buy and sell cards hold significant negotiation power. This has led to inflated card prices, with some cards reaching five figures. This issue is seen by many as a problem within the Thai fan club culture.

Photo credit: Life - The Philippine Star

“Beyond the price aspect, we believe that many Thais hold a certain perception of the term “cards” that deviates from its intended essence. Some fan club members view cards as sacred treasures not to be blemished in any way, going so far as to use a flashlight to scrutinize cards for imperfections during trading. We understand that some cards are remarkably expensive, yet at times, cards aren’t flawlessly produced straight from the factory. As a dedicated fan club member, I frequently buy albums, purchase cards, and engage in trading. But one thing I consistently remind myself is that, in the end, a card is just a piece of paper. Its enduring value actually lies within us, the fans.” – another viewpoint from a Thai fan club member, further illuminating the cultural dynamics of cards within the realm of fandom.

Sentimental value

Photo credit: bemypeachjae

“I think it varies from person to person. Some view cards as lucky charms, encased and adorned beautifully, carrying them everywhere. Others see them as representations of the artist. Whenever we feel tired or down, just looking at the picture of our favorite artist can uplift our spirits.”

Did you ever think about how the addition of photo cards has actually changed what it's like to be a fan club member?

“Absolutely, yes. It’s clear that whenever we end up spending more on a card than on the actual album, it makes us realize that being a fan club member nowadays is a whole different ballgame compared to the past. We’ve been into K-Pop since the early days, when there wasn’t this abundance of merchandise like there is now. Back then, finding joy in the music and replaying music videos was what brought us happiness. Nowadays, artists’ merchandise are not just limited to cards and we buy them because they’re adorable. This changed our focus because We’re more wrapped up in hunting down and snagging the artist’s merch, sometimes even more so than truly engaging with the artist’s actual creations.”

Photo credit: Favim

If we go back around ten years, to a time when tracking artists’ work wasn’t as easy as it is today, you’d notice that buying an artist’s album primarily for listening to their music was the big thing for most fan clubs. But as time rolled on, the ways and means of supporting artists expanded. It reached a point where being a fan club member and supporting an artist’s music didn’t necessarily mean you had to keep buying albums. Fans could now download or back their favorite artist's tracks through various online platforms.

As the landscape of album sales underwent changes, producers had to get creative with new strategies to get album purchases rolling again. That’s where the significance of photo cards came in. Seeing how much fan clubs loved the cards that came with albums, producers started rolling out cards for every occasion, answering the fan clubs’ call. Eventually, fan clubs might even start questioning whether this culture around the cards still truly supports the artists or whether it’s more about endorsing the card manufacturers and producers behind the scenes.

Photo credit: Life - The Philippine Star