Culture

Shaping the Golden Era of Vinyl Bar: Modern-Day Culture ไวนิลบาร์ที่อยากให้บาร์ และไวนิลเป็นเรื่องเข้าถึงง่าย

ทำไมถึงอยากทำบาร์แผ่นเสียง?

แพน: เราอยากจะเปิดไวนิลบาร์ ที่เป็นบาร์ที่เปิดแผ่นเสียงแบบจริงจัง หมายความว่า ไม่ได้มีดีเจมาเปิดเพลงแค่บางช่วงเวลา แต่เป็นการเปิดเพลงจากไวนิลตลอดเวลา ตั้งแต่ร้านเปิดจนร้านปิด แล้วสาระสำคัญของมันก็คือ อยากให้คนเข้าถึงแผ่นเสียงได้ง่ายขึ้นมากกว่า มองว่าแผ่นเสียงมันคือเรื่องที่จับต้องยาก บางคน อาจจะคิดว่าเพลงจากแผ่นเสียงเป็นเพลงเก่า เป็น Oldies อย่างเดียวแน่เลย แต่จริงๆ แล้ว มันมีเพลงหลายๆ รูปแบบ หลายๆ แนว แล้วก็อยากจะให้ลูกค้ามองว่า มันเป็นอีกฟอร์แมตหนึ่งที่เข้าถึงง่ายไม่ต้องระมัดระวังในการใช้ในการมีขนาดนั้น

แต่ความสำคัญของมันอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ใช่แค่เพลงนี้เราเคยฟังแล้วจากที่ไหนก็ตาม แต่มันคือการยาก ที่จะมีเพลงนี้มาให้เราถือ เพราะฉะนั้น เพลงที่ให้เราฟังบ่อยมากเลย ทุกวันเราเสิร์ชใน Spotify แล้วเจอได้อะไรอย่างนั้น หรือใดๆ ก็แล้วแต่ แต่ว่าการที่จะหาแผ่นนั้นมาเป็นของเราได้มันอาจจะไม่ใช่แค่เรามีเงินแล้วซื้อได้ อาจจะต้องเป็นการยากที่จะหา ยากที่จะต้องไปตามหาที่ไหน อันนั้นคือ ความสำคัญที่เราอยากจะให้คนมองเห็นถึงเรื่องแผ่นเสียง

Modern-Day Culture คือ ไวนิล + บาร์ เราลองมาพูดถึงเรื่องบาร์กันบ้างว่ามันมาได้อย่างไร?

แพน: จริงๆ แล้วเรามองว่า การที่เพลงมันจะถูกฟังเพราะขึ้น มันก็อยู่ด้วยไวบ์อื่นๆ ประกอบกันด้วย เราฟังในห้อง ในบ้านเรามันก็เป็นอีกไวบ์หนึ่ง เราฟังกับเพื่อนก็เป็นอีกไวบ์หนึ่ง แต่ถ้าเราฟังแล้วประกอบกับเครื่องดื่มที่ดีด้วย บาร์เทนเดอร์ที่ดีด้วย ที่คุยสนุก สตาฟที่น่ารัก มันก็จะเป็นอีกไวบ์หนึ่ง ก็อยากจะเอาสองอย่างนี้มารวมกัน

เหตุผลที่เราอยากให้มันเป็นไวนิลบาร์จริงๆ แล้วก็คือ พาร์ทบาร์กับพาร์ทดีเจมันเป็นภาพที่เชื่อมต่อกัน

ซึ่งจริงๆ แล้ววางแผนไว้ด้วยซ้ำว่า พี่จอย จะเป็นคนเปิดเพลง และแพนจะเป็นคนอยู่ในบาร์ ทำมิกซ์ดริงก์ง่ายๆ แล้วก็ไม่ไหว (หัวเราะ) ก็เลยคิดว่ามีคนที่ถนัดเรื่องนี้เข้ามาดูแลเลยจะดีกว่า

ก็ถือว่าเป็นหน้าใหม่ในวงการ?

แพน: หน้าใหม่ในวงการบาร์ แต่ว่าไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการแผ่นเสียง

คอนเซ็ปต์ของ Modern-Day Culture คืออะไร?

แพน: จริงๆ คำว่า Modern-Day Culture เรามองว่า เหมือนแผ่นเสียงเป็นเรื่องไกลตัวมาก สำหรับคนยุคนี้ เพราะว่าทุกอย่างมันหยิบจับง่ายมาก อาจจะเป็นเราเปิดเพลงจากมือถือ ในแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ง่ายขึ้น มันมีหลายแอพให้เราเลือกด้วย แต่แผ่นเสียงมันดูเหมือนเป็น เรื่องไกลตัว แล้วเหมือนว่า เฉพาะกลุ่มเท่านั้นเลย ที่จะเลือกเก็บแผ่นเสียง

อยากให้มันเป็นเรื่องง่ายๆ เป็นเมนสตรีม เป็น Modern-Day Culture โดยที่ไม่ได้มีแนวเพลงว่า เราต้องเปิดเพลงเก่า เพลง 60s - 80s เราเปิดเพลงไม่เหมือนกัน เปิดเพลงทุกแนวเลย ไม่มีขอบเขตจำกัดว่า ต้องเป็นเพลงแบบนี้ถึงจะต้องเป็นแผ่นเสียงเท่านั้น รวมถึงไม่ได้สร้างความคิดให้คนเข้าใจว่า แผ่นเสียงมันคือฟอร์แมตที่ดีที่สุด แต่ว่าแค่อยากให้คุณได้ลองฟังมันดูจากอันนี้ บวกกับสกิลที่พี่จอยมี แล้วมันจะเชื่อมต่อกันแบบไหน การจัดเรียงเพลย์ลิสต์ที่เขาทำจะเป็นแบบไหน

ทำไมถึงอยากให้มันไวรัล มากกว่าหวงไว้คนเดียว?

แพน: มันคือการซัพพอร์ตคอมมูนิตี้ ถ้าสมมุติว่าเราจะเก็บเอาไว้คนเดียวสักวันหนึ่งมันก็อาจจะตายไป หรือว่ามีคนที่รู้จักมันน้อยลง แต่การที่เราทำให้มันดีขึ้นมีคนรู้จักมันมากขึ้น มันก็จะมีศิลปินคนอื่น คนฟังคนอื่น ที่อยากจะออกปกคัฟเวอร์ดีๆ ออกมา เพื่อซัพพอร์ตศิลปิน ออกแผ่นที่ดี โรงงานอยู่ได้ เราอยู่ได้ เรามีที่ซื้อมากขึ้น เพราะว่าร้านอยู่ได้

ใช้เวลานานไหม กว่าที่ไอเดียจะออกมาเป็นร้านจริงๆ?

แพน: จริงๆ เรื่องนี้มันอยู่ในหัวเรามาตลอดเลย ว่าเราอยากจะมีร้าน แต่ว่า เราแค่คิดว่า เวลาไหน ที่มันพร้อมสำหรับเรามากกว่า พอถึงช่วงโควิด มันเป็น ช่วงว่างมากๆ สำหรับเราทั้งคู่ เพราะพี่จอยก็เป็นดีเจ ก็จะเป็นแกปที่ๆ ไม่มีอีเวนต์ หรือไม่มีงานเท่าไร ช่วงนั้นก็จะเป็นช่วงที่เราได้ คิดจริงๆ ว่าถ้าเราจะทำ เราจะทำแบบไหน แล้วมันจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราแค่สองคนจะทำ เพราะว่าเราไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าเราต้องเจอกับอะไรบ้าง คือทุกอย่าง เป็นศูนย์มาหมดเลย แต่คือ มันเหมือนทุกคนแหละ ที่เริ่มทำอะไรบางอย่างจากความรัก ของตัวเอง จากความชอบ แต่สุดท้ายแล้วความชอบมันจะเป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะธุรกิจมันจะมาตามมา แล้วมันก็ต้องรันไปต่อด้วยความชอบของเรา

สุดท้ายแล้ว เราเองก็ยังรันมันความชอบของเราอยู่ อะไรที่เราไม่ชอบ เราก็จะไม่ใส่ลงไป ต่อให้มีลูกค้าบางคนบอกว่า อยากได้แบบนี้ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ เราก็จะไม่บังคับให้ตัวเองทำ เพื่อเป็นความต้องการของลูกค้า เช่น ขอเพลงหน่อยค่ะ จะไม่เปิดให้ เราเปิดเพลงจากแผ่นเสียง มันเลือกแทร็กได้อยู่แล้ว แต่ว่าบางเพลงเราไม่มี แล้วเราไม่สามารถจะโหลดได้ทันทีเหมือนดิจิทัลที่เขาต้องการแบบนั้น แล้วแค่มองว่า การขอเพลงจากดีเจมันเป็นเรื่องเชยมาก คุณควรจะมาไวบ์บิ้งตรงนี้ แล้วก็ Respect คอลเลกเตอร์ด้วย

อยากให้ Respect สิ่งที่เขากำลังจะสื่อสารกับคุณมากกว่า มากกว่าให้คนทั้งร้าน Respect สิ่งที่คุณอยากฟังเพียงคนเดียว เพราะว่าเรายังมีคนอื่นๆ ในร้านเหมือนกัน

มันเหมือนเป็นการสร้างคัลเจอร์ดีเจให้แข็งแรงขึ้นด้วย?

แพน: จริงๆ เราก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดที่ขอแล้วจะไม่ให้อะ แต่ถ้าสมมุติบางที่ขอแล้วแบบ โอ๊ย ได้ฟัง ในสิ่งที่เปิดอยู่ไหม บางทีมันหลุดกันเกินไป เราก็คงทำให้ไม่ได้ แต่ถ้าเกิดว่า โอเค มันมีทางที่จะไปได้ มันใกล้เคียงกัน หรือบางทีบางคนเข้ามาคุยกับเรื่องแผ่นเสียงอะ แล้วสะสมแผ่นเสียงเหมือนกัน แล้วเขาเคยฟังเพลงนี้ แต่ว่าเราอยากสื่อสารอีกเพลงหนึ่งให้เขาฟัง เพื่อเป็นการต่อยอดเพลงที่เขาบอกว่าเขาชอบอยู่แล้วด้วยซ้ำ แบบนี้มันเป็นการสื่อสารที่แพนว่า มัน Respect ซึ่งกันและกันมากกว่าการที่เขาเดินมาเพื่ออยากฟังเพลงนี้ แล้วเราต้องเปิดให้เขา

Modern-Day Culture ไม่ใช่แค่บาร์ค็อกเทล?

แพน: ก็มันเป็นไวนิลบาร์ มันก็ไม่ใช่บาร์ค็อกเทลอย่างเดียวอยู่แล้ว

จอย: มันมีความคอมมูนิตี้ในตัวของมัน มันเป็นคอมมูนิตี้ที่มารวมกันเอง โดยที่เราไม่ได้นัดหมาย เพราะว่าที่นี่คือ อย่างแรกเลย มันอยู่ข้างบน มันเป็นที่ที่คนที่รู้จักเราประมาณหนึ่งมา

แพน: หรือเพื่อนของเพื่อนแนะนำกัน ไม่ใช่เดินผ่านแล้วขอเข้าไปดูหน่อย นั่นก็คือเหตุผลหลักๆ เหมือนกันที่เราอยู่ชั้นสี่

จอย: เวลาคนที่ตั้งใจมาแล้วเนี่ย เขาก็จะรู้สตอรี่ของเรา เพราะว่ามันไม่ได้ง่ายที่จะเดินขึ้นบันได แล้วต้องจอดรถที่ไหนอะไรอย่างนี้ แต่คนที่มาคือคนที่อยากจะมา จริงๆ เพราะฉะนั้น เราจะสื่อสารกับคนที่อยู่ในร้านเราง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก เราก็เป็นตัวเราได้เลย

เครื่องดื่มไม่ได้ถูกตั้งชื่อไว้ถูกตั้งชื่อไว้เป็นแทร็ก?

แพน: ตอนแรกเป็นหมายเลขมาก่อน เพราะว่าเราออกมาเฟสแรก 7 ตัว เราไม่มีเวลาจะคิดชื่อเลย เหมือนมันต้องออกแล้ว มันก็จะมี 7 จนถึง 14 พอถึง 14 แล้วถ้าสมมุติเราอยากจะคัดบางเบอร์ออก เราจะคัดอย่างไร ถ้ามันจะเป็น 1, 2, 5, 8, 10 เพราะลูกค้าจำชื่อเบอร์

เราก็เลยคิดว่า โอเค เราจะมาตั้งชื่อแล้วกัน ตั้งชื่อจากความรู้สึกของเราสองคนเองล้วนๆ เลยกับเพลง แล้วก็รสชาติที่เราได้ดื่มว่า ถ้าเราดื่มแล้วรู้สึกถึงที่ไหน รู้สึกถึงเพลงอะไร รู้สึกถึงไวบ์แบบไหน ก็เลยเอามาเรียงเป็นเพลย์ลิสต์ด้วย ตอนนี้ชื่อนัมเบอร์ก็ถูกตัดไป แล้วก็เป็นชื่อเพลงเข้ามาแทน

จอย: แล้วก็จะมี Spotify ที่เป็นเพลย์ลิสต์ แล้วก็อยากจะแนะนำว่าอย่า Shuffle

Lost Ones / UMI Says / Butterfly Effect

Signature ของร้าน?

แพน: เล่าเป็นเฟสแล้วกัน เฟสแรกจะเป็น 7 ตัว ซึ่ง 7 ตัวแรก เป็นช่วงที่เราเพิ่งเปิดร้านเราก็ เลยให้บาร์เทนเดอร์เขาไปตีความคำว่า Modern-Day Culture เขามองว่า สมัยก่อนคนดื่มเหล้าเป็นยา แล้วเราอยากจะคิดให้มันเป็นแบบ Modern-Day ก็เลยมองย้อนกลับ เอาความยามาใส่ในเหล้าด้วย เช่น แก้วแรกก็จะชื่อ ‘Tutu’ จะมียาธาตุ เราใช้แทน Fernet ซึ่งสรรพคุณเดียวกัน รสชาติใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เขาก็จะดื่มหลังมื้ออาหาร ช่วยย่อย ยาธาตุน้ำแดงก็สรรพคุณเดียวกัน

เบอร์ 2 ก็จะมี Vinegar เหมือนที่เราผสมน้ำดื่มตอนเช้า ช่วย Dilute ช่วยลดไขมัน แล้วก็มียาหอมอะไรแบบนี้

ส่วนเฟสที่ 2 เรารู้สึกว่า เราอยากจะมองเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ให้เอามาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญ เช่น Basil ที่เอาไปซูวีด์ เรารู้สึกว่า เรามีอาหารเสิร์ฟด้วย เราอยากมีอะไรที่มันแพริ่งกัน เหมือนกินอาหารเป็นบะหมี่เป็ดรมควัน คู่กับพริกน้ำส้มแล้วแพริ่งกันไปได้ด้วยดี

ส่วนล่าสุดเนี่ยจะค่อนข้างอยากให้ลูกค้าไปคิดต่อเอง จาก Experience ของตัวเองกับการทานอาหารว่า

ชิมค็อกเทลวันนี้แล้ว ถ้าคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารแบบไหน คุณก็จะรู้สึกว่า แก้วนี้เหมือนอาหารที่คุณเคยสัมผัส อย่างเช่น แก้วนี้เราอาจจะบอกว่า ทำมาจากเต้าเจี้ยว แต่ว่าแต่ละคนก็จะรู้สึกไม่เหมือนกัน แบบ เฮ้ย มันเหมือนอันนี้ เหมือนอาหารแบบนี้ มันเหมือนอาหารแบบนั้น

เหมือนตอนที่เราวางว่า เราจะทำเป็นส้มฉุน แต่ลูกค้าบอก เอ๊ย เหมือนเมี่ยงคำ อีกคนบอกว่า เห้ย เหมือนกินหอยนางรมราดน้ำจิ้มอะไรอย่างนี้ ซึ่งเราก็เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้จินตนาการต่อได้เลยว่า มันจะเป็นรสชาติอาหารประเภทไหนที่คุณเคยทาน ไม่จำกัดว่า เราจะทำแบบนี้ มันต้องรู้สึกแบบนี้ เพราะบางทีเราทำส้มฉุน แต่เขาไม่เคยกินส้มฉุนมาก่อน มันก็ยากมากที่เขาจะนึกถึงส้มฉุน

แล้ว Golden Drop ใบแบบของ Modern-Day Culture คือ?

ต่วย: Golden Drop แก้วนี้จะชูความเป็น Cognac เราจะทวิสต์จาก 2 เมนูคือ Old Fashioned กับ Godfather มารวมกัน หลักๆ เราจะใส่ Cognac ตามด้วย Amaretto เป็นเหล้าที่มีกลิ่นของถั่ว แล้วก็น้ำเชื่อมที่ได้จากการหมักผิวส้มกับน้ำตาล เติมด้วย Bitter อีกนิดหน่อย

อยากเห็นซีน หรือบาร์คัลเจอร์ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นไปทางไหนอีกบ้าง?

แพน: แพนอยากเห็น Listenning Bar เพิ่ม อยากเห็นไวนิลบาร์เพิ่ม ที่เป็นไวนิลบาร์ที่ถูกต้อง เราอยาก Experience แบบนั้นในที่อื่น ที่ไม่ใช่ร้านเรา เราอยากจะเข้าไปดูเขาแล้วก็อยากมีเพื่อนเพิ่ม  ที่อยู่ในวงเดียวกัน

ไม่ได้มองว่า คนที่ทำไวนิลบาร์ Listening Bar แบบเราจะเป็นคู่แข่ง เรามองว่า อันนี้มันคือ เพื่อนกัน ถ้าสมมุติว่าเราอยากจะเอาดีเจต่างประเทศที่ดังมากๆ มา แล้วเปิดแผ่นเสียงอย่างเดียว แล้วมาเล่นที่ร้านเราร้านเดียว เราก็อยากให้ร้านอื่นได้มีด้วย หรือว่าเราเองก็อยากจะฟังดีเจไวนิลจากประเทศอื่นจากร้านอื่นเหมือนกัน จากคนเก่งๆ จากที่อื่น ก็เลยคิดว่า ตอนนี้เทรนด์ของ Listening Bar มันกำลังมามากๆ เลย ทั้งในเอเชีย ทั้งในยุโรป มันเยอะขึ้น แล้วแต่ละร้านก็ทำได้ดีมาก แล้วกลายเป็นว่า เราเองก็ได้รู้จักดีเจแผ่นเสียงจากประเทศ อื่นเยอะขึ้น จากการที่เราไปร้านเหล่านี้ด้วย

จอย: อยากเห็นซีนที่โหดขึ้น ในเรื่องการเซ็ตอัพ Sound System ต่างๆ การคอลเลกแผ่นของเขา จริงๆ จำนวนมันไม่ได้เกี่ยว มันอยู่ที่ว่าสิ่งที่เขาเก็บคืออะไรมากกว่า

‘Trinket’ แอพลิเคชั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ประกอบการ นักการตลาด และผู้ใช้บริการได้มาพบกัน กับโปรโมชั่นต่างๆ ที่เสริมความตื่นเต้นด้วยการกำหนดสถานที่, ช่วงเวลาในการสะสม, กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนของ Trinket (Voucher จากร้านต่างๆ) เพื่อสร้างการรับรู้ โปรโมต และสร้างยอดขายไปในเวลาเดียวกัน ภายใต้คอนเซปต์ Collectability, Exclusivity, Hype และ Fans นอกจากนี้ Trinket ยังมีระบบตรวจสอบ และเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์แคมเปญสนุกๆ ในครั้งต่อไป

สามารถดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น Trinket ได้ทั้ง App Store และ Google Play