Culture

Chonburi Youth สำรวจชีวิตวัยรุ่นสเก็ตบอร์ดเมืองชลฯ

EQ Youth: Kick Flipping in Chonburi

ท่ามกลางกระแส skateboard และลมมรสุมที่ปกคลุมเกือบทั้งน่านฟ้าเมืองไทย เราจับเข่าคุยกับแวน (22 ปี @vvansskub) แหนม (22 ปี @hem_hnam) ปิ๊ง (23 ปี @pingaw_) มายด์ (27 ปี @mindthskx) และแบงก์ (28 ปี -นามสมมุติ) 5 วัยรุ่นชาวชลบุเรี่ยนที่แชร์ความหลงใหล ไลฟ์สไตล์ สถานที่แฮงเอาท์ ความคาดหวัง และเรื่องสัพเพเหระเกี่ยวกับสเก็ตบอร์ดของเมืองชลบุรี ผ่านบทสนทนาบริเวณพื้นหินอ่อนหน้าศาลจังหวัดชลบุรีที่มีคนมาไหว้สักการะรูปปั้น ร.5 เป็นเนืองๆ

รีวิวชีวิตช่วงที่ผ่านมาและปัจจุบันในฐานะเด็กสเก็ต

ปิ๊ง : เราเรียน HRD (Human Resource Development) ตอนนี้ยังไม่ได้ทำอะไร อยู่ที่บ้าน วางแพลนไว้หลายอย่าง แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมาก

ถ้าใน 1 อาทิตย์ จะออกมาเล่นสเก็ตประมาณ 3-4 วัน ทำจนติดเหมือนออกกำลังกาย ถ้าไม่ได้ออกมาเล่น จะรู้สึกเหมือนว่าขาดอะไรไปบางอย่าง ที่มาเล่นก็ที่ ร.5 หน้าศาลชลบุรี ไปเล่นที่บางแสนนิดหน่อย ส่วนมากจะแฮงเอาท์ที่เล่นสเก็ตนะ ถ้าในสมัยก่อน นานๆ ทีอาจจะนัดรวมกันไปร้าน God’s station

แวน : ถ้าตอนทำงานก็ตื่นมาทำงาน 8 โมง เลิกงาน 5 โมง เป็นมนุษย์เงินเดือน ก็เป็นการรวมแก๊งกันตอนเย็นๆ แต่ถ้าตอนพีคๆ ก็มัธยม เราไม่มีภาระ เรียนไปวันๆ เล่นไปวันๆ พอโตขึ้นต้องหาเงินเอง ทำอะไรเอง ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบสเก็ตทุกวัน

ต่อมาพอรู้ว่าต้องไปเป็นทหาร มันหมดไฟทุกอย่าง เหมือนเราโดนตัดอนาคต จากงานที่ทำอยู่ กลับมาก็ไม่มีงานทำ จากที่ทุกอย่างกำลังลงตัว ได้ทำงาน ได้ออกกำลังกายตอนเย็น ดันไปทหารก่อน ตอนนี้ก็เหมือนมาเริ่มใหม่ วางแพลนใหม่ บวชก่อน กะจบให้หมด เราจะได้เต็มที่ ทำงานก็เต็มที่ ทำอะไรจะได้เต็มที่กับมัน

แหนม : ตอนนี้เรียนด้วยทำงานด้วยกับที่บ้าน เล่นสเก็ตมา 9 ปี ตอนนี้ก็มีทีม มีของ ซัพพอร์ต

กว่าจะมาเป็นเด็กสเก็ต

ปิ๊ง : เริ่มจากพี่ชายแท้ๆ เขาไปเรียนที่กรุงเทพฯ เล่นที่กรุงเทพฯ  วันนึงเขาก็เอาสเก็ตกลับบ้าน เราก็ลองเล่นดู ขึ้นไปเล่น แล้วเราก็ลื่นเลย ตอนนั้นก็คิดว่า ทำไมมันเล่นยากจังวะ ช่วงนั้นเราก็ลองเปิดวิดีโอสเก็ตดู โอ้โห มันเหมือนเปิดโลกอะ ก็ถึงมาลองเล่นอีก

มายด์ : เริ่มมานานแล้ว หน้าอนุบาลชล ก็มีคนมาเล่น เราก็ดูเขา มันน่าเล่น แต่ไม่รู้หรอกว่าต้องซื้อที่ไหน จนจบม.3 ประจวบเหมาะพอดีกับเซนทรัลฯ มีร้านมาขาย ร้าน NYLA มีตังค์ก้อนแรก 5,000 ก็ซื้อเลย complete ตัวแรก 4,800 บาท จำได้แม่น ก็เริ่มเล่นตั้งแต่นั้น เล่นมาเรื่อยๆ 10 ปีหน่อยๆ ได้

แหนม : เริ่มจากการเห็นจากสื่อทีวี หรือหนัง หรืออะไรสักอย่าง แต่ในใจอยากเล่นอยู่แล้ว พอเข้าม.1 ก็ไปเห็นพวกรุ่นพี่เขาเล่นกัน ก็เลยเก็บตังค์ไปซื้อ แต่ complete แรกไม่ได้ราคาหลักพัน complete แรกราคา 700 เป็นบอร์ดกากๆ เลย เราก็เล่นมาเรื่อยๆ เล่นอยู่บ้านนี่แหละ เล่นประมาณ 2 เดือนได้ ไม่รู้เล่นไหน แล้วก็เห็นแวนถือแผ่นมาโรงเรียนพอดี เราก็ถาม ว่าเล่นไหนวะ มันก็บอกเล่นอยู่ที่นี่ (ร.5) มันก็ชวนมา เราก็มาเล่นที่นี่ที่แรก

แบงก์ : เอาจริงๆ ผมอยู่กับมันมานาน ตั้งแต่ม.2 ม.3 คือชอบดู แต่ไม่คิดจะเล่น ดูแต่ในคลิป ในเน็ต แล้วเมื่อก่อนมันจะเป็นหนังสือ ก็ดูในหนังสือ แบบพวกสมุดภาพ นิตยสาร แล้วก็มาเห็นเขาเล่นที่หน้าเซ็นทรัลฯ ก็ไปนั่งดู ไปนั่งฟังเพลง ดูไปเรื่อย ก็ไม่เล่นสักที พอถึงจังหวะนึง เราก็แบบเอาวะ ซื้อก็ซื้อ ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ได้เล่นสักที แล้วสเก็ตมันแพง คือก็ซื้อทีละชิ้นมาเรื่อยๆ เดือนนี้ซื้อชิ้นนี้ อีก 2-3 เดือนซื้ออีกชิ้นนึง ค่อยๆ ซื้อมาเรื่อยๆ  จนมันครบ แต่ก็ยังไม่ได้ประกอบสักที มาเล่นจริงอายุก็ 20 กว่ ๆ

เล่าที่มาที่ไปของวัฒนธรรมสเก็ตในชลบุรีหน่อย

แวน : แต่ก่อนเขาไปเล่นม.บู กัน เรียกว่า KB ไม่ได้เป็นปาร์คนะ เป็นที่เล่น ที่เล่นก็จะเป็นพื้นแบบเรียบๆ ไปเล่นตอนมืด ตอนนี้ KB น่าจะไม่มีแล้ว out ไปนานแล้ว และก็พวก walking, ปลาโลมา ที่เป็นที่เล่นเก่าๆ

ถ้าของชลบุรี ที่เป็นปาร์ค แต่ก่อนก็มีของพวก BMX ที่เขาทำกันเองอยู่หลังตึกน้ำ เป็นพื้นปูน เป็นเนิน ของพวกรุ่นพี่ เราก็ไปเล่น เอาจริงก็ไม่ได้เรียกว่าปาร์ค เป็น skate DIY กัน เริ่มแรกเขาทำไว้สำหรับ BMX เป็นสนามดินอย่างเดียวเลย พักหลังเขาเริ่มเทปูน เราก็เข้าไปเล่นได้บ้าง

ถ้าเป็นตรงหน้าศาล ร.5 เริ่มแรกก็ข้างหน้าอนุบาลชล เป็นพวกรุ่นพี่ รุ่นเก่า ตอนนี้ก็สัก 30 กันหมด แต่ก่อนเป็นสเก็ตเร่ร่อน เร่ร่อนไปเรื่อย จุดเริ่มต้นก็คงไม่มีอะไร เขาก็คงมารวมตัวกันหน้าอนุบาลชลก่อน แล้วก็ขยับๆ กันเข้ามาในนี้ (หน้าศาล ร.5) ย้ายไปเรื่อย แต่ที่ต้องเร่ร่อนเพราะว่าโดนไล่ไง โดนเทศกิจไล่ เรามาก็เป็นรุ่นเด็กอีกที ตอนนี้พวก gen เก่าไปกันหมดละ ไม่ได้หมายถึงตายนะ เขาก็ไปทำงานกันหมด ไม่ค่อยได้รวมแก๊งกัน

ปิ๊ง : ตั้งแต่เริ่มแรกคงไม่มั่นใจ เพราะเราอยู่ในช่วงที่รุ่นพี่ที่มีอายุเยอะๆ มาเล่น เห็นเขาว่าเริ่มแรกๆ ก็เป็นพวกบางแสนมั้ง พวกที่เล่นในม.บู

เห็นว่ามักมีปัญหาการไล่ที่ ช่วยขยายความกับบอกวิธีจัดการปัญหาตรงนั้น

แวน : อันนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล มารยาทส่วนตัว อยู่ที่หน้างานด้วยว่าเราเจอคนยังไง แบบว่าถ้าเราเล่นล้มแล้วแผ่นไปโดนคนอื่น อันนี้เราผิดอยู่แล้วเต็มๆ เราก็ต้องนอบน้อมเข้าไปขอโทษเขา แค่นั้นแหละ แต่ก็อยู่ที่ว่าจะเจอคนยังไงอีกที ถ้าเจอคนดีเราก็ต้องทำดีกับเขา ถ้าเจอคนไม่ดี ก็ไม่ดีขนาดไหนอีก ไม่ดีขนาดที่ต้องสวนกลับรึเปล่า หรือแค่เดินออกมา เพราะเราผิดอยู่แล้วถ้าแผ่นไปชนคนอื่น

ปิ๊ง : อย่างแรกเราก็พูดคุยกันก่อน จะมีคนที่มาไล่ตามหน้าที่ บางคนที่มาไล่เขาก็เข้าใจเรา แต่เพราะถูกร้องเรียนมา บางคนเขาไม่เข้าใจอะไรเราเลย ไม่รู้ว่าเราเป็นยังไง ก็มาไล่เลย ประนีประนอมกันน่ะแหละ เราก็รู้ว่าเราเล่นมีเสียงดังบ้าง ถ้าประนีประนอมได้ เราก็เล่นต่อ ถ้าไม่ได้ เราเลือกที่จะถอยห่างออกมาดีกว่า

แวน : อยากให้มองเป็นจักรยานคันนึง ที่เราสามารถไปกับมันได้ทุกที่ สำหรับเด็กสเก็ตมันมองเป็นอย่างนั้น เราอยากไถสเก็ตไปทุกที่อะ อาจเกิดอุบัติเหตุอะไรกันบ้าง อยู่ที่พื้นถนนประเทศไทยด้วย ขนาดคนเราจอดรถให้คนข้ามทางม้าลายยังโดนด่าเลย

ปาร์ค ที่เล่น ที่แฮงเอาท์ และสถานที่ที่แนะนำในชลบุรีให้ไปไถสเก็ตบอร์ด

แวน : พูดแล้วเศร้าเลยอะ ในชลบุรียังไม่มีปาร์คเลย หมายถึงในตัวเมืองชลนะ ยังไม่มีปาร์คสักอัน ถ้าที่แฮงเอาท์ พวกเล่นสเก็ตด้วยกันจะแฮงเอาท์กันแต่ที่นี่ ร.5 เท่านั้น ซื้อเบียร์เซเว่น นั่งกินกัน ส่วนมากจะไม่ค่อยได้ไปร้านเหล้านะ ไม่ค่อยได้ไปไหนกันหรอก นั่งกินอยู่นี่ เล่นสเก็ตกันไปด้วย ส่วนมากก็เป็นแบบนี้กันหมดแหละ เด็กสเก็ตนั่งกินอยู่ปาร์ค

แหนม : ร.5  บางแสน สวนสาธารณะหาดวอน ปาร์คอิน ม.บู แหลมแท่น มีปาร์คที่พัทยา เกาะลอย กับสวนสาธารณะบางพระที่ติดทะเล

อันที่จริง มันอยู่ที่ว่าเรามองออกยังไงว่าจะเล่นตรงไหนๆ เขาไม่ได้สร้างมาให้เราเล่นหรอก มันเป็นขอบ เป็นอะไรอย่างเงี้ย เราก็เล่นได้ เขาเรียกว่า street skate คือเจออะไรก็เล่นข้างทาง เจอเหลี่ยม เจอเหล็กอะไรอย่างนี้

มีความประทับใจเกี่ยวกับสถานที่เหล่านั้นไหม

แวน : ไถจากหน้าร.5 ไปเล่นสวนสุขภาพมันก็สนุกแล้ว ขึ้นอยู่กับการอยู่กับเพื่อน เล่นตรงไหนมันก็มีฟีล มีความสุขอยู่แล้ว

แต่ที่ชอบที่สุด ชอบตอนไปแข่งสเก็ตประจำปี ไปแข่งประจำจังหวัด เป็นงานแข่งรวมเลย มีหลายกีฬา เราก็จะไปกับพวกเอ็กซ์ตรีม มันก็จะรู้จักกันหมด มีกันไม่มากหรอก

ปิ๊ง : ชลบุรีไม่มีเลยว่ะ ถ้าประทับใจ ก็ประทับใจหน้าร.5 สมัยก่อนนะ อุปกรณ์มันก็เยอะกว่าที่อื่น มันมีหลายอย่าง มีคนเล่นเยอะ คนโหดเยอะ มันก็ตื่นตาตื่นใจสมัยเรามาเล่นแรกๆ

แหนม : ที่กรุงเทพฯ ก็ชอบ ที่นี่ก็ชอบกรุงเทพฯ มีปาร์คชื่อ Dreg skatepark มันมีคนแต่ละทิศแต่ละทางมารวมตัวกัน เหมือนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนอะไรกันนิดหน่อย สนุกดี

คิดว่าเด็กสเก็ตที่ชลบุรีกับที่อื่นเหมือนหรือต่างกันไหม

ปิ๊ง : ใช้คำว่าคล้ายคลึงกันดีกว่า ความเหมือนของเด็กสเก็ตอะ คือ friendly เข้าถึงง่าย พอไปเล่นต่างที่ หรือมีคนอื่นมาเล่น เราจะทักทายกัน เวลาใครเล่นลง เราตบมือหรือว่าเคาะแผ่น เหมือนมีสัญญาณกัน แบบคนนี้ทำท่านี้ ลงได้ดีนะ เขาก็จะเคาะแผ่นหรือตบมือ หรือชมอะไรอย่างนี้ 

ที่ไม่เหมือนก็คือการออกเล่นแต่ละที่ จะมีมารยาทไม่เหมือนกัน บางที่อยากเล่นก็คือออกเลย บางที่อย่างชลบุรี คนมันไม่ได้เยอะ เวลาเราจะออกไปเล่นอุปกรณ์แต่ละที มันจะมีคล้ายๆ การต่อคิว แต่บางที่อยากออก ออกเลย มีการตัดหน้ากันบ้าง แต่ที่ชลบุรี จะไม่ค่อยมีการตัดหน้ากันนะ ส่วนมากเป็นเกรงใจกันมากกว่า

แวน : คิดว่าเด็กสเก็ตมีเอกลักษณ์ก็คือเป็นเด็กสเก็ต มันเลยไปด้วยกันได้ ไม่ว่าที่ไหนคำว่าเด็กสเก็ตมันคือคำว่าเอกลักษณ์แล้ว เราว่าเกือบเหมือนหมดอะ แฮงเอาท์ ปาร์ตี้ ดูดเนื้อ กินเบียร์ ต้องมีหมด… ต้องมีบ้างแหละ

แหนม : ไม่ค่อยต่างเท่าไร สไตล์การพูด การวางตัว ก็เด็กสเก็ตทั่วๆ ไป มาเล่นสเก็ตเนาะ ต้องบ้าๆ บางทีก็ติดตลก อะไรประมาณนี้

ปิ๊ง : คือคนที่อยู่ด้วยกันได้ นิสัยมันต้องคล้ายกัน

วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดอยู่ตรงไหนของวัยรุ่นชลบุรี

แวน : มันมีมาตลอดนะ แต่เพิ่งมาพีคตอนนี้ มันก็มีคนที่เห็นแล้วอยากเล่นจริงๆ เพราะว่าเราก็มาจากเด็กที่อยากเล่น อยากฝึก อยากทำได้ อยากทำเป็น และก็มีส่วนที่มาเพราะเป็นกระแส แต่เราก็ไม่ได้ว่าเขา มันก็คือกีฬาชนิดหนึ่ง ทุกคนมีสิทธิเล่น มีสิทธิทำ

เรามองว่าสเก็ตมันไม่เคยหาย เด็กเกิดขึ้นมาตลอด จุดนึงก็คงเบื่อกับการปั่นจักรยานแบบเดิมๆ พอเห็นสเก็ตมันก็อยากเล่นบ้างแหละ อยู่ที่ว่าเล่นแล้วจริงจังแค่ไหน อยากได้แค่ไหน บางคนอาจอยากเฉยๆ บางคนเล่นแล้วก็อยากไปต่อ เพราะมันก็ไปต่อได้ ประมาณนั้น

แบงก์ : มันกลุ่มน้อยซะยิ่งกว่ากลุ่มน้อย คือบ้านเรามันไม่เหมือนต่างประเทศ เราต้องเข้าใจก่อน การเสพวัฒนธรรมบ้านเรามันผิวเผินจริงๆ สเก็ตบอร์ดในชลบุรียิ่งกว่า subculture อีก แต่ถ้ากรุงเทพฯ คนเล่นจะเยอะ เพราะมันเป็นเมืองหลวงแค่นั้นเลย เหตุผลเพราะมันเป็นศูนย์กลาง แต่ถ้ามองภาพรวมมันก็เป็นแบบนี้จริงๆ ถูกมั้ย คิดว่าสมมติไปใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯ เราก็เล่นแต่กับกลุ่มเดิมๆ ไม่ต่างอะไรกับที่นี่

แหนม : ถ้าชลบุรีจริงๆ อย่างมากรวมตัวกันก็สิบคนเต็มที่ ตัวเมืองชลบุรีมันเล็กไปหน่อย มันไม่มีจุดแบบว่าเป็นปาร์คสเก็ตจริงๆ ถ้ามี คนอาจจะเยอะกว่านี้ เพราะถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครอง เขาพาเด็กมา พอเด็กร้องอยากจะเล่นๆ ก็คงปฏิเสธลำบาก มันจะเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักได้ ถ้าเป็นแบบนั้น

ปิ๊ง : เป็นกระแสของวัยรุ่นดีกว่า คนที่จะผ่านชีวิตวัยรุ่นก็ต้องเคยเห็นหรือเคยสัมผัสบ้างนิดหน่อยจากเพื่อนหรือสื่อ

นอกจากเล่นสเก็ต มี activity อะไรกันอีกบ้าง

ปิ๊ง : ก็วิ่ง เราเล่นอยู่สองอย่าง ไม่สเก็ตก็วิ่ง

มายด์ : ขายไข่ไก่ กินเบียร์ ซื้อพระสะสม ฉีกๆ

แหนม : นอกจากสเก็ต ---ซึ่งนานๆ นะ ก็มีตกปลาบ้าง เข้าป่าบ้าง

แบงก์ : ก็ฟังเพลง เล่นเกม ดูหนัง อ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่หนังเรียนนะ ส่วนใหญ่อ่านนิตยสารทั่วๆ ไป อย่าง Hypebeast, Highsnobiety, Trasher, Berrics, Snowboard mag ประมาณนี้ นี่ชอบสโนว์บอร์ดนะ ที่มาเล่นสเก็ตเพราะอยากเล่นสโนว์บอร์ด

อะไรคือที่สุดของเด็กสเก็ต

มายด์&แบงก์ : Berrics เท่านั้น

แบงก์ : Berrics มันเป็น warehouse เป็นโกดัง ข้างในเป็นปาร์ค น่าจะอยู่แคลิฟอร์เนีย ถ้าเรามีตังค์สักร้อยล้าน ก็มี Berrics ในไทยแน่นอน

มายด์ : street league สุดๆ แล้ว

แหนม : ผมชอบฟีลกลางเมืองมากกว่า แถวฟิลลีไรงี้ ส่วนมากก็ที่อเมริกาอะ แหล่งกำเนิดคือที่สุดแล้ว

แวน : แค่ปาร์คดีๆ กับบรรยากาศ แต่พื้นฐานคือ พื้นเรียบๆ ให้ไถ พอแล้ว ขอเหล็กสักตัว ถ้ามีตังค์ทำให้นะ แต่แค่พื้นเรียบๆ ให้เด็กสเก็ตไทยอะ เดี๋ยวตังค์ผมไปรวมกันทำเองก็ได้

ปิ๊ง : เรื่องบางเรื่องขอเข้าไปแล้วด้วย ทำเรื่�

Amid the monsoon wind of Chonburi, EQ catch up with five local skateboarders Van (22), Hnam (22), Ping (23), Mind (27), and Bank (28) for a quick chat. As we’re sat in front of the Chonburi Provincial Court where people often come to worship the statue of King Rama V, the group share with us their passion for the sport, their day-to-day lifestyle, as well as hopes and dreams.

Can you tell us a bit about yourselves?

Ping: I’m studying HRD (Human Resource Development). I usually come out and skate 3-4 days a week. I’m so addicted to it that if I don’t do it, I feel like something’s missing. I usually come here at this spot or go to Bangsean. We hang out here most of the time, but we sometimes go to God’s Station.

Van: I have a full-time job now, so I can only come after work. Back when I was in high school, I did nothing else but going to school and skateboarding. I have to make a living now so I can’t skate everyday. When I got conscripted into an army, I had no motivation at all because I felt like my future was cut short. Everything in my life was going well until that happened and I had to quit my job. I had to basically plan my life again – I wanted to get everything over and done with, including getting ordained, so I’m free to do whatever I want for myself.

Hnam: I’m studying right now and also helping with my family’s business. I’ve been skating for 9 years. 

What did you start skateboarding?

Ping: My brother who was studying in Bangkok at the time came back to visit and he brought with him his board. I gave it a try but failed miserably. After watching skateboarding videos, I got really impressed with the sport and decided to give it a try again.

Mind: I saw people skateboarding when I was young but I didn’t know where to buy a board. When I was in 9th grade, a NYLA skateshop just opened up in Central and I used my first savings to buy a complete which cost around 4,800. I’ve been doing it since and it’s been 10 years now.

Hnam: I saw it on TV or maybe in a movie or something. I’d always wanted to try so I saved up some money to buy my first complete. It was like 700 bath so the quality was shit. I skated by myself at home for about two months, then I saw Van bringing his board with him to school so we got to talking. He asked me to come skate with him here.

Bank: I’ve been following skateboarding since junior high. I didn’t really skate in the beginning, only watched clips on the internet or read about it in magazines. Seeing skateboarders hanging out in front of Central inspired me to finally give it a try. It took me a while to be able to afford all the parts for a board because they’re quite expensive. I think I got serious about it when I was 20.

What’s skate culture like in Chonburi?

Van: People used to go skating at Burapha University or KB. It wasn’t exactly a park, just an open space with a smooth surface. Either that or they would go to the walking street or the dolphin statue. There’s also this DIY skatepark built by BMX riders. A bunch of OG riders were like nomads because they didn’t really have a place to go to and they always got told off by security guards.

Ping: I think the culture began in Bangsean with those guys who started skating in Burapha Uni.

What do you do when other people give you a hard time for skating in public spaces? 

Van: It depends on an individual. If we crash into other people, then obviously it’s our fault. We have to apologize to them. If they’re nice to us, then we’re nice to them. Sometimes when people get really aggressive towards us, we choose to just walk away.

Ping: We usually try to talk to them first. We know that an officer or a security guard is just doing his job. Sometimes we’re able to find the middle ground, but other times we can’t. We know that we tend to make a lot of noises so if we get that kind of complaint, we usually just evacuate.

Van: I want people to look at [skatebaords] like it’s a bicycle. We just want to be able to ride them and to go places just like people can with a bicycle. Accidents are bound to happen anyway especially on Thai roads. I mean, other car drivers even give you shit if you stop for pedestrains on a zebra crossing.

What are some good spots for skateboarding in Chonburi?

Van: It’s tragic because we don’t even have a proper skatepark in Chonburi. I mean, there are hangout spots like the one here. We usually go grab some beers from the nearby 7/11 and come here for a session. 

Hnam: Right here, Bangsean, Had Won park or Burapha University. There’s also a park in Pattaya. Most of these places aren’t built for skateboarding in the first place. It’s up to you to find the opportunity – it could be an edge of something. It’s called street skate.

Any memorable moments to share with us?

Van: I love riding from here to the health park. It’s always fun as long as I’m with my crew. I also had an awesome time when I competed at this event where I met all the X-treme sports guys. There weren’t a lot of us so we just kind of hung out. It was so much fun.

Ping: There used to be a lot more skateboarders here in front of the statue. I love it back in the days because riders were much more hardcore.

Hnam: I love this park in Bangkok called Dreg Skarepark. It’s a cool hangout for us skaters.

How are Chonburi riders different from skaters elsewhere?

Ping: We’re pretty similar actually. Skaters are usually a friendly bunch so we’ve always got each other back. When someone lands a trick, we tap on our boards to compliment them. Each place also has a different set of rules. Sometimes you have to get in a line before you could skate.

Van: Skateboaders share a lot of similarities. We love hanging out, partying, smoking weed, drinking beers.

Hnam: We’re not that much different. We talk the same way and we carry ourselves the same way. Sometimes we’re funny, other times we’re crazy.

Ping: Birds of the same feather flocks together.

What else do you enjoy doing apart from skating?

Ping: Running. I either run or skate.

Mind: Selling eggs, drinking beers, collecting amulets.

Hnam: Fishing or trekking.

Bank: Listening to music, watching films, reading skate or snowboard magazines or websites like Hypebeast, Highsnobiety, Trasher, and Berrics.

What’s skateboader’s ultimate dream?

Mind: Berrics only! 

Bank: Berrics is a private indoor skatepark set in a warehouse. I think it’s in California. If I had hundred millions baht, I’d definitely build one in Thailand.

Mind: Top-tier street league.

Hnam: I prefer urban skateboarding like in Philly. 

Van: A solid skatepark with a smooth surface and a metal railing. That’s all we need really.

What do you think would happen if you woke up tomorrow and Bangsean turned into Venice beach with an awesome skatepark?

Van: Accidents! But yeah, having a proper park would be the ultimate dream for a lot of us.

Bank: It’s gonna be so damn hectic and crowed with people taking photos.

Mind: Litter would happen.

Hnam: I’d definitely go christen it. 

Ping: I think people would become more interested in the sport. We would also have a larger community of skateboaders coming from all over the place.

What song do you like skating to?

Mind: Ice Cube’s “It Was A Good Day.”

Ping: I listen to bands like Girl In Red, Tame Impala, John Mayer, Joji, and Yellow Fang. They’re awesome live.

Hnam: I usually just put on some hip-hop and R&B.

Bank: I can listen to pretty much anything from punk, hip-hop to luk thung or whatever that’s gone viral on TikTok.

Ice Cube - It Was A Good Day (Official Video)

Anything you want to say to those who want to ride a board?

Mind: Just go get one and hit the pavement!


Ping: Give it a try! Make sure to do it with a group of friends though. It’s safer that way.

Van: Just like any other sports, anyone can do it. Once you’ve tried it, I think you’ll realize that it’s more than just being on a moving board. Explore for yourself!

Hnam: It’s about setting a goal. You’ll be scared before you learn how to be brave. If anyone’s curious to try, come see us. We have some skateboards available. I’m here everyday except Sundays and when it’s raining.