Culture

Exploring the Creative Nexus: การมาถึงของ ‘Soho House Bangkok’ ครีเอทีฟเฮาส์ที่ไม่ได้มาเปลี่ยนแปลงแต่เป็นข้อต่อในวงการ

“เราไม่ได้เข้ามาเพื่อ Disrupt แต่เราอยากเข้ามา Connect กลุ่มก้อนต่างๆ ในวงการ Creative เมืองไทยให้เข้าถึงกันได้มากขึ้น” น่าจะเป็นคำจำกัดความของ Soho House Creative House จาก ลอนดอน ที่วันนี้ได้แลนด์ดิ้งถึงเมืองไทยเป็นที่เรียบร้อย จากปากของ ‘ลินน์ วิสุทธารมณ์’

คงไม่บ่อยสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกใน Private Member’s Club จะได้เข้ามานั่งภายใน House ที่ตั้งอยู่ใจกลางพร้อมพงษ์ และคงจะไม่บ่อยอีกเช่นกันที่เราจะได้นั่งคุยกับ ‘ลินน์ วิสุทธารมณ์’ – Head of Membership and Communication ของ Soho House ที่เปลือยเรื่องราวของบ้านอย่างหมดเปลือก ตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนวันที่เข้ามาถึงเมืองไทย การจัดการตั้งแต่ภายนอก จนถึงภายในบ้าน เราเชื่อว่าหลังจากคุณได้ทำความรู้จักบ้านผ่านบทสัมภาษณ์นี้แล้ว ไม่ว่าคุณจะวางตัวเองว่าอยู่ในวงการไหน คุณจะต้องอยากเข้าเดินเข้ามาเป็นสมาชิกของบ้านอย่างแน่นอน

Disrupt The Norm

หลังจากพี่ลินน์ต้อนรับเราในยามเช้าด้วยกาแฟจาก Soho Cafe แล้ว เธอก็จัดแจงรวบผม นั่งบนเก้าอี้สุดสบาย พร้อมเริ่มเล่าเรื่องของ Soho House ให้เราฟัง

“โครงสร้างของ Soho House เราเป็น Private Member’s Club ที่รวมเอาคนฝั่งครีเอทีฟเข้าไว้ด้วยกัน เดิมทีเราเริ่มกันในปี 1995 ย่าน Soho ในลอนดอน โดยคุณ Nick Jones มันเริ่มมาจากธุรกิจคาเฟ่เล็กๆ ของ นิค ที่ชื่อ Boheme ต้องเล่าก่อนว่าแลนด์สเขปของ Soho มันคือย่านที่เต็มไปด้วยคนทำงานครีเอทีฟ เต็มไปด้วย Fashion People คนทำงานภาพยนตร์ สตูดิโอ โรงละคร คลับ นักดนตรี คือเรียกได้ว่าคนที่ทำงานสายสร้างสรรค์เกือบทั้งลอนดอนกระจุกตัวกันอยู่ในย่านนี้ ทำให้คาเฟ่ Boheme ได้รับความนิยมในฐานะที่รวมตัว ที่เแฮงเอ้าท์ พักสูบบุหรี่ นั่งจิบกาแฟ คุยงานกัน แล้วก็ได้รับความนิยมจนเจ้าของสถานที่เสนอให้คุณนิคขยายร้านไปยังชั้นอื่นๆ ของอาคาร”

“มันเลยเปิดจุดกำเนิดของไอเดีย Private Member’s Club ขึ้นมา ซึ่งก็ต้องเล่าก่อนว่า ในยุคนั้นไอเดียนี้ไม่ได้เป็นของใหม่ในลอนดอนเลย ในลอนดอนเองคลับแบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ใครก็ตามที่อยากจะเข้าสังคม อยากพบปะผู้คน ส่วนมากก็จะใช้วิธีนี้ในการทำความรู้จักกันอยู่แล้ว ที่เราคุ้นหูกันน่าจะเป็น Gentalmen’s Club ที่มันก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเงิน สถานะทางสังคม ซึ่งจุดนี้นิคเขามองเห็นว่ายังไม่มีคลับไหนที่เป็นตัวแทนของคนในฝั่งครีเอทีฟเลย”

“นิคเขาก็เลยได้ไอเดียนี้มา พอคุยกับเพื่อนๆ ในคาเฟ่ ทุกคนก็เห็นด้วย วิธีการของเมื่อ 20 ปีที่แล้วก็ยังคล้ายๆ กับทุกวันนี้ที่ทำกันคือ มองหาคนที่จะมาเป็น Committee Member แล้วก็ใช้วิธีปากต่อปาก บอกต่อกันไป ขยายสาขาจากความต้องการของสมาชิกจริงๆ เกิดเป็นครีเอทีฟฮับ”

“ถ้าสมัยนี้เขาคงเรียกว่า Pain Point ใช่ไหม (หัวเราะ) ซึ่งส่วนตัวพี่ลินน์เองก็มองว่า นิคเขาตีโจทย์ได้แตก ในความเป็น Creative Private Member’s Club ที่คลับส่วนใหญ่ในลอนดอนขณะนั้น มันมีความเป็นทางการสูงมาก อย่าง Annanbel’s ถ้าคุณไม่ได้สวมสูท ผูกไท หรือใส่ขาสั้น ไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งกฎหนึ่งของ Soho House ของเราคือ ห้ามใส่สูท ผูกไท มันก็จะมีความขบถ ความท้าทายกฎเกณฑ์สังคมอยู่”

From London to Bangkok

“จริงๆ มันมีข่าวลือมาเป็นสิบปีแล้วนะ ว่า Soho House จะมาเปิดที่กรุงเทพฯ (หัวเราะ) อันนี้ถ้าให้พี่ถอดแว่นของคนที่ทำงานกับ Soho House ออก แล้วมองแบบจากคนนอก หนึ่งเมืองไทยคือความคุ้นเคยของเมมเบอร์ที่อังกฤษ ในฐานะเมืองท่องเที่ยว สองปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงปีที่ผ่านมา เอเชียมีโลเคชั่นของงานสร้างสรรค์เกิดขึ้นเต็มไปหมด เมื่อก่อนเราอาจจะโดนฉกฉวยงานดีไซน์ ศิลปะ หรือวัฒนธรรมไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยความตั้งใจก็ตาม แต่วันนี้ วันที่โลกมันเข้าถึงกันได้หมดแล้ว ความคิดสร้างสรรค์จากชุมชน จากคนพื้นที่ มันถูกไฮไลท์ขึ้นมาแล้วก็ทำให้ Cretive Community ในไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด”

แล้วอย่างนี้เราจะมีโอกาสได้เห็น Soho House Phuket หรือ Soho House Chiang Mai บ้างไหม?

“(หัวเราะ) แน่นอนว่าพี่ก็อยากเห็นเหมือนกัน ถ้าในมุมของการทำธุรกิจ ถือว่าน่าสนใจมาก แต่พี่เชื่อว่า Facilities ของ Soho คือเรื่องสำคัญ ทางบ้านหลักน่าจะอยากขยายจุดนี้ให้ครอบคลุมกรุงเทพฯ ก่อนมากกว่า”

Soho People

เรามีความสงสัยว่า คำว่า Creative ที่เป็นหัวใจของ Soho House นี้ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ครีเอทีฟมันมีความหมายว่าอะไร “พี่มองว่ามันคือ Spirit (จิตวิญญาณ) มากกว่า Creative Spirit ที่แน่นอนว่า คนทำงานในฝั่งนี้เขาก็จะต้องมีอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ย้อนกลับไปสมัยที่คุณนิคเริ่มคลับ Creative มันชัดเจนมาก ว่าคุณอยู่ในอุตสาหกรรมไหน เส้นทางอาชีพชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นดนตรี แฟชั่น ศิลปะ ภาพยนตร์ หรือโรงละคร แต่พอมาถึงทุกวันนี้พี่มองว่า คำนิยามมันกว้างออกไปกว่านั้นเยอะมาก พี่มองเห็นคนที่เป็นผู้ประกอบการ คนที่ทำมาร์เกตติ้ง นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชน หรือแม้แต่ฝั่งเทคโนโลยี นายธนาคาร คนเหล่านี้เขาก็มี Creative Spirit เช่นกัน แต่มันจะซ่อนอยู่ในส่วนไหนของการทำงาน หรือไลฟ์สไตล์ พอเราจับทางตรงนี้ได้แล้ว เราจะมองเห็นคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกของ Soho House ในไทย”

“ต้องยอมรับกันก่อนว่า ส่วนใหญ่ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตกันเป็นกลุ่ม เป็นเหมือน Tribe (ชนเผ่า) ซึ่งบางที่เราอาจจะต้องละทิ้งความสนใจของเรา เพื่อให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับคนอื่นๆ ได้ ซึ่งพี่มองว่ามันไม่ควรเป็นแบบนั้น Soho House อยากจะเป็นจุดหมายปลายทางรวมเอาคนในแต่ละ Tribe ที่มี Creative Spirit คล้ายๆ กัน เข้ามาเป็นสมาชิกของบ้าน ซึ่งคนเหล่านี้เขาก็จะพาเพื่อน พาคนใน Tribe เขาเข้ามาจอยกับทาง House พบปะกัน Cross Over ไม่ว่าจะเรื่องงาน ความสัมพันธ์ ไลฟ์สไตล์ มันเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราอยากให้สมาชิกของบ้านได้รับสิ่งเหล่านี้”

คุณลินน์ก็เริ่มเล่าอีเวนต์ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของคนแต่ละ Tribe ที่เล่าไปเมื่อสักครู่

“อย่างวันศุกร์ที่ผ่านมาพี่จัดดินเนอร์ให้ศิลปิน คุณอุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ที่เพิ่งเปิดโชว์ที่แกลเลอรี 100 ต้นสนไป แขกในงานก็จะเป็นศิลปิน Contemporary Art ที่ปกติเขาจะไม่ไปไหนเลย เขาจะอยู่แค่ที่สตูดิโอ แต่เขาออกมานั่งดินเนอร์และดริงก์ต่อเหมือนอยู่ห้องรับแขกบ้านเพื่อน ที่รายล้อมไปด้วยงานศิลปะที่เพื่อนๆ เขาเป็นคนทำอยู่ในบ้านนี้”

“เดือนที่แล้วเราทำดินเนอร์สองงาน งานแรกกับร้านสำรับสำหรับไทย ที่เขายอมปิดร้านมาเพื่อทำดินเนอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือของ คุณรงค์ วงษ์สวรรค์ ซึ่งเชฟปริญญ์เขาชอบอยู่แล้ว วิธีการเขียนจะเป็นแนวสุขนิยม และที่นี่มี Sensibility ของสิ่งนี้มาก เขาก็เลยครีเอทเมนูที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ แล้ววันนั้นโชคดีมากที่ได้ครอบครัวของคุณรงค์ วงษ์สวรรษ์ มารับทานที่นี่ด้วย แล้วสัปดาห์ถัดไปก็มีเจมมี่เจมส์ ที่มีแพชชั่นเรื่องอาหาร มาทำ Pop-up Dinner ซึ่งจะเห็นเลยว่ามีช่วงของคนตั้งแต่มือสมัครเล่นที่เอนจอยที่จะทำ ไปจนถึงเชฟระดับโลก”

"อย่างแพร แพรมาจากโลกฝั่ง Food and Beverage มันจะมีความครีเอทีฟบางอย่างที่พอเราอยู่ใกล้มันมาก เราจะมองไม่เห็น พอได้ย้ายมาทำงานฝั่งนี้ เรามองกลับเข้าไป โหเฮ้ย เห็นชัดเลยว่าครีเอทีฟมันไม่ได้จำกัดอยู่กับแค่เฉพาะบางงานจริงๆ” 'คุณแพร’ อีกหนึ่งแรงจากฝั่ง Membership Communication and Content Manager เสริมขึ้นมา

“แล้ววิธีการมองแบบนี้มันส่งผลไปถึงการคัดสรรสมาชิกของที่ Soho House ด้วย อย่างแพรที่ก่อนเข้ามา เขาไม่ได้อยู่ในวงการครีเอทีฟ แต่เขามี Self-expression ของความครีเอทีฟอยู่ในงานที่ผ่านมา แม้แต่คนที่ทำ Banking หรือ Finance ก็สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกของ Soho House ได้ แล้วด้วยการที่เราตั้งเกณฑ์ไว้กว้างมากขนาดนี้ Someway Somehow มันจะมีจุดที่เชื่อมโยงกัน และได้มาเจอกันอย่างแน่นอน เพราะลินน์เชื่อว่า ถ้ามีคนอย่างลินน์ทั้งบ้าน มันก็น่าเบื่อ คอนเวอเซชั่นในเรื่องเดิมๆ วงเดิมๆ เรื่องราวซ้ำไป ซ้ำมา ลินน์อยากให้เรื่องราวในบ้าน มันต้องทำความรู้จัก ทำความเข้าใจ และได้ใช้เวลาคุยกันในบ้าน”

ซึ่งพอเหลือบดูที่นาฬิกาในตอนนี้เป็นเวลาเกือบจะ 11.00 นาฬิกาแล้ว แต่เก้าอี้ในห้องรับแรกของบ้าน กลับถูกจับจองไว้จนเกือบเต็ม และสมาชิกของบ้านทุกคนก็ต่างนั่งพูดคุย เรื่องราวต่างๆ กันอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว

Member (and Mafia) Management

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า Inclusivity เป็นอีกหนึ่งมูฟเมนต์สำคัญของสังคมทั้งไทย และต่างชาติ แต่สำหรับ Private Member’s Club นั้น มันชัดเจนมากว่า เราได้จำกัดการเข้าถึง จำกัดการรับรู้ของสังคม เพื่อความเป็น Private ให้สมกับชื่อ สำหรับ Soho House แล้ว ได้ปรับตัวให้เข้ากับการตื่นรู้ของสังคมในทางไหนบ้าง?

“การสมัครของเราก็มีทั้งหมด 2 ประเภท แบบ Every-house Membership ที่จะสูงสุดของเรา สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกบ้านทั่วโลก อีกแบบจะเป็น Local House ที่ใช้บริการของบ้านในกรุงเทพฯ บวกกับสามารถจองโรงแรมในเครือของ Soho House ได้ในราคาที่ลดลง ถามว่าเราปรับตัวเพื่อสร้าง Inclusivity ไหม แน่นอนว่าเราทำ ในส่วนของ Under 27 ที่เป็นโปรแกรมสำหรับคนที่สมัครสมาชิกอายุ 27 ปี หรือน้อยกว่า และผ่านเกณฑ์เข้ามาได้ จะเรียกว่า Under 27 ซึ่งทำให้ราคาของ Membership นี้ลดลง 50% และยังมีช่วงเวลาอีกหลากหลายช่วงที่เราลดราคาอาหาร เครื่องดื่มภายในบ้านอีก”

“แน่นอนว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่มันคือธุรกิจ มันก็ต้องดำเนินไป ในขณะเดียวกันเราพยายามสร้างความมั่นใจว่า เราไม่ได้วางราคาไว้จนไม่สามารถจับต้องได้ จริงๆ ลินน์กับทีม พยายามสร้างวิธีการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายให้มันหลากหลายได้มากที่สุด เราแตกยอดจากการจ่ายรายปี เป็นจ่ายรายเดือน ที่ทำให้สมาชิกสามารถจัดการเรื่องเงินได้ง่ายขึ้น การเวฟค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือแม้แต่การทำ House Foundation ที่เราอยากบอกว่า ถ้าใครสนใจ มาลองคุยกับเราดู มันมีช่องทางของการเป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งมันต้องอยู่ในเงื่อนไข Qualified for Membership ด้วย”

อีกหนึ่งสิ่งที่เราปฎิเสธไม่ได้เลยในสังคมไทยคือ ในทุกวงการย่อมมีมาเฟีย ผู้มีอิธิพล ผู้คร่ำหวอดในวงการ ทาง Soho House มีวิธีจัดการอย่างไรให้ House ไม่กลายเป็นที่รวมตัวกันของเหล่ามาเฟีย จนทำให้คนครีเอทีฟใหม่ๆ ไม่สบายใจจะเข้ามาในบ้าน

“ไม่มีนะ หมายถึงไม่มีวิธีจัดการนะ (หัวเราะ) มันถูกจัดการด้วยตัวของมันเอง คือคนพวกนี้เขามาด้วยความคาดหวังอะไรบางอย่างอยู่ เช่น .... ” คุณลินน์หยุดคิดสักพัก “เช่น การได้รับสิทธิประโยชน์บางอย่างเหนือกว่าคนอื่น การได้สมาชิกฟรี แต่ทางเราก็ไม่ได้เข้าไปจัดการกับเรื่องพวกนี้ เพราะเราไม่มีเวลา (หัวเราะ) ตอนนั้นมัวแต่ทำบ้านกันอยู่ คือตัวลินน์เองก็ยังเป็น Gen Y ที่มีความเคารพคนที่ทำสำเร็จมาก่อน ปูทางมาให้กับคนรุ่นหลัง เราดูแลทุกคนด้วย 3 อย่าง Friendly, Casual, Hospitality แต่ถ้าใครที่เขามีความต้องการมากกว่านี้ เราก็อาจจะไม่สามารถมอบให้ได้ พอเขาหรือเธอไม่ได้ในสิ่งที่ตั้งใจไว้ หรือเป็นสิ่งที่เคยได้แล้วไม่ได้กับที่นี่ คนเหล่านี้ก็หายตัวไปเอง”

Soho House and Thai Creative Culture

“อย่างที่เล่าไปในช่วงแรก ลินน์มองว่าครีเอทีฟในไทยมันกว้างมาก มันออกไปได้ไกลมาก ถ้าใครซักคนหนึ่งจะมาทำงานที่ได้ดูแล Soho House แล้ว ลินน์ก็อยากเป็นคนทำเอง เพราะกลัวว่าถ้าคนอื่นทำ เขาจะทำไปในทางที่ไม่ชอบ พอมันเป็นอะไรที่มี Global Standard แล้วจะต้องมาพบกับ Locals เนี่ย มันน่าสนใจ เพราะมันเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถเจอไวบ์แบบนี้ได้ที่ไหน นอกจาก Soho House ลินน์อยากท้าทายตัวเองด้วยกันที่ทำให้ Soho House กลายเป็นแพลต์ฟอร์มที่จะสนับสนุน เกื้อกูล คนวงการในครีเอทีฟ ไม่ว่าจะฝั่นไหนก็ตาม ให้เขาได้ถูกมองเห็น ให้ถูกเป็นที่รับรู้

ลินน์รู้ว่าตอนนี้สิ่งที่เราทำมันเป็นเหมือนข้อต่อเป็นผู้สนับสนุนของ Creativity เราไม่ได้มองว่า เราจะเข้ามา Disrupt อะไร สิ่งที่เราพยายามทำคือ สร้าง New Connections ที่ Lead to Creative Output ทุกอย่างมันจะเกิดได้โดยที่ไม่ต้องพยายาม และเป็นไปตามทางของมัน เมื่อเขามาเจอกันที่นี่ หรือบางอย่างมันเกิดขึ้นโดยการที่เราสร้างสิ่งแวดล้อมให้เขาได้มาเจอกัน แต่ฟังก์ชั่นมันเกี่ยวกับเรื่องของการครีเอท มันจับต้องไม่ได้ เราเป็นเหมือนตัวกลาง”

“อย่างเดียวที่ลินน์อยาก Distrup ในไทยคือ วัฒนธรรมของการ Socialise เราจะคุ้นชินกับคำสอนของผู้ใหญ่ทำนอง “อย่าคุยกับคนแปลกหน้า” หรือถ้าใครซักคนพยายามเข้าสังคมก็จะกลายเป็น Social Climber หรือการพูดเกี่ยวกับตัวเองเยอะไปเท่ากับการหลงตัวเอง หรือแม้แต่การอย่าแสดงตัวตนออกไปมากนะมันไม่ดี ลินน์ว่า การแสดงตัวตนออกมามันเป็นเรื่องที่ดี มันทำให้คนอื่นได้เห็นตัวตนซึ่งกันและกัน ซึ่งมันก็กำลังเกิดขึ้นในสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ย้อนกลับไปมันคือคำถามที่เราเพิ่งคุยกันในเรื่องของ Inclusivity เพราะคนเราแสดงตัวตนออกมาอย่างหลากหลาย การโอบรับทุกคนเข้าด้วยกันมันคือ วิธีการอยู่ร่วมกันของความแตกต่าง สิ่งนี้แหละ คือสิ่งที่ลินน์อยากให้ Soho House เป็นคนที่เริ่มกระเทาะตัวตนของผู้คนในสังคมไทย”