Culture

Bangkok’s Charm With A Twist: ‘SUNDRY’ แหล่งแฮงเอาต์จิปาถะ Hidden Gem ในย่านสีลม ที่จับกรุงเทพฯ มาเล่าใหม่ในแบบฉบับค็อกเทล

ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนน่าจะได้เห็น ‘SUNDRY’ แหล่งแฮงเอาต์ใหม่ในย่านสีลม ในโซเชียลมีเดียกันมาบ้างแล้ว ตึก 4 ชั้น สไตล์ Bangkok Contemporary แห่งนี้ คือพื้นที่รวบรวมทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ศิลปะ และแฟชั่นเอาไว้ ซึ่งเกิดจากภาพในหัวของ ชอร์น หลิง ผู้เป็น Founder ของที่นี่

เราเปิดบทสนทนาด้วยคำถามที่อาจจะคลีเชสักหน่อยอย่าง ‘ทำไมถึงชื่อ SUNDRY’ ซึ่งชอร์นก็ได้เราย้อนไปในช่วงโควิด-19 ที่เขาทำแบรนด์หมูแดดเดียว หรือ Sundried Pork

“จริงๆ ชื่อนี้มันเริ่มต้นจาก Sundried Pork แต่ผมรู้สึกว่าชื่อนี้เดี่ยวๆ มันเป็นชื่อแบรนด์ไม่ได้ ผมก็หาคำที่รู้สึกว่ามันแบ่งหมวดหมู่ได้ชัดเจน ก็มาเป็น ‘Sundry’ (ซันดรี)

ส่วนมากคนไทยจะอ่าน ‘ซัน-ดราย’ แต่การออกเสียงแบบต้นฉบับคือ ‘ซัน-ดรี’ หมายความว่า ‘เบ็ดเตล็ด’ หรือหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่จัดหมวดหมู่ไม่ได้ ผมก็เลือกใช้แบรนด์นี้ขึ้นมา โดยที่ตัว U ที่มีขีดด้านล่างในโลโก้ หมายถึง พระอาทิตย์ครึ่งดวง กับหมูแดดเดียวที่เป็นเส้นอยู่ตรงข้างล่างครับ”

สารพัดธุรกิจจิปาถะในตึกหลังเดียว

“หลังจากนั้นมันก็พัฒนาเป็นไอเดียที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นคนที่ชอบทำอะไรจากเล็กๆ แล้วกลายเป็นใหญ่ มันก็กลายมาเป็นร้านอาหารไทย-ทาปาส กับค็อกเทลบาร์ครับ โดยที่แรงบันดาลใจก็ยังใช้ SUNDRY เหมือนเดิมครับ ก็คือแต่ละกิจการที่อยู่ในแต่ละชั้นของตึก ถ้ามันแบ่งเป็นตัวตนของมันเอง ก็จะไม่หนักแน่นเท่ากับทุกอย่างรวมกันเป็นหนึ่งเดียว มันก็เรียกว่า ‘Sundry of businesses in one building.’ ครับ

แต่ละชั้น แต่ละทีมมันจะไม่เหมือนกันเลยครับ ทีมร้านอาหารก็จะเป็นทีมหนึ่ง ทีมบาร์ก็เป็นอีกทีมหนึ่งครับ ไม่เชิงว่าโคกัน มันเป็น 2 ธุรกิจที่อยู่ในตึกเดียวกันครับ”

“จริงๆ ชั้น 1 ในอนาคตมันจะเป็นร้านอาหารไทย-ทาปาสนะครับ แต่ว่าระหว่างที่รอร้านอาหารเปิด พวกเราร่วมงานกับ XSPACE Gallery มาสร้างนิทรรศการเดี่ยวสำหรับศิลปินไทย จากเดือนนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีหน้าเลยครับ”

เมื่อไดเรกชั่นถูกคุมด้วยคนคนเดียว และรอคนอื่นมาเติมเต็มภาพในหัว

“มันเป็นเพราะว่า ผมเป็นคนเขียน Wireframe ทุกอย่าง Priority ทุกอย่างมาจากผมคนเดียวทั้งหมด ไม่ผ่าน Agency หรือ Consultant แล้วผมก็ค่อยบรีฟว่า คุณแค่มา Fill in the gap อย่างคุณนนท์ที่เป็น Bar Manager เขาก็ต้องมา Fill in the gap ว่าเมนูค็อกเทลที่ผมสร้างไว้เป็น Chapter ต้องเติมอะไรเข้าไปบ้าง แล้วแต่ละอันต้องมี Player Profile เป็นอย่างไรบ้างครับ มันค่อนข้างจะเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนมาก เช่นเดียวกันกับร้านอาหารในอนาคตที่มันจะมีโครงสร้าง Wireframe ของมันที่จะหลุดออกไปได้ไม่ไกลมาก มันค่อนข้างจะมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนที่ผมเขียนไว้แล้ว ทุกอย่างที่นี่มันมีไกด์ไลน์ เป็นสไตล์การทำงานที่ค่อนข้างฝรั่ง เพราะผมเป็นลูกครึ่งสิงคโปร์”

“คนดูข้างนอกก็อาจจะยังไม่เข้าใจคำว่า SUNDRY อยู่แล้วว่าคืออะไร เพราะมันคือหลายๆ อย่างรวมกันครับ แต่ว่ามันก็จะเป็นสไตล์หนึ่ง”

“ตั้งแต่ผมได้ตึกนี้มาผมมีภาพในหัวว่ามันจะเป็นอย่างนี้ หน้าที่ผมก็คือ ทำงานร่วมกันกับวิศวกร นักออกแบบภายใน ผู้จัดการบาร์ หัวหน้าเชฟ ทุกอย่างให้อยู่ในทิศทางที่ชอร์นตั้งเอาไว้ แบรนด์มันถึงจะไปได้ชัดเจนครับ”

ธุรกิจที่นำด้วยความ ‘เผด็จการ’

“ในความเผด็จการของที่นี่ก็จะมีหลายอย่างที่เป็นโมเดลธุรกิจที่หลายคนไม่ทำครับ ผมรู้สึกว่า ผมเป็นคนที่สร้างสเปซให้คนที่มีพรสวรรค์เข้ามาทำงานสร้างสรรค์ในสไตล์ของตัวเอง โดยที่อยู่ในกรอบเกณฑ์ที่ผมสร้างเอาไว้ เพราะว่าภาพรวมผมอยากให้ตัวตนของธุรกิจมันสตรอง ถ้าพูดถึงแบรนด์สักแบรนด์หนึ่ง มันต้องมีคาแร็กเตอร์ที่เขาสร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อนตัวตนของแบรนด์ แล้วของ SUNDRY คืออะไร ตัวตนของ SUNDRY ก็คือ เอาชอร์นเป็นหลัก ผมก็เป็นคนๆ หนึ่ง แบรนด์ก็เหมือนเป็นคาแร็กเตอร์คนๆ หนึ่ง”

เราคงอดที่จะถามไม่ได้ว่า Founder ของ SUNDRY คนนี้เป็นคนเข้มงวดไหม?

“เข้มงวดไหม เข้มงวดมาก แต่ว่าในความเข้มงวดของชอร์น ผมรู้สึกว่า พวกเราเติบโตไปด้วยกันเป็นครอบครัวครับ เพราะว่าสไตล์การทำงานของชอร์น อย่างแรกเลย การที่ผมออกมาทำงานธุรกิจคนเดียวแบบนี้ เพราะว่าผมไม่อยากอยู่ใน Toxic Environment ที่เมืองไทยมันมีอยู่แล้วครับ เพราะผมมาจาก E-Commerce กับอุตสาหกรรมแฟชั่นอยู่แล้ว มันเป็นสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ Toxic การที่ผมมาเปิดกิจการผมก็จะไม่เอาประสบการณ์ที่ผมเจอมาทำให้มันเกิดขึ้นที่นี่ เช่น ความไม่เท่าเทียม พฤติกรรม Toxic หรือการที่คุยกันเรื่องปัญหาไม่ได้ เราค่อนข้างเป็นครอบครัวครับ อยู่ด้วยกัน กิน ดื่ม เที่ยว ทำทุกอย่างด้วยกันเลย แล้วก็ปรึกษากันทุกอย่าง ชอร์นอาจจะ Over Everything แต่ว่าคำพูดของชอร์นไม่หนักแน่นเท่ากับลูกทีมทุกคนซัพพอร์ต สมมติเขาบอกว่า เขารู้สึกว่าอันนี้ไม่ดี ผมก็จะเปลี่ยน เพราะว่าภาพรวมทั้งหมด งานที่ดีที่สุดมันมาจากการร่วมมือกันครับ ผมก็รู้สึกว่าการร่วมมือกันในทีมมันสำคัญมาก”

ธุรกิจเล็กๆ แต่เล่นใหญ่ ในแบบฉบับของ The One & Only

ก่อนหน้าที่จะมาเป็น Operational Director และทำการตลาดให้ SUNDRY ชอร์นทำ Branding และ Visual Design ให้กับ Luxury Brand ต่างๆ มาก่อน ดังนั้นการทำให้ภาพในหัวเกิดขึ้นจริงคือ ทางถนัด และงานของเขา แต่ภาพที่ชอร์นมอง SUNDRY เอาไว้ จะเป็นอย่างไรต่อไป?

“SUNDRY จะไม่เติบโตในไซส์ของสเกลธุรกิจครับ เพราะ SUNDRY มันคือ Unique Business ถ้ามันไปที่อื่นมันก็จะไม่ใช่ by SUNDRY แล้ว แล้วผมรู้สึกว่า การเติบโตของเราเป็นสไตล์ Collaboration ที่เป็นคนมีพรสวรรค์จากรอบโลก อาจจะเป็นศิลปิน เป็นหัวหน้าเชฟจากที่อื่น เป็น Guest Shift จากทั่วโลก ที่จะมาร่วมงานกัน แล้วก็มาแชร์เทคนิค และองค์ความรู้ของเขาร่วมกับ SUNDRY มากกว่าครับ”

“SUNDRY มีอยู่แค่ที่เดียว The One & Only แล้วก็จะเล็กๆ แบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ว่าเป็นสไตล์เล็กๆ ที่เล่นใหญ่ครับ อยู่ของมันไม่ยุ่งเกี่ยวกับซีนอะไรรอบๆ พวกเราจะเป็นแค่ธุรกิจสแตนด์อโลน อย่างโลเคชั่นของธุรกิจเราก็จะไม่ได้อยู่ในโซน Nightlife แต่อยู่รอบๆ Nightlife ทั้งหมด หลังสวน สีลม สาทร ที่เป็น Nightlife แต่ว่าพวกเราเลือกที่จะมาอยู่ตรงกลางคนเดียว เพราะรู้สึกว่าเป็น Lonewolf แล้วนิสัยการทำงานเราก็จะไม่ค่อยไปยุ่งกับใคร”

“ไม่เคยมองใครเป็นคู่แข่ง เพราะรู้สึกว่าไม่มี Competitor มีแค่ Similar Market ในเชิงของราคา และลูกค้า แต่ว่าโมเดลธุรกิจจะไม่เหมือนใครครับ ผมรู้สึกว่า พวกเรามีโมเดลธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ และยังไม่ค่อยมีในตลาด”

“มันจะมีคนบอกเป็นเรื่องซ้ำๆ คือ ถ้าโปรดักต์ของคุณดีคนเขาจะมาเอง นั่นคือทางที่ผมใช้มาตลอด เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าของดีจริงคนเขาก็จะมา แล้วก็รักษาเสน่ห์ของตัวเองเอาไว้ เพราะเมื่อไรที่ตัวเองทำดีแล้ว ไม่ต้องไปฮาร์ดเซลมากครับ มันจะมีเสน่ห์ของมันเองที่ลูกค้าจะรู้สึกว่าดึงดูดกับมัน”

ศักยภาพของ Hidden Gem ในย่านสีลม

“ผมรู้สึกว่าโลเคชั่นตรงนี้ แล้วก็สไตล์ของตึกนี้ มันดูเป็น Hidden Gem ที่หายากในประเทศไทยมาก มันมีความเป็นพื้นที่สีเขียวค่อนข้างเยอะ อย่างฝั่งตรงข้ามที่เป็นสวนลุมพินี แล้วก็มีสเปซข้างหน้าที่เราทำเป็นแลนด์สเคปได้ เพราะว่าอย่างไรโจทย์ของชอร์นคือ SUNDRY ต้องมีแลนด์สเคป มันจะเป็นที่ๆ ไม่มีพื้นที่สีเขียวไม่ได้เลย เพราะธุรกิจของพวกเรามันคือ ประสบการณ์ด้วยครับ ประสบการณ์ที่พวกเราอยากสร้างที่ๆ เป็น ‘Hidden Gem in The Urban City’ แล้วก็เราก็อิงตามคอนเซ็ปต์ของไวบ์นี้มาทุกชั้นเลยครับ จนมาถึงชั้น 4 ที่เป็น Rooftop เล็กๆ ของพวกเรา ที่ถึงจะเล็กๆ แต่เป็น Hidden Gem ที่มันมีเสน่ห์นะครับ แล้วก็ย่านนี้อนาคตมันจะมี One Bangkok กับ Dusit Central Park ผมรู้สึกว่าย่านนี้ในอนาคตมันจะยกระดับ และมีผู้คนสัญจรไปมามากขึ้นครับ”

“มันมีหลายปัจจัยที่ทำให้เลือกที่นี่ครับ บังเอิญได้มา แล้วตึกมันสวย ตอนแรกมันไม่สวยแบบนี้ แต่ว่าผมเห็นแวว คือวิชวลหลักๆ เลย ที่ผมจินตนาการว่ามันสวย มันต้องสวย มันต้องดี ส่วนเรื่องโลเคชั่นขอให้อยู่ใจกลางเมืองก็พอครับ แต่ว่าต้องอยู่ในใจกลางเมืองโดยที่วิวต้องดี ผมชอบสิ่งแวดล้อมรอบด้านเลย”

“แล้วทำไมถึงเลือกย่านนี้ ส่วนตัวชอบสีลมอยู่แล้วผมรู้สึกว่า สีลมมันเป็นย่านที่ไม่ Pretentious ลูกค้าที่นี่ไม่พยายาม เป็นกลุ่มลูกค้าในแบบที่ชอร์นชอบ Mingle around ซึ่งผมอยากได้ไวบ์ของธุรกิจที่สตรอง และมีลูกค้าประจำ ที่พร้อมจะปกป้องแบรนด์มากกว่า”

เครื่องดื่มที่สะท้อนความเป็น ‘กรุงเทพฯ’

“คอนเซ็ปต์เมนูของเราคือ ‘กรุงเทพฯ’ นะครับ เพราะการออกแบบสุนทรียะของทั้งตึกมันคือ Bangkok Contemporary เป็นสไตล์โมเดิร์นผสมผสาน Traditional ในสไตล์ของกรุงเทพฯ แล้วเมนูค็อกเทลของพวกเรา แบงค็อกทำไม? เพราะว่ามันเล่าเรื่อง ของคนกรุงเทพฯ ในหลายๆ แบบ หรือเสน่ห์ในมุมต่างๆ ของกรุงเทพฯ”

Chapter 1 BKK Itinerary มันเกี่ยวกับการเดินทางรอบกรุงเทพ เหมือนเคยไปทัวร์สมัยก่อนที่แบบไปเกาหลี 1 วัน แล้วมีตารางเดินเที่ยวครับ BKK Itinerary ก็เป็นแบบนั้นเลย เป็นตารางเที่ยวรอบกรุงเทพฯ ในเวลากลางคืน เริ่มจากเยาวราช ข้าวสาร ซอยคาวบอย แล้วก็ SUNDRY มันก็จะวนรอบกรุงเทพฯ แล้วมันก็เป็นประสบการณ์จริงๆ ที่คนจะต้องไปกินข้าวที่เยาวราชก่อน แล้วค่อยไปเที่ยวต่อที่ข้าวสาร เราออกแบบไวบ์แบบนี้ แล้วค็อกเทลก็ได้แรงบันดาลมาจากแต่ละที่ที่เราสร้างขึ้นมา แล้วก็การออร์เดอร์ค็อกเทลในหมวดนี้ก็คือ ตามเวลาของมันเลยครับ มันมีเวลาของมัน สมมติว่าคุณเวลาระยะเวลาของมัน คุณจะสั่งค็อกเทลตัวนั้นไม่ได้ แล้วก็ในอนาคตที่พวกเราจะมี Thai tapas พวกเราจะมีเป็น BKK Itinerary แต่เป็นเวอร์ชั่นไทยๆ แต่จะไปเที่ยวที่อื่น อาจจะไปเที่ยววัด เที่ยวอะไรที่มันก็ก่อนกลางคืนนะครับ มันคือ Part A และ B ที่จะไปรวมกัน

Chapter 2 Heat Index ก็ชัดเจนว่ามันเกี่ยวกับความร้อน ความที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนอบอ้าวมากทั้งปี หน้าหนาวแทบจะไม่มี จะมีค็อกเทลอะไรที่คนเหยียบมาที่ร้านแล้วรู้สึกว่าดื่มแล้วก็สดชื่นคลายความหิวหาย ก็จะเป็นค็อกเทลสไตล์โทนิก Highball หรือเป็นค็อกเทลที่อัด CO2 หมดเลย จะมีความซ่าแล้วก็ฟีลลิ่งของไวบ์ มันเหมือนโฆษณาโค้กเลยครับ ดื่มแล้วสดชื่น ดื่มง่ายๆ

Chapter 3 Grade AAA ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘Counterfeit Business’ ในกรุงเทพฯ แถวห้วยขวาง หรือย่านที่มี ‘ของก็อปเกรดเอ’ เราก็เอาคอนเซ็ปต์แบบนี้เลย เอาค็อกเทลจากร้านดังๆ 3 ร้านของประเทศไทยมาก๊อบปี้ ค็อกเทลของเราก็จะมีพยัญชนะบางตัวหาย ส่วนผสมบางตัวหาย แต่พวกเราก็ให้เครดิตกับร้านที่พวกเราได้แรงบันดาลใจมา แล้วก็เขียนในเมนูเลยว่ามาจากร้านไหน ให้คุณไปลองออริจินัลก่อนที่จะมาลองร้านเรา

Chapter 4 Traditionalist จะเป็น Classic Cocktails With A Twist ทำคลาสสิกค็อกเทลให้เป็นรสชาติที่ยังไม่เคยดื่ม สุดท้ายจบด้วย Chapter 5 Thai Beaches ทะเลไทยมันเกี่ยวกับภาคใต้ของไทย ที่ขึ้นชื่อว่ามีทะเลที่สวยมาก แล้วคนทั่วโลกก็จะมาภูเก็ต สมุย เป็น Travel Destination พวกเราก็ได้แรงบันดาลใจจากตรงนี้มา สถานที่ วัตถุดิบ เอามารวมกันทำให้ค็อกเทลที่เป็นสไตล์ Tiki Drinks ก็เป็นสไตล์เครื่องดื่มที่มาจากแถบอเมริกาใต้ แล้วทำอย่างไรให้เมืองไทยมี Tiki Drinks ของตัวเอง ก็เกิดเป็น 3 ตัวนี้ขึ้นมา ภูเก็ต กระบี่ สมุย โดยที่ใช้ส่วนผสมที่เป็น Exotic จากภาคใต้ทั้งหมด แล้วก็ใช้เบสเหล้าบางตัวเป็นของไทย ที่เป็นมาจากภาคใต้แล้วก็มาทำเป็นค็อกเทล”

Sustainable และ Ethical Business

ชอร์นเล่าให้เราฟังว่าธุรกิจที่ยั่งยืนในแบบของ SUNDRY จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Environmental และ Ethical

“สำหรับ Environmental ตอนนี้พวกเรายังไม่ถึงเป้า แต่ว่าหลังจากที่แกรนด์โอเพนนิ่งเดือนหน้า (พฤศจิกายน) พวกเราก็จะเริ่มใช้โมเดลธุรกิจแบบ Environmental นี้ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยที่ชั้น 2 พวกเราจะมี Waste Treatment Facilities ที่พวกเราจะเอาของเหลือทิ้งจากค็อกเทล หรืออาหารทุกอย่างวันละ 10 กิโลกรัม ไปย่อยเป็นปุ๋ย Fertilizer แล้วก็ไปแจกลูกค้า อย่างที่ 2 ขยะทุกอย่างเราจะเอามาแยกเป็น พลาสติก บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียม แล้วก็กระดาษ แยกทั้งหมดนี้เป็นถังใหญ่ๆ แล้วโคกับองค์กรเอกชน เพื่อจะให้เขามารับแล้วนำไปรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่เขาจะไม่เอาหลายๆ อย่างมารวมกัน ผมคาดหวังว่าจะต้องเอฟเฟกทีฟมากๆ เราใช้กำลังคนเยอะมาก เพราะว่ามันมีหลายอย่างที่ มันเพิ่มขั้นตอนของการทำงาน แต่ว่าผมรู้สึกว่า นี่คือความพยายามที่จะรับผิดชอบของพวกเราในการที่จะเป็น Sustainable Business Brand ครับ โดยที่มันไม่ใช่ Zero Waste เพราะมันไม่มีอยู่จริง

ในเมนูที่กำลังจะมาเราจะมี Chapter ที่เป็น Sustainable ที่เราจะเขียนเป็นโร้ดแมพว่าเราทำอะไรบ้าง แล้วทุกอย่างจะไปจบที่ตรงไหนบ้าง ทุกอย่างจะเคลียร์ครับ มันคือความโปร่งใสในการทำธุรกิจ

เฟอร์นิเจอร์บางตัว อย่างสตูลบางตัวเราก็ใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลทำ หรือแก้วเครื่องดื่มบางตัวก็ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว ซึ่งเป็นแบรนด์ของคนไทย เราพยายามจะแซมวัสดุที่เป็นวัสดุรียูสเยอะครับ”

“สำหรับ Ethical Business พวกเราให้เงินเดือนขั้นต่ำเยอะกว่าที่อื่นประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เซอร์วิสชาร์จพวกเราให้เต็ม 10 เปอร์เซ็นต์ หยุด 2 วันต่ออาทิตย์ จริงๆ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มทำงาน 6 วัน แต่พวกเราให้ 5 วันพอ แล้วก็ให้เซอร์วิสชาร์จเต็มไม่ได้หักเพิ่ม ผมรู้สึกว่า ธุรกิจหนึ่งมันจะประสบความสำเร็จได้ก็เพราะว่าคน แล้วผมรู้สึกว่ามาตรการพวกนี้มันทำให้ครอบครัวของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น อนาคตเขาอยากไปทำอะไรที่เป็นของตัวเอง เขาก็เติบโตไปได้ เพราะรู้สึกว่าเงินมันคือทุกอย่างแล้วสำหรับคนที่ทำงานประจำ ผมรู้สึกว่าผมซัพพอร์ตทางนี้ได้ โดยที่เขาก็ซัพพอร์ตในทางรายได้ให้ผมได้ มันคือ Win-Win นะครับ โดยที่ผมไม่ได้หวังที่จะรวยมาก แต่ว่าผมก็อยากให้ทุกคนไปด้วยกันเป็นครอบครัว แล้วบุคลากรที่ผมมีจะเป็นคนที่ดี เก่ง ตั้งใจทำงานครับ และอัตราเทิร์นโอเวอร์ต่ำด้วยครับ”

มุมมองอนาคตของซีน Nightlife ที่ผ่านการคิดอย่างละเอียดอ่อนมากขึ้น

“ผมรู้สึกว่าคนไทยเติบโตเร็วมากเรื่องการดื่มเหล้าครับ สมัยก่อนค็อกเทลมันไม่ใช่สิ่งที่คนไทยจะสนใจเท่าไร แต่ตอนนี้ที่ที่เป็นคล้ายๆ ค็อกเทลบาร์บวกคลับมันเริ่มมาแรง ผมก็รู้สึกว่า บาลานซ์ฝั่งเขามันก็เริ่มไปทางร้านเหล้าแล้ว แต่ผมรู้สึกว่าอยากให้ SUNDRY รักษาคอนเซ็ปต์เรื่องค็อกเทลครับ

ถ้าถามว่าอยากเห็นอะไรกับบาร์ไทยเหรอ ผมรู้สึกว่า เดี๋ยวนี้ธุรกิจ Nightlife มันบูมมาก แต่ผมเห็นแต่ละอย่างออกมา มันไม่ได้ใช้พาร์ทความคิดละเอียดอ่อน หรือเป็นธุรกิจที่แบบยั่งยืนขนาดนั้น มันดูไปเร็วมาเร็ว โดยที่มันยังมีน้อยที่ๆ จะเป็นแบบนี้ครับ แล้วผมก็รู้สึกว่า ผมอยากให้มันมีธุรกิจคล้ายๆ กันขึ้นมาเยอะๆ”