#VanTour หรือ #VanLife หรือการย้ายที่อยู่จากบ้านไปสู่รถตู้โดยสังเกตได้จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งที่ขยับตัวมาใช้ชีวิตแบบ On The Go กับบ้านเคลื่อนที่ แต่เทรนด์นี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมถึงกำลังเป็นที่นิยม (อีกครั้ง?)
ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้มีกระแสในไทยเกี่ยวกับการเปลี่ยนเทเลอร์ขนของให้เป็นบ้าน หรือร้านกาแฟที่สร้างจาก Container แต่นั่นมันตั้งอยู่เฉยๆ รอบนี้เขาจะพากันไปวิ่งจริงๆ ด้วยกับ Van Life ที่เทรนด์นี้เริ่มเกิดกระแสขึ้นมาในระหว่างช่วงปลายของยุคไวรัส Covid 19 ด้วยความรู้สึกอึดอัดกับการที่ต้องอยู่ในห้องเล็กๆ เป็นเวลานานๆ + กันการที่งานหลายๆ อย่างถูกปรับมาเป็นงานที่สามารถทำจากที่บ้าน (Work from Home) เหตุผลทั้งสองอย่างนั้นเข้ามาผสมกันทำให้หลายคนเกิดไอเดียพาทั้งบ้าน ทั้งงานไปท่องโลกด้วยกัน และมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่ไหนที่หนึ่งบนโลก แต่ด้วยพลังของ Internet ทำให้กระแสก่อเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่
โดยเทรนด์นี้เกิดขึ้นมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่ในยุคนี้หากมองกลับไปจะเห็นได้ว่าในอเมริกายุค 1960s-1970s การอยู่อาศัยในรถตู้ หรือรถบ้านเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างฮิปปี้ (Hippy) และภายหลังในช่วงปี 1980s-1990s ก็เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มนักดนตรีรุ่นใหม่ หรือศิลปินต่างๆ โดนกระแสนี้คาดว่ามาจากการโหยหาอิสรภาพทางชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการถูกยึดติดอยู่กับที่ ความต้องการนำทางชีวิตด้วยตัวเอง เอาตัวเองเป็นที่ตั้งแล้วให้สิ่งรอบข้างปรับตามตัวพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการเงิน การงาน หรือคนรอบกาย แทนที่จะต้องเอาตัวเอาไปปรับเข้ากับสังคมที่ตึงเครียด โดยจริงๆ
อย่างที่บอกข้างตนว่ามันไม่ได้เกิดจากที่ๆ เดียวบนโลก แต่หากมองการพัฒนาของมันตั้งแต่ต้นจนทุกวันนี้เราจะเห็นรถตู้บ้านเหล่านี้วิ่งไปมาบนโซเชียลมีเดียในอเมริกา และ ออสเตรเลีย เป็นส่วนมาก ร่วมถึงจีนบางส่วนด้วย บ้างบันทึกการเดินทางในแง่ความสัมพันธ์ แบบ wild.nomad_ ที่พากันไปแบบสามี-ภรรยา บ้างทำเพื่อความสนุกสนาน และความผจญภัยเช่น kylegoesoff ที่บันทึกการเดินทางของพวกเขาตั้งแต่ช่วง 2023 ใน YouTube และ TikTok ที่พาเราไปเจอกับคอมมูนิตี้คนที่ออกมาแล่นรถไปมาเหมือนกัน
อีกทั้งหลายคนไม่ได้พาแค่ตัวเอง หรือคนรู้ใจไปแต่ยังพาน้องหมา และน้องแมวตามไปด้วย ซึ่งการเดินทางพร้อมบ้านแบบนี้ช่วยลดปัญหาการต้องเจอกฎมากมายของคอนโด หรืออพาร์ทเม้นต่อการเลี้ยงสัตว์เช่น Linnea.and.akela ที่พาเจ้าตูบไปเดินทางด้วยกัน หรือ Kayli.Kiing ที่มีเจ้าเหมียวชื่อ Big Chungus คอยให้กำลังใจกับการผจญภัยของเธอ
และด้วยพลังของโซเชียลมีเดียนั่นเองที่ทำให้นอกจากหลายคนที่ตั้งใจออกเดินทางแบบเพื่อหาแรงบันดาลใจ หรือหาชีวิตบทใหม่ของตัวเอง ได้พบกับหนทางการหาทุนเพื่อช่วยการเดินทางของพวกเขาผ่านระบบ Monetization ของโซเชียลมีเดียนั้นๆ ที่ยื่นอิสรภาพทางการเงินให้กับผู้ที่ทำคอนเท้นเหล่านี้
จากการโหยหาอิสระสู่กระแสสังคมที่สามารถมองได้ว่าเป็นผลกระทบจากสังคมที่ไม่เข้าท่าในสายตาคนรุ่นใหม่หลายกลุ่มทั้งเรื่องค่าครองชีพ และ ค่าการอยู่อาศัย ที่อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ลงตัวกับคนหลายกลุ่มจนพวกเขาต้องมาหาความลงตัวในแบบของพวกเขาเอง ดึงคืนเอาอำนาจ และความเป็นเจ้าของชีวิตมาอยู่ในมือของพวกเขาเอง เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในอิสรภาพ ไม่ใช่รอให้อิสรภาพมาหาพวกเขา
อ้างอิง
Project Van Life 🚐 (@project.vanlife) • Instagram photos and videos
Kayli King (@kayli.kiing) • Instagram photos and videos
Linnea & Akela 🏔 (@linnea.and.akela) • Instagram photos and videos
Kyle (@kylegoesoff) • Instagram photos and videos
wild nomad (@wild.nomad_) • Instagram photos and videos