Art

เมื่อความเครียดไม่เคยหายไปจากมนุษย์ ‘หนิง ศนิกุล’ เลยเปลี่ยนมันเป็น Haningwaslost NFT

Getting Grotesque With Creator of Haningwaslost NFT

Trigger Warning

เนื้อหาต่อไปนี้ประกอบไปด้วยรูปภาพเสมือนของเลือด, เครื่องในมนุษย์, รอยแผล, และการฆ่าตัวตาย (Blood, Gore, Wounds, Suicide)

Haningwaslost เป็นนามปากกาที่คนในแวดวง NFT บ้านเราพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ เวลาที่มีใครสักคนมาโพสต์ตามหางานโหดๆ แล้วเมื่อเราตามไปดูก็ยอมรับว่าครั้งแรกที่เห็นก็มีแอบเสียวไส้บ้างแหละ ให้อารมณ์เหมือนเห็นปกการ์ตูนผีสมัยก่อน แต่พอติดตามไปสักพัก กลายเป็นว่ากลับเพลินจนหยุดเสพงานไม่ได้ เลยสงสัยขึ้นมาเลยว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังแรงบันดาลใจในที่ทำให้เจ้าของผลงานสร้างผลงานแนวนี้ออกมาต่อเนื่องได้เป็นสิบชิ้น

“เคยมีนักสะสมหลายคนถามเหมือนกันว่า ทำไมเราถึงต้องเครียดขนาดนั้น” หนิง - ศนิกุล บุญบัญชาโชค เจ้าของนามปากกา Haningwaslost บน OpenSea Foundation และ KnownOrigin เธอเปิดบทสนทนากับเราพร้อมด้วยเสียงหัวเราะ เพราะทุกคอลเลคชั่นและทุกภาพที่เธอลงขาย มักจะโปรยตั้งแต่ Bio จนถึง Description ว่ามันมาจากความเครียดในชีวิตทั้งสิ้น

เล่าจุดเริ่มของ NFT ที่สรรค์สร้างจากความเครียด

“จิต – หนัก – หน่วง” คือ 3 คำที่หนิงนิยามผลงานตัวเอง เพราะยอมรับว่าช่วงแรกสร้างงานจากความเครียดหนัก

“เมื่อปีก่อนหนิงมีความเครียดหลายอย่าง ทั้งเรื่องงานและเรื่องชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะช่วงโควิด แล้วเราเป็นคนที่ชอบวาดรูปเป็นงานอดิเรกอยู่แล้ว เลยเริ่มวาดงานบนไอแพด และโพสต์งานลง Instagram ก่อน สักพักถึงค่อยลงขายใน OpenSea ดังนั้นงาน NFT ชิ้นแรกๆ จะเห็นได้ชัดว่าเส้นหนัก และไม่ได้วางคอมโพสจริงจัง เพราะวาดจากความรู้สึกล้วนๆ ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากความเครียด ความโกรธ หรือความเศร้า” 

กังวลไหมว่าถ้าไม่เครียดแล้วจะวาดงานไม่ออก

เคยคิดเหมือนกันว่าถ้าวันหนึ่งไม่เครียดมากก็อาจจะวาดงานไม่ได้ แต่ปรากฏว่าเราก็ยังวาดได้อยู่ เพราะมนุษย์ถึงไม่เครียดก็ต้องมีปัญหาเข้ามาทุกวันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเล็กน้อยแบบไหนก็ต้องมี เราก็แค่ดึงเรื่องนั้นออกมาให้ได้ ถ้าเครียดมากก็จะทำลงใน OpenSea แต่ถ้าเจอแค่ปัญหาเล็กๆ เราก็จะลงงานใน KnownOrigin แทน

แสดงว่างานทุกแพลตฟอร์มต่างกัน

ใช่ค่ะ พองานบน OpenSea เริ่มขายได้ และเราเห็นลู่ทางขยับขยายไปบนแพลตฟอร์มใหม่ ก็จะบิดคอนเซ็ปต์ให้ต่างกันไป แต่ยังคงเอกลักษณ์ลายเส้นของหนิงอยู่ จากที่เริ่มวาดรูปจากความเครียดอย่างเดียว ก็พยายามมองหาว่าวันนั้นๆ เราเจอปัญหาอะไร แล้วดึงจุดนั้นออกมาเป็นจุดสตาร์ทของการวาดรูป

คอลเลคชั่นที่ลงขายบน OpenSea มันจะเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเรา เป็นอวัยวะของเราซึ่งผิดปกติไปเพราะความเครียด เราจะวาดให้แปลก เพื่อให้สื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น และใช้สีแดงเป็นหลัก เพราะรู้สึกว่ามันเป็นสีที่แสดงความรู้สึกรุนแรงได้ดี สร้างแรงดึงดูดให้คนที่เห็นได้ง่าย

ส่วนบน Foundation เราคิดว่าภาพมันจะต้องสร้างอิมแพคจริงๆ จะต้อง emotional เป็นงานที่ละเอียดกว่าและจริงจังมากขึ้น เราเลยคิดว่าจะใส่แค่ความรู้สึก ณ วันนั้นเข้าไปเฉยๆ ไม่ได้แล้ว เลยปรับคอนเซปต์ให้เป็น “จินตภาพ” คือลองจินตนาการถึงภาพตัวเองดูว่าจะมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปได้สักแค่ไหนกันเชียว 

ใน KnownOrigin หนิงรู้สึกว่ามันมีความกราฟิกมากกว่า อารมณ์เหมือนหน้าปกนิตยสารที่เรียบๆ เลยทำเป็น portrait drawing ขาวดำ ซึ่งใช้ตัวเองเป็นแบบเหมือนเดิม แล้ววาดความผิดเพี้ยนของตัวเรา แต่เน้นย้ำไปที่จุดใดจุดหนึ่ง

ทำไมถึงกล้าลงขายงานแหวกตลาด

หนิงเริ่มลงขายงาน NFT เพราะมีคนที่เจอกันในคลับเฮาส์แนะนำว่าให้ลองทำดู เขาบอกว่าภาพแนวนี้น่าสนใจแต่มันยังไม่ค่อยมีคนทำ ตัวเราเองก็มีความคิดว่าถ้าเห็นวี่แววแล้วว่างานที่เป็นเอกลักษณ์ของเราจะแตกต่างจากคนอื่น ก็น่าลอง เพราะถ้าเราทำอะไรที่มันแมสเกินไป คู่แข่งจะเยอะ 

เคยกังวลไหมว่ามันจะขายไม่ออก

ด้วยความที่งานค่อนข้างจะไม่ซ้ำใคร และช่วงที่เริ่มลงงานคือปลายปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแส NFT ในไทยดรอปลงเพราะมีศิลปินในตลาดเยอะมากขึ้น หลายคนขายงานไม่ได้ก็มี เราจึงถามออกไปว่าหนิงมีความกังวลบ้างไหม

“หนิงค่อนข้างโชคดีที่ลงขายงานปุ๊บก็ขายออกทันที เลยไม่ได้เจอจุดที่กังวล แต่หนิงมีความเชื่อว่าเราก็แค่ยึดมั่นในเอกลักษณ์ของตัวเอง แล้วพยายามวางแผนดีๆ ไม่ใช่แค่เน้นขายงานอย่างเดียว สำคัญที่สุดคือคอมมูนิตี้ เราต้องมีคอนเน็คชั่นกับคนอื่น ทั้งในไทยและต่างชาติ อย่างวันแรกที่หนิงขายงาน ก็เลือกโปรโมตในกลุ่มเฟซบุ๊กที่เป็นคอมมู ฯ ของคนไทยก่อน เพื่อทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก แล้วมันก็ขายออกวันนั้นเลย”

การศึกษาตลาดก็สำคัญ ถ้าเราทำการตลาดแบบเดิมๆ แล้วยังขายงานไม่ได้ ก็คงต้องเปลี่ยนวิธีไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้สะสมเบื่อ จนกว่าจะเจอวิธีที่ใช่

Collectors ส่วนใหญ่ชอบอะไรในงาน

Collectors ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่เก็บงานแนวแปลกๆ อยู่แล้ว เขาเคยบอกว่าชอบงานเราเพราะ

  1. คุณภาพงานที่เป็นเอกลักษณ์
  2. เราเป็นคนมีคอมมูนิตี้ ไม่ได้ขายงานอย่างเดียว แต่พูดคุยกับคนอื่นและช่วยเหลือคนอื่นด้วย
  3. เขาคิดว่าจะทำกำไรกับงานเราได้

แชร์เรื่องแปลกที่เจอระหว่างขายงาน

มีทั้งคนที่ก็อปปี้งานหนิงไปขาย เอางานที่ยังไม่ได้ขายไปทำเป็นรูปโปรไฟล์ โพสต์ว่าจะเอางานเราไปสกรีนเสื้อขาย และอันหนึ่งที่ฮามากคือเอารูปส่วนตัวเราไปทำ NFT ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะไปโพสต์ในเฟซบุ๊กให้คนมาช่วยกด Report แต่จะไม่เอาไปโพสต์ในทวิตให้ไปไกลถึงต่างชาติ เพราะอาจจะยิ่งทำให้เขาเป็นที่สนใจ พอเรื่องไม่ดังเขาก็จะไม่ได้อะไร

เคยไหมที่คนไม่เข้าใจงานแล้วมองว่ามันน่ากลัว

เคยเจอช่วงที่ยังไม่ได้ทำ NFT แต่ค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนที่ผ่านมาใน Instagram หรือคนในคลับเฮ้าส์ เขาบอกว่ามันแหยงซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะคนเรามีหลายแบบไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบงาน แต่พอมาทำ NFT แล้ว คนในวงการมีแต่สายอาร์ตที่เข้าใจศิลปะเขาเลยรับได้ เมื่อไม่นานมานี้ก็เจอคนหนึ่งที่เขารู้สึกว่าโพสต์งานเรามันต้องใส่ Trigger Warnings (TW) แต่ครั้งนั้นเราคิดว่าไม่ได้โพสต์งานแบบสาธารณะเกินไป โพสต์แค่ในคอมมู ถ้าเขาไม่โอเคก็แค่เลื่อนผ่านไป

แล้วคุณล่ะ ถูกใจผลงานของ Haningwaslost ชิ้นไหนบ้าง? ลองสำรวจเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองที่ linktr.ee

Trigger Warning: This article contains graphic photos of blood, gore, wounds, and suicide.

If you’re a fan of horror NFT art, the name Haningwaslost probably doesn’t need an introduction. Today, we’ll be diving deep into Haningwaslost’s world of “hurtful imaginations” and exploring the inspiration behind the eye-catchingly twisted imageries.

“Collectors are always asking me why I’m so depressed,” says the artist behind the moniker ‘Haningwaslost’ Sanikul “Ning” Boonbunchachoke. Judging from her body of work and her bio (“A Thai creator who draw arts from my own depressed negative past. Every strokes was meant to my hurtful emotions. Anyway drawing can therapeutic me also”), the question is not entirely unfounded.

How did you get started as an NFT creator?
“During the pandemic, I got super stressed with work and my personal life. As someone who’s always loved to draw as a hobby, I started to do it on an iPad and post them on Instagram and, later, OpenSea. You’ll notice how the strokes in my early work are a lot thicker, that’s because I drew them based on my emotions: stress, anger, and sadness.”

Do you ever worry that you’ll be able to create art only when you’re going through those emotions?
”Yes, but I find that I can still draw no matter what. Even when I’m not stressed out, I can still produce art because being a human being means you’ll face all kinds of problems anyway. Those small problems are usually reflected through my work on KnownOrigin. If it’s something major, it usually goes to my OpenSea.”

So you’re using each platform differently
“Yes, I am. Once my work started to sell on OpenSea, I expanded to a new platform. The concept on each platform may be different but my signature stroke is still the same. The collection on OpenSea depicts my organs which have been deformed by depression. I used red as a main color because it represents violence and it catches people’s attention.”

“As for my work on Foundation, it leans more emotional with a lot of small details. The concept is ‘imaginary’ or how I see my body with all these abnormalities. On KnownOrigin, the art feels more graphic. It has this simple magazine cover vibe which is depicted through black and white portraits of myself.”

Standing out from the rest
”Someone in Club House suggested to me that I should start my own OpenSea. I also wanted to give it a try because I felt like my work is unique enough to stand out. At least there wouldn’t be much competition for me.”

It’s no secret that NFT has become an oversaturated market, are you worried about not selling?
“I’m pretty lucky that whenever I upload an artwork, it always sells. I believe in the importance of staying true to who you are and on promoting yourself in the community. I managed to sell my first artwork because I introduced myself in the NFT Facebook group.”

“Marketing is also important. You have to keep adjusting your marketing strategies to keep collectors interested.”


What do you think attracts collectors to your artwork?

“Firstly, it’s uniqueness. Secondly, the fact that I’m involved in the community and always helping out other people. Lastly, the value they see in my art.”

Have you had any bad experience in the community?

“Someone copied my work and tried to sell it as a t-shirt. Someone also took one of my personal photos and turned it into an NFT, which I found very funny. When these things happen, I usually ask people in the community to report them for me. I don’t want to do more than that because they’ll get the attention.”

Do some people find your work scary?
“Before I became an NFT artist, there were some people who found it scary. It was just a minority, though. People who see my work now understand the nature of my art. I also understand that not everyone will appreciate this sort of thing. Someone told me recently that I should have included a trigger warning to my artwork. But it was a private community anyway, so I feel like if they don’t like what they’re seeing, they should just keep on scrolling.”