Daily Pickup

Cowspiracy: The Sustainability Secret สารคดีที่องค์กรสิ่งแวดล้อมไม่อยากให้คุณดู!

Cowspiracy: The Sustainability Secret เป็นภาพยนตร์สารคดีอเมริกันปี 2014 ที่รังสรรค์โดย Kip Andersen และ Keegan Kuhn ในขณะที่พวกค้นพบอุตสาหกรรมที่ทำลายล้างมากที่สุดเท่าที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนั้นคืออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ สารคดีสิ่งแวดล้อมความยาว 1 ชั่วโมง 31 นาทีนี้ จุดสนใจอย่างต่อเนื่องของเรื่องนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การเลี้ยงสัตว์ในฐานะ ‘อุตสาหกรรมหลักที่ทำลายโลกของเรามากกว่าสิ่งอื่นใด’ และสำรวจว่าทำไมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำของโลกจึงกลัวเกินกว่าจะพูดถึงเรื่องนี้

การเลี้ยงสัตว์เป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่า การใช้น้ำ และมลพิษ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าอุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการทำลายป่าฝน การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ การสูญเสียถิ่นที่อยู่ การพังทลายของดินชั้นบน ‘เขตมรณะ’ (Dead Zones) ในมหาสมุทร และ แทบทุกโรคสิ่งแวดล้อมอื่นๆ แต่มันก็ดำเนินต่อไปโดยแทบจะไม่มีใครทักท้วงเลย ตามข้อมูลของ Cowspiracy แหล่งที่มาหลักของมลพิษจากภาวะโลกร้อนไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติดังที่นักวิทยาศาสตร์โลกกำลังบอกเรา สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ทั้งหมด แต่มันรวมถึงการทำฟาร์มสัตว์ ไม่ใช่แค่การกินเนื้อวัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ตลอดจนไข่ นม และปลาด้วย

หัวใจสำคัญของทฤษฎีสมคบคิดของ Cowspiracy คือ ‘ข้อเท็จจริง’ ที่ว่าการศึกษาในปี 2009 พบว่า 51% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดผลิตโดยการเลี้ยงสัตว์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่การสัมภาษณ์ผู้คนจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Rainforest Action Network, Oceana และสภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งดูเหมือนจะไม่ยอมรับ ‘ข้อเท็จจริง’ นี้ และต้องการที่จะปกปิดมัน เนื่องจากการผลิตปศุสัตว์มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 18% และอาจสูงถึง 51% สิ่งที่ประชากรมนุษย์มากกว่า 7 พันล้านคนทั่วโลกบริโภคนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

A person in a white hat standing in a field with a person in a blue shirtDescription automatically generated

Cowspiracy สำรวจผลกระทบของการเลี้ยงสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบว่าทำไมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำของโลกจึงไม่แก้ไขปัญหานี้ Kip Andersen เน้นย้ำถึงความหน้าซื่อใจคดขององค์กรอนุรักษ์ระบบนิเวศ เขาเปิดเผยความเงียบขององค์กรเหล่านี้เกี่ยวกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ นำเสนอด้วยกราฟเชิงลึก ภาพประกอบเชิงสร้างสรรค์ งานวิจัย และสถิติเกี่ยวกับผลกระทบจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า มลพิษทางน้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำและที่ดิน อีกทั้งชื่อของสารคดีคือ Cowspiracy ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัวและการสมรู้ร่วมคิด ดังนั้นในระดับหนึ่ง การเลี้ยงสัตว์จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในอีกระดับหนึ่ง การที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเพิกเฉยหรือมองข้ามเรื่องนี้ไป

ผู้สร้างสารคดีทำให้เราตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่ากลุ่มเหล่านี้อุทิศตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว โดยหลีกเลี่ยงการเอ่ยถึงเรื่องการเกษตรกรรมของสัตว์ และแน่นอนว่าไม่ส่งเสริมอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลัก ต้องการสารนู่นนี่ หรือแม้กระทั่งสิ่งแปรรูปเข้ามาจากนายทุน เนื่องจากพวกเขาเป็นองค์กรสมาชิกที่ต้องพึ่งพาผู้บริจาคทางการเงินเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงไม่อยากทำตัวแปลกแยกเพื่อลดเงินทุนในการพัฒนาองค์กร แต่มันจะไม่มีหนทางอื่นแล้วหรือ ที่เราจะสามารถลดการทำลายโลก และมีความสุขกับการใช้ชีวิตไปด้วยกันได้?

“ก็เพราะว่าโลกมันเริ่มแย่ลงเนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ผลิตอาหาร เพราะอย่างนี้มันถึงมีองค์กรสิ่งแวดล้อมไง”

ประโยคง่ายๆ ที่นักเขียนคิดในใจ และอยากจะตอบกลับนักวิทยาศาสตร์บ้าน้ำลายที่พยายามพูดจาออกทะเลไปเรื่อย ตลอดทั้งเรื่อง เรายังคงรู้สึกเหมือนกำลังพยายามขัดใจองค์กรต่างๆ ในการยอมรับว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์ และอาหารของเราก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมของพวกเขาโดยรวมแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ครอบคลุมหัวข้อใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหนักๆ มากมายที่ส่งมาถึงคุณเป็นเวลา 90 นาทีติดต่อกัน แต่นักเขียนคิดว่า เราจำเป็นต้องเข้าใจให้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่ว่าอาหารของเรามาจากไหน แต่รวมถึงผลกระทบที่อาหารมีต่อโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่า ลูกหลานของเรา และอนาคตของเราด้วย ไม่ใช่ว่าจะเป็นการส่งเสริมและบังคับในทุกคนกินวีแกน ต้องเป็นวีแกน แต่กลับกันเราสามารถใช้ทรัพยากรทุกอย่าง อย่างพอดี และเหมาะสม มันจะช่วยในอะไรหลายๆ อย่างถูกทำลายน้อยลง โลกไม่สามารถสนับสนุนนิสัยการกินเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนมได้ นั่นคือข้อความที่เข้าใจง่ายในที่นี้ แต่การทำตามขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ก็สามารถช่วยขับเคลื่อนเราไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นได้

A couple of men looking at the cameraDescription automatically generated

สารคดีเรื่องนี้เร้าใจ น่าจดจำ และต้องดูให้ได้ แม้ว่าจะเป็นไปตามสูตรสารคดีทั่วไปแต่สิ่งที่ทำให้สารคดีน่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกคือ การกล้าได้กล้าเสียของผู้กำกับที่พยายามตีแผ่ความจริงออกมา ขณะที่ Kip Andersen เข้าใกล้ผู้มีอำนาจใหญ่ในขบวนการด้านสิ่งแวดล้อม เขาได้ค้นพบบางอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นการจงใจปฏิเสธที่จะหารือเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ผู้แจ้งเบาะแสต่างๆ และหน่วยงานเฝ้าระวังในอุตสาหกรรมเตือนเขาถึงความเสี่ยงต่างๆ หรือแม้แต่เสี่ยงชีวิตของเขาเอง แต่ Kip Andersen ก็กล้าที่จะตีแผ่ความจริงในแง่มุมนี้สู่สาธารณชนอยู่ดี  แม้ว่าสารคดีหลายเรื่องจะสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมารับประทานอาหารมังสวิรัติ แต่ Cowspiracy ก็นำเสนอข้อเท็จจริงและประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดูเหมือนว่าเป็นทางเลือกเดียวที่เรามีหากเราต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา ข้อเท็จจริง และสถิติตลอดทั้งเรื่อง เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่ใช้เลี้ยงโค พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ล็อบบี้ธุรกิจการเกษตรในสหรัฐฯ และทั่วโลกมีอิทธิพลมากเพียงใด สามารถเข้าใจได้ง่าย สำหรับครอบครัวที่กังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้ควรกระตุ้นให้เกิดการคบคิดว่าความรับผิดชอบ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา จะสามารถช่วยรักษาทรัพยากรอันมีค่าที่สุดอย่างโลกของเราได้อย่างไร