Art

Dance Song Decode เพลงแบบไหน ทำไมเราถึงเต้น

Photo credit: Alexander Popov

คนเราชอบเต้นเพลงแบบไหน คำตอบนั้นมีหลากหลากหลายตั้งแต่แนวดนตรี ไปจนถึงจำนวนบาร์ว่ากี่บาร์หรือเท็มโปว่ากี่ BPM (ฺBeats Per Minute) แต่ไม่ว่าจะเป็นแนวดนตรีหรือจังหวะของเพลง เพลงแดนซ์สุดฮิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมักมีบางอย่างที่คล้ายกัน ที่ทำให้ฮิต ทำให้เราอยากจะเต้นอยากจะตะโกนร้องตาม

โค้ดลับ ที่ไม่จำเป็นต้องมีความหมาย

Gen X หรือ Gen Y อาจจะยังพอจำกันได้ (แต่สำหรับ Gen Z อาจจะต้องไป Google ฟังกันเอง) ว่ามีเพลงหนึ่งเมื่อสมัยเด็กๆ ที่เราพร้อมใจกันร้องกันเต้น โดยไม่รู้ความหมาย และในบางทีก็ไม่รู้เหมือนกันว่าออกเสียงถูกหรือไม่ อย่างเพลงที่เราไม่รู้ชื่อแต่เรียกมันว่า ‘โซเดมาคอม’ เพราะทั้งเพลงเราก็ร้องได้แค่นั้นแหละ ที่จริงมันมีชื่อเพลง (และร้อง) ว่า ‘So dem a com’ เป็นเพลงของ E-type ศิลปินจากสวีเดน ในปี 1994 ซึ่งคำว่า So dem a com นั้นเป็นภาษาสวีดิช แปลว่าเรามามันส์กันเถอะ

E-type So Dem A Com

https://www.youtube.com/watch?v=6NbX1BRFvZw

บางครั้งคำหรือประโยคที่ไม่มีความหมายในเพลงก็อาจจะถูกสร้างขึ้นมาโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มันก็คือวิธีการที่จะสร้างจุดร่วมของคนหมู่มากให้สนใจและร้องตาม พร้อมตะโกน ในวลีหรือประโยคเดียวกัน ที่เป็นเหมือนโค้ดลับของเพลงแดนซ์ นอกจากโซเดมาคอมแล้วยังมีอีกหลายเพลง ย้อนกลับไปไกลหน่อยก็มีทั้งเพลง ‘Da Da Da’ ในปี 1982 ‘MMMbop’ ของ Hanson ในปี 1997 เพลง ‘Blue Da Ba Dee’ ในปี 1999 หรือแม้กระทั่ง’ Bad Romance’ ของ Lady Gaga หรือถ้าเป็นเพลงไทยก็คงหนีไม่พ้นเพลง ‘อาโบเดเบ’ ของทาทา ยัง เพลง  ‘โต๋ ล่ง ตง’ ของทีโบน หรือล่าสุดเพลง ‘ด่งดิด่ง’ ของ สิงโต นำโชค

เรื่องความหมายก็คงต้องตอบไปว่าไม่รู้ แต่เรื่องความมัน ก็ไม่เท่าไหร่แค่ร้องตามพร้อมเต้นได้แบบตรงทุกจังหวะ

Eiffel 65 - Blue (Da Ba Dee)

https://www.youtube.com/watch?v=zA52uNzx7Y4

บอกไปตรงๆ ว่านี่คือเพลงเต้น ต้องเต้น! 

อีกหนึ่งกฎง่ายๆ ของการสร้างเพลงแดนซ์ก็คือ ก็บอกไปเลยว่านี่เป็นเพลงแดนซ์ แต่เพลงนี้มาเพื่อการเต้นโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้น ผมบอกให้เต้น ก็ต้องเต้นเดี๋ยวนี้! การส่งสารแบบง่ายๆ แต่ตรงตัวแบบนี้ ได้สร้างเพลงแดนซ์ที่ประสบความสำเร็จมาอย่างมากมาย ทั้ง ‘In Da Club’ ของ 50 Cents เพลง ‘Just Dance’ ของ Lady Gaga เพลง ‘Party Rock Anthem’ ของ LMFAO เพลง ‘Tik Tok’ ของ Kesha เพลง ‘On The Floor’ ของ Jennifer Lopez หรือจะย้อนไปไกลหน่อยก็มีทั้ง ‘I Wanna Dance With Somebody’ Whitney Houston หรือแม้กระทั่ง Dancing Queen ของ Abba 

Jennifer Lopez - On The Floor ft. Pitbull

https://www.youtube.com/watch?v=t4H_Zoh7G5A

ฝั่งเพลงไทยก็มีตั้งแต่ ‘ออกมาเต้น’ ของติ๊ก ชิโร่ เพลง ‘กองพันเท้าไฟ’ ของ แดนซ์ อาร์มี่ เพลง ‘Fire’ ของ Buddha Bless ‘Play Girl’ ของ ส้ม อมรา เพลง ‘Slow Motion’ ของโจอี้ บอย เพลง ‘โยกย้าย’ ของ ดาจิม เพลง ‘เกี้ยวพาราสี’ ของ P-HOT ft. SPRITE

ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทยหรือเพลงต่างประเทศ สิ่งที่ทำให้เพลงที่มีเนื้อหาบอกโต้งๆ ว่ามาแดนซ์กัน กลายเป็นเพลงแดนซ์ที่ประสบความสำเร็จก็คือ เนื้อเพลงที่ทั้งบิวต์ ทั้งเชิญชวน ให้เรามีความรู้สึกฮึกเหิม อยากจะปล่อยตัวปล่อยใจ ปล่อยอารมณ์ ไปกับจังหวะดนตรี บนฟลอร์เต้นรำ นคือคำเชิญชวนง่ายๆ ที่ยากจะปฏิเสธได้ แล้วยิ่งบวกกับบีทโจ๊ะๆ ด้วยแล้ว ใครจะไม่ขยับตัวตาม...หืม

Photo credit: Elena de Soto

มีท่าให้เต้น ยังไงก็ต้องเต้น

การกำเนิดบอยแบนด์ เกิร์ลแบนด์ของเพลงป๊อปในยุคปลาย ‘80s หรือต้น ‘90s ที่มาจาก Bubblegum pop (บับเบิ้ลกั๊มป์ ป๊อป) แม้ว่าป๊อปเหล่านี้จะโด่งดังกลายเป็นวัฒนธรรม ขึ้นมาแต่ก็ไม่วายโดนเหล่าคนฟังดนตรีหยามเหยียดให้เป็น Trash Music หรือแม้กระทั่งเพลงที่ไม่ได้มากจากเหล่าบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ปก็ตาม แต่มี ‘ท่าเต้น’ ประจำเพลงก็ไม่วายที่จะโดนเหมารวมให้ถูกอี๋ไปได้ง่ายๆ แต่เชื่อไหมล่ะว่า ท่าเต้นนั่นแหละ ที่ทำให้คนจำเพลงนั้นได้ และอยากจะเต้น

ไม่เชื่อลองดูเด็กๆ Gen Z ใน TikTok สิ ยังสงสัยว่าเด็กพวกนี้ทำไมเต้นเก่ง คิดท่าประกอบเพลงเก่งกันซะเหลือเกิน

ย้อนกลับไปหา ราชา ราชินีเพลงป๊อปอย่างไมเคิล แจ๊กสัน และมาดอนน่าก็มาพร้อมเพลงแดนซ์และท่าเต้นที่คนทั้งโลกจดจำได้ทั้งเพลง Thriller หรือ Vogue จังหวะมาเมื่อไหร่ มือยกเตรียมพร้อมตวัดตามท่ามาตรฐานแบบอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งเจ้าหญิงเพลงป๊อปอย่างบริตนีย์ สเปียร์ส เพลง ‘Oop I Did It Again’ ดังขึ้นมาเมื่อไร เราก็สามารถเต้นตามได้ทันที 

Britney Spears - Oops!...I Did It Again (Official HD Video)

https://www.youtube.com/watch?v=CduA0TULnow

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าท่าเต้นช่วยทำให้เพลงน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ยิ่งการมาถึงของวัฒนธรรม K-Pop ที่ขยายอิธิพลคลอบคลุมไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบันนี้ ทำให้เรานึกย้อนไปถึงต้นทางของการบุกตลาดโลกจากทางเกาหลีใต้อย่างเพลง ‘Nobody’ ของ Wonder Girls หรือจะเป็น ‘Gungnam Style’ ของ PSY ที่โด่งดังจนเป็นเพลงแห่งปีกับท่าเต้นควบม้า และในปัจจุบัน BTS และ Blackpink ที่ท่าเต้นเต็มไปด้วยเทคนิคและความซับซ้อน แต่ก็ไม่คนามือเหล่าสายแด๊นซ์ พร้อมแกะท่าลง TikTok กันอย่างแพร่หลาย 

ส่วนเพลงไทยก็มีตั้งแต่รุ่นย้อนวัย ทั้ง ‘โอเคนะคะ’ ของแคทรียา อิงลิช เพลง ‘ซักกะนิด’ ของทาทา ยัง’ เพลง ‘เกรงใจ’ ของ แร็พเตอร์ เพลง ‘หายใจเป็นเธอ’ ของโฟร์มดเพลง  ‘ผ้าเช็ดหน้า’ ของ Triumph Kingdom เพลง ‘จังหวะหัวใจ’ บี๋ สุกฤษฎิ์  หรือจะรุ่น Tik Tok อย่าง ‘รักได้ป่าว’ ของ GAVIN.D หรือแม้แต่ ‘ขอใจเธอแลกเบอร์โทร’ ของหญิงลี 

Triumphs Kingdom - ผ้าเช็ดหน้า [Official MV]

https://www.youtube.com/watch?v=4jzyFT0Y_ZU

แต่ถ้าสังเกตแผนการโปรโมตเพลงของค่ายเพลงในช่วงนี้ เพลงบ้างเพลงแม้ว่าจะไม่ได้มีท่าเต้นประจำของเพลงตัวเองก็จริง แต่ก็อาศัยช่องทางอย่าง TikTok ในปล่อยท่าเต้นที่ไม่เป็นทางการ และทำเป็น Challenge ให้ทุกคนได้เต้นตามอย่างง่ายๆ กลยุทธ์ง่ายๆ ที่ทำให้ท่าเต้นให้เป็นที่ติดตา ให้เพลงติดหู เข้าสเปตเพลงแด๊นซ์ไปโดยปริยาย  

Photo credit: Neal E. Johnson

ประสบการณ์ร่วมของเนื้อเพลง

การจะรวมเอาผู้คนร้อยพ่อ พันแม่ ที่อยู่ใน ผับ คลับ ร้านเหล้า หรือคอนเสิร์ตเอาไว้ให้กลายเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ นอกจากเพลงฮิตในช่วงนั้นแล้ว ก็คงจะมีแต่ประสบการณ์ร่วมที่จะเชื่อมโยงเอาคนหมู่มากเข้าไว้ด้วยกัน แล้วประสบการณ์นั้นมันจะเป็นอะไรไปได้หละ นอกจาก “ความรัก” “อกหัก” “แอบชอบ” นี่เป็นเหตุผลให้เพลง ‘กระซิบบอก’ ของ BlackHead ยังคงอยู่ยั้งยืนยงคู่กับร้านเหล้าทุกร้านมาจนถึงปัจจุบันและท่าทางจะอยู่คู่กันไปอีกนาน 

เพียงกระซิบ | Blackhead | AUDIO OFFICIAL

https://www.youtube.com/watch?v=m9eV3Wokds4

ประสบการณ์ความรักคือสิ่งที่ถูกนำมาแต่งเป็นเนื้อเพลงไม่ว่าจะยุคสมัยไหน เพราะมันเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนเคยมีประสบการณ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แอบรัก หลงรัก บอกรัก อกหัก นอกใจ ฯลฯ และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบชั้นดีของเพลงแดนซ์ที่ทำให้ทุกคนพร้อมใจกันเต้นและหลุดไปกับเสียงเพลงและเนื้อหาที่ต่างเคยผ่านพบมาด้วยกันทั้งนั้น

อย่าง ‘I Will Survive’ เพลงที่ถูกขนานนามว่าเป็นเพลงชาติของเกย์ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ว่าจะเพศไหนต่างก็ต้องพยายามรอตายจากอาการอกหักด้วยกันทั้งนั้น หรือ ‘Believe’ ของ Cher เพลงเรียกน้ำตาบนแดนซ์ฟลอร์ยุคใหม่อย่าง ‘Dancing on My Own’ ของ Robyn ก็เช่นเดียวกัน Rihanna ก็มีเพลงอย่าง ‘We Found Love’ และล่าสุดกับ Dua Lipa ก็มี ‘New Rules’

I Will Survive

https://www.youtube.com/watch?v=FHhZPp08s74

ส่วนเพลงไทยนั้น ส่วนมากเพลงแดนซ์หรือเพลงจังหวะที่ขยับโยกได้มักจะเป็นอารมณ์แอบรักหรืออารมณ์น่ารักๆ มากกว่าจะเศร้าอกหัก (เพราะเรามีเพลงช้าเศร้าอกหักประจำร้านเหล้าอยู่แล้ว) ไม่ว่าจะเป็นเพลงฮิตในช่วงยุค 90s ของทั้งฝั่งแกรมมี่หรืออาร์เอส พอมายุค 2000s ก็มีโดโจ หรือตามมาด้วยจังหวะน่ารักๆ พอได้ขยับของกามิกาเซ่ หรือเพลงแร็พเพลงฮิตตาม TikTok ในแบบปัจจุบัน

Photo credit: LOGAN WEAVER