Daily Pickup

Alone แต่ไม่ lonely! ถึง Gen Z จะโตมากับความเหงา แต่เขารักตัวเองยิ่งกว่าใคร

ในช่วงปีที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่าหลายอย่างในสังคมของเราเปลี่ยนแปลงไปมากอย่างรวดเร็ว โลกหลังโควิดบังคับให้ผู้คนเอาตัวเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น วัฒนธรรมต่างๆ และกระแสต่างๆ ก็ได้มีการโยกย้ายเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ทำให้การมองโลก และความรู้สึกที่มีต่อสิ่งรอบข้างเปลี่ยนไป ในวัยที่การเข้าสังคมเป็นเรื่องสำคัญ นำมาซึ่งการต้องอยู่คนเดียว และการปรับตัวให้เข้ากลับโลกที่ไม่คุ้นเคย

ทำไมคนรุ่นนี้ถึงได้ชื่อว่าเป็นรุ่นที่เหงาที่สุด?

ถึงแม้ว่าความเหงาจะไม่มีการแบ่งรุ่น แต่งานวิจัยของ Ryan Jenkins และ Steven Van Cohen จากผลสำรวจของคนทั่วโลกพบว่าการเติบโตของความเหงาเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนอายุน้อยอย่าง Millennial และ Gen Z ด้วยเหตุผลจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมมากเกินไป (Overstimulation) ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคหลังอินเทอร์เน็ต ที่ทุกอย่างวิ่งเร็วกว่าที่เคย บวกกับการเติบโตมาในโลกที่การนัดเจอเพื่อนเป็นเรื่องยากกว่าการส่งข้อความหากันบนโซเชียลมีเดีย โลกที่การมีสถานะทางสังคมในแบบลำดับชั้น (Social Hierarchy) และการเอาหน้าแบบ Superficial ที่คนรุ่นใหม่อาจจะเคยเห็นแค่ในโรงเรียน หรือ มหาลัย กลับต้องได้เห็นบนมือถือในทุกช่วงเวลาของวันไม่ให้ได้พัก ทำให้สิ่งแวดล้อมในยุคนี้ไม่ได้หมายถึงแค่สถานที่ หรือคนรอบตัว แต่คือโลกอินเทอร์เน็ตทั้งใบ

แต่โลกโซเชียลที่ทำให้คนติดต่อกันง่ายขึ้น มันกลับทำให้ผู้คนได้รับข้อมูลมากกว่าที่ต้องการ จนเกิดความเครียดในชีวิตประจำวัน ความรู้สึกว่าต้องตามข่าว และเห็นผู้คนทั้งตอนที่อยู่บ้าน และนอกบ้าน ทำให้เกิดกระแสอีกอย่างที่พัฒนาขึ้นในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่คือ “Self-Love” โดยในขณะที่การเติบโตของโซเชียลมีเดียก็ดูเหมือนไม่ได้ช้าลง แต่ผลสำรวจสถิติของ Gitnux Marketdata จากปลายปี 2023 พบว่า 48% ของ Millennial และ Gen Z คิดว่า โซเชียลมีเดียมีผลเสียต่อสุขภาพจิต(ไม่มากก็น้อย) บวกกับ Trend ในโซเชียลมีเดียอย่าง Tiktok ที่มีการโปรโมทการยอมรับ และรักตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มวัยรุ่นก็เป็นพลังให้กับคนหลายคนที่อาจจะขาดส่วนความรักตัวเองไปในช่วงชีวิตที่เต็มไปด้วยความเครียด

คนรุ่นใหม่กับการรักตัวเองที่มากขึ้น

คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ที่เรียกได้ว่าเติบโตมาในยุคที่สังคมไม่มั่นคง พร้อมกับแรงกดดันที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้มาคอยบีบจากรอบด้านโดยเป็นผลมาจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมมากเกินไป บวกกันการที่ไม่มีชีวิตในสังคมที่เพียงพอ ไหนจะต้องถูกบังคับในการเข้าสู่โหมดความเศร้าท่ามกลาง Pandemic ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีก ไม่แปลกใจที่ในระหว่างที่สังคมกำลังกลับมาเป็นปกติ เราจะเห็นเหล่าคนรุ่นใหม่มีเทรนด์ความสนใจในด้านการเอาใจใส่ตัวเองมากขึ้น ให้ค่าความสำคัญต่อตัวเองมากขึ้นในโลกที่ท้าทายให้พวกเขาล้มเหลว

Why I Travel Alone. And why you should, too | by Eric Weiner | Forge

เทรนด์นี้ไม่ได้สะท้อนจากภาพที่เห็นในโซเชียลเสมอไป แต่เรายังสังเกต การไปเที่ยวคนเดียวในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น มีการพูดถึง Social Detox อย่าแพร่หลาย และจากกระแสการให้ความสนใจใน Technology เก่าๆ อย่าง หนังสือ, กล้อง Compact, แผ่นเสียง, หรือสื่อ Analog ต่างๆ และกระแส Retro Aesthetic ที่นอกจากช่วยเรื่องความเหงา ความโหยหา Nostalgia แล้วยังเป็นตัวช่วยลดการติดต่อ และการถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้อยู่รอบตัวพวกเขาในเวลาที่พวกเขาต้องอยู่คนเดียว

The Tamagotchi Is Back and the '90s Renaissance Continues | Apartment  Therapy

ตอนนี้สังคมของเราใครๆ ก็ตกเป็นเหยื่อของความเหงาในยุคไฮเทคกันทั้งนั้น แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ มันคือสิ่งที่พวกเราเติบโตมาด้วย ไม่เพียงแค่ในโลกที่เขาอยู่ แต่มันถูกผสมผสานเข้ามาในชีวิตประจำวันของพวกเขาด้วย และสิ่งเหล่านี้มันทำให้การปรับตัวในการโชว์ให้เห็นความใส่ใจของตัวเองมากขึ้นในกลุ่ม Millennial และ Gen Z ในช่วงปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีเลยทีเดียว

อ้างอิง

Psychologytoday

Refinery29

kqed.org

Forbes

ourworldindata.org

The-comm.online

Girlsunited

Gitnux.org