Daily Pickup

Inside Out ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ผู้ใหญ่จะอินกว่าเด็ก‍

Inside Out หรือชื่อไทย มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันจากประเทศสหรัฐอเมริกา อำนวยการโดยพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอ และจัดจำหน่ายโดยนามของวอลท์ดิสนีย์พิคเจอร์ส กำกับโดย พีท ดอคเตอร์ โดยมี รอนนี่ เดล คาร์แมน ร่วมกำกับในครั้งนี้ด้วย เขียนบทภาพยนตร์โดยผู้กำกับเอง และได้รับความร่วมมือจาก เม็ก เลอโฟฟ และ จอช คูลีย์ บอกเล่าเรื่องราวของเด็กน้อย ไรลีย์ (พากษ์เสียงโดย ไคทลิน ดิแอส) เด็กหญิงชาวมิดเวสต์วัย 11 ปีผู้รักกีฬาฮ็อกกี้ แต่โลกของเธอกลับพลิกผันเมื่อเธอและพ่อแม่ย้ายไปซานฟรานซิสโก อารมณ์ความรู้สึกของไรลีย์ นำโดย ลั้นลา หรือ Joy (พากษ์เสียงโดย เอมี่ โพห์เลอร์) เธอพยายามนำทางไรลีย์ผ่านเหตุการณ์ที่ยากลำบากและก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงชีวิตนี้ อย่างไรก็ตาม ความเครียดจากการย้ายบ้านนำ เศร้าซึม หรือ Sadness (พากษ์เสียงโดย ฟิลลิส สมิธ) แซงขึ้นมาเป็นอารมณ์เบอร์หนึ่งของเด็กน้อย วันหนึ่งเมื่อความทรงจำหลักที่เป็นตัวควบคุมลักษณะนิสัยของไรลีย์ได้หลุดออกจากเครื่องควบคุมอารมณ์ไป ก่อนที่ทุกอย่างจะสาย ลั้นลา หรือ Joy ต้องออกไปเพื่อช่วยตามหาความทรงตจำหลักของเด็กน้อยเพื่อให้ไรลีย์กลับมาเป็นเด็กที่สดใสเหมือนเดิม จึงทำให้อารมณ์ที่เหลืออยู่ในสำนักงานใหญ่คือ เศร้าซึม (พากษ์เสียงโดย ฟิลลิส สมิธ), หยะแหยง/Disgust (พากษ์เสียงโดย มินดี้ เฮลลิ่ง), ฉุนเฉียว/Anger (พากษ์เสียงโดย ลิววิส แบล็ก) และกลั๊วกลัว/Fear (พากษ์เสียงโดย บิล เฮเดอร์)

พิกซาร์สร้างปรากฏการณ์อีกครั้งกับแอนิเมชันเรื่อง Inside Out นักเขียนยอมรับเลยว่าในบรรดา ภาพยนตร์แอนิเมชันทั้งหมดของพิกซาร์ Toy Story จะเป็นการ์ตูน Pixar เรื่องโปรดของนักเขียนตลอดไป แต่หลังจากได้ดู Inside Out ทำให้นักเขียนมีการ์ตูนเรื่องโปรดเพิ่มขึ้นมาอย่างห้ามไม่ได้จริงๆ เช่นเดียวกับ Toy Story คนดูจะจุดเริ่มต้นของตัวละครตั้งแต่เด็กไปถึงผู้ใหญ่ และเด็กน้อยเหล่านั้นก็เติบโตขึ้นมาโดยเรียนรู้วิธีควบคุมความรู้สึกและเรียนรู้ถึงความสำคัญของทุกความรู้สึก เป็นเรื่องปกติที่จะโกรธ เศร้า มีความสุข และกลัว ตราบใดที่เราได้รับการสอนวิธีจัดการกับมัน และเรื่องนี้ยังส่งเสียงไปถึงผู้ปกครองว่า เพียงเพราะการเปลี่ยนแปลงที่ลูกๆ ของพวกเขาต้องเผชิญ เด็กๆ อาจจะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่ตัวพวกเขาเองก็ไม่รู้ว่าคืออะไรได้เหมือนกัน

ลั้นลา เศร้าซึม หยะแหยง ฉุนเฉียว และกลั๊วกลัว อยู่ในห้องควบคุมในหัวของไรลีย์ตลอดเวลา เหล่าอารมณ์จะต่อสู้เพื่อควบคุมเมื่อไรลีย์พบเจอกับสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าอารมณ์หนึ่งอาจครอบงำอีกอารมณ์หนึ่งได้ แต่ก็ยังให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกอีกสี่อารมณ์ ซึ่งหมายความว่าอารมณ์ทั้งหมดสามารถส่งผลต่อกันและกันได้ แม้ว่าพวกเขาจะนำเสนอตัวละครแค่อารมณ์หลักๆ แต่ Inside Out ก็ขยายออกไปเกินกว่าอารมณ์ทั้งห้าอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความทรงจำของไรลี่ย์ รถไฟแห่งความคิด ดินแดนแห่งจินตนาการ และความคิดเชิงนามธรรมที่ประสมรวมอยู่ในตัวเด็กคนหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอย่างชาญฉลาด มากจนเด็กๆ สามารถเข้าใจแนวคิดในระดับพื้นฐานโดยที่ผู้ใหญ่ที่ดูเรื่องนี้เองก็จะเข้าใจแนวคิดที่ยกระดับความรู้สึกลึกซึ้งมากขึ้น

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไรลีย์ไม่เคยถูกมองว่าเป็นโรคซึมเศร้า แทนที่จะพ่อแม่ของเธอบอกให้เธอเลิกทำตัวไม่น่ารัก หรือพูดจาแรงๆ ใส่อย่างเช่นบังคับให้ลูกผ่านมันไปได้ แต่ไรลีย์เองได้รับอนุญาตให้ซึมซับอารมณ์ของเธอและรู้สึกแย่กับสถานการณ์ของเธอจนกว่าเธอจะพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับมัน ความกลัว และความโศกเศร้า นั่นคือสิ่งที่ทำให้ Inside Out แหวกแนวกว่าเรื่องอื่น แทนที่จะสาดความมหัศจรรย์ให้กับภาพยนตร์ของดิสนีย์ นักเขียนเม็ก เลอโฟฟและจอช คูลีย์ได้ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จริงๆ เพื่อทำให้เรื่องราวนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดีคงหนีไม่พ้นกับ Inside out

ภาพยนตร์ของพิกซาร์แน่ว่าเราคนดูสามารถวางใจได้ว่าจะมีแอนิเมชั่นที่ยอดเยี่ยม และใช่ Inside Out ก็มีแอนิเมชั่นที่ยอดเยี่ยมจริงๆ พูดได้เลยว่าเป็นแอนิเมชั่นที่ยอดเยี่ยมและผลงานที่สร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดที่สุดของพิกซาร์เลยด้วยซ้ำ ด้วยสีสันที่สดใสงดงาม ฉากที่สร้างขึ้นอย่างมีจินตนาการ บทก็ทำได้ดีมากเช่นกัน สอดแทรกความตลกเล็กๆ น้อยๆ ไว้ในตัวละครเศร้าซึมได้โดยไม่รู้สึกยัดเยียด บทต่างๆ มีความสมดุลกับละครอย่างละเมียดละไม เรื่องราวอาจจะไม่ใช่แนวคิดที่ล้ำสมัยที่สุดเรื่องหนึ่ง แต่เป็นหนึ่งในการใช้จินตนาการและค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับพิกซาร์ มีเสน่ห์อยู่ มันง่ายมากที่คนดูจะเชื่อมโยงกับอารมณ์ไรลีย์และสถานการณ์ของเธออย่างสมบูรณ์ เหมือนกับตัวละครห้าอารมณ์เหล่านั้นกำลังเชื่อมสื่อมาถึงคนดูเองด้วย

และนี่ก็เป็นภาพยนตร์ของพิกซาร์นับตั้งแต่ Toy Story 3 ที่นักเขียนรู้สึกรีเลทด้วยอารมณ์ความรู้สึกมากที่สุด และเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ส่งผลต่ออารมณ์อาจจะเข้าถึงความรู้สึกผู้ใหญ่มากกว่าเด็กมากกว่าเสียอีก ฉะนั้นเรื่องนี้จึงเหมาะกับทุกวัยจริงๆ ในขณะที่เด็กน้อยได้รับความสนุกสนานจากภาพการ์ตูนน่ารักๆ ผู้ใหญ่ที่รับชมเรื่องนี้เองก็ได้รับความรู้สึกที่สัมพันธ์กันกับ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้กลับไปด้วยเช่นกัน