‘Seaspiracy’ กำกับและบรรยายโดย อาลี ทาบริซี (Ali Tabrizi) ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอังกฤษวัย 27 ปี และอำนวยการสร้างโดยทีมเดียวกันกับสารคดี Cowspiracy ที่เปิดโปงอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงของการตกปลาเชิงพาณิชย์มีต่อชีวิตทางทะเล เช่น การล่าฉลาม โลมา และปลาวาฬ ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านี้คือกุญแจสำคัญในการอยู่รอดของระบบนิเวศมหาสมุทร นอกจากนี้ยังเปิดโปงโลกทุจริตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่ใครหลายคนอาจจะไม่เคยรู้ว่ามีอยู่จริง
การสืบสวนของทาบริซีเต็มไปด้วยอันตราย และเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นที่ต้อนรับไม่ว่าเขาจะไปที่ไหนก็ตาม สิ่งที่คนดูจะค้นพบตลอด 90 นาทีถือเป็นข้อกล่าวหาที่น่าตกใจต่ออุตสาหกรรมประมงเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ขั้นตอนการทำประมงหรือจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมนี้สร้างความเสียหายมากกว่ามลภาวะจากพลาสติกและน้ำมันเสียอีก และอาจส่งผลให้การสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลในมหาสมุทรหรือสามารถเรียกได้ว่า ‘มหาสมุทรที่แสนว่างเปล่า’ ภายในปี 2591 เนื่องจากการทำการประมงมากเกินไปและการทำลายระบบนิเวศทางทะเล
สิ่งที่น่าตกใจที่สุดคือเมื่อไปเยือนไทจิทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ทาบริซีพบว่าโลมาถูกล่า และเชือด เพราะเหตุผลที่ว่ากินปลาที่ชาวประมงต้องการมากเกินไป แน่นอนว่าพวกมันเป็นเพียงแพะรับบาปจากการประมงเกินขนาดที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะมันเป็นการล่าโดยไม่มีความจำเป็น และสารคดียังนำเสนอให้คนดูเห็นว่าบริษัทอย่างมิตซูบิชิ ซึ่งควบคุมตลาดปลาทูน่าครีบน้ำเงินถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของโลกยังเป็นที่หนึ่งอุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ร่ำรวยต่อไปได้ และล้างคาวปลาด้วยการปัดความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศ และที่น่าตกใจไปกว่านั้นสำหรับนักเขียนเองที่เป็นคนไทย การค้นพบจากการเดินทางของทาบริซีในสารคดีเรื่องนี้ทำให้เราได้เห็นว่าการประมงของไทยใช้แรงงานอย่างหนักออกเรือเป็นจำนวนมาก เพื่อจับกุ้งและเบือตัวเล็กๆ (ในสารคดีใช้คำว่าแรงงานทาส) เพราะต้องถึงขั้นเสี่ยงชีวิตออกเรือไปจับกุ้งเหล่านั้น อีกทั้งยังทิ้งประโยคไว้อีกว่า ‘ถ้ากลัวตาย ก็กลับบ้านไป’ อีกทั้งอุปกรณ์ตกปลาพลาสติกที่ถูกทิ้งคิดเป็นร้อยละ 46 ของ ‘แพขยะใหญ่แปซิฟิก’ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ฉลากที่ติดลงบนปลาเช่น ‘Dolphin Safe’ นั้นไร้ความหมายเพราะคนเองก็ไม่ได้สนใจ จากผลการสำรวจมากมายกลับพบว่าวาฬและโลมาประมาณ 300,000 ตัวถูกฆ่าทุกปีโดยเป็น ‘สัตว์น้ำพลอยได้’ เนื่องจากถูกจับได้โดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการสำรวจประมง
แล้วถ้าอย่างนั้น การเลี้ยงปลาในกระชังดีกว่าการจับปลาในธรรมชาติหรือไม่?
ถ้าว่าการตามสารคดี การเลี้ยงปลาในกระชังหรือฟาร์มก็ไม่ได้ดีเด่นอะไรไปกว่าการจำปลาตามธรรมชาติเสียเลย เมื่อทาบริซีไปซ่อนตัวอยู่ในฟาร์มปลาแซลมอนในสกอตแลนด์ กลิ่นเหม็นนั้นอบอวลไปทั่วฟาร์ม ปลาแซลมอนมีการแพร่กระจายของเหา โรคติดเชื้อ ทั่วไปหมด การที่เลี้ยงสัตว์เพื่อขายหรือเพื่อนำเอามาประกอบอาหารแล้วยังเลี้ยงให้อยู่ในสภาพนี้แล้วละก็ คิดดูเอาแล้วกันว่ามนุษย์ที่บริโภคสิ่งพวกนี้อยู่จะได้รับเชื้ออะไรไปบ้าง
สารคดีเรื่องนี้ทำให้เราเห็นหลายแง่มุมของอุตสาหกรรมการประมง ปัญหาหลักที่นักทำสารคดีอย่างทาบริซีเผชิญคือความบันเทิงอย่างหนึ่งของสารคดีเรื่องนี้ การติดตามชายติดอาวุธหนักในขณะที่พวกเขาทำการจับกุมคนลากอวนที่เต็มไปด้วยผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้ข้อเท็จจริงของสารคดีนี้มีความน่าเชื่อถือมากๆ ในท้ายที่สุด นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการโยนคำว่า 'สมรู้ร่วมคิด' ใส่องค์กรรักโลกต่างๆ และโยนให้คนดูได้คิดว่าอุตสาหกรรมการประมงพาณิชย์เช่นนี้ กับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล สิ่งใดทำร้ายโลกมากกว่ากัน ทั้งสองเป็นอุตสาหกรรมที่มีอายุหลายศตวรรษซึ่งหยั่งรากลึกในการค้าระดับโลก ซึ่งทำให้ผลกระทบอันโหดร้ายที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นยากจะแก้ไขได้ อุตสาหกรรมที่น่าเกลียดอุตสาหกรรมหนึ่งนั้น 'ได้รับความนิยม' มากกว่าอุตสาหกรรมที่น่าเกลียดอื่นๆ แน่นอนว่าข้อกังขาทางจริยธรรมของอุตสาหกรรมประมงบางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และการที่ผู้กำกับสารคดีเป็นคนโยนคำว่า 'สมรู้ร่วมคิด' ใส่องค์กรเหล่านั้นเองก็ทำให้คนดูตั้งคำถามกลับ แต่อุปสรรคที่ทาบริซีต้องพบเจอนั้นเป็นน่าเชื่อถือในท้ายที่สุดของสารคดี 'Seaspiracy' เรื่องนี้
“สุดท้ายแล้วคนที่ทำลายโลกมากที่สุดก็คือมนุษย์”
สารคดีแจ้งเบาะแสนี้เป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการประมงเชิงพาณิชย์ สารคดีเรื่องนี้น่าทึ่ง น่าเศร้า สะเทือนอารมณ์ และรับชมได้ยาก Seaspiracy เปิดเผยและเปิดเผยข้อมูลมากมายเกี่ยวกับวิธีการและสาเหตุที่อุตสาหกรรมประมงเชิงพาณิชย์กำลังทำลายโลก ตัวเรา และอนาคตของเรา สารคดีเรื่องนี้อาจจะไม่เหมาะกับเด็กๆ หรือคนบางประเภทเพราะเนื่องจากมีฉากทำร้ายสัตว์ ความรุนแรง การนองเลือด และการฆ่า เพราะต้องการที่จะเผยให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรม และนี้เป็นเพียงแค่ด้านเดียวในหลายๆ อุตสาหกรรมทำที่ร้ายโลก ควรถึงเวลาแล้วหรือยังที่มนุษย์จะรู้ตัวและช่วยกันรักษา หากทุกคนการเริ่มต้นที่ตัวเราทีละนิด อาจจะช่วยเป็นแรงกระเพื่อมทำให้อะไรๆ ในโลกดีขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้