Daily Pickup

The Birth of Saké เกียรติยศแห่งโรงหมัก วัฒนธรรมอันสวยงามที่กำลังจะถูกลืม

The Birth of Saké เป็นภาพยนตร์สารคดีปี 2015 เกี่ยวกับโรงเบียร์เทโดริกาวะ (Tedorigawa) ซึ่งเป็นโรงหมักสาเกอายุ 144 ปีในจังหวัดอิชิคาวะ ประเทศญี่ปุ่น บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับฤดูกาลหมักสาเกในโรงเบียร์เล็กๆ ที่ครอบครัวเป็นเจ้าของ ภาพยนตร์ 'The Birth of Sake' ของเอริค ชิราอิ เป็นการแนะนำให้รู้จักกับกรรมวิธีการหมักสาเกแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่จุดสนใจที่แท้จริงของภาพยนตร์เรื่องนี้คือวิถีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ วัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณนี้กำลังจะหายไปตามกาลเวลา

โรงเบียร์โยชิดะในจังหวัดอิชิคาวะผลิตสาเกมานานกว่า 140 ปีโดยใช้วิธีช่างฝีมือ ซึ่งก็คือการสัมผัส ลิ้มรส มองเห็นและดมกลิ่น เพื่อนึ่ง ร่อน และหมักข้าวให้เป็นสาเกระดับพรีเมียม แบรนด์เทโดริกาวะ เดือนตุลาคมของทุกปี เหล่าคนงานของโรงหมักจะบอกลาครอบครัวและเพื่อนฝูง และเดินทางไปยังจังหวัดอิชิคาวะ ของประเทศญี่ปุ่น ที่ซึ่งพวกเขาจะใช้เวลาหกเดือนอันหนาวเหน็บและโดดเดี่ยวในการผลิตสาเกที่โรงเบียร์เทโดริกาวะ (หรือที่รู้จักในชื่อโรงเบียร์โยชิดะ) สาคดีจะพาเราไปชมทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตสาเกที่ซับซ้อนและใช้กรรมวิธีที่พิถีพิถันในการผลิต โดยแจกแจงรายละเอียดด้วยคำอธิบายในแต่ละซีนและฟุตเทจเชิงสังเกตการณ์ที่แสดงให้ผู้ชมเห็นตั้งแต่ข้าวปริมาณมหาศาลที่ถูกขัด ล้าง ตากแห้ง และนึ่งในห้องอุ่น จากนั้นจะถูกอัดด้วยแม่พิมพ์พิเศษ ‘โคจิคิน’ ที่ช่วยเร่งการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้น การหมักจะเริ่มต้นขึ้น โดยเริ่มจากยีสต์เริ่มต้นที่เรียกว่า ‘ชูโบ’ และจากนั้นจึงผสมส่วนผสมสุดท้าย ‘โมโรมิ’ ซึ่งจะถูกปั่นเป็นเวลา 25 ถึง 30 วัน และจากตรงนั้นจึงค่อยสกัดออกมาเป็นสาเกในที่สุด ทั้งหมดนี้เกิดจากแรงงานของฝีมือมนุษย์แทนที่จะใช้เครื่องจักรเพียงอย่างเดียว ทำให้กรรมวีผลิตสาเกของที่นี่พิถีพิถันและประณีตเป็นอย่างมาก

ชิราอิตั้งข้อสังเกตว่าการสร้างสาเกที่สมบูรณ์แบบนั้นเหมือนกับการเลี้ยงดู 'เด็กที่จู้จี้จุกจิก' (การเปรียบเทียบที่มีความชัดเจนในชื่อสารคดี The Birth of Sake) ซึ่งเป็นงานที่ต้องได้รับความสนใจทุกวันและทุกคืนจากทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สารคดีแสดงให้เราเห็นว่าคนงานจะสามารถทำงานต่อไปได้จะต้องสังเกตทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงหมัก เพราะเนื่องจากแม้แต่ความแปรปรวนเพียงเล็กน้อย เช่น ยีสต์ผิดประเภท หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้ความสมดุลของแอลกอฮอล์ กลิ่น และรสชาติที่ต้องการในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายหายไปด้วยเหตุนี้พนักงานหมักสาเกทั้งหลายจึงต้องละทิ้งภาระผูกพันอื่นๆ ทั้งหมดเป็นเวลาหกเดือนต่อปี โดยถอยห่างจากชีวิตปกติและเข้าสู่สภาวะที่เกือบจะโดดเดี่ยวเหมือนพระภิกษุตัดจากโลกภายนอกเสียอย่างนั้น

ยาซูยูกิ โยชิดะ (หรือ Yachan Yoshida) วัย 28 ปี ได้รับการส่งต่อจากพ่อของเขาซึ่งเป็นประธานบริษัท ให้เป็นทายาทรุ่นที่ 6 ของครอบครัวให้เป็นผู้นำโรงหมักสาเกแห่งนี้ เขารู้ดีว่าในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อะไรก็ไม่สามารถรับประกันความอยู่รอดของโรงหมักสาเกนี้ได้ เพราะเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่คนงานรุ่นใหม่จะยอมมาทุ่มเททั้งใจและกายเพื่อการหมัก กลั่นสาเกออกมาด้วยสองมือโดยปราศจากเครื่องจักรใดๆ สิ่งสำคัญคือตลาดสาเกในญี่ปุ่นกำลังหดตัวด้วยเช่นกัน และแบรนด์จำนวนมากที่ขายดีมักจะขาดความแตกต่างและเนื้อสัมผัสที่ละเอียดอ่อนของการผลิตสาเกแบบช่างฝีมือ เมื่ออะไรที่ทำให้ผลิตได้ง่ายกว่ายิ่งครอบคลุมการตลาดได้ดีกว่า เพราะอย่างนี้การหมักสาเกจากช่างฝีมือจึงค่อยๆ เลือนหายไป

จนถึงจุดหนึ่งโยชิดะ และบอร์ดบริหารคนอื่นๆ ในบริษัทพูดคุยถึงความจำเป็นทางเศรษฐกิจของธุรกิจของพวกเขา และการประนีประนอมเชิงคุณภาพที่เป็นผลตามมาคือ โรงเบียร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันพึ่งพาเครื่องจักร 100% และในความพยายามที่จะดึงดูดนักดื่มรุ่นเยาว์ พวกเขาก็ต้องพยายามผลิตเครื่องดื่มที่ นุ่มนวลและดื่มง่าย แต่ก็ยังสามารถดื่มด่ำกับรสชาติที่เข้มข้นซึ่งสามารถดึงดูดผู้ชื่นชอบสาเกตัวจริงได้เช่นกัน ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากนี้ 'The Birth of Sake' จึงกลายเป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับความดั้งเดิมที่ผสมความสมัยใหม่เข้าไป ประเพณีกับนวัตกรรม มือสมัครเล่นกับผู้เชี่ยวชาญ พูดง่ายๆ ก็คือความแตกต่างทางอารมณ์ที่แทรกซึมอยู่ในธุรกิจการค้าและงานฝีมือเกือบทุกแห่ง ในขณะที่คนหมักสาเกมุ่งหน้าไปทางเหนืออีกครั้งในอีกฤดูกาลหนึ่งเพื่อหมักสาเกอันทรงเกียรติ ในขณะเดียวกันบริษัทอื่นๆก็ขยันออกเหล้าเบียร์สำเร็จรูปออกมา แม้จะเป็นเช่นนั้นแต่ความมุ่งมั่นของพวกเขาชัดเจนเช่นเคย ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกถึงจิตวิญญาณที่เกือบจะเกิดขึ้นอีก เช่นเดียวกับภาพของเหล่าคนหมักสาเกที่ทำงานหนักที่ยึดติดกับความหวังและประเพณีวัฒนธรรม ท่ามกลางอนาคตที่ไม่แน่นอน แต่ก็ยังคงยืนหยัดที่จะรักษาประเพณี วัฒนธรรมการดื่มของตัวเองต่อไป

สารคดีเรื่องนี้มีกลิ่นอายความเศร้าโศกตลอดทั้งเรื่อง นักเขียนรู้สึกเหมือนกำลังดูจุดจบของบางสิ่ง วิถีชีวิตบางอย่าง นักเขียนรู้สึกว่าชิราอิ (ผู้กำกับ) อยากจะบันทึกสิ่งนี้ไว้ก่อนที่จะสายเกินไป ความนิยมของเบียร์และไวน์ในญี่ปุ่น ได้ส่งผลให้ความต้องการเหล้าสาเกในหมู่คนรุ่นใหม่ลดลงอย่างมาก นักเขียนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าเราจะยังคงเห็นผลงานที่สวยงามของสถานที่อย่างเทโดริกาวะต่อไปอีกหรือไม่ แต่สุดท้ายแล้วยังไงเราก็ต้องมีความหวัง นักเขียนคิดว่าต่อในยุคสมัยขับเคลื่อนไปข้างหน้าต่อไปเรื่อยๆ เช่นไร จะต้องมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นและให้ค่ากับการหมักสาเกที่ทรงเกียรตินี้อย่างแน่นอน