VINN (and) PATARARIN
“เล่าให้ฟังคร่าวๆ แบบสั้นๆ ก่อน ผม (‘แชมป์’ – วิณ โชคคติวัฒน์) จบสถาปัตย์ ‘ฝน’ (ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์) จบแฟชั่นดีไซน์ เราเจอกันที่ฝรั่งเศสระหว่างเรียนปริญญาโท เรียนคนละโรงเรียนกัน แต่รู้จักกันผ่านคอมมิวนิตี้เด็กไทยที่ไปเรียนต่อ แล้วพอดีว่าเราได้ช่วยงานกัน ในโปรเจกต์จบ ผมหาคนที่สามารถทำเรื่อง Human Scale ฝนมองหาคนที่ทดลองกับ Material ซึ่งต่างคนต่างเป็น Combination ในงานซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นเรามองเห็น Aesthetic บางอย่างซึ่งกันและกัน และมันยังไม่มีในวงการดีไซน์ของไทย จนจับพลัดจับผลูเปิดแบรนด์ขึ้นมา จากที่เล่าคือ เราไม่ได้สร้าง VINN PATTARARIN ขึ้นมาเพื่อทำเสื้อผ้า แต่มันเป็นดีไซน์สตูดิโอ เป็นสตูดิโอทดลองของนักศึกษา 2 คน”
“เราเป็น Contemporary Art ที่ผสานเอาความรู้เชิงสถาปัตย์ แฟชั่น Textile และเทคโนโลยี ที่เป็นตัวตนของเราทั้งสองคนรวมเข้าด้วยกัน สร้างออกมาเป็น Visual ใหม่ เทคนิคใหม่ เป็น Aesthetic ใหม่ๆ ในแบบ VINN PATARARIN”
“มันเป็นความเชื่อที่ว่างานออกแบบมันไม่ควรถูกจับไปวางไว้อยู่ประเภทใดแบบเดี่ยวๆ มันคือการผสานหลากหลายศาสตร์เข้ามาเพื่อแสดงเอกลักษณ์ความเป็นตัวเอง อย่าง VP เราถนัดการใช้เลเซอร์ตัด เพราะผมทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง การใช้เลเซอร์ตัดชิ้นงาน ทำแบบ อันนี้เราทำมาตั้งแต่เรียนปริญญาตรีแล้ว มุมมองทางด้วยสถาปัตย์ที่จะมองออกมาเป็น 3 มิติ การปริ้นต์ให้เกิดการรับรู้แบบ 3 มิติ บนพื้นผิว 2 มิติ มันความสหองค์ความรู้ที่แต่มันเป็นการผสานกันเฉพาะของเรา 2 คน"
One of the Pioneer
“มันก็เป็นระยะเวลา 8 ปีแล้ว ตั้งแต่เราเริ่มก่อนตั้งกันมา การเริ่มไอเดียจากงานที่มันเต็มไปด้วยเทคนิค ทดลอง ปรับแก้ พัฒนาควบคู่มาตลอด จากคำถามที่ว่าใส่แล้วจะโป๊ไหม วันนี้ลูกค้าถามเราว่าคอนเซปต์คอลเลกชั่นนี้คืออะไร เหมือน VP กับลูกค้าของเราค่อยๆ โตไปด้วยกัน รวมไปถึงสังคมรอบข้างในส่วนของงานศิลปะ งานออกแบบก็โตไปด้วย มันเลยกลายเป็นว่า เราโตมาในช่วงเวลาที่ถูกที่ถูกทาง จากงานเทคนิค งาน Conceptual สู่เสื้อผ้าที่ผู้คนมองว่ามันสวมใส่ได้จริง”
“วันนี้สามารถตอบได้อย่างเต็มปากว่าเป็น Pioneer เป็นในระดับหนึ่งแล้วกัน (หัวเราะ) ในวันที่เราตั้งแบรนด์ เรามีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่ง คือเราไม่ได้ตั้งใจทำแค่แบรนด์ที่จะขายของ เราตั้งใจทำแบรนด์ที่เราได้ Educate ตัวเอง ได้ Educate ทุกคน เราได้ช่วยกันทำให้วงการออกแบบมันสนุกยิ่งขึ้น มันกลมยิ่งขึ้น คนเข้าใจงานศิลปะของเรามากขึ้น ตั้งใจอยู่แล้วว่าเราจะเป็นหนึ่งในคนที่จะพยายามที่จะเป็น Pioneer ซึ่งใน วันนี้เราก็แตะจุดนั้นได้ในระดับหนึ่งที่คนทุกคนหันมาเจอแบรนด์เราแล้วเขาเข้าใจว่าจริงๆ เราเสนออะไรอยู่ ทำไมเราถึงแตกต่างแล้วไม่ตั้งคำถามแง่ลบต่อกัน เพราะฉะนั้นมันก็มาถึงระดับหนึ่งแหละ แต่สำหรับในอนาคตเราก็มองว่าเรายังอยากเป็น Pioneer ต่อไปในหลากหลายรูปแบบนั้น ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะ Multidisciplinary เอง การที่งานเราส่งเสริมกับงานชิ้นอื่นๆ”
Fashion is a sustainability Victim
“จริงๆ เราไม่เคยอ้างตัวเองเป็น Sustain Brand เลยนะ” แชมป์หัวเราะ “ด้วยความที่เรามองว่า Sustainability มันไม่สามารถ Fit in อยู่กับกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งแล้วมันจะประสงค์ความสำเร็จ เราไม่สามารถใช้ชีวิตท่ามกลางความ Sustainable ได้ทุกวันหรอก มันถูกจำกัดด้วยกิจกรรมที่เราเลี่ยงไม่ได้ เช่นการผลิตแบบ Mass Production, Food Wasted อีกสารพัดอย่าง” แชมป์เล่าต่อ “เรามองเรื่องนี้เป็นหลายมิติอย่างที่บอกข้างต้น เราไม่สามารถทำให้มันจบได้ในกิจกรรมเดียว เพราะนั้นมันเริ่มตั้งแต่การออกแบบ วางลาย วางผ้า เราทำบนคอมพิวเตอร์ ลดการร่างแบบโดยใช้กระดาษ เราใช้เลเซอร์ในการตัดที่ทำให้เหลือผ้าทิ้งน้อยที่สุด การเลือกวัสดุทดแทนผ้า อย่างโพลีเอสเตอร์ วัสดุสังเคราะห์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันดูแย่มาก ไม่รักษ์โลกเอาเสียเลยใช่ไหม (หัวเราะ) แต่จริงๆ แล้ว ถ้าทำถูกวิธี อายุการใช้งานมันยาวนานมาก ใส่ได้หลายรอบ ลองนึกว่าใส่ผ้าไหม ต้องซักแห้งนะ ถ้าใช้สีย้อมป่าหมดแล้วนะ อย่างที่บอกไปข้างต้น เราได้ปรับความ Sustainability ให้เหมาะสมกับบริบทของชีวิต”
“เราไม่ใช่แบรนด์ที่มานั่งหา Carbon Footprint หรือเหลือขยะกี่ตัน แต่เรามองการผลิตทั้งกระบวนการให้ผลงานการออกแบบ เรากลายเป็น Iconic Piece ที่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ ใส่ซ้ำได้หลายครั้ง ส่งต่อได้ ขายต่อได้ ดีทั้งในเชิงจิตใจ และเชิงการลงทุน หรือแม้แต่เป็นงานศิลปะ สร้าง Life Cycle ของงานเรามีอายุยืนยาวมากขึ้น”
Craftsmanship in the style of VP
“ผมขอเรียกเป็น Digital Craftmanship” แชมป์กล่าว “เรานิยามงาน Traditional Craft คือใช้มือทำ คนที่ใช้มือปัก ทุกคนมีมือเหมือนกัน คนเราเรียนปัก เรียนเย็บ เรียนเพ้นต์ ลงยา ถมทองได้ แต่ถ้าจะทำให้สวยต้องผ่านการฝึกฝนที่แล้วแต่ศักยภาพของแต่ละคน เช่นเดียวกันในความเป็น Digital Craftmanship ของเรา เราต้องผ่านการปั้น 3D จังหวะการใช้เลเซอร์ตัด วัสดุที่เลือกใช้ ทำยังไงไม่ให้ไหม้ คนอาจจะมองดิจิทัลเป็น Low Art งานมือเป็น High Art แต่งานทั้งคู่ก็ต้องผ่านการฝึกฝนทั้งคู่ ที่อยู่กันคนละแพลตฟอร์ม แล้วอะไรที่จะมาแบ่งแยก Low หรือ High เพราะฉะนั้นผมเลยมองว่า Digital Craft ที่เราทำกันมันคือตัวแทนงานฝีมือของแบรนด์ มันจะเป็นแนวคิดใหม่ เทคนิคใหม่ที่เราเสนอให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่นในไทย หรือจะเป็นอะไรก็ช่าง แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความแตกต่างในมุมของงานฝีมือ ที่เราได้ Differentiate จากศิลปินท่านอื่นๆ”
Next Step of VP
“ถ้าจะบอกว่าล่าสุด ก็อาจจะไม่เต็มปากเท่าไหร่ เพราะมันคือส่วนที่เราทำมากันสักพักแล้วกับชุดแต่งงาน คือเราในส่วนของ Custom ให้กับลูกค้าที่เป็นแฟนของแบรนด์อยู่แล้ว แต่ไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และในส่วนของ Bridal นี่เองก็เป็นส่วนที่จะทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านมันครบวงจรมากขึ้นด้วย เราเลยรวมงานออกแบบที่เคยทำมา และงานที่อยากทำ โดยที่ไม่ต้องตะโกนออกมาว่านี่คือ Experimental นะ เป็นงาน Coutour นะ เรียกว่าเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้นดีกว่าว่าวันนี้เราพร้อมจะทำชุดเจ้าสาวแล้ว” ฝนกล่าว
“ขอเสริมจากฝนนิดหนึ่ง ชุดเจ้าสาวมันไม่ได้เป็นแค่ชุดราตรี หรือชุดสีขาว เราต้องสื่อสารให้ชัด การเปิดตัวคอลเลกชั่น BLANC ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่ตอกย้ำว่า เราพร้อมที่จะให้คุณเดินเข้ามาแล้วเป็นเจ้าสาวในแบบ VP แล้ว ที่ไม่ว่าจะสวยสง่า เท่ หวาน หรือมาแบบอาวองต์-การ์ด พร้อมตักบาตรเช้า ยกน้ำชา ลุกนั่ง เราสามารถจบให้คุณที่นี่ได้” แชมป์เสริม แม้ว่าจะยังไม่มีตัวอย่างของชุดให้เราได้ชมกัน แต่จากเรื่องราวที่ทั้งคู่เล่า ก็เพียงพอให้เรามองเห็นภาพของเจ้าสาว VP บ้างแล้ว”
แชมป์เล่าโปรเจกต์ต่อไปให้เราฟัง “สิ้นปีนี้เราจะทำ collaboration กับ ‘ยูน’ – ปัณพัท เตชเมธากุล ที่เป็นงานร่วมกันกับศิลปินชาวไทยครั้งแรก ด้วยยูน และเราสองคน มีสิ่งที่คล้ายกันคือความชัดเจนของตัวตนในผลงาน ยิ่งพอได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว มันมี Inner Self บางอย่างที่สามารถคอนเนกกันได้ วันหนึ่งเราก็คุยกันเล่นๆ มาทำงานด้วยกันไหม พอความ Maximum ของยูนรวมเข้ากับการเดินทางในแบบของ VP มันกลายเป็นการเล่าเรื่องที่ผนวกเข้ากับมุมมองในแบบ Characteristics ที่จะมาในรูปแบบงาน Projection, Mapping, Product Design และ Interactive Art เป็น Exhibition พร้อมเวิร์กช้อป ที่กำลังจะมีปลายปี”
อีกหนึ่งงานที่กำลังพัฒนา และอยู่ในความสนใจของคือ Sense จึงอดไม่ได้ที่จะถามถึงเรื่องราวงานชิ้นนี้
“มันเริ่มจากการทดลอง อย่างที่บอกเราเป็น Design Studio เราไม่ได้จำกัดตัวเองไว้แค่การออกแบบเสื้อผ้า เรามองหาวัสดุ เนื้อสัมผัส การออกแบบในรูปแบบใหม่ๆ ถ้ามีเวลานะ (หัวเราะ) แล้วมันกลายเป็นว่าเราเจอว่าการสัมผัส การจับ มันมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการแพนิก คนที่เป็นสมาธิสั้น” ฝนเริ่มเล่า
“ก็มีโอกาสได้เข้าไปคุยกับทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้พูดคุยกับคุณหมอ นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย แล้วเราได้เห็นกระบวนการการรักษา การใช้วัสดุคล้ายๆ กับที่เราเจอมา แต่แค่จะอยู่ในคนละรูปแบบ เช่น ฟองน้ำล้างจาน ไหมปม ที่เราก็มองในฐานะนักออกแบบว่า เฮ้ย มันควรดีกว่านี้ คนป่วยไม่มีใครเขารู้สึกว่าตัวเองอยากป่วยหรอก ไม่มีใครอยู่ดี อยากเอาที่ล้างจานมาถูๆ กำๆ ไว้ มันหมดกำลังใจ ทำไมเราไม่เอางานออกแบบมาพัฒนาอุปกรณ์ที่เป็นกึ่งการแพทย์แบบนี้ให้มันน่าสนใจขึ้น เราก็มองภาพกว้างไปมากกว่านี้อีกคือมันจะต้องไม่ได้ไปแค่วัสดุเชิง Material เท่านั้น แต่มันเป็นภาพรวมที่จะกลายเป็น Eco System ไปถึงการทำกิจกรรม การพัฒนาในมิติอื่นๆ ที่ทั้งคนป่วย คนที่มีอาการ คนที่เผชิญกับภาวะอารมณ์ หรืออาการ สามารถเข้าถึง และ Sense สามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันเหล่านี้ได้จริง”
“พอเราตั้งแนวคิดแบบนี้ มันกลายเป็นว่ากลุ่มเป้าหมายเรา แตกออกไปเป็นหลายกลุ่ม ตั้งแต่ออทิสติก คนที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองร่างกายได้ มีการขยับแบบผิดปรกติ หรือคนที่มีปัญหาอาการแพนิก อาการวิตกกังวล บวกกับความเป็นนักออกแบบของเรา เราเห็นศักยภาพของการพัฒนาสิ่งของเหล่านี้ในแบบของ VP เป็นแจ็กเก็ตที่มีกระเป๋าสอดมือเข้าไป แล้วมีเนื้อสัมผัสที่ช่วยผ่อนคลายได้ อย่างที่บอกไปคือ เราอยากให้สิ่งของเหล่านี้ สามารถเข้าไปส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คนได้”
LEGACY as a VINN PATARARIN
“ตั้งแต่วันแรกที่เปิดแบรนด์ เรามองเห็นเดียวกันคือเราอยากสร้าง Culture ของงานออกแบบ ที่เป็นเพียงหนึ่งรูปแบบให้กับวงการงานออกแบบได้รู้จัก มันยังมีอีกหลากหลายแนวทาง และรูปแบบ มีอีกเยอะมาก เราแค่อยากจะเป็นหนึ่งในเส้นทางที่ทำให้คนได้เห็น และเข้าใจว่างานออกแบบมันสามารถไปอยู่ตรงไหนได้บ้าง VP ไปเป็นเสื้อผ้า ของใช้ เป็น Installation ได้รู้จักนวัตกรรม การสร้างสรรค์ผลงานที่มันไม่ได้มีแค่แบบ Traditional ทำกัน" ฝนเล่า พร้อมลุกขึ้นไปหยิบที่ครอบแจกันออกมาให้ทีมงานได้ชม
“ถ้าให้มองเป็น Legacy เราสร้างคำว่า VINN PATTARIN ให้มันกลายเป็นคำคุณศัพท์ได้ “เฮ้ย วันนี้แกแต่งตัวแบบ VP นะ” “ดูคนนั้นสิ โคตรจะ VP เลย” มันมี Aesthetic ในแบบของมัน และมันกลายเป็นคำเรียกที่สามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตได้ ก็หวังว่า Legacy อันนี้จะเป็นชิ้นใหญ่ที่ทิ้งไว้ให้ในสังคม มากกว่าชิ้นงานที่เราออกแบบ” ฝนจบประโยคพร้อมยิ้ม