Culture

ทำไมคำว่า ‘เฟมินิสต์’ ถึงกลายเป็นคำต้องห้ามในสังคมเกาหลีใต้

The Rise of Anti-feminism in South Korea

Photo credit: csis

ประเด็นเรื่องสิทธิสตรีเป็นประเด็นร้อนในสังคมเกาหลีใต้อยู่บ่อยๆ และยิ่งร้อนมากขึ้นเมื่อเกาหลีใต้เพิ่งจะได้ประธานาธิบดีคนใหม่ มุล แจ อิน ที่มีแนวความคิดขวาจัด แข็งกร้าวและต่อต้านเฟมินิสต์ 

ว่าแต่ ทำไมเฟมินิสต์ถึงกลายมาเป็นของแสลงในสังคมเกาหลีใต้ไปได้

จาก #MeToo สู่ Feminist 

เราคงเคยได้ยินเรื่องกล้องแอบถ่ายในเกาหลีใต้ที่ระบาดมากๆ มีแบบจะทุกที่ทั้งในโรงแรมม่านรูดและไม่ม่านรูด ห้องน้ำสาธารณะ ผับบาร์ และยังเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้ แต่กระแสสิทธิสตรีในเกาหลีใต้มาจุดติดจริงๆ จากเหตุการณ์ฆาตกรรมผู้หญิงคนหนึ่งอย่างโหดเหี้ยมใกล้สถานีรถไฟใต้ดินในย่านกังนัมในปี 2016 โดยชายผู้กระทำการดังกล่าวสารภาพในภายหลังว่าเกิดจากที่เขาถูกลูกค้าหญิงในบาร์ที่เขาทำงานเหยียดหยามและรู้สึกโกรธแค้น แต่ผู้หญิงที่เขาแทงจนเสียชีวิตนั้นไม่ได้รู้จักกันกับเขาเลย 

Photo credit: ceias.eu

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทำให้ผู้หญิงหลายพันหลายหมื่นคนในเกาหลีนำโพสต์อิทไปติดที่กำแพงสถานีกังนัมเพื่อระลึกถึงเหยื่อผู้เสียชีวิต และส่วนมากข้อความในโพสต์อิทนั้นก็บอกเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเองในฐานะผู้หญิงที่เคยถูกกระทำมาก่อน จนทำให้ประเด็นเรื่องความเกลียดผู้หญิงในสังคมเกาหลีกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ถูกพูดถึงมากขึ้นนับแต่เวลานั้น ทั้งเรื่องทัศนคติที่สังคมมีต่อผู้หญิงเกาหลี การถูดกดขี่กดทับ การถูกแอบบันทึกภาพขากล้องแอบถ่าย และการล่วงละเมิดทางเพศ ผ่าน #MeToo และ #mylifeisnotyourporn

จากข้อมูล Global Gender Gap Report ในปี 2019 พบว่าช่องว่างของค่าแรงระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในเกาหลีใต้นั้นสูงมาก เพิ่มขึ้นเป็น 37.1% จาก 34.6% ในปี 2018 แล้วใครจะไปเชื่อว่าเกาหลีใต้ประเทศที่พัฒนาแล้วอันดับต้นๆ ของเอเชียและของโลกอยู่ในอันดับที่ 115 จาก 149 ประเทศในเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างชาย-หญิง

Photo credit: spiremagazine

เฟมินิสต์ในป๊อปคัลเจอร์

ประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ และการที่ผู้ชายในสังคมเกาหลีเกลียดเฟมินิสต์นั้น มักจะถูกให้เหตุผลจากฝ่ายชายว่า “กระแสความเคลื่อนไหวของเฟมินิสต์ไม่เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอีกต่อไปแล้วแล้ว แต่มันกลายมาเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศและมีลักษณะรุนแรงและแสดงความเกลียดชัง” สิ่งนี้เห็นได้ชัดจากเพลงแร็ปชื่อเพลงว่า ‘Feminist’ ของแร็ปเปอร์ San E ซึ่งเขียนออกมาภายใต้ทัศนคติการเกลียดเฟมินิสต์ โดยมีการเปลี่ยนจากคำว่า Women เป็น Womad (ในที่นี้นอกจากจะเป็นการผสมคำระหว่าง Woman กับ Nomad แล้ว ยังหมายถึงกลุ่ม Womad กลุ่มสตรีนิยมหน้าใหม่ในเกาหลีใต้ที่มีพฤติกรรมการท้าทายบรรทัดฐานของสังคมอย่างรุนแรง) และบอกอีกว่า สิ่งนี้ไม่ใช่เฟมินิสต์แต่เป็นพวกที่ป่วยทางจิต

“Womad is poison. Feminist, no. You’re a mental illness.”

ซึ่งกลับกลายเป็นว่าเพลงของ San E ได้รับการตอบรับ (โดยเฉพาะผู้ชายในเกาหลี) อย่างล้มหลาม และทำให้การที่ผู้หญิงสักคนจะประกาศตัวว่าเป็นเฟมินิสต์ในสังคมเกาหลีกลายเป็นเรื่องอันตราย เพราะจะโดนแรงกระแทกจากสังคมมากมาย เช่นเดียวกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเพลงแร็ปเพลงนี้

Photo credit: scmp, soompi, koreaherald

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าสนใจก็คือหนังสือเรื่อง “Kim Ji-young, Born 1982” หรือในชื่อไทยคือ “คิม จี-ยอง เกิดปี 1982” ที่ต่อมาถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกกดทับภายใต้แนวคิดชายเป็นใหญ่ในสังคมเกาหลี หนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับกระแสการต่อต้านอย่างรุนแรงในเกาหลี นักแสดงนำหญิง จองยูมิ ก็ได้รับกระแสต่อต้านจากฐานแฟนกลุ่มผู้ชาย เช่นเดียวกันกับสามีแห่งเอเชีย กงยู ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ไปไม่น้อย มากไปกว่านั้นแฟนคลับของ โซนัมจู ผู้เขียนเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้ชายก็ออกมาประกาศว่าจะเลิกสนับสนุนผลงานของเธอ

เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้นเมื่อไอรีน แห่งวง Red Velvet ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเธอกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ก็เกิดเป็นกระดราม่าขึ้นมาทันที โดยแฟนคลับของวง Red Velvet ที่เป็นผู้ชายออกมาขู่ว่าจะเลิกสนับสนันวง Red Velvet พร้อมตีตราว่าไอรีนเป็นเฟมินิสต์ แถมยังมีการเผารูป กรีดรูปภาพของไอรีนแล้วโพสต์ขึ้นบนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

Photo credit: asianjunkie

นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่ม #Youtoo เพื่อโต้กลับกระแส #Metoo ของเฟมินิสต์ และมีการระดมทุนเพื่อจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “คิม จี-ฮุน เกิดปี 1990 อันเป็นเวอร์ชันล้างแค้นหนังสือเรื่อง “คิม จี-ยอง เกิดปี 1982” แต่ถึงอย่างนั้นหนังสือเรื่อง “คิม จี-ยอง เกิดปี 1982” กลับกลายเป็นหนังสือจากเกาหลีใต้ที่ขายดีที่สุดในต่างประเทศ ได้รับการแปลในหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย

Photo credit: dailynationtoday

ทำไมผู้ชายเกาหลีถึงเกลียดเฟมินิสต์มากนัก 

ความเกลียดเฟมินิสต์ของผู้ชายเกาหลีใต้ไม่ธรรมดา มีการรวมกลุ่มกันจัดม็อบประท้วงต่อต้านเฟมินิสต์ในปี 2018 จากผลโพลของ Realmeter ที่ทำการสำรวจผู้ชายกว่าพันคนในเกาหลีใต้เกือบ 60% คิดว่าปัญหาเรื่องเพศสภาพเป็นปัญหาสำคัญของเกาหลี แต่ผู้ชายในช่วงวัย 20s 76% และในช่วงวัย 30s 66% ต่อต้านเฟมินิสต์  ที่น่าสนใจก็คือผู้ชายในช่วงวัย 40s และ 50s มีแนวคิดต่อต้านเฟมินิสต์น้อยกว่าคนหนุ่มๆ มาก

นักวิชาการในเกาหลีใต้หลายคนให้ความเห็นที่น่าสนใจว่าเป็นเพราะสังคมเกาหลีใต้เป็นสังคมที่มีการแข่งขันและกดดันกันสูงมาก โดยเฉพาะการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการหางาน ในอดีตงานของผู้หญิงและผู้ชายนั้นแยกขาดจากการชัดเจน แต่ในปัจจุบันผู้หญิงกลายมาเป็น “คู่แข่ง” โดยตรงกับผู้ชาย โดยผู้ชายไม่เพียงแค่ต้องแข่งกับผู้ชายด้วยกันเท่านั้นยังต้องแข่งกับผู้หญิงในเจเนอเรชันเดียวกันอีกด้วย 

Photo credit: theglobeandmail

สิ่งนี้เห็นได้จากอัตราการว่างงานในคนรุ่นใหม่ที่สูงมากขึ้น ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจาก 6.9% เป็น 9.9% และมีการทำข้อมูลตามคณะต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในมหาวิทยาลัย (ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมาก) ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ นักกฎหมาย ฯลฯ  สัดส่วนของนักศึกษาหญิงนั้นมีมากกว่าผู้ชายอย่างมาก นอกจากนี้ในด้านการทำงานชายหนุ่มรุ่นใหม่เกาหลีในช่วงอายุ 20s ก็จะรู้สึกว่านอกจากพวกเขาจะเติบโตได้ยากจากหน้าที่การงานที่ถูกควบคุมไว้ทั้งระบบโดยผู้ชายในวัย 40s 50s แล้ว เขายังต้องแข่งขันกับผู้หญิงในเกาหลีใต้อีกด้วย 

ซึ่งถ้าหากเราย้อนมองกลับไปยังเหตุการณ์สถานีรถไฟใต้ดินกังนัมก็จะเห็นว่าเหตุการณ์นั้นสะท้อนภาพและแนวความคิดนี้ได้เป็นอย่างดี 

Photo credit: asia.nikkei

มุน ซุง โฮ ผู้นำกลุ่ม Dang Dang We ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต่อต้านเฟมินิสต์บอกว่า เรื่องชายเป็นใหญ่หรือความไม่เท่าเทียมกันทางเพศมีมานานมากแล้วในเกาหลีใต้ มันเป็นผลพวกของผู้ชายรุ่น 40s   - 50s 60s แต่กลับกลายเป็นว่าคนที่ต้องมาเป็น ‘ทาร์เก็ต’ ในการรณรงค์เคลื่อนไหวของเฟมินิสต์ กลับกลายเป็นผู้ชายรุ่น 20s 30s ซึ่งมันไม่ยุติธรรมเลย ที่พวกผู้หญิงรุ่นใหม่ทำให้ผู้ชายรุ่น 20s 30s กลายเป็นเป้าที่ถูกกล่าวหา ทั้งๆ ที่ผู้ชายรุ่น 20s 30s ก็เป็นเพียงแค่แพะรับบาปจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเกาหลี

Photo credit: East Asia Forum

อ้างอิง

https://edition.cnn.com/2019/09/21/asia/korea-angry-young-men-intl-hnk/index.html

https://thediplomat.com/2021/07/how-feminism-became-a-dirty-word-in-south-korea/

https://foreignpolicy.com/2021/06/23/young-south-korean-men-hate-liberals-feminists/

In patriarchal South Korea, feminism has long been a contentious issue among its people. But with the recent election of an avowed “anti-feminist” Yoon Suk Yeol, it’s become even more of a heated topic, fueling a series of protests from both men and women. In this article, we’ll take a deep dive into the country’s complicated relationship with feminism and how young South Korean men see themselves as victims of the movement.

From #MeToo to Feminism

South Korea’s #MeToo and #MyLifeIsNotYourPorn movements may have stemmed from its long-exisitng issue of spycam porn, but it was the Seocho-dong public restroom murder case in 2016, commonly known as the Gangnam Station murder case, that sparked much of the country’s feminist movement. The incident involved a man who stabbed a woman he had never met before, claiming that he committed the crime because he had been “belittled by women” many times in the past.

Photo credit: ceias.eu

The murder triggered an angry public response, especially from thousands of women who joined the protest held at the exit of Gangnam metro station where the wall was filled with post-it sticky notes. Along with #MeToo and #mylifeisnotyourporn hashtags, post-Its were used as a means of collectively expressing their feelings and opinions as well as sharing their personal stories.

According to the 2019 Global Gender Gap Report, the wage gap between women and men in South Korea increased from 34.6% to 37.1% in 2018. Who would have believed that South Korea, one of Asia and the world’s most developed countries, ranked 115 out of 149 countries, with major disparities in terms of wage equality and earned income for women.

Photo credit: spiremagazine

Anti-feminism in Pop Culture

“Feminism is no longer about gender equality. It is gender discrimination and its manner is violent and hateful,” says Moon Sung-ho, leader of Dang Dang We, one of the groups dedicated to defending men’s rights. The sentiment is echoed in South Korean rapper San E’s song called “Feminist,” in which he calls out radical feminist groups like Womad.

“Womad is poison. Feminist no. You all are mentally sick.” 

Despite the backfire, the song received a positive feedback from many of his male fans. Being a feminist in South Korea puts you at risks of being ridiculed and harassed.

Photo credit: scmp, soompi, koreaherald

In 2019, a movie adaptation of the bestselling novel “Kim Ji-young, Born 1982” triggered a fierce sexism battle. Published in 2016, the book tells the story of a 30-something Korean woman who faces society’s deep-rooted gender discrimination at every stage of her life. The book and film both provoked an outcry from anti-feminists in the country. They sent hate comments to the movie’s lead actors Jung Yu-mi and Gong Yoo while male fans of author Cho Nam-joo’s also vowed to stop supporting her work.


When Irene of the girl group Red Velvet mentioned in one of her interviews that she’d read the book, her social media account was later flooded with insults. Some of her male fans readily branded her as a feminist and proceeded to post photos of hers cut in halves and even lit on fire.

Photo credit: asianjunkie

According to this article by Isabella Steger, “some men who believe that #MeToo is stoking sexism against men are using the hashtag #YouToo to tell their own stories of harassment.” There was even an online crowdfunding for a book project titled “Kim Ji-hun Born in 1990,” a parody of Cho’s novel featuring a male protagonist. However, “Kim Ji-young, Born 1982” has remained the most-sold Korean novel abroad. It’s been translated into 10 different languages including Thai.

Photo credit: dailynationtoday 

Why all the hate? 

A Realmeter poll of more than 1,000 adults found that 60% of respondents in their 20s think gender issues are the most serious source of conflict in the country while 76% of men in their 20s and 66% of men in their 30s oppose feminism.

Many scholars have commented that the anti-feminist sentiment can partially be blamed on South Korea’s hyper-competitive job market. In the past, women's and men's division of labor was a lot more defined and clear cut. Today, women have become direct competitors to men. Not only do men have to compete with other men, they also have to compete with women of the same generation.

Photo credit: theglobeandmail


Over the past decade, the youth unemployment rate has increased from 6.9% to 9.9%.

Women's universities are another example. In South Korea, there are more than a dozen universities exclusively for women, and there are no equivalents for men. Some of these schools offer highly sought-after professions such as law or pharmacy, and the number of law students is limited, and the more women are placed, the fewer men are. Moreover, men in their 20s find it hard to grow professionally in their workplace as they must follow whatever people in their 40s and 50s.

Photo credit: asia.nikkei

Dang Dang We’s Moon Sung-ho says that gender issues are a deep-rooted problem in South Korea and that it was caused by men in their 40-60s. “It’s not fair that we, men in our 20-30s, become a target of the feminist movement. We’re just society’s scapegoat.”

Photo credit: East Asia Forum


References:

https://edition.cnn.com/2019/09/21/asia/korea-angry-young-men-intl-hnk/index.html

https://thediplomat.com/2021/07/how-feminism-became-a-dirty-word-in-south-korea/

https://foreignpolicy.com/2021/06/23/young-south-korean-men-hate-liberals-feminists/