“การอ่านก็อาจจะต้องอาศัย guidance ด้วย การแนะนำโดยประมาณหนึ่งซึ่งจริงๆ เนี่ยร้านหนังสืออิสระก็จะเข้ามีบทบาทตรงนี้แหละ”
เอิร์ธ – อธิษฐ์ อนุชปรีดา กับร้านหนังสืออิสระ จากติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ การรับงานแปลเอกสาร และรับจ้างตามงานหนังสือที่แรกเริ่มอยากเปิดร้านกาแฟเพราะคิดถึงการพบปะผู้คนในช่วง Covid สู่การรวบรวมเอาความรักต่อหนังสือเข้ามาร่วมเป็นไอเดีย Hybrid เปิดร้านหนังสือคู่กันไปด้วยแถวพระโขนง ก่อนจะตัดสินใจมุ่งหน้าสู่เชียงใหม่เพื่อเปิด Rare Find Bookstore and Cafe ที่ตอนนี้เปิดมาได้ปีกว่าแล้ว
“คือจริงๆ อะตั้งใจจะทำร้านหนังสืออยู่แล้วคืออยากทำร้านหนังสืออยู่แล้วตั้งแต่ที่กรุงเทพฯ แต่มันก็ติดอะไรหลายอย่างเพราะมันเป็นช่วงโควิดด้วยแล้วก็ตอนนั้นก็คือไม่ได้มีเวลาที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับสายส่ง หรือว่าธุรกิจร้านหนังสืออะไรเท่าไหร่ รู้สึกว่าเปิดไปเลยดีกว่า เพราะว่าตอนนั้นสิ่งที่ทำให้อยากจะเปิด นอกจากว่าอยากจะเปิดร้านหนังสือ ก็คืออยากมี Space ของตัวเองเพราะว่า ก่อนหน้านี้สอนเด็กมันก็ไม่ได้สอนสดเนาะ แล้วพอโควิดปุ๊บมันก็ออนไลน์หมดเลยเงี้ย มันไม่ได้เจอหน้าคนน่ะ มันก็เลยรู้สึกว่าแบบเอออยากมี Human Contact บ้าง ก็เลยรู้สึกว่ามันมี Physical Space เนี่ยมันก็จะง่ายขึ้นที่จะทำให้เราเจอคนหรือว่าจะนัดนักเรียนมาสอน ถ้ามันไม่ใช่พื้นที่ข้างนอกผู้ปกครองก็อาจจะให้มามากขึ้นไรเงี้ย”
จากการที่คุณเอิร์ธเติบโตมาที่ตาก ย้ายไปเรียนที่เชียงใหม่ และ เรียนมหาลัยที่กรุงเทพฯ ทำไมถึงเลือกเชียงใหม่เป็นที่ตั้งของร้านในปัจจุบัน?
“คือมีแผนที่จะย้ายออกจากกรุงเทพอยู่แล้ว อันนี้จริงๆ ก็ไม่ใช่คนกรุงเทพ เป็นคนตากแล้วก็จะมีช่วงนึงของชีวิตก็คือช่วงม.ปลายเนี่ยที่มาเรียนเชียงใหม่ ก่อนที่จะไปเรียนมหาลัยที่กรุงเทพ 4 ปี แล้วก็ทำงานยาวเลยสักประมาณ 10 ปีได้ มันก็เหนื่อยมีความแบบอิ่มตัวกับกรุงเทพ ทีนี้มันก็มีจังหวะที่มาเชียงใหม่ แล้วก็ผ่านตึกที่เช่าอยู่ ณ ตอนนี้แล้วก็มันว่างอยู่ แล้วก็ตึกเนี่ยมันอยู่ในซอยที่เมื่อก่อนเดินบ่อยอยู่แล้ว เป็นซอยที่ร้านหนังสือมือสองที่เป็นภาษาอังกฤษเยอะ ก็เป็นอะไรที่แปลกดี ก็คือซีนหนังสือมือสองภาษาอังกฤษที่เชียงใหม่เนี่ยก็คือค่อนข้างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นจริงเป็นจัง ก็อาจจะไม่แปลกตรงที่แบบมันก็เป็นเมืองที่ เออนักท่องเที่ยวเยอะเนาะแล้วก็มี Expats ย้ายมาอยู่เยอะ ชอบซื้อหนังสือภาษาอังกฤษมือสองเนี่ยมานานแล้วเพราะว่าบางเล่มมันก็หายาก เชียงใหม่เนี่ยมันก็เลยเป็นที่ที่นอกจากว่าเคยเรียน ม.ปลาย ก็เป็นที่ที่กลับมาเรื่อยๆ เพราะว่าจุดประสงค์หลักๆ ในการกลับมาก็คือมาซื้อหนังสือมือสองนั่นแหละ มีแรงบันดาลใจที่ดีกับถนนเส้นนี้อยู่แล้ว คือเส้นช้างม่อยเก่าหลังประตูท่าแพ พอเห็นว่าตึกมันว่าง โทรไปถามแล้วค่าเช่ามันยังอยู่ในราคาเราคิดว่าเราน่าจะจัดการได้ก็เลยย้ายเลย”
ด้วยจำนวนร้านหนังสือทั้งแบบสาขา และอิสระที่ดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ วิธีการเลือกหนังสือ หรือแนวการอ่านที่เป็นแนวเฉพาะ จึงมีความสำคัญในการเข้ามาเป็นตัวช่วยให้ร้านมีความเป็นตัวของตัวเอง
“ที่รู้สึกว่าอาจจะเฉพาะหน่อยก็คือมันจะมีหนังสือที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างเยอะเพราะว่าสโคปการทำงานของแฟนเก่า ก็คือเขาจบโทวรรณคดีอังกฤษเหมือนกัน แล้วก็ทำเรื่องวรรณคดีสิ่งแวดล้อมเป็น Environmental Letacture ซึ่งก็ดูเป็นอะไรที่แปลกประหลาดมากนะ study เกี่ยวกับการเอาที่ดินของชนพื้นถิ่นต่างๆ คืน ก็จะพูดถึง Native American พูดถึง indigenous Hawaiian พูดถึงคน Mauri ก็จะสำรวจ Autonomy แบบสิทธิในการปกครองตัวเองผ่านวรรกรรม มีงานเขียนจำนวนมากที่ deal กับเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็น fiction แล้วก็ non fiction ที่ร้านก็จะมีอะไรพวกนี้อยู่ซึ่งก็จะมีตั้งแต่อะไรที่เป็นเล่มคลาสสิกมีแปลไทยเช่นพวกแบบ Silent Spring อะไรอย่างเงี้ยที่พูดถึงการใช้ DDT ในอเมริกายุค 1960s ที่มันทำให้แทบจะเกิดแบบการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ไปเลยแล้วก็ค่อยๆ ขยับมาเรื่อยๆ เออก็จะมีพวกแบบ Animal Rights อะไรอย่างเงี้ย เอ่อ Veganism, Vegetarianism, Animal Ethics, Food Ethics แล้วจริงๆ ไม่ใช่แค่หนังสือแต่ร้านมันก็จะถูกบ่มไปในลักษณะเดียวกัน นมที่เป็น Alternative Milk พวกนมพืชก็จะไม่ชาร์จเพิ่มเพราะรู้สึกว่าอยากให้ตัวเลือกมันเข้าถึงง่ายขึ้นสําหรับคนส่วนใหญ่ที่ร้านก็คือนมทุกอย่างราคาเท่ากันหมด นอกจากไอ้พื้นที่ที่มันเฉพาะมากๆ อย่างวรรณกรรมสิ่งแวดล้อมเนี่ย ส่วนใหญ่ก็คิดว่าเป็นวรรณกรรมทั่วไปนะก็คือวรรณกรรมคลาสสิกทั่วไปถ้า เออสำนักพิมพ์ที่พิมพ์วรรณกรรมคลาสสิกในไทยก็จะมีพวกสำนักพิมพ์สมมุติ ที่ก็จะพิมพ์งานคลาสสิกอยู่แล้ว”
หนังสือเล่มไหนที่บ่งบอกตัวตนของร้าน
“พอร้านมันรวมๆ หนังสือแบบที่เราชอบมาขายอะ มันก็เหมือนกับว่าเราถามถึงหนังสือที่ชอบ แต่ถ้าจะเอาร้านเลยเนี่ย นึกออกก็คือในร้านมันก็มี quote จากหนังสือที่ชอบแบบอยู่ทั่วไปหมดอะไรอย่างนี้ อย่างถ้าเดินเข้าร้านมาเนี่ย ที่จะเห็นอยู่ใหญ่มากๆ ก็คือจะเป็นประโยคเปิดของ One Hundred Years of Solitude ของ Colonel Aureliano กําลังจะโดนประหาร แล้วก็นึกย้อนไปถึงตอนที่ได้จับน้ำแข็งเป็นครั้งแรก ซึ่งจริงๆ ไม่มีความหมายในเชิงแบบปรัชญาอะไรเลย คือเป็นประโยคที่อ่านครั้งแรกแล้วมันจะไม่รู้ มันไม่ได้มีความหมายอะไรในตัวมันเอง คือมันต้องอ่านเป็นเรื่องแต่ว่ามันเป็น Impact ทางวรรณกรรม ที่คนทั้งโลกรู้สึกว่าเป็นประโยคเปิดที่แบบ Memoriable เป็นประโยคเปิดที่น่าจดจํามาก ในประโยคเดียวมัน Capture อะไรหลายอย่างมากของเรื่อง ก็เลยแปะไปเลย แบบหน้าร้านเลย”
“ด้วยความที่ร้านมันอาจจะสีสันเยอะหน่อย แล้วก็แบบมีอะไรหลายๆ อย่างมารวมๆ กันเยอะหน่อยโดยที่เราก็รู้สึกว่าเราก็พยายามรักษาให้มันมี Unity ให้มันมี Core ซึ่ง One Hundred Years of Solitude ก็ร้อยแปดพันเก้า วิลิศมาหรา แต่ทุกอย่างมันก็ยังเกาะอยู่กับคนตระกูลโบเอ็นเดียอยู่ ….ดูฝืนเหมือนกันนะ (หัวเราะ)”
ในปัจจุบันที่การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หรือคอมมูนิตี้ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่สิ่งไกลตัว โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ให้คุณค่ากับความคิดสร้างสรรค์ซึ่งนั่นรวมถึงวงการหนังสือเองด้วย ร้าน Rare Find เองก็ได้มีการร่วมกิจกรรม หรือมีการเข้าไปอยู่ใน Community เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ และอื่นๆ ในสาขางานศิลป์อีกด้วย
“มันก็เป็นความตั้งใจอย่างนึงเหมือนกัน ที่จะทําให้ space มันถูกใช้งานไปในลักษณะนั้น ก็คือถูกใช้งานโดย Community ซึ่งจริง ๆ ไม่ได้จํากัดอยู่แค่ community คนอ่านหนังสือด้วยนะ แต่อยากให้มันเป็น Community ของคนที่ทํางานสร้างสรรค์อะไรอย่างนี้ ในภาพรวม ๆ ก็ได้ ช่วงที่ผ่านมาก็มีไปบ้างแล้วอย่างมันก็จะมีกลุ่มนักศึกษา มช ที่เป็นกลุ่มทํางานศิลปะอะไรอย่างนี้ ช่วงก่อนหน้านี้มันจะมีงานเชียงใหม่ Design Week เนาะ แล้วก็มันก็จะมีกลุ่มนักศึกษาเนี่ยที่จัดงานศิลปะเรียกว่างานศิลปะแบบกองโจรก็ได้ ก็คือด้วยความที่ดีไซน์วีคมันจะมีความจริงจังค่อนข้างสูงใช่ไหม แล้วมันก็รูปแบบที่ค่อนข้าง Strict มีความเป็นผู้ใหญ่มีความ ในเซนส์นึงก็อาจจะมีความกีดกัน คนที่ไม่ได้มีชื่อเสียงอยู่แล้ว หรือว่าไม่ได้มีหน้ามีตาอยู่แล้ว ที่ศิลปินก็อาจจะรู้สึกอะไรประมาณนี้ มันก็เลยเกิดการรวมกลุ่ม แล้วก็หาสถานที่จัดงานศิลปะในรูปแบบที่มันง่ายที่สุด ที่มันเข้าถึงง่ายที่สุด ก็คือกลุ่มเขาใช้ชื่อว่า Fluffy force ใช้ชื่อกลุ่มภาษาไทยว่า “พลังนุ่ม” คล้ายๆ Soft Power (หัวเราะ) ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนักศึกษาวิจิตร มช ซึ่ง Rare Find ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่เข้าส่งเสริมกิจกรรม รวมๆ ก็มันก็เป็นภาพที่ก็อยากให้มันเกิดแหละ กับสเปซอะนะ เพราะรู้สึกว่า ตัวพื้นที่มันก็มี Possibility ที่จะทําอะไรแบบนี้ได้
ในอนาคตก็อยากทําให้มันจริงจังเป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้ จริงๆ ตัวเองก็อยากจัด Book Club แต่ว่าช่วงที่ผ่านมาก็มีความวุ่นวายในชีวิตอยู่พอควร ปีนึงที่ผ่านมาก็ได้ทําอะไรไปบ้างแล้วแหละ แต่ว่าก็ยังมีอะไรหลายอย่างที่อยากทําอยู่ในแง่ว่าจะทําให้คนอยากใช้งานมันในแง่ Creative เราไม่ได้อยากให้พื้นที่มันให้ความรู้สึก Exclusive มากว่าจะต้องเป็นนักอ่านจริงๆ ต่อให้ไม่อ่านหนังสือเลย ไม่ใช่คนที่ชอบอ่านหนังสือเลย ก็อยากให้รู้สึกว่ายังสบายใจอยู่ที่จะเข้ามาใช้ Space”
การที่ร้าน Rare Find นอกจากจะเป็นร้านกาแฟ และร้านหนังสือ แล้วยังเป็นพื้นที่ให้คนเข้ามาใช้ การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของร้านทำให้คุณเอิร์ธเปิดร้านนี้ขึ้นมา ไม่ใช่แค่การอ่าน แค่การสร้างความทรงจำให้กับลูกค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
“จริงๆ ก็มีลูกค้าที่ที่ประทับใจหลายคนนะ งก็ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มก็อาจจะมีกลุ่มที่ตามมาจากกรุงเทพฯ อันนี้ก็เหนียวแน่นประมาณหนึ่งก็จะมีทั้งลูกค้าแบบเป็นลูกค้าที่ชอบพื้นที่ของเราที่กรุงเทพเฉยๆ เพราะว่าพื้นที่ที่กรุงเทพฯ มันก็จะหน้าตาประมาณนี้ บางคนก็ชอบกาแฟที่ทํากลายเป็นสนิทกันแล้วก็ตามมา แล้วก็ เป็นคนที่อ่านหนังสืออยู่แล้วหรือว่ามีความสนใจตรงกันหรือว่าคล้ายกันอยู่แล้วอะไรอย่างเงี้ย ก็จะตามมา จะมีเคสของลูกค้าคนหนึ่งที่เป็นลูกค้าเก่าที่กรุงเทพฯ แล้วเขาตามมา เป็นคนตากเหมือนกัน คือตอนที่เปิดร้านที่กรุงเทพมันยังเป็นร้านกาแฟ แล้วเขาก็มากินกาแฟอย่างเดียวนี่แหละ แล้วก็พอย้ายมาเชียงใหม่ เขาก็พาที่บ้านมาก็คือมาพร้อมกับน้องชาย ซึ่งตอนนั้นน้องชายเขาป่วยอยู่ ก็ป่วยเป็นโรคที่ค่อนข้างร้ายแรงเหมือนกัน แล้วก็มีน้องสาวเล็กๆ สักประมาณประถมปลาย แล้วก็มากับแม่เขา แล้วทุกคนก็มานั่งเล่นหมากรุกกัน โดยที่ก็ไม่มีใครเล่นเป็นเลย คือมันเป็นช่วงที่เขาพาน้องชายมาหาหมอก่อนที่จะกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ก็คือมันเป็นรูปแบบการใช้พื้นที่แบบนี้ที่รู้สึกว่ามันไม่ต้องเป็นแบบคนอ่านหนังสือก็ได้แค่แบบคนมาใช้เวลาด้วยกันจริงๆ”
“แล้วก็ถ้าเป็นลูกค้าที่ร้านเนี่ย ก็จะมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งเลยเหมือนกันนะที่รู้สึกว่าอยากจะมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของร้านในลักษณะที่อยากจะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหนังสืออะไรประมาณนี้ ลักษณะนี้ก็จะมีเยอะ แล้วก็ส่วนใหญ่ก็จะไม่จบแค่หนังสือ ก็จะคุยไปเรื่อยเลย โดยเฉพาะคนที่เป็นคนต่างชาติ เพราะว่าเส้นมันเป็นเส้นที่นักท่องเที่ยวค่อนข้างเยอะมันอยู่ติดกับท่าแพเลย ลูกค้าก็จะมีถามทุกอย่าง หนังสือเล่มไหนที่จะแนะนําที่เป็นภาษาไทย กลางเมืองไทย ช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง ปีที่แล้วมี Student Movement ช่วย Recap ให้หน่อย (หัวเราะ)”
การเปิดร้านหนังสืออินดี้อาจะฟังดูโรแมนติก หวานๆ เหมือนอาชีพของตัวเอกในหนังรอมคอม แต่จริงๆ อุปสรรคของร้านในรูปแบบนี้เองก็มีอยู่บ้าง ปัญหาการเงิน ปัญหาด้านเทคนิก มันเป็นเรื่องปกติ เพราะฉนั้นปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่ที่หลายๆ คนอาจจะนึกถึง
“พอพูดว่าร้านหนังสืออินดี้แล้วดูมีทรงขึ้นมาเลย (หัวเราะ) หลักๆ ก็คือถ้าเป็นรายได้จากหนังสือเลยมันก็จะไม่ได้สูงมาก ซึ่งด้วยความที่โลเคชั่นที่อยู่เชียงใหม่ มันอาจจะมีความที่จะต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวประมาณนึง มันก็จะแล้วแต่ช่วงว่าคนมาเยอะมากน้อยแค่ไหนอะไรประมาณเนี้ย แล้วก็ตลาด ไอ้ของร้านหนังสือที่ตลาดที่เชียงใหม่เนี่ยมันก็มันก็พอมีอยู่แล้วประมาณหนึ่ง แล้วมันก็มีร้านหนังสือที่มันเคยใหญ่อยู่แล้วด้วยเพราะฉะนั้นก็คือมันก็มีช้อยส์ให้คนอ่านเลือกค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว แต่อันนั้นก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เป็นอุปสรรคนะเพราะว่าเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นสถานการณ์ที่จะต้องเจอนะ แต่ที่น่าสนใจคือเราก็ไม่รู้สึกว่าเป็นการแข่งขันด้วยนะ รู้สึกว่ามันเป็น atmosphere ของจังหวัดเป็นสภาพแวดล้อมที่รู้สึกว่ามันดี เมืองนึงในความรู้สึกเราก็คือไม่สามารถมีร้านหนังสืออิสระเยอะเกินไปได้ คือมันควรให้เยอะที่สุดเท่าที่จะมีได้ด้วยซ้ำ”
“จริงๆ มีความรู้สึกว่าอุปสรรคคือการที่มันไม่ได้เป็นร้านหนังสืออย่างเดียว (หัวเราะ) นี่มันเป็นคาเฟ่ด้วย คือที่บอกว่าอยากให้ space มัน inclusive แต่พอมัน inclusive มันก็จะควบคุมยากหน่อยด้วย เดี๋ยวนี้วัฒนธรรมคาเฟ่ฮอปปิ้ง มันก็ค่อนข้างเติบโตแข็งแรงเนอะ แล้วรูปแบบการใช้ space ของคาเฟ่มันก็จะวนอยู่กับการถ่ายรูปเป็นหลัก ซึ่งการถ่ายรูปในร้านของ Rare Find เนี่ยมันก็อาจจะไม่ไปด้วยกันเท่าไหร่เพราะมันมืด ต้องใช้แฟลช แล้วมันก็ตะไปรบกวนคนอื่น ไหนจะบังทางเดิน เพราะลูกค่าที่เข้ามาคาเฟ่ฮอปกันเนี่ยก็จะอายุน้อยหน่อย เราก็ไม่ได้โทษเขานะ เราสอนเด็กมา เราก็เข้าใจเขาอยู่ประมาณนึง แต่ช่วงนึงอะก็คือแปะป้ายห้ามถ่ายรูปในร้านเลย แล้วตอนหลังก็เปลี่ยนเพราะมันดูโหดไปนิด เปลี่ยนกลายเป็นป้ายที่เห็นทุกวันนี้คือว่าร้านเรา Encerage ให้ทำอะไรบ้าง ให้อ่านหนังสือ ทำงาน คุยกับแมว แต่ไม่อยากให้ถ่ายรูปรบกวนคนอื่น(หัวเราะ)”
ในช่วงตั้งแต่โควิดที่มามันมีเทรนด์ที่เรียกว่า #Booktok ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้คนรุ่นใหม่กลับมาอ่านหนังสือมากขึ้น ทางเราเองก็ได้มีการพูดถึงประเด็นนี้ไปเหมือนกัน แต่ในมุมมองของผู้ที่เปิดร้านหนังสือ เขาจะมองเทรนด์นี้เป็นยังไงกัน
“พอจะรู้ว่ามันมี Trend นี้ แต่ว่าด้วยความที่ไม่ได้เล่น tiktok ก็เลยไม่เคยดูเป็นจริงเป็นจัง (หัวเราะ) คือพี่ว่ามันเกิดจาก online train ที่ก็ทำให้เกิดกระแสการกลับมาของอะไรที่เป็น Analog หรือ Physical คือถ้าถามว่ารู้สึกยังไง จริงๆ เราอาจจะมองกว้างๆ ว่า Booktok มันก็เป็นอะไรที่คล้ายกับช่วงก่อนหน้านี้ที่มันมีแฮชแท็กในทวิตเตอร์ที่เป็นการอ่านหนังสือตามดาราเกาหลี นักร้องเกาหลี จะเรียกว่าเป็นรูปแบบมาร์เก็ตติ้งรูปแบบหนึ่งก็อาจจะได้แต่มันก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจขนาดนั้นอะไรประมาณเนี้ย คือมันอาจจะเริ่มมาจากการต้องการแชร์จริงๆ แหละ แค่รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับโซเชียลมีเดียของคนยุคนี้มันก็จะเป็นในลักษณะนี้เนาะ ก็อาจจะเรียกได้ว่าการที่ทั้งเทรนที่มันเป็น hashtag twitter แล้วก็ booktok มันทําให้เกิดการที่คนรุ่นใหม่กลับมาอ่านหนังสือที่มันเป็นแบบเป็นทฤษฏีข้อมูลอีกครั้งอะ ซึ่งถ้านึกคร่าวๆ มันก็อาจจะเป็นอะไรที่แบบใกล้เคียงกับน็อตชาวเจีย เออก็คือความรู้สึกโหยหาอะไรที่มันช้าหรือว่าอะไรที่มันจะต้องใช้เวลาในการเสพมันเทียบกับสื่อรูปแบบใหม่”
“จริงๆ แอบคิดถึงข้อเสียอีกอย่างของ Booktok คือบางทีเห็นหนังสือแล้วอ่านตาม ถ้ามันเริ่มเล่มยากไปเลย คนอาจจะ Shut down ไม่อยากอ่านอะไรอีกเลยได้เหมือนกัน น่ากลัวนะ (หัวเราะ)”
เหมือนกับเทรนด์อื่นๆ มันก็จะมีกลุ่มที่ไม่ได้สนใจจริงๆ เห็นหนังสือเป็นแฟชั่น ทำตามกระแสเพื่อให้ดูว่าตัวเองเทรนดี้
“ก็ที่ป้ายที่ยังมีอยู่นะตอนนี้เนี่ยก็คือ “กรุณายังใช้หนังสือเป็นพร็อบถ่ายรูป” คือเรารู้สึกว่าถ้าสมมุติว่าคนรู้สึกว่าเป็นเทรนด์ อย่างเด็กรู้สึกว่าเป็นเทรนด์อย่างเงี้ยแล้วซื้อไปอ่านแล้วก็สรุปว่าแบบไม่จูนว่ะ อะไรอย่างเงี้ยอ่านไม่รู้เรื่องแล้วก็คือวางหรือว่าขายต่ออะไรเงี้ยเราไม่ติดอะไรเลยนะ มันก็ดีแล้วคือเขาก็ได้ลองอ่านแล้วก็เออขายต่อไปก็ได้เงินคืนมาบางส่วนแล้ว หนังสือมันก็เหมือนงานศิลปะอื่นๆ มันก็ไม่ใช่สําหรับทุกคนอยู่แล้ว อะไรประมาณนี้ มันก็อาจจะเป็นอะไรที่เฉพาะกลุ่มในตัวมันเอง อะไรประมาณนี้อยู่แล้ว ถ้าซื้อมาเองแล้ว จะทำไรก็ทำ (หัวเราะ) เพราะว่าส่วนใหญ่นักเขียนก็คือแลกเลือดมา ทีนี้ถ้าอย่างเป็นที่ร้านเนี่ย บางทีก็คือเขาไม่ได้สนใจเลยว่าตัวหนังสือที่หยิบขึ้นมาเป็นพร็อพมันจะเป็นเล่มอะไรก็ได้ มันก็จะเกิดลักษณะที่แบบเอาหนังสือการเมืองอียิปต์มา มันได้เหรอวะ คือแบบต่อให้จะใช้ในฐานะพร็อพเนี่ย มันไม่ได้มั้ย แต่ว่ามันทําให้เสียมูลค่าทางการค้าด้วย มันก็จะเยินอะ เพราะมันเป็นกระดาษ ผ่านมือไปสักสองสามมืออะไรเงี้ย สภาพมันก็จะไม่ใช่สภาพหนังสือมือหนึ่งละ แล้วก็คิดว่าร้านหนังสือจํานวนมากก็เจอปัญหาอะไรแบบเนี้ย คือเคยคุยกับเจ้าของร้านหนังสืออื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นร้านหนังสือที่เป็นคาเฟ่ด้วยในเชียงใหม่ไรเงี้ย ทุกคนก็มีปัญหาประมาณเดียวกันนะว่าแบบ”
ในฐานะคนที่เปิดร้านหนังสือด้วย แล้วก็เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสืออยู่แล้วตัวคุณเอิร์ธเห็นแบบ อนาคตของวงการหนังสือในไทยเป็นยังไง
“คือมันก็มีหลายปัจจัยให้วงนะ เทศกาลที่เกี่ยวกับหนังสือต่างๆ รางวัลเกี่ยวกับวรรณกรรมต่างๆ จํานวนพิมพ์ต่อครั้งของสํานักพิมพ์ คือถ้าเป็นภาพรวมๆ ก็อาจจะรู้สึกว่ามันซบเซาลง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีคนอ่าน คือในขณะเดียวกันมันก็มีคนอ่านรุ่นใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา คนแต่ละ Gen อาจจะอ่านหนังสือไม่เหมือนกันใช่ไหม แต่ว่าในขณะเดียวกันเนี่ยก็มีความรู้สึกว่า มันก็มีการเติบโตหรือว่ามันก็มีการค้นพบ หรือค้นหาสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอด เพราะฉะนั้นในแง่นึงก็รู้สึกว่ามันก็จะอยู่ไปเรื่อยๆ แต่ว่าในขณะเดียวกันเราก็รู้สึกว่ามันก็มีทริกเกอร์กระตุ้นมาประมาณนึงด้วย อย่างก่อนหน้านี้มันมีช่วง Student Movement ใช่ไหม คือเป็นช่วงที่แบบบูมขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเลยอะ สิ่งที่เด็กซื้อหรือว่าปริมาณของการซื้อมันเยอะมากๆ”
“คุยกับเจ้าของร้านหนังสืออะส่วนใหญ่ก็จะพูดในลักษณะใกล้เคียงกันว่ามันก็ซบเซาลงแต่ว่าช่วงปีที่ผ่านมาเนี่ยร้านหนังสืออิสระเปิดใหม่เยอะมากเลยคือทั้งในเชียงใหม่ และที่อื่นๆ รู้สึกว่ามันก็เป็นสัญญาอะไรบางอย่างเหมือนกัน มันทำให้เรา Hopeful”
มุมมองของสังคมต่อหนังสือมีการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากสื่อที่รวมเอาความรู้ เรื่องราว และความบันเทิงไว้ ถูกมองว่าเป็นของสูง สำหรับผู้มีเงิน มีการศึกษาเท่านั้น จนต่อมามีการเข้าถึงของผู้คนมากขึ้น แต่ตอนนี้หนังสือกลับถูกมองว่าเป็นงานอดิเรก และถูกให้ความสนใจน้อยลง แม้จะได้กระแสโซเชียลมีเดียมาช่วย แต่เราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าหนังสือเป็นเล่มจะอยู่ไปกับเราอีกนานแค่ไหนทั้งด้วยการเติบโตของหนังสือดิจิทัล และหนังสือเสียง (audio book) ที่ก็อาจจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมที่วิ่งเร็วแบบนี้ทำให้คนที่รักหนังสือ ทั้งคนทั่วไป ร้านหนังสือ คนเขียน ยังต้องคอนช่วยกันพยุงความรักต่อการเขียน และการอ่านของพวกเขาต่อไป one page at a time.
“ไม่อยากให้ไปเกรงเรื่องหนังสือมาก คือก็อยากให้รู้สึกเหมือนเวลาไปถ่ายรูปที่หอศิลป์ไรเงี้ยแหละ ถ่ายได้ แต่ตั้งใจดูงานเขาหน่อย คือเจ้าของร้านหนังสืออิสระจํานวนมากก็คืออยากให้ space เป็นลักษณะนั้นแหละ ก็คืออยากให้มันเข้าถึงง่าย มันก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะทําให้คนเห็นหนังสือ แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยต่อยอดไป แต่ว่าในแง่หนึ่งก็คือการอ่านก็อาจจะต้องอาศัย guidance ด้วย การแนะนําโดยประมาณหนึ่งซึ่งจริงจริงเนี่ยร้านหนังสืออิสระก็จะเข้ามีบทบาทตรงนี้แหละ อาจจะเรียกว่ามันไม่กี่คนด้วยซ้ำอะที่สามารถแนะนําได้จริงๆ นะเพราะว่ามันมีแบบทุกอย่างอยู่ในอายไซส์หมดแล้วเนาะว่าควรจะเริ่มจากอะไรเพราะว่าถ้าอ่านแล้วมันผิดขั้นอะสมมุติว่าเริ่มอ่านจากอะไรที่มันแบบแอดวานซ์มากๆ อาจจะเป็นเพราะว่าแบบเห็น #BookTok มาหรือว่าเห็นแบบแฮชแท็กมา”
Photographed by
Techin Rungwattanasophol
IG: https://www.instagram.com/techin_rung/