ในอดีต หลายคนเชื่อว่า ‘ความรัก’ เกิดมาจากหัวใจ เพราะทุกครั้งที่รู้สึกรัก หัวใจมักเต้นเร็ว และทุกครั้งที่อกหัก หัวใจจะเจ็บปวดมากกว่าส่วนอื่น
แต่ในยุคหลังที่คนเชื่อในวิทยาศาสตร์ ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้ว ความรักเกิดจากสมอง ไม่ใช่หัวใจ เพราะสมองเป็นศูนย์กลางควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และการแสดงออก ขณะที่หัวใจมีหน้าที่แค่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายตามคำสั่งของสมองเท่านั้น
เมื่อความรักได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเกิดขึ้นจากที่ใด เราก็เลยอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจกับความรัก ตั้งแต่เริ่มต้นรัก ไปจนถึงอกหัก ในแง่มุมที่อธิบายได้ง่ายๆ ด้วยวิทยาศาสตร์
#1 เริ่มต้นตกหลุมรัก
เมื่อไหร่ที่เห็นหน้าเขาคนนั้นแล้วใจเต้นแรง แก้มแดง หรือเขินจนแทบทรงตัวไม่อยู่ นั่นเรียกว่า ‘ตกหลุมรัก’ ซึ่งเกิดจากการที่สมองไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ผลิต โดปามีน (Dopamine) ออกมา
โดปามีน เป็นสารเคมีสำคัญที่จะหลั่งออกมาหลังจากที่คนรู้สึกพึงพอใจ หรือรักใคร่ชอบพอกับอะไรสักอย่าง อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน อีพิเนฟริน (Epinephrine) หรือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) ดังนั้น เมื่อหลั่งฮอร์โมนออกมาแล้ว จะทำให้ร่างกายตื่นตัว ตื่นเต้น จนหัวใจและอวัยวะอื่นทำงานผิดปกติ เช่น เขินจนใจเต้นเร็วเวลาเจอคนตรงสเปคในชีวิตจริง หรือเจอไอดอลที่ถูกใจในทีวี
ส่วนอาการตกหลุมรักที่มักจะทำให้คนเผลอทำตัวแปลกโดยไม่รู้ตัว เช่น เผลอยิ้ม หลบตา เสยผม ฯลฯ เกิดจากฮอร์โมน เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง และควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนการทำงานของกล้ามเนื้อ
#2 ตกหลุมรักซ้ำๆ กับคนเดิม และช่วงโปร
#3 ผูกพันหลังหมดโปร
ความผูกพันเกิดจาก 2 ฮอร์โมนสำคัญ ได้แก่:
#5 อกหักรักพัง
สำหรับความสงสัยที่ว่า ในเมื่อความรักเกิดจากสมอง ทำไมเวลาเลิกราถึงเจ็บจี๊ดที่หัวใจ ไม่ใช่สมอง?
Office of Knowledge Management and Development