Identity

SOUND OF YOUTH EP.4 คุยเรื่อง ‘เซ็กส์’ และคำแนะนำ Sex-Positivity

ถ้าพูดเรื่องเซ็กส์จะนึกถึงเรื่องอะไรกันบ้างนะ เมืองไทยเราเปิดกว้างแค่ไหนกันและสำหรับคนรุ่นใหม่ แล้วเรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพูดได้เป็นเรื่องธรรมดาหรือยัง บทความนี้เราเลยชวนคนรุ่นใหม่สามคนมาคุยกันเรื่องเซ็กส์ แชร์มุมมองเกี่ยวกับเซ็กส์ในเมืองไทยและคำแนะนำเรื่อง Sex-positivity ที่เป็นมูฟเมนต์หนึ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังสนใจกันอยู่ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ 

คำถามแรกที่เราถามแต่ละคนก็คือ คิดอย่างไรกับเรื่องเซ็กส์กันบ้าง และ คิดว่าในเจนตัวเอง เรื่องนี้มันเปิดกว้างมากขึ้นไหม

คนแรกที่เราได้คุยด้วยคือ ทันหยก/แทนนี่ (@morethanyok) อายุ 18 ปี ที่แนะนำตัวเองกับเราว่า เธอนิยามตัวเองว่าเป็น Trans-androgyne ตอนนี้กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรีสาขาดิจิตอลอาร์ตและสังคมสงเคราะห์ควบคู่ไปกับการเป็นนักเคลื่อนไหวทางเพศไปด้วยความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักศิลปะบำบัด

“ เซ็กซ์สำหรับเรามันเหมือนเป็นกิจกรรม/พื้นที่ที่เราจะได้ปลดเปลื้องอารมณ์ ความรู้สึก และสถานะทางสังคม เหลือเพียงแค่มนุษย์สองคน (หรืออาจจะมากกว่าสอง) ที่กำลังแก้ผ้าอยู่ตรงหน้า เซ็กส์ไม่จำเป็นต้องมาคู่กับความรัก แต่ควรมาพร้อมกับการพูดคุยและยินยอม (ไม่ใช่โน้มน้าว)”

“ทุกวันนี้ คนในรุ่นเราเปิดกว้างกับเรื่องนี้พอสมควร ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องต้องห้าม พูดไม่ได้ต้องเหนียมอายเหมือนแต่ก่อนเพราะเขามองว่าเซ็กซ์มันก็เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ”

เธอแชร์เพิ่มเติมว่า สภาพสังคมและคนรอบข้างก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพราะไม่ใช่ทุกคนในรุ่นเดียวกันกับเธอที่พูดคุยเรื่องเซ็กส์อย่างเปิดเผย ยังมีหลายคนที่กล้าๆ กลัวๆ อยู่ทั้งเพราะกลัวถูกตีตราว่าหมกมุ่นในสังคมที่สอนมาตลอดหรือไม่มีเพื่อนที่คุยได้เพราะการพูดเรื่องเหล่านี้ต้องใช้ความกล้าอยู่มาก แม้จะมีอินเทอร์เน็ตที่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ความรู้เรื่องเซ็กส์กับคนรุ่นใหม่ มีข้อมูลที่มีประโยชน์แต่โลกอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ปลอดภัยมากพอสำหรับเด็ก ผู้หญิง และผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

คนถัดไปที่เราชวนมาคุยคือ ฮานอย (@hanoiherself) อายุ 25 ปี เธอเป็นเจ้าหน้าที่ NGO โครงการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และเป็นผู้ก่อตั้ง The Young Vision มีเดียเอเจนซีที่เปิดพื้นที่เสรีให้คนมาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์สดใหม่

เธอเล่าให้เราฟังว่า ทุกวันนี้ในมุมมองของเธอคิดว่าการที่เซ็กส์ถูกพูดถึงมากขึ้นก็น่าจะเป็นเพราะสังคมเปิดกว้างขึ้นหรือก็อาจจะเป็นเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนบังคับให้สังคมมันเปิดกว้างขึ้นที่ช่วยให้เรื่องเหล่านี้ถูกเปิดเผยออกมามากขึ้น 

“ ถ้าถามว่าเราคิดอย่างไรกับเซ็กส์เรามีมุมมองที่ชัดเจนต่อเซ็กส์มากๆ 2 แบบ 1.) เซ็กส์ คือกิจกรรม: สำหรับเราคือกิจกรรมที่สนุก เวลาเครียดหรือไม่สบายใจแล้วคิดว่าจะทำอะไรให้ผ่อนคลายได้บ้าง เซ็กส์จะเป็นช้อยส์ของเราเสมอ มันให้ความสดชื่น เลือดสูบฉีด สารให้ความสุขหลั่งไปทั่ว ได้ออกกำลังกายด้วย”

“2.) เซ็กส์ คือเครื่องมือบอกรักตัวเอง: เราค้นพบว่าตั้งแต่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้สำรวจความต้องการและรสนิยมทางเพศอย่างเสรี เราก็รักตัวเองขึ้นสุดๆ เปลี่ยนเราเป็นคนละคนเลย ทำให้มั่นใจในตัวเองมากขึ้น เคารพตัวเองขึ้น รู้จักตัวเอง รู้ความต้องการตัวเอง และใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้นด้วย”

คนสุดท้ายที่เราได้ชวนมาคุยด้วยคือ ดาวฟ้า (@daoferrell) อายุ 26 ปี ศิลปินและติวเตอร์สอนหนังสืออายุ 26 ปี เขาเล่าให้เราฟังว่าจริงๆ แล้วก็ยังไม่คิดว่าเจนนี้เปิดกว้างมากสักเท่าไรแม้จะเปิดกว้าขึ้นบ้างแล้ว

“ถ้าถามว่าพูดถึงเซ็กส์นึกถึงอะไร คือ เซ็กส์เป็นเรื่องพื้นฐานและปกติของมนุษย์ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมของแต่ละสมัยไปด้วย แต่ถ้าถามว่าเซ็กส์เปิดกว้างในคนเจนเราไหม สำหรับผมคิดว่ามันยังไม่ค่อยสักเท่าไรนะ ผมว่าเปิดกว้างขึ้น แต่ยังไม่ถึงจุดที่มันกว้างพอจริงๆ (แม้แต่ในเจนเราก็ตาม) 

“ถึงแม้ว่าโอเค ปัจจุนี้มันมีแพลทฟอมอย่าง OnlyFans มีการออกมาดีเฟนคนที่เป็น Sex Creator (ล่าสุดกรณีเดียร์ลอง) มีการเรียกร้องสนับสนุน เป็นเจนฯ ของการตื่นรู้ แต่ข้างในลึกๆ ผมว่าคนก็ยังไม่มองว่ามันปกติจริงๆ คนยังเอาเดียร์ลองมาล้อ คนไม่แยกส่วนเขาในฐานะ Sex Creator และฐานะอื่นๆ มันยังมีการ make fun อยู่ซึ่งมันสะท้อนว่า ปากบอกว่าเห้ยมึงทำได้ แต่ใจมันก็ยังไม่ได้มองว่ามันเป็นสิ่งปกติจริงๆ ซึ่งถ้าจะลากเอาถึงสาเหตุ ก็พูดโยงไปถึงการที่ sex worker ที่ยังผิดกฎหมายและใช้การเขียนพรบ. มารับรอง”

เขายกตัวอย่าง การยอมรับแบบปลอมเปลือกของที่ยังมีผสมผสานอยู่ในเจนฯ เดียวกันเมื่อพูดถึงเรื่องเซ็กส์เสริมจากที่เล่ามาว่า

“สมมติส่วนตัวเลยนะ อย่างผมเป็นคนสอนหนังสือ ถ้าวันหนึ่งผมเปิด OnlyFans และถ้าผู้อ่านเป็นนักเรียนผม แล้วบังเอิญไปเห็นผลงานผม ผู้อ่านจะเรียนกับผมอย่างสนิทใจมั้ย จะสามารถแยกแยะได้จริงหรือเปล่า ยอมรับได้จริงๆ หรือไม่ ผมเห็นคนนึง ไม่ทราบว่าอายุเท่าไหร่ ลง Tiktok ว่า เดียร์ลองไม่น่าทำแบบนี้ สมมติโตไปมีลูก ไม่สงสารลูกเหรอ ถ้าลูกโดนล้อจะทำยังไง เราเลยคอมเมนต์ไปว่า ‘ถามแบบโง่ๆ เวลาคนล้อเรา เราผิด หรือคนโดนล้อผิด’ คืออะไรแค่นี้มันก็สะท้อนได้เยอะถึงความยอมรับแบบปลอมเปลือก ฟีลเบบี้บูมบอก เป็นเพศอะไรก็ได้ขอให้เป็นคนดี แล้วพอลูกตัวเองเป็น LGBTQ+ ก็เสียใจ”

ในทุกวันนี้ แม้สังคมจะมีพื้นที่ให้พูดเรื่องเซ็กส์ได้มากขึ้นด้วยโลกอินเทอร์เน็ต มูฟเม้นต่างๆ ทั่วโลกและในไทย แต่การยอมรับแบบเปิดใจก็ยังคงมีไม่กว้างพอ  แม้จะเป็นคนเจนเนเรชั่นเดียวกันก็ตาม ความเห็นเรื่องเซ็กส์ก็ยังเป็นเรื่องที่มีเสียงแตกอยู่และก็ยังคงต้องใช้เวลาในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันต่อไป เมื่อพูดถึงเรื่องความเข้ิาใจเราจึงถามแต่ละคนถึงประเด็นเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับเซ็กส์ในไทยบ้างว่า แต่ละคน คิดว่าอะไรคือเรื่องตลกๆที่เมืองไทยยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเซ็กส์อยู่ มีอะไรอยากพูดถึงความ absurd ในเรื่องพวกนี้ในไทยไหม (ex. มีอารมณ์ทางเพศ ห้ามช่วยตัวเองต้องเตะบอล คู่รักหลากหลายไม่ควรมีเซ็กส์ ควรเซนเซอร์จูบ หรือ ห้ามพูดถึง ห้ามสอนเป็นเรื่องที่ไม่ดีงาม)

แทนนี่หยก: “เป็นประสบการณ์ตรงของเราที่อยากระบายละกันค่ะ 555 ช่วงนี้ก็พยายามลองหาคู่นอนในแอพหาคู่ต่างๆ ซึ่งด้วยความที่เราเป็นTrans-androgyne ก็เลยทำให้หาคู่นอนที่ดูจะเข้ากับเราได้ยาก เพราะมันมีแค่คู่รักชาย-หญิง คู่เกย์ เลสเบี้ยน เราไม่เห็นอัตลักษณ์อื่นๆ อย่างนอนไบนารี่หรืออื่นๆ เลย เลยเลือกไม่ได้นอกจะลองทักไปแล้วลุ้นเอาว่าเขาจะยังรับได้กับการที่เรามีจู๋มั้ย”

“ผลมันก็ออกมาว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่คุยด้วยพอบอกว่าเรามีจู๋ (โดยที่หน้าตาเป็นผู้หญิง) ก็คิดว่าเราเป็นสาวสอง (ตามที่เขาว่า) แล้วก็ปฏิเสธเราไปเลย ซึ่งแน่นอนว่าเราก็จะไม่ยอมเปลี่ยนอัตลักษณ์ตัวเองเป็นcis-femaleเพื่อที่จะหาคู่ง่ายขึ้นด้วย ถ้าจะมีเซ็กซ์กับเรา ก็ต้องยอมรับตัวตนที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ให้ได้เท่านั้น ซึ่งสุดท้ายก็ต้องพึ่งตัวเองอยู่ดี”

ฮานอย: “เป็นเรื่องตลกร้ายแล้วกัน ก็คือยังมีหลายคนใช้ sex เป็นเครื่องมือในการ manipulate หรือล่อลวงคนอื่นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองอยู่ ทุกๆ วันยังมีคนถูกโน้มน้าวให้มีเซ็กส์ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้อยากหรือยังไม่รู้ความต้องการของตัวเองดีพอเยอะมาก แม้แต่คนรอบตัวเราก็เคยโดนมาเกือบหมด หรือลองถามคนรอบตัวของตัวเองกันก็ได้ คอนเฟิร์มเลยว่าจะเจอแต่เรื่องตลกร้ายที่น่าโมโห คือ sex ควรเป็นเรื่องที่สนุก สบายใจ มีความเต็มใจที่จะให้และรับเท่ากันในทุกฝ่าย” 

“แต่เซ็กส์ในไทยยังล้าหลังเพราะขาดความรู้หลายด้าน และยังมีการกดทับทางเพศในอีกหลายมิติที่ถูกเอามาเป็นข้ออ้างในการเอาเปรียบทางเซ็กส์อีก เราไม่แปลกใจเลยถ้ามีหลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการที่เราบอกว่าเซ็กส์คือเครื่องมือบอกรักตัวเองหรือคือกิจกรรมที่สนุกเพราะสังคมไทยไม่ได้เปิดโอกาสให้เราได้รักตัวเองได้ขนาดนั้น”

ดาวฟ้า: “ผมว่าการศึกษาในประเทศที่มือถือสากปากถือศีลนี่แหละแม่งโคตรตลกสัส คนเงี่ยน คนเย็ดกัน มันเป็นเรื่องปกติมากๆ สำหรับเด็กวัยรุ่นโดยเฉพาะในช่วงมัธยม การที่คุณสอนให้เด็กไม่มีอารมณ์ทางเพศ ม่งเป็นการฝืนธรรมชาติและก่อให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามกับที่คุณต้องการด้วยซ้ำ คุณจะห้ามยังไง สุดท้ายคนมันก็เย็ดกันอยู่ดี ผลมันก็ออกมาให้เห็นว่าเกิด Teenage pregnancy หรือ STD (โรคติดต่อทางเพศ) ในเด็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่”

“สมัยก่อนเพื่อนผมเป็นผู้หญิง ทักผมมา ถามผมว่าติ้วต้องทำยังไง คือกูแบบ กูก็ไม่รู้อิห่า กุไม่มีกี หรือล่าสุดเพื่อนผมยังมาถามวิธีการใส่ถุงอยู่เลย อะไรแบบนี้มันควรบรรจุในการศึกษา รวมถึงเรื่องต่างๆ เช่น กายภาพของกีของผู้หญิงหรือลวยคุยผู้ชาย ลักษณะมันเป็นยังไง กีผู้หญิงมันมีสองรูนะ ผู้หญิงเป็นเมนส์มันเป็นยังไง โรคติดต่อ การเยกันทั้งระหว่างเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน มันเป็นยังไง หลังมีเพศสัมพันธ์ร่างกายจะฉี่เพื่อล้างฆ่าเชื้อไรงี้ หรือ ก็จะมีคนถามผมบ่อยมาก เวลาอมควยต้องทำยังไง ผมต้องอธิบายเป็นฉากๆ ว่า ควยนี่นะ มันจะมีหัวควย (Glans) แท่งควย (shaft) มันขนาดนั้นเลย 5555 ตลกดี”

ท้ายที่สุดนี้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับ Sex-positivity (มูฟเม้นที่สนับสนุนเซ็กส์ระหว่างมนุษย์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่ต้องอยู่ภายใต้เรื่องของ Consent ทุกคนมีเซ็กส์ที่เฮลตี้และมีความสุขได้) หรือ การมีความสุขเรื่องเซ็กส์ที่ดีที่อยากจะแชร์ไว้แลกเปลี่ยนกับคนรุ่นเราไว้บ้างไหม 

แทนนี่หยก: “อยากฝากเรื่องการคุมกำเนิดไว้ละกันค่ะ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราก็คงจะบอกทุกคนว่ากิน/ฝังยาคุม’เผื่อ’ไว้ก่อนดีกว่า มันตลกร้ายมากๆ ที่ผู้หญิงต้องป้องกันตัวเองเผื่อไว้ว่าจะมีเรื่องเกิดขึ้น ทั้งคู่ไม่ใส่ถุงยางหรือถูกข่มขืน มันกำลังแสดงให้เห็นว่าสังคมของเรากำลังถูกปกครองด้วยอำนาจชายเป็นใหญ่มากจนมันบิดเบี้ยว แล้วผู้หญิงก็ต้องปกป้องตัวเองเป็นเรื่องปกติ”

“การคุมกำเนิดในผู้หญิง ถ้ายอมรับผลข้างเคียงที่จะมีต่อร่างกายได้ก็ตามที่เราคิดว่าเหมาะสมเลย จริงๆแค่การใส่ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องก็ช่วยได้มากแล้วจริงๆ และเราหวังว่าผู้หญิงเองจะมีวิธีคุมกำเนิดที่ดีเท่ากับที่ผู้ชายมีเช่นกัน”

ฮานอย: "เซ็กส์ไม่ได้น่ากลัว (ถ้าเรารู้จักตัวเองและเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง) หลายคนอาจจะกลัวโรคกลัวท้อง อันนี้เข้าใจได้เพราะส่วนตัวก็เคยเป็น การตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยนั้นดีแล้วแต่อย่ากลัว เราอยากบอกให้สบายใจขึ้นว่าวิทยาการทางการแพทย์มันสร้างเทคโนโลยีที่ป้องกันอะไรพวกนี้ได้เกือบ 100% หรือต่อให้ติดโรคก็รักษาได้หมดแล้ว ผู้รู้ที่ให้ปรึกษาฟรีก็มีเยอะขึ้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น (เช่น ทักมาที่ @the_youngvision)”

“แต่ถ้ากลัวเพราะจะโดนหาว่าหมดคุณค่าเพราะเสียซิงหรืออะไรเทือกนี้ อันนี้ต้องมาจับเข่าคุยกันใหม่เพราะเป็นมายเซทที่ใจร้ายมาก มันกดทับสิทธิและคุณค่าความเป็นคนของเราเพราะทุกคนมีสิทธิที่จะสำรวจความต้องการและรสนิยมทางเพศของตัวเองได้อย่างเสรี คุณค่าที่แท้จริงคือการรู้ความต้องการของตัวเองและเรียนรู้ที่จะเคารพความต้องการของคนอื่น อย่ากลัว sex สังคมแค่หลอกเราว่ามันน่ากลัว เราบอกทุกคนแบบนี้เสมอ”

ดาวฟ้า: “ผมอยากบอกว่า ความสุขทางเพศมันไม่จำกัด ผมเพิ่งเล่าให้นักเรียนฟังว่า จุด G-spot ของผู้ชายมันอยู่ทางก้น เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ ถ้าผู้ชายแท้ (cis gender) จะมี anal pleasure และในบางรายอาจให้คู่นอนสอดอะไรเข้าก้น การที่เขามีความสุขทางเพศแบบไหนไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไปแปะป้ายเพศให้เขา” 

“ผมอยากบอกทุกคนว่า มีความสุขทางเพศตามที่ตัวเองต้องการไปเหอะ explore ความเสียวกับร่างกายตัวเองไปโดยไม่ต้องไปแคร์การตีตราทางสังคมอะไร จะเยใคร เพศไหน กับอะไร ทำไปเหอะ อย่าเอาอะไรในใจมากั้น สู้! เกิดมาเดี๋ยวก็ตาย”