เรื่องเพศเป็นเรื่องสำคัญต่อวัยรุ่นมากๆ เพราะเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองสูงขึ้นมากจากวัยเด็ก แต่การเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แค่ไหน?
รอบนี้ Sound of Youth จะพาไปถามความเห็นของนักเรียนนักศึกษาที่ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าเขามีความรู้ และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
โรงเรียนสอนอะไรเกี่ยวกับเพศศึกษาบ้าง?
“โรงเรียนของหนูก็จะมีสอนเรื่องการใช้ถุงยาง เท่าที่จำได้ก็เหมือนจะมีแค่นั้น”
“ผมอยู่ชายล้วนมา ด้วยความที่พอมันไม่มีผู้หญิง โรงเรียนก็เลยสอน ค่อนข้างจะเปิดกว้างมาก”
“สอนเรื่องเกี่ยวกับการใส่ถุงยางอนามัยอะคะ แล้วก็เรื่องกินยาคุม”
ควรเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมในวิชาเพศศึกษา?
“ผมคิดว่าควรจะเพิ่มมาเป็นวิชาเลยครับ ให้ได้รู้จริงๆ มีการพูดคุยกันจริงๆ ว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้มัน ควรทำยังไง”
คิดว่าอะไรทำให้เมืองไทยถูกจำกัดเรื่องเพศศึกษา?
“การสอนในตอนนี้มันเหมือนเป็นความเห็นของคนกลุ่มนึงที่เอาลงมาสอนกับคนทุกคน มันก็เลยรู้สึกว่ามันไม่ได้ Effective ขนาดนั้น”
ถ้าทำผู้หญิงท้อง/ท้องเอง จะจัดการอย่างไรต่อ?
“อย่างแรกก็คงต้องปรึกษาแฟนเราก่อน แล้วก็แบบปรึกษาพ่อแม่ เพราะสุดท้ายแล้วยังไงก็ต้องพึ่งผู้ใหญ่อยู่ดีอะคะ มันเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าเราจะไปต่อหรือพอแค่นี้”
“ตอนแรกอาจจะยาก แต่สุดท้ายมันก็ต้องคุยอะครับ เพราะมันไม่ใช่เรื่องปัญหาเล็กๆ”
“ตอนนี้เราก็บรรลุนิติภาวะที่จะทำเรื่องใดๆ ผ่านโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง ก็คงเข้าไปด้วยตนเอง แล้วก็บอกหมอ อาจจะปรึกษาเพื่อน หาหมอเอง”
รู้จักโรคติดต่อมากแค่ไหน และถ้าตัวเองติดโรคจะทำยังไง?
“ก็เอดส์ หนองใน เริม อะไรแบบนี้อะครับ”
"ก็รู้จักบ้างครับ แต่ก็ไม่ได้รู้มากขนาดนั้น”
“ก็อย่างแรกก็คือไปปรึกษาแพทย์อะคะ แล้วก็ต้องบอกคนที่บ้านว่าติดโรคเพราะเราก็ต้องกล้ายอมเปิดใจว่าเราติดโรคจริงๆ”
เรียนรู้เรื่อง safe sex จากไหน?
“ก็เรียนในอินเทอร์เน็ต ใน Youtube แล้วก็ที่มีประชาสัมพันธ์ตามโฆษณาอะไรอย่างเนี้ยอะครับ”
“ก็ฟังผ่านๆ ที่เป็นข่าวมากกว่า”
คุยกับเพื่อนเรื่องนี้บ้างไหม?
“เลือกคน แบบเพื่อนอย่างคนนี้คุยได้”
“พูดกับทุกคนเลย ถ้าใครรับไม่ได้ก็แค่ไม่ค่อยพูด แต่ว่าส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยอายเท่าไหร่ พูดได้หมด”
“ก็กล้าอยู่นะคะ แต่ก็ไม่ได้ขนาดนั้น”
การสัมภาษณ์ของเราพบว่าวัยรุ่นมีการเรียนรู้เรื่องเพศมากขึ้น และเริ่มมีความกล้าในการพูดคุยในประเด็นนี้มากขึ้น ถึงแม้ผู้ให้สัมภาษณ์ของเราบางคนจะขอให้ปิดใบหน้าของพวกเขา และดูเหมือนประเด็นทางเพศจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือนอกห้องเรียนมากกว่าในระบบการศึกษาซึ่งนำมาซึ่งคำถามว่า เราต้องปล่อยเรื่องเพศศึกษาให้เป็นเรื่องของประสบการณ์มากกว่าการเรียนการสอนในระบบจริงๆ หรือ?
จากผลวิจัยยูนิเซฟ- ม.มหิดล “โรงเรียนไทยสอนเพศศึกษาไม่รอบด้าน เน้นสอนสรีระ พัฒนาการทางเพศ ปลูกฝังเด็กเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ส่งผลเด็กไทยขาดทักษะจัดการเรื่องเพศ และรวมไปถึง การไม่เข้าใจด้านความเท่าเทียมทางเพศ” ถึงแม้ว่าผลสำรวจของกรมอนามัยประจำปี 2020 จะพอว่าวัยรุ่นมีการใช้ถุงยางอนามัยทั้งในกลุ่มหญิง และชาย มีเปอร์เซ็นต์มากขึ้นในทุกๆปี แต่ที่น่าตกใจคือ นักเรียนมัธยมศึกษาหญิงเพียงร้อยละ 54 เท่านั้น ที่บอกว่าพวกเขามั่นใจว่าจะสามารถต่อรองที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
การเรียนรู้ กับการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง และไม่รอบด้านนำมาซึ่งหนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยรุ่นนั่นคือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยผลมาจากการเรียนรู้ที่ไม่รู้ด้าน การถูกเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และตามมาด้วยสถิติการทำแท้งที่สูงไปพร้อมๆ กัน
ผลวิจัยจากกรมอนามัยพบว่าในปี 2017 มีรายงานการทำแท้งของผู้หญิงไทยสูงถึง 29% และ 16% จากทั้งหมดคือวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในทุกๆ ปี
สรุปแล้วดูเหมือนทั้งการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในระบบยังคงเติบโตช้า และการพูดคุยในเรื่องนี้ ถึงแม้จะเปิดกลว้างขึ้น และหลายคนก็ยังกลัวในการพูดคุยเรื่องเพศอย่างอิสระ ที่น่าดีใจคือการได้คนรุ่นใหม่เป็นแนวทางชี้นำ และพลักดันให้ประเทศได้พัฒนาไปมาขึ้นในด้านนี้ จะเห็นได้จากในปี 2021 แม้โจ้โพลล์พบว่า เยาวชน ร้อยละ 63.95 เห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.บ. ทำแท้งถูกกฏหมาย และร้อยละ 86.77 อยากให้ระบบการศึกษามอบความรู้เรื่องเพศ และวิธีป้องกันที่ถูกต้องให้แก่เยาวชนได้ทั่วถึงขึ้น ถือเป็นเรื่องน่าดีใจมากๆ ที่คนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเพศไหนก็หันมาสนใจเรื่องเพศศึกษา รวมถึงสิทธิ์ทางเพศมากขึ้น