Culture

ใครกันแน่ที่อัปลักษณ์ – ส่องตัวละครจากนิทานและวรรณคดีไทย ที่ถูกกดทับด้วยมาตรฐานความงาม

(นนทก จากเรื่อง รามเกียรติ์) | Photo credit: Thaienjoys

เชื่อว่าทุกคนที่เคยได้หยิบหนังสือนิทานพื้นบ้านหรือวรรณคดีไทยขึ้นมาอ่าน ประมาณครึ่งของหนังสือพวกนั้นจะมีเรื่องราวของตัวละครที่ถูกกลั่นแกล้งหรือก่นด่า เพียงเพราะมีรูปลักษณ์ผิดจากบรรทัดฐานความงามของสังคม แต่มีเพียงแค่หยิบมือเท่านั้นที่จะแฝงคติสอนใจว่าไม่ควรตัดสินคนจากภายนอก วันนี้ EQ จึงจะยกเรื่องเหล่านั้นขึ้นมาเล่า เพื่อให้เราทุกคนเห็นว่ามุมมองด้านความงามที่แคบจนเกินไป toxic มากแค่ไหน

นางกุลา (โสนน้อยเรือนงาม)

(จากซ้ายไปขวา: โสนน้อย-นางกุลา)

(จากซ้ายไปขวา: พระวิจิตรจินดา - นางกุลา) | Photo credit: Pantip / ภาพจากหนังสือเรื่องย่อละครไทย

ถ้าพูดกันเรื่องตัวละครในนิทานพื้นบ้านที่เปลือกนอก ‘ไม่งาม’ แต่ใจอัปลักษณ์ยิ่งกว่า ก็คงนึกถึง ‘นางกุลา’ เพราะเธอเป็นตัวการที่ทำให้โสนน้อยตกระกำลำบาก ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเมื่อโสนน้อยช่วยชุบชีวิตนางกุลาขึ้นมาจากการถูกงูพิษกัด ในตอนแรก นางกุลาซาบซึ้งจนขอติดตามเป็นทาสให้กับโสนน้อย แต่พอทั้งสองเดินทางไปถึงเมืองนพรัตน์และโสนน้อยได้ชุบชีวิตพระวิจิตรจินดาผู้สิ้นพระชนม์ด้วยพิษของพญานาค นางกุลาก็แอบอ้างการกระทำนั้น และโสนน้อยเป็นเพียงทาสรับใช้ แถมหลังจากนั้นนางกุลายังกลั่นแกล้งโสนน้อยอยู่เรื่อยด้วยความอิจฉา จะเปรียบเป็นชาวนากับงูเห่าก็ไม่เกินจริง

Photo credit: Pantip

ถึงอย่างนั้น สิ่งที่ทำให้ตัวละครในเรื่องตั้งแง่กับนางกุลานั้น หาใช่พฤติกรรมที่นางทำลงไป แต่เป็นเรื่องของรูปร่างหน้าตา ที่ไม่เข้ากับกรอบความงามตามบรรทัดฐานสังคม เหตุผลที่ท้าวกาลศึกและมเหสี (บิดามารดาของพระวิตรจินดา) ไม่เชื่อว่านางกุลาเป็นพระธิดาจากเมืองอื่น เพราะ “รูปชั่วตัวดำ ไม่มีราศี” พวกเขาก็สงสารพระวิจิตรจินดาที่ต้องแต่งงานกับหญิงอัปลักษณ์ แม้นางกุลาจะแสร้งปฏิบัติตัวเป็นพระธิดาที่เพียบพร้อม จึงได้สร้างกลอุบายต่างๆ เพื่อขัดขวางพิธีอภิเษกของพระวิตรจินดากับนางกุลา ถ้าเรื่องนี้ถูกกลับเป็นว่านางกุลามีรูปร่างสวยหมดจด ก็อาจจะไม่มีใครสงสัยในตัวเธอเลยก็ได้ 

นางประแดะ (ระเด่นลันได)

(จากซ้ายไปขวา: นางประแดะ - แขกลันได) | Photo credit: ปั๊วะ Thai Language / ท่องขุมนรก

เรื่องนี้ออกจะฉีกแนวจากวรรณกรรมเรื่องอื่นไป เพราะตัวละครหญิงที่เป็นตัวหลักก็คือ ‘นางประแดะ’ ผู้แหวกขนบนางในวรรณคดีไทยทุกเรื่องโดยสิ้นเชิง จากการที่ ‘พระมหามนตรี’ (ทรัพย์ ยมาภัย) ต้องการจะแต่งเรื่องราวขึ้นมาแซะบทละครเรื่อง ‘อิเหนา’ ซึ่งมี ‘นางประไหมสุหรี’ สาวงามตามแบบฉบับไทยๆ เป็นหนึ่งในตัวเอก พระมหามนตรีจึงสร้างนางประแดะ ตัวละครที่เป็นขั้วตรงข้ามของนางประไหมสุหรีขึ้นมา และประพันธ์บทชมโฉมนางประแดะว่า

“สูงระหงทรงเพียวเรียวรูด   งามละม้ายคลายอูฐกะหลาป๋า

พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา   ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ

คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย   จมูกละม้ายคล้านพร้าขอ

หูกลวงดวงพักตร์หักงอ   ลำคอโตตันสั้นกลม

สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว   โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม

เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม   มันน่าเชยน่าชมนางเทวี”

หากอ่านแล้วก็คงสัมผัสได้ว่าผู้ประพันธ์ต้องการสื่อให้มีความขำขัน ด้วยการใช้คำเปรียบเทียบอย่าง อูฐ พร้า ถุงตะเคียว ฯลฯ ในการ ‘ชม’ นางประแดะ ซึ่งความต้องการที่จะทำให้มันฟังดูตลกนี้ ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการเยาะเย้ยนางประแดะ เพราะหากบรรยายให้นางประแดะตรงต่อกรอบความงาม ไม่ได้มีลักษณะผอมชะลูดเหมือนอูฐกะหลาป๋า (แปลว่า อูฐจากาตาร์) ผิวคล้ำจนมีแต่ตาที่ขาว คิ้วโก่ง จมูกงุ้ม หน้าหัก คอตัน อกยาน ฯลฯ การที่แขกลันไดกับท้าวประดู่ทะเลาะกันเพื่อชิงตัวนางก็คงไม่ใช่เรื่องตลกขบขัน นั่นก็สะท้อนให้เห็นเช่นกันว่า สังคมมักจะมองว่าคนที่ ‘ไม่สวย’ ไม่เหมาะสมกับความรัก

นนทก และ นางกุจจี (รามเกียรติ์)

(นนทกถูกเทวดากลั่นแกล้ง)
Photo credit: Dek-D / มติชนออนไลน์

ทุกคนที่เคยอ่าน ‘มหากาพย์รามายณะ’ หรือ ‘รามเกียรติ์’ ก็คงจะรู้จัก ‘นนทก’ กันดี เพราะจุดกำเนิดของเรื่องราวทั้งหมดยาวกว่า 116 เล่มสมุดไทยนั้น มาจากการที่นนทกถูกเหล่าเทวดาแกล้ง เดิมทีนนทกเป็นยักษ์ผู้มีหน้าที่คอยล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่จะเข้าเฝ้าพระอิศวร แต่ยามก้มลงล้างเท้า พวกเทวดาก็มักจะเขกหัวและดึงผมของเขาเล่น จึงเป็นบ่อเกิดความแค้นให้นนทกขอประทานนิ้วเพชรจากพระอิศวร และใช้มันชี้เทวดาให้ตายสมใจนึก เมื่อพระนารายณ์จำแลงเป็นนางอัปสรมายั่วยวน หลอกให้นนทกชี้เข่าของตนด้วยนิ้วเพชรจนบาดเจ็บ นนทกก็ตัดพ้อว่าเป็นเพราะพระนารายณ์มีสี่มือ ตนมีเพียงสองจึงสู้ไม่ได้ พระนารายณ์ได้ยินดังนั้นก็ท้าให้นนทกเกิดใหม่เป็นยักษ์ มี 20 หน้า 20 มือ ส่วนพระองค์จะเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดาและปราบนนทกให้ได้ จากนั้นนนทกก็เกิดเป็น ‘ทศกัณฐ์’ ส่วนพระนารายณ์เกิดเป็น ‘พระราม’

เรื่องราวทั้งหมดคงจะไม่เกิดขึ้นเลย หากเหล่าเทวดาไม่ลงมือแกล้งหรือทำร้ายนนทกก่อน สาเหตุหลักที่เหล่าเทวดากลั่นแกล้งนนทกเพราะ ความเป็นอื่น ความไม่เข้าพวกของตัวเอง ด้วยความที่นนทกเป็นยักษ์ ทำให้สถานะทางสังคมต่ำกว่าเทวดา และยังมีรูปร่างอักลักษณ์จากการกลั่นแกล้งเข้าไปอีก ยิ่งทำให้นนทกกลายเป็นอื่น และห่างจากค่านิยมความงามของสังคมเข้าไปอีก

(นางกุจจียุยงนางไกยเกษีให้พระพรตขึ้นครองเมืองแทนพระราม) | Photo credit: เรื่องเล่าแล้วแต่อารมณ์ / หลงลักษณ์

และพอตัดภาพไปยังตอนที่พระนารายณ์จุติเป็นพระราม พระองค์ก็ได้รับบทเป็นฝ่ายกลั่นแกล้งบ้างเสียอย่างนั้น ในครั้งที่พระรามและพระอนุชาทั้ง 3 ฝึกยิงธนูกัน พระรามก็เหลือบไปเห็น ‘นางกุจจี’ ที่เป็นหญิงชราหลังค่อม จึงหันไปบอกกับเหล่าอนุชาว่าจะยิงหลังค่อมๆ ของนางกุจจีให้โก่งไปข้างหน้าให้ดู ว่าแล้วก็แผลงศรออกไป พอหลังโก่งไปข้างหน้าตามปากว่า ก็แผลงศรด้านหน้าให้กลับไปค่อมตามเดิม

“เมื่อนั้น   พระรามสุริย์วงศ์รังสรรค์

ลอยหน้าเท้าแขนยิ้มละไม   จึ่งตรัสไปแก่สามอนุชา

พี่จะยิงอีค่อมหลังกุ้ง   ให้โก่งนั้นดุ้งไปข้างหน้า

น้องรักจงทอดทัศนา   ว่าแล้วก็ยิงในทันที

โก่งนั้นดุ่งไปข้างหน้านาภี   พระจักรีก็ยิงซ้ำไป”

การกระทำนั้นเรียกเสียงหัวเราะจากพวกพระอนุชาและมหาดเล็ก แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างแผลใจแก่นางกุจจี ด้วยความที่นางเองก็ถูกเยาะเย้ยเรื่องรูปร่างที่ทุกคนมองว่าอัปลักษณ์มาโดยตลอด แม้จะลืมตาอ้าปากได้บ้างจากการเป็นแม่เลี้ยงของพระนางไกยเกษี (มารดาของพระพรต) ก็ไม่วายโดนสังคมดูถูกเหยียดหยาม จะเห็นได้ว่าในเรื่องของรามเกียรติ์นั้นผู้กลั่นแกล้งนั้น มักจะเป็นผู้ที่มีชนชั้นทางสังคมที่สูงกว่า และบุลลี่คนที่ด้อยกว่าเพียงเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น 

จรกา (อิเหนา)

Photo credit: Drama-addict

จะเรียกว่าเป็นหนึ่งในตัวละครที่น่าสงสารที่สุดในวรรณคดีไทยเลยก็ว่าได้ เพราะ ‘จรกา’ หรือ ‘ระตูจรกา’ จากเรื่อง ‘อิเหนา’ นั้น นอกจากจะโผล่มาแค่ให้ผู้คนเหยียดหยามเรื่องรูปร่างหน้าตาและถูกแย่งบุษบาไปแล้ว ก็ไม่มีบทบาทอะไรในเนื้อเรื่องอีกเลย ไม่มีแม้แต่ชื่อด้วยซ้ำ (‘ระตู’ แปลว่า เจ้าชาย ส่วน ‘จรกา’ เป็นชื่อเมือง) แถมยังถูกสร้างให้ไม่มีสักเศษเสี้ยวของมาตรฐานความงาม ตามที่บรรยายเอาไว้ว่า

“ระตูรำพึงถึงองค์   ด้วยรูปทรงอัปลักษณ์นักหนา

ดูไหนมิได้งามทั้งกายา   ลักขนาผมหยักพักตร์เพรียง

จมูกใหญ่ไม่สง่าราศี   จะพาทีแห้งแหบแสบเสียง

คิดจะหากัลยาเป็นคู่เคียง   ที่งามเพียงสาวสวรรค์ให้เกื้อองค์”

จากบทนี้ เราจะรู้กันว่าจรกาผมหยิก ผิวหน้าขรุขระ จมูกใหญ่ และเสียงแหบแห้ง ไม่มีส่วนไหนที่ดูดีสักนิดเดียว แต่ก็ใฝ่ฝันจะมีคู่ครองหน้าตาสะสวยเพื่อเพิ่มบารมีให้กับตน จึงส่งคนให้ไปแอบวาดรูปธิดาจากเมืองอื่นที่โสดและสวยอย่าง ‘จินดาส่าหรี’ กับ ‘บุษบา’ มา พอได้เห็นรูปบุษบาก็ตกหลุมรักในทันที จรกาไม่รอช้าที่จะไปสู่ขอ ซึ่งท้าวดาหา (บิดาของบุษบา) ก็ยกให้อย่างง่ายดายเพราะโกรธอิเหนาที่ทิ้งลูกตนไปติดสาวเมืองอื่น ถึงอย่างนั้นจรกาก็ไม่พ้นคำซุบซิบนินทาว่าอัปลักษณ์ ไม่คู่ควรกับสาวงามอย่างบุษบา สู้อิเหนาที่รูปโฉมเลิศเลอไม่ได้ แม้กระทั่งตอนที่อิเหนาปลอมตัวเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา ก็ไม่มีใครสังเกตเลยว่านั่นไม่ใช่ตัวจริง เพราะไม่มีใครอยากมองจนจำหน้าไม่ได้ด้วยซ้ำ ถึงสุดท้ายแล้วจะได้ครองรักกับจินดาส่าหรี หากจรกาหน้าตาดีสักนิด เรื่องวุ่นวายและคำดูถูกทั้งหมดก็คงไม่ตกอยู่กับเขา

เงาะป่า (สังข์ทอง)

(นางรจนากับเจ้าเงาะ) | Photo credit: Se-ed / Bk Kent Week

หนึ่งในนิทานพื้นบ้านคลาสสิกที่ไม่ว่าใครก็คงรู้จัก ‘สังข์ทอง’ กับภาพจำของพระสังข์ที่อยู่ในร่าง ‘เงาะป่า’ ซึ่งแท้จริงแล้ว พระสังข์นั้นหน้าตาหล่อเหลาเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยความที่สวมรูปเงาะและแกล้งทำเป็นสติไม่ดีเพื่ออำพรางตัวตน ทุกคนก็มองเขาเป็นตัวตลกรูปลักษณ์น่าเกลียดน่าชัง ตัวดำ ผมหยิก บ้างก็ว่าเงาะป่าหน้าตาอย่างกับภูติผี เห็นได้ชัดในบทกลอนตอนที่เงาะป่าเข้าวังครั้งแรกเพื่อเข้าพิธีเสี่ยงพวงมาลัย

“บัดนั้น   ฝูงสนามกำนัลน้อยใหญ่

แอบดูอยู่ที่บัญชรชัย   แลไปเห็นเงาะหัวเราะอึง

บ้างว่าน่าชังเป็นหนักหนา   แลดูหูตาตื่นทะลึ่ง

รูปร่างอัปรีย์ขี้ทึ้ง   เหมือนหนึ่งภูติผีที่กลางนา

ลางคนบ่นว่าถ้าเช่นนี้   ฟ้าผี่เถิดไม่นึกปรารถนา

น่ากลัวตัวดำเหมือนคุลา   ต่างติเงาะป่าว่าวุ่นไป”

ด้วยความขี้ริ้วขี้เหร่ตามที่กล่าวไว้ แน่นอนว่าไม่มีใครเห็นด้วยกับการที่รจนาเลือกเงาะป่าเป็นสามีเลย โดยเฉพาะท้าวสามล (บิดาของรจนา) เขาโกรธมากเสียจนอยากจะแล่เนื้อเถือหนังรจนา และได้ไล่นางให้ไปอยู่ที่กระท่อมปลายนา แถมยังทำหลากหลายวิธีเพื่อกำจัดเงาะป่าให้พ้นทาง แม้แต่รจนาที่เป็นคนรักเองก็เคยพยายามจะทำลายรูปเงาะทิ้ง จนมาถึงจุดหนึ่งของเนื้อเรื่องที่พระสังข์ต้องคืนร่างเดิม มาตีคลีแข่งกับพระอินทร์เพื่อรักษาบ้านเมืองให้ท้าวสามล มุมมองที่ทุกคนมีต่อพระสังข์ก็ได้เปลี่ยนไปเมื่อไม่ได้สวมรูปเงาะ มีแต่เสียงเยินยอชื่นชม เท่ากับว่าอคติทั้งหมดที่เคยมีไม่ใช่เพราะสิ่งใด แต่เป็นรูปร่างหน้าตาซึ่งไม่ตรงต่อความนิยมนั่นเอง

ท้าวแสนปม (ท้าวแสนปม)

(นางท้าวแสนปมกับนางอุษา) | Photo credit: Thai Book Fair / ตูนทำมือ

สำหรับตัวละครสุดท้ายนี้ ‘ท้าวแสนปม’ เรื่องราวของเขามีอยู่ 2 เวอร์ชั่น นั่นก็คือนิทานพื้นบ้านเมืองกำแพงเพชร กับ กลอนบทละครพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างต่างกันด้วยการปรับบริบทให้เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ สำหรับครั้งนี้